1 / 110

โครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

โครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ. วิชาระเบียบแถวลูกเสือ. วัตถุประสงค์. เมื่อจบการฝึกอบรมนี้แล้วผู้เข้ารับการอบรมควรจะสามารถ. บอกความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้ สั่งการด้วยคำบอก ทำสัญญาณ นกหวีดได้อย่างถูกต้อง ระบุวิธีดำเนินการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้

Download Presentation

โครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือโครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ วิชาระเบียบแถวลูกเสือ

  2. วัตถุประสงค์ เมื่อจบการฝึกอบรมนี้แล้วผู้เข้ารับการอบรมควรจะสามารถ • บอกความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้ • สั่งการด้วยคำบอก ทำสัญญาณ นกหวีดได้อย่างถูกต้อง • ระบุวิธีดำเนินการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้ • ใช้สัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากลได้อย่างถูกต้อง • อธิบายการจัดกองลูกเสือเกียรติยศและจัดการสวนสนามของลูกเสือได้

  3. ความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือ 1. โดยทั่วไป 1.1 เพื่อฝึกให้ลูกเสือเป็นผู้มีระเบียบวินัยอันดีงาม 1.2 เพื่อฝึกให้ลูกสือรู้จักฟังคำบอกคำสั่งและปฏิบัติตามได้ถูกต้อง 1.3 เพื่อฝึกให้ลูกสือเกิดความมานะอดทน

  4. 2. โดยส่วนตัว ทางร่างกาย : ทำให้ลูกเสือเป็นผู้มีร่างกาย แข็งแรงมีทรวดทรงสมส่วน มีท่าทางองอาจผึ่งผาย เป็นผู้มีประสาทตื่นตัว สามารถเคลื่อนไหวอิริยาบทได้คล่องแคล่วว่องไว ทางจิตใจ : ทำให้ลูกเสือเป็นผู้มีอุดมคติในการรักษาเกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

  5. 3. โดยส่วนรวม 3.1 การฝึกร่วมกัน ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและความพร้อมเพรียง ย่อมก่อให้เกิดความสามัคคี 3.2 สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยสง่างามสมเกียรติของลูกเสือ 3.3 ฝึกให้สามารถเป็นผู้นำและผู้ตามได้เป็นอย่างดี

  6. 4. ประการสุดท้าย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะต้องใส่ใจอบรมให้ลูกเสือรู้จักรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักหมู่คณะและเกียรติของตน จนสามารถเสียสละประโยชน์ตน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของลูกเสือให้สมบูรณ์

  7. หมู่ลูกเสือ กองลูกเสือ กลุ่มลูกเสือ การจัดกำลัง 1.หน่วยลูกเสือ แบ่งเป็น

  8. 1.1 หมู่ลูกเสือ : • นายหมู่เป็นผู้บังคับบัญชา • รองนายหมู่เป็นผู้ช่วย • มีจำนวนลูกเสือตามประเภทลูกเสือ 1.2 กองลูกเสือ : • ผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้บังคับบัญชา • รองผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้ช่วย • มีจำนวนหมู่ลูกเสือตามประเภทลูกเสือ

  9. 1.3 กลุ่มลูกเสือ : • ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือเป็นผู้บังคับบัญชา • รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือเป็นผู้ช่วย • มีจำนวนกองลูกเสือตั้งแต่ 4 กองขึ้นไป กลุ่มลูกเสือที่สมบูรณ์ : ประกอบด้วยกองลูกเสือ 4 ประเภท ประเภทละ 1 กอง กลุ่มลูกเสือที่ไม่สมบูรณ์ : • ประกอบด้วยกองลูกเสือประเภทเดียว 4 กอง • ประกอบด้วยกองลูกเสือ 2-3 ประเภท ประเภทละ2-3 กอง

  10. 2. อาวุธประจำตัว 2.1 ลูกเสือสามัญ ใช้ไม้พลอง หมายเหตุ : ไม้พลองให้มีลักษณะกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ซม. ยาว 150 ซม. ใต้หัวพลองลงมา 20 ซม.ให้เจาะรูร้อยเชือกสำหรับรวมกระโจมได้ ใต้รูเจาะร้อยเชือกลงมาอีก 5 ซม. ให้ขีดหมายเป็นเครื่องวัดตามมาตราเมตรติก ให้อ่านได้ทุกเซนติเมตร จนถึง 75 เซนติเมตร(ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ.2509 ข้อ 293)

  11. 2.2 ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ใช้ไม้ง่าม ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ.2509 ข้อ 295และข้อ 299 หมายเหตุ : ไม้ง่ามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ปลายงามทั้งสองยาว 5 เซนติเมตร ความสูงร่องง่ามเสนอแนวหัวไหล่ของลูกเสือแต่ละคน (ดังรูป)

  12. 2.3 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือตั้งแต่รองผู้กำกับลูกเสือ(ยกเว้นสำรอง) ขึ้นไปใช้ไม้ถือ (สีน้ำตาลแก่)ใช้ในโอกาสที่จัดแถวลูกเสือในพิธีใดๆที่ลูกเสือถือไม้พลองหรือไม้ง่ามทุกคน

  13. ตัวไม้ถือมีลักษณะกลม หัวไม้ 1.8 ซม. กลางไม้ 1.5 ซม. ปลายไม้ 1.2 ซม. ปลอกทองเหลือง หุ้มทางด้านหัวไม้ยาว 6 ซม. หุ้มทางปลายไม้ยาว 4 ซม.

  14. พู่ของไม้ถือ ให้มีพู่ 2 พู่ ผูกติดอยู่กับไม้และจากหัวไม้ลงมา 16 ซม. ให้มีปลอกทองเหลืองเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติหุ้มอยู่ (ลักษณะของพู่ เป็นด้ายหรือพรมถักเป็นเชือกผูกติดกับไม้ถือ ปลายเชือกยาวข้างละ 6 ซม. ต่อจากปลายเชือกแต่ละข้าง ทำเป็นพู่ยาวข้างละ 7 ซม.ขนาดโตพอสมควร)

  15. ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญ เชือกและพู่เป็นสีเขียว ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เชือกและพู่เป็นสีเลือดหมู ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ เชือกและพู่เป็นสีแดง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นผู้ตรวจการลูกเสือ สังกัดสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เชือกและพู่เป็นสีม่วง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด เชือกสีม่วงข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งสีเหลือง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นผู้ตรวจการลูกเสือ เชือกสีม่วงข้างหนึ่ง เขตพื้นที่การศึกษา อีกข้างหนึ่งสีแดง

  16. วิเคราะห์ศัพท์ ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้ฝึกและลูกเสือทราบและเข้าใจความหมายไปในทางเดียวกันทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ 1. แถวตอน คือแถวลูกเสือซึ่งจัดวางบุคคลซ้อนกันในทางลึกระยะห่างระหว่างคนหน้าและคนหลังเรียกว่าระยะต่อ (ระยะต่อ 1 ก้าว หรือ 1 ช่วงแขน) หลัง หน้า ระยะต่อ

  17. 2. แถวหน้ากระดาน คือแถวลูกเสือซึ่งอยู่เรียงเคียงเป็นแนวเดียวกันในทางกว้างระยะบุคคลจากศอกถึงศอกเรียงว่า “ระยะเคียง” หลัง ระยะเคียง หน้า

  18. 3. ขบวน คือหน่วยลูกเสือ จะจัดเป็นแถวหน้ากระดานหรือแถวตอนก็ได้ แถวหน้ากระดาน แถวตอน

  19. ตับที่ 5 ตับที่ 2 ตับที่ 3 ตับที่ 4 ตับที่ 6 ตับที่ 7 ตับที่ 8 ตับที่ 1 4. ตับ คือส่วนของแถวตอนหรือแถวหน้ากระดานที่มีลูกเสือ 2,3 หรือ 4 คนเคียงกัน (ตับที่มีคนไม่ครบเรียกว่าตับขาด) แถวตอน

  20. ตับที่ 1 ตับที่ 2 ตับที่ 3 ตับที่ 4 แถวหน้ากระดาน 5. คนหลัก คือ นายหมู่ลูกเสือ

  21. เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนคำพูดและใช้ในการจัดรูปขบวนสวนสนาม เครื่องหมายต่างๆ ความมุ่งหมาย ลูกเสือถือป้าย ลูกเสือถือธงประจำกอง ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ นายหมู่ลูกเสือ รองนายหมู่ลูกเสือ ลูกเสือ

  22. วิธีสั่งการ ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแจ้งความประสงค์ของตนแก่ลูกเสือและเพื่อให้ลูกเสือปฏิบัติโดยพร้อมเพียงกัน • คำบอก • ท่าสัญญาณ • คำบอกและท่าสัญญาณประกอบกัน • แตร • นกหวีด • คำสั่งด้วยปากหรือเขียน วิธีสั่งการ

  23. 1.คำบอก แบ่งออกเป็น • คำบอกแบ่ง • คำบอกเป็นคำๆ • คำบอกรวด • คำบอกผสม

  24. (ก) คำบอกแบ่ง เป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่งสำหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะกำหนดไว้ให้ปฏิบัติได้เป็นจังหวะเดียวหรือแบ่งเป็นจังหวะๆโดยมีเครื่องหมาย – คั่นกลางไว้ ผู้ให้คำบอก จะต้องเปล่งเสียงบอกในคำแรกด้วยการลากเสียงค่อนข้างยาว แล้วเว้นจังหวะไว้เล็กน้อย ก่อนที่จะเปล่งเสียงออกในคำหลังด้วยการเน้นเสียงหนักและสั้น เช่น

  25. ตรง หัน หัน แถว ขวา ซ้าย หัน หัน กลับหลัง กึ่งขวา “ แถว-ตรง ” “ ขวา-หัน ” “ ซ้าย-หัน ” “ กลับหลัง-หัน ” “ กึ่งขวา-หัน ”

  26. เดิน เท้า หน้า ซอย หัน เดิน ทำ กึ่งซ้าย ครึ่งก้าว ซอยเท้า “ กึ่งซ้าย-หัน ” “ ครึ่งก้าว-เดิน ” “ หน้า-เดิน” “ ซอย-เท้า ” “ ซอยเท้า-ทำ ”

  27. หยุด ตรง แถว แล ทำ ทำ วุธ แลขวา แลซ้าย วันทยา “ แถว-หยุด ” “ แลขวา-ทำ ” “ แลซ้าย-ทำ ” “ แล-ตรง ” “ วันทยา-วุธ ”

  28. อาวุธ แบก อาวุธ เรียบ ทำ ทำ เลี้ยวขวา เลี้ยวซ้าย หน้าเดิน หน้าเดิน เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา “ แบก-อาวุธ ” “ เรียบ-อาวุธ ” “ เลี้ยวขวา-ทำ ” “ เลี้ยวซ้าย-ทำ ” “ เลี้ยวขวา-หน้าเดิน ” “ เลี้ยวซ้าย-หน้าเดิน ”

  29. แทง ทำ แทง แทง ทำ เดิน แทงไกล ตรงหน้า ปัดขวา แทงเสย ปัดซ้าย แทงใกล้ “ ตรงหน้า-เดิน ” “ แทงไกล-แทง ” “ แทงใกล้-แทง ” “ แทงเสย-แทง ” “ ปัดขวา-ทำ ” “ ปัดซ้าย-ทำ ”

  30. (ข) คำบอกเป็นคำๆ เป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่งสำหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่กำหนดให้ปฏิบัติแบ่งเป็นจังหวะไว้ โดยการใช้เครื่องหมาย , กั่นกลาง ผู้ให้คำบอก จะต้องเปล่งเสียงบอกทั้งในคำแรกและคำหลังด้วยการวางน้ำหนักไว้เท่าๆกัน โดยเว้นจังหวะระหว่างคำไว้เล็กน้อย(ไม่ต้องลากเสียงยาวในคำแรก) เช่น

  31. “ ตามระเบียบ, พัก ” “ ตามสบาย, พัก ” “ คอน, อาวุธ ” “ เฉียง, อาวุธ ” “ เปลี่ยน, เท้า ” “ เฉียงขวา, ทำ ” “ เฉียงซ้าย, ทำ” “ ก้าวทางขวา, ทำ ” “ ก้าวทางซ้าย, ทำ” “ ก้าวทางขวา...ก้าว, ทำ ” “ ก้าวทางซ้าย...ก้าว, ทำ” “ ถอดหมวก, นั่ง ” “ นับตลอด, นับ”

  32. “ นับ..., นับ ” “ ก้าวถอยหลัง, ทำ” “ ก้าวถอยหลัง...ก้าว, ทำ ” “ ตรงหน้า, วันทยหัตถ์” “ ทางขวา, วันทยหัตถ์” “ ทางซ้าย, วันทยหัตถ์” “ เลี้ยวขวา, กลับหลัง” “ เลี้ยวซ้าย, กลับหลัง” “ ลูกเสือเตรียมกล่าวคำปฏิญาณ, ตรง” “ หน้ากระดานแถวเดี่ยว, ปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสองแถว, ปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสามแถว, ปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า”

  33. หน้ากระดานแถวเดี่ยว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสองแถว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสามแถว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ แถวหนึ่ง, นับ” “ แถวสอง, นับ” “ แถวสาม, นับ” “ แถวสี่, นับ” “ ตอนเรียงหนึ่ง , มาหาข้าพเจ้า” “ ตอนเรียง... , มาหาข้าพเจ้า”

  34. (ค) คำบอกรวด เป็นคำบอกเพื่อออกคำสั่งที่ไม่ยืดยาวหรือหลายพยางค์(ไม่ต้องแบ่งจังหวะหรือวรรคตอน) ผู้ให้คำบอก จะต้องบอกรวดเดียวจบ โดยการวางระดับเสียงเป็นระดับเดียว เช่น “ เดิน ” “ จัดแถว ” “ นิ่ง ” “ แยก ” “ พักแถว ” “ เลิกแถว ” “ พัก ” “ ตรง ” “ วันทยหัตถ์ ” “ มือลง ” “ นับ ” “ นับใหม่ ”

  35. “ ถอดหมวก ” “ สวมหมวก ” “ สงบนิ่ง ” “ นั่ง ” “ ลุก ” “ หมอบ ” “ นับสอง ” “ นับสาม ” “ ขาดหนึ่ง ” “ แถวที่...นับ ” “ ซอยเท้า ” “ เดินตามสบาย ” “ เตรียมแทง ” “ แทงไกลแทง ” “ แทงใกล้แทง ” “ แทงเสยแทง ” “ บังตัว ” “ รวมอาวุธ ” “ ขยายอาวุธ ” “ รวมพลอง ” “ ขยายพลอง ” “ รวมไม้ง่าม ” “ ขยายไม้ง่าม ” “ ปรับขบวนสวนสนาม ” “ ลูกเสือเตรียมสวนสนาม ”

  36. (ง) คำบอกผสม เป็นคำบอกที่มีลักษณะคล้ายคำบอกเป็นคำๆและมีคำบอกแบ่งผสมอยู่ในคำหลัง ผู้ให้คำบอก คำบอกแรกเป็นคำบอกเป็นคำๆ โดยใช้เครื่องหมาย , คั่น คำบอกหลังเป็นคำบอกแบ่งโดยใช้เครื่องหมาย - คั่นกลาง เช่น

  37. “ ทางขวา, แลขวา - ทำ ” “ ทางซ้าย, แลซ้าย - ทำ ” “ ตรงหน้าระวัง, วันทยา - วุธ ” “ วิ่ง, หน้า - วิ่ง ” “ ทางขวาระวัง, วันทยา - วุธ ” “ ทางซ้ายระวัง, วันทยา - วุธ ” “ สวนสนาม, หน้า - เดิน ”

  38. 2.ท่าสัญญาณ • ใช้แทนคำบอก • เมื่ออยู่ห่างไกลจากลูกเสือ • กรณีต้องการความสงบ

  39. (1) เตรียม คอยฟังคำสั่ง หรือหยุด เหยียดแขนขวาขึ้นตรงเหนือศีรษะ มือแบห้านิ้วชิดกัน หันฝ่ามือไปข้างหน้า • ลูกเสือหยุดการเคลื่อนไหว • หยุดการกระทำใดๆทั้งสิ้น • นั่งคอยฟังคำสั่ง โดยหันหน้าไปยังผู้บังคับบัญชา (ถ้าอยู่ในแถวยืนอยู่ในท่าตรง)

  40. (2) รวม หรือกลับมา เหยียดแขนขวา มือแบ หมุนเป็นวงกลมเหนือศีรษะจากซ้ายไปขวา

  41. (3) จัดแถวหน้ากระดาน เหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างเสมอแนวไหล่ ฝ่ามือแบไปข้างหน้าจัดแถวหน้ากระดานให้ทิศหน้าแถวหันตรงหน้าผู้ให้สัญญาณ

  42. (4) จัดแถวตอน เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้าในแนวเดียวกับหัวไหล่แขนขนานกัน ฝ่ามือแบเข้าหากัน

  43. (5) เคลื่อนที่ไปข้างหน้า, ทางขวา(ซ้าย),กึ่งขวา(ซ้าย),ไปข้างหลัง ผู้ให้สัญญาณหันหน้าไปยังทิศทางที่ต้องการ ชูแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะ ฝ่ามือแบไปข้างหน้าแล้วลดแขนลงข้างหน้าเสมอแนวบ่า

  44. (6) หมอบหรือเข้าที่กำบัง แขนขวาเหยียดตรงไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่ ฝ่ามือแบคว่ำลดแขนลงข้างหน้าแล้วกลับที่เดิมหลายๆครั้ง

  45. (7) เร่งจังหวะหรือเร็วขึ้น แขนขวางอมือกำเสมอบ่า ชูขึ้นตรงเหนือศีรษะแล้วลดลงหลายครั้ง หมายเหตุ ก่อนจะให้สัญญาณแต่ละท่านั้น ให้ทำสัญญาณข้อ(1) ก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นการเตือนให้รู้ว่าจะให้สัญญาณอะไร

  46. 3. แตรหรือนกหวีด • ใช้เมื่อลูกเสืออยู่รวมกัน ในกรณีพิเศษหลายกองอยู่ปะปนกับประชาชน • เมื่อไปเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม การใช้สัญญาณนกหวีด (1) หยุด, เตรียมตัว, คอยฟังคำสั่ง หวีดยาว 1 ครั้ง ( ____ )

  47. (2) เดินต่อไป, เคลื่อนที่ต่อไป, ทำงานต่อไป หวีดยาว 2 ครั้ง ( ____ ____ ) (3) เกิดเหตุ หวีดสั้นหนึ่งครั้ง ยาวหนึ่งครั้ง ( _ ____ , _ ____ , _ ____ ) (4) เรียกนายหมู่ หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ( _ _ _ ____ , _ _ _ ____ )

  48. (5) ประชุม, รวม หวีดสั้นติดต่อกันหลายๆครั้ง หมายเหตุ เมื่อจะใช้สัญญาณ (2) (3) (4) และ(5) ให้ใช้สัญญาณ (1) ก่อนทุกครั้ง ( _ _ _ _ _ _ _ _ ) (6) หมู่บริการชักธงลงเวลา 18.00 น. ณ.ค่ายพักแรม หวีดยาว 3 ครั้ง หวีดสั้น 1 ครั้ง ( ____ ____ ____ _ )

  49. (4) คำสั่งด้วยปาก เป็นถ้อยคำที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จะพึงสั่งลูกเสือให้ปฏิบัติตามความต้องการเป็นส่วนรวม เช่น “ ให้ทุกหมู่แยกทำการฝึกระเบียบแถวภายใน 10 นาที แล้วพัก ”

  50. (5) คำสั่งเขียน ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ปฏิบัติตามความต้องการ โดยเขียนข้อความลงบนกระดาษ และนำไปให้แต่ละหมู่ได้ทราบ เช่น “ คืนนี้เวลา 23.00 น. แต่งเครื่องแบบครบชุดมาพร้อมกัน ณ ที่รวมพล ”

More Related