1 / 65

กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว

มาตรการในการบรรเทาผลกระทบการท่องเที่ยวต่อภาวะโลกร้อน และการสร้างความสามารถในการปรับตัวของภาครัฐเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว. กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

laurie
Download Presentation

กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรการในการบรรเทาผลกระทบการท่องเที่ยวต่อภาวะโลกร้อน และการสร้างความสามารถในการปรับตัวของภาครัฐเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

  2. ประเด็น • ภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย • โครงสร้างของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว • ลำดับเหตุการณ์สำคัญด้านการท่องเที่ยวในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา • สถานการณ์การท่องเที่ยวของโลก และประเทศไทย • ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาโลก • สินค้าการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมและกำลังอยู่ในกระแส • จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและข้อจำกัด • ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนต่อการท่องเที่ยว • แนวทางการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

  3. ภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวคืออะไร ใครคือนักท่องเที่ยว องค์การสหประชาชาติ(United Nations) ได้นิยามไว้ว่า “ การท่องเที่ยว” หมายถึง กิจกรรมที่มีเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประการ • เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว • เป็นการเดินทางไปด้วยความสมัครใจ • เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตาม ที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้

  4. เพื่อพักผ่อนในวันหยุดเพื่อพักผ่อนในวันหยุด เพื่อวัฒนธรรมหรือศาสนา เพื่อการศึกษา เพื่อการกีฬาและบันเทิง เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และความสนใจพิเศษ เพื่องานอดิเรก เพื่อเยี่ยมเยือนญาติมิตร เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เพื่อเข้าร่วมประชุมหรือสัมมนา โดยมีวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อ

  5. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย “ การเดินทางเพื่อผ่อนคลายความเครียด แสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่โดยมีเงื่อนไขว่าการเดินทางนั้น เป็นการเดินทางเพียงชั่วคราว ผู้เดินทางจะต้องไม่ถูกบังคับให้เดินทาง”

  6. ดังนั้น การท่องเที่ยวจึงเป็นการเดินทางตามเงื่อนไขสากล 3 ประการคือ • เป็นการเดินทางชั่วคราว • เป็นการเดินทางโดยสมัครใจ • ไม่เป็นการเดินทางเพื่อประกอบอาชีพ จากนิยามดังกล่าว การท่องเที่ยวจึงครอบคลุมการเดินทางทั้งเพื่อธุรกิจและเพื่อการพักผ่อน ตราบเท่าที่ผู้เดินทางมิได้ตั้งหลักแหล่งถาวร และไม่ได้รับรายได้เพื่อยังชีพจากเจ้าของถิ่นปลายทาง

  7. ข้อแตกต่างระหว่างสินค้าการท่องเที่ยวกับสินค้าในอุตสาหกรรมอื่น • ความเป็นนามธรรม (Intangibility) จับต้องไม่ได้ สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก • ความไม่เหมือนกัน (Heterogeneous) การท่องเที่ยวหรือการรับบริการการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง มีความแตกต่างกัน ไม่สามารถทำให้เหมือนเดิมได้ • ความไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ (Inseparability) นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าจะต้องเป็นผู้ที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวนั้นไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเที่ยวชมหรือการใช้บริการการท่องเที่ยว ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ • ความไม่ยั่งยืน (Perishability) ไม่สามารถเก็บการบริการการท่องเที่ยวไว้ใช้ในเวลาอื่นได้ หรือเก็บเพื่อนำไปให้ผู้อื่นใช้ได้ เมื่อเวลาผ่านไปแล้วก็จะหมดไป

  8. รูปแบบของการท่องเที่ยวแบบต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทุกรูปแบบจะต้องมุ่งเป็น การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (CONSERVATION TOURISM) การท่องเที่ยวนันทนาการ การประชุม สัมมนา และ ธุรกิจ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม Cultural Tourism การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ Natural Tourism การแสดงทาง วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาธรรมชาติ การบันเทิง และกีฬา กีฬา ท่องเที่ยวที่ผิดศีลธรรม การท่องเที่ยวใน แหล่งชุมชน การทัศนศึกษาในแหล่งธรรมชาติ ท่องเที่ยวแหล่งบริการและบันเทิง เริงรมณ์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) การเยี่ยมชม แหล่งโบราณสถานฯ การผจญภัย

  9. ความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ • รายได้ ระดับประเทศ กระจายสู่ท้องถิ่น • การสร้างงานและอาชีพ • เกิดการพัฒนาสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น • ปลุกจิตสำนึก รักถิ่นฐานบ้านเกิด นำมาสู่การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในท้องถิ่น • เปิดโลกทัศน์ให้นักท่องเที่ยว นำประสบการณ์มาใช้พัฒนาชีวิตและสังคม

  10. โครงสร้างของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยโครงสร้างของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ธุรกิจหลัก (โรงแรม บริษัทนำเที่ยว) ธุรกิจรอง (ร้านอาหาร ร้านของ ที่ระลึก บริการต่างๆ) ธุรกิจสนับสนุน (ขนส่งมวลชน ธุรกิจการเงิน รถเช่า) แหล่งท่องเที่ยว (ธรรมชาติ และ มนุษย์สร้างขึ้น) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Niche Market and Event Market) สินค้า การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยวไทย ในประเทศ นักท่องเที่ยวไทย ไปต่างประเทศ บริการ ตลาด • การบริหารจัดการ สนับสนุนและมีบทบาทเกี่ยวข้อง • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย • สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ – องค์กรพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน • สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย – หน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น • องค์กรภาคเอกชน - สถาบันวิชาการ

  11. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยวธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท การ คมนาคม ขนส่ง บันเทิง และ นันทนาการ นักท่องเที่ยว การจัดนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ การรักษาความปลอดภัย ภัตตาคาร ร้าน อาหาร การให้ ข้อมูล ข่าวสาร ธุรกิจของ ที่ระลึก

  12. ในปี 2553จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ไทยจะได้รับ คาดว่า จะต่ำกว่าแนวโน้มเดิมที่ 15.5 ล้านคน ซึ่งเคยคาดไว้ในช่วงต้นปี โดยการปรับแผนจากงบปกติให้สอดรับกับสถานการณ์จะช่วยรักษาเป้าหมายเดิมที่ 14 ล้านคน แต่หากได้รับงบกระตุ้นในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 คาดว่า จะสามารถกระตุ้นตลาดจนได้รับจำนวนนักท่องเที่ยวสูงกว่าเป้าหมายได้ ปี 2552 14.15 ล้านคน (-2.98%) ปี 2553 15.5 ล้านคน (+9.55%) ปี 2553 14.37 ล้านคน (+1.5%) ปี 2553 14 ล้านคน (-1.05%) 12

  13. ความได้เปรียบเรื่องความหลากหลายของสินค้าและบริการ รวมทั้งจุดเด่นเรื่อง “จิตบริการ” ของคนไทย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของการตอบสนองรสนิยมที่แยกย่อยตามลักษณะความสนใจของแต่ละตลาดมากขึ้น เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ปัจจุบันพัฒนาอย่างซับซ้อนจากระดับ segmentationสู่ fragmentation แล้ว กลุ่มตลาด ปี 2554 เอเชียตะวันออก ยุโรป และตะวันออกกลาง • Thematic Tour • Sport Tourism • Green Tourism • Long Stay • Lady • Green Tourism • Volun - tourism • Community Based Tourism • Experience Tourism • Family (Multi generation) ประชากรศาสตร์ ผู้สูงอายุ – Baby boomers สตรี เยาวชน Lifestyle • Medical Tourism • Soft Adventure • Hispanic • Faith Based Tourism • GLBT • Babyboomer • Gen x, Gen Y • Lady • Eco-adventure • Long Stay • MICE • Call Center แต่งงานและฮันนีมูน กอล์ฟ สุขภาพและความงาม ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อาเซียนและโอเชียเนีย อเมริกา 13

  14. กระแสการเดินทางท่องเที่ยวในปี 2010-11 แนวโน้มการท่องเที่ยว • การเปิดประเทศของประเทศในเอเชียใหม่ ๆ โดยเฉพาะ จีน • กลุ่ม Baby Boom จะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเดินทาง • การเปลี่ยนแปลงระบบรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีการออกหนังสือเดินทาง • การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดความสนใจเฉพาะ • การให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็น Climate Change

  15. กิจกรรมทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นกิจกรรมทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น • Spa และรีสอร์ทระดับห้าดาว เกิดขึ้นและมีการพัฒนาจนกลายเป็น Destination คือมีความพร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวทุกอย่าง • การท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ โดยกลุ่ม Baby Boom (ผู้เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – ปี 1964 ) ที่มีกำลังซื้อมากจะให้ความสนใจมาก • ตลาดกลุ่มความสนใจเฉพาะ : Green Tourism ได้แก่ กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และกลุ่ม Niche market อื่น ๆ อาทิ การท่องเที่ยวผจญภัย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นต้น

  16. สินค้าการท่องเที่ยวที่เสนอขายในตลาดสินค้าการท่องเที่ยวที่เสนอขายในตลาด สินค้าที่ยังอยู่ในความนิยม สินค้าที่เข้าสู่ความนิยม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ภูเก็ต พัทยา สมุย กระบี่ หัวหิน ชะอำ เกาะช้าง เกาะยาว เกาะลันตา เกาะราชา เขาหลัก หมู่เกาะสุรินทร์ ตรัง สตูล เชียงใหม่ เชียงราย กรุงเทพฯ อยุธยา กาญจนบุรี ปาย สุโขทัย เขาใหญ่ หนองคาย

  17. การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของคนไทยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของคนไทย กลุ่มตลาดเดิม กลุ่มตลาดใหม่ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง • ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางจิตใจ • และความคุ้มค่าในการเดินทางท่องเที่ยว • การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของการหลีก • หนีความเครียด • - กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว • - สนใจเสริมสร้างประสบการณ์และ • การเรียนรู้มากขึ้น • - สนใจเรื่องสุขภาพ • - ท่องเที่ยวระยะใกล้ • - ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น วัยทำงาน ข้าราชการ ครอบครัว นักเรียน-นักศึกษา วัยก่อนทำงาน ครอบครัว นักธุรกิจ ความสนใจเฉพาะ ผู้สูงอายุ

  18. สินค้าที่อยู่ในความนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวไทยสินค้าที่อยู่ในความนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวไทย สินค้าที่ยังอยู่ในความนิยม สินค้าที่เข้าสู่ความนิยม แหล่งท่องเที่ยว กาญจนบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ชะอำ ระยอง ลพบุรี สระบุรี อยุธยา พัทยา อุดรธานี แหล่งท่องเที่ยว จันทบุรี ลำปาง เกาะช้าง ภูเก็ต ลำพูน กระบี่ เชียงราย สระแก้ว สุรินทร์ นครนายก ตรัง สินค้า/กิจกรรม หาดทรายชายทะเล ชมเมือง/ทิวทัศน์ น้ำตก ป่าเขา วัฒนธรรม ประเพณี Shopping สถานบันเทิง สินค้า/ กิจกรรม สินค้าความสนใจพิเศษ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม

  19. การวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศการวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศ • จุดแข็ง • มีแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมและบริการการท่องเที่ยวที่หลากหลายกระจายทั่วประเทศ • แต่ละภาคมีความแตกต่างของสินค้าทางการท่องเที่ยวที่ชัดเจน • เที่ยวได้ตลอดทั้งปี และมีการนำเสนอสินค้าใหม่สู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอตาม Lifestyle ของนักท่องเที่ยว • มีการคมนาคมระหว่างภูมิภาคและในภูมิภาคที่สะดวก • มีการขยายเส้นทางเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

  20. การวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศการวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศ • จุดอ่อน • ขาดการนำเสนอเอกลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นและจุดต่างของพื้นที่ • สินค้าและบริการที่เสนอขายมีมูลค่าทางการตลาดค่อนข้างต่ำ • ความพร้อมในการบริการการท่องเที่ยวยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองท่องเที่ยวหลัก • ขาดการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ • ยังเห็นความสำคัญการอนุรักษ์และห่วงใยสิ่งแวดล้อมน้อย • มีปัญหาการจัดการด้านความปลอดภัย/ การเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

  21. การวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศการวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศ • โอกาส • ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงโดยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในมิติของคุณค่าทางจิตใจและความคุ้มค่า • กระแสนิยมของการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม ทั้งการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ • ใช้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อคลายเครียดและอยู่ร่วมกับครอบครัว • กระแสความสนใจด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการสร้างประโยชน์ต่อสังคมที่เพิ่มขึ้น • รัฐให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น • การขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำและการเปิดเส้นทางการบินระหว่างภูมิภาคเพิ่มขึ้น

  22. การวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศการวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดทางการตลาดของตลาดในประเทศ • อุปสรรค • สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและแนวโน้มราคาน้ำมันที่จะเพิ่มขึ้น • บรรยากาศทางการเมือง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคและการเดินทางท่องเที่ยว • การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมโลกและประเทศไทย • การนำเสนอข่าวสาร/ เหตุการณ์ทางลบที่เกินข้อเท็จจริง • การเดินทางข้ามภูมิภาคของนักท่องเที่ยวภาคต่าง ๆ ยังมีน้อยและแนวโน้มจะเดินทางระยะใกล้เพิ่มมากขึ้น • การแข่งขันด้านการตลาดระหว่างประเทศสูง

  23. แนวทางการปรับตัวตามการวิเคราะห์ตลาดในประเทศแนวทางการปรับตัวตามการวิเคราะห์ตลาดในประเทศ โอกาสทางการตลาด • ขยายการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนกลุ่มคนไทยทั่วไป • ขยายฐานตลาดเฉพาะที่สอดรับการพื้นที่ การปรับตัวทางการตลาด • กำหนดจุดขายที่ชัดเจนในแต่ละพื้นที่ • หากิจกรรมท่องเที่ยวที่เพิ่มมูลค่าและสอดรับกับกระแสความต้องการของตลาด • กระจายการเดินทางสู่พื้นที่ท่องเที่ยวรอง • ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว • สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและการบริหารจัดการวิกฤต

  24. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวระยะ 5 ปี ( 2550 – 2554) Vision: “มุ่งพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ก้าวสู่มาตรฐานที่มีคุณภาพ เป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก อันจะเป็นการนำไปสู่การเป็น Tourism Capital of Asia” Quality – Sustainability-Competitiveness

  25. เป้าหมายการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการวางตำแหน่งทางการตลาด • รายได้ • ??? • ตำแหน่งทางการตลาด • วางตำแหน่งทางการท่องเที่ยว (Positioning) เป็น “แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพที่หลากหลาย ให้ประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าประทับใจไม่รู้ลืม”

  26. หน่วยงานภาครัฐกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะเป็นผู้บัญญัติระเบียบ กฎเกณฑ์ และข้อบังคับเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (United Nations, 1999) • ประเทศไทย มีการปฏิรูประบบราชการโดยการถ่ายโอนอำนาจจากราชการส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่นโดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจและความรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวโดยตรง ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว (Destination Management)

  27. บทบาทสำคัญของหน่วยงานภาครัฐ • การวางแผนพัฒนาตำบลและการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว • การวางผังเมือง • การดูแลและปกป้องสิ่งแวดล้อม • การจัดหาสาธารณูปโภค • การจัดการศึกษา • การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น • การจัดตั้งองค์กร • การบัญญัติและบังคับใช้กฎหมายหรือข้อบังคับท้องถิ่น การเรียกเก็บภาษี

  28. หลักการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่หลักการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ • วางแผนพัฒนา โดยศึกษาตลาด จัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน • หา Product ที่เป็น Core Competency • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าการท่องเที่ยว โดยการร่วมมือกันทุกระดับ • กำหนด Vision ของท้องถิ่นของตนเอง โดยต้องยึดแนวทาง การจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

  29. เป้าหมายทั่วไปคือเศรษฐกิจและความยั่งยืนของทรัพยากรเป้าหมายทั่วไปคือเศรษฐกิจและความยั่งยืนของทรัพยากร เป้าหมายร่วมกันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชุมชนและหน่วยงานดูแลรักษาทรัพยากร การท่องเที่ยวธรรมชาติและประวัติศาสตร์วัฒนธรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ใช้ทรัพยากร หน่วยงานจัดการ ดูแลรักษา/คุ้มครองทรัพยากร ความยั่งยืนที่เกิดร่วมกัน การบริหารการใช้ทรัพยากร โอกาสทางธุรกิจ เป้าหมายทั่วไปคือเศรษฐกิจและความยั่งยืนทางสังคม เป้าหมายทั่วไปคือการใช้ทรัพยากรยั่งยืนและปกป้องทรัพยากร ประชาชนในชุมชน ใช้ทรัพยากร/ดูแลปกป้อง

  30. บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว • ภาครัฐ:นำ • Government: Lead • วางนโยบาย แผน กลยุทธ์ • สร้าง Infra. • กำหนดกฎเกณฑ์และการบังคับใช้ • ประสานงาน กระตุ้น นำร่อง • ภาคเอกชน: ขับเคลื่อน • Private Sector: Drive • ลงทุนธุรกิจ • เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน • มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน • ชุมชนท้องถิ่น: เป็นฐาน • Community: base • กิจกรรมท่องเที่ยว • ให้บริการ • เสริมภูมิคุ้มกัน • องค์กรเอกชนและ • สถาบันวิชาการ: สนับสนุน Support • เสริมความรู้ • ยกมาตรฐาน • สร้างช่องทาง

  31. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ภาวะโลกร้อนกับการท่องเที่ยว ภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวตกอยู่ในภาวะเสี่ยง และอ่อนไหวอย่างยิ่ง ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในทางวิชาการ การท่องเที่ยวจึงเป็นตัวชี้วัด ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน ภาวะโลกร้อน ได้ทำให้ภาคการท่องเที่ยวต้องปรับตัวไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทั้งในรูปแบบ แนวคิดและการจัดการ

  32. Global Warming ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อการท่องเที่ยว • การเปลี่ยนแปลงของแหล่งท่องเที่ยว(Supply) • น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลสูงขึ้น ชายฝั่งทะเลบางแห่งจมน้ำ • โซนหนาวอุณหภูมิสูงขึ้น ฤดูหนาวสั้นลง ยุโรปเหนือไม่จำเป็นต้องหนีหนาวอีก • โซนร้อนจะยิ่งร้อนขึ้น/ฝนตกหนักมากขึ้น • กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง แหล่งท่องเที่ยวเสียหาย เช่น ปะการังฟอกสี ซีดขาว สีจางลง • เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงและบ่อยขึ้น • ช่วงให้บริการเปลี่ยนแปลงไป (เช่น Ski resort หิมะละลายเร็วขึ้น,แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเข้าสู่ฤดูมรสุมเร็วขึ้น) • เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ จากภูมิอากาศที่อบอุ่นขึ้น • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว (Demand) • ยุโรปเหนือ Outbound มีแนวโน้มลดลง โดยหันไปเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น จากอากาศที่ดีขึ้น • ยุโรปใต้/โซนร้อน เดินทางเข้ายุโรปเหนือมากขึ้น • กิจกรรมท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป เช่น สนใจทำกิจกรรม Outdoor มากขึ้น • Package tour เป็น Last minute มากขึ้น • วันพักน้อยลง เนื่องจากฤดูหนาวที่สั้นลง

  33. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 33

  34. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว แนวคิดและความเป็นมาของการจัดทำ “โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อม” • กิจกรรมการท่องเที่ยวที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์สวยงามทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ • ผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อน โดย องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ประมาณการว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศถึงร้อยละ 5 • ผลประชุม PATA CEO Challenge 2008 ที่ให้ความสำคัญต่อวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการท่องเที่ยว • ททท. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อลดปัญหาจากภาวะโลกร้อน

  35. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ • เป็นโครงการร่วมเทิดพระเกียรติและถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา • สร้างกระแสการรับรู้เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจาก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว • ส่งเสริม Brand สินค้าทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านการตระหนักและใส่ใจในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

  36. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว รูปแบบการดำเนินการภายใต้“โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” เพื่อให้โครงการมีกรอบหรือทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็น รูปธรรม ททท. จึงได้กำหนดแนวคิดที่สื่อถึงการท่องเที่ยวที่ใส่ใจ หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า “แนวคิด 7 Greens” หรือ “7 Green Concept”

  37. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว 37

  38. “THE 7GREENS” CONCEPT The ‘7 Greens Concept’ has recently been initiated as a creative response to the World’s trend towards reduction of ‘Global Warming’ effect. Green Logistics Green Community GreenAttraction Green Activity Green Heart Green Plus Green Service

  39. นิยาม หัวใจที่เคารพในวิถีแห่งธรรมชาติ ตระหนักและศรัทธาในพลังอันยิ่งใหญ่ มิใช่เพียงแค่คิดหรือพูดแต่ต้องลงมือทำ แนวปฏิบัติ รับรู้ และตระหนักถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อทรัพยากรท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีการปฏิบัติที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว Green Heart (หัวใจสีเขียว)

  40. นิยาม วิธีการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางที่ ผสมผสานแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวปฏิบัติ รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวหันมาเลือกใช้ยานพาหนะที่ประหยัดพลังงาน ปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทาง ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนส่งปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว Green Logistics(รูปแบบการเดินทางสีเขียว) เกร็ดความรู้ เอกสาร Tourism & Climate Change 2001 ของ WWF ระบุว่าภายในปี 2015 คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ จะเพิ่มขึ้นถึง 75% จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปทั่วโลก ที่เพิ่มขึ้นจาก 700 ล้านค้น ในปี 2000 เป็น 1,000 ล้านค้น ในปี 2010 และ 1,600 ล้านคนในปี 2020 ตัวเลขนี้ หมายความว่า เฉพาะอุตสาหกรรมการบินเพื่อการท่องเที่ยว ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็น 960 ล้านตันต่อปี หนังสือพิมพ์ Daily Telegraph ของออสเตรเลียสำรวจพบว่านักเดินทางเกือบ 20% อาจตัดสินใจยกเลิกการเดินทางทางอากาศ เมื่อทราบข้อมูลว่า การบินส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

  41. นิยาม ประสานการใช้ประโยชน์เพื่อการ ท่องเที่ยวกับสภาพดั้งเดิมของแหล่งไว้ให้ ได้ ภายใต้การจัดการที่มีประสิทธิภาพ แนวปฏิบัติ ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ มีการปฏิบัติที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการรักษามรดกทางวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านสังคม และเศรษฐกิจแก่ชุมชน www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว GreenAttraction(แหล่งท่องเที่ยวสีเขียว)

  42. นิยาม ชุมชนท่องเที่ยวที่รู้เท่าทัน ผสาน ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวพร้อม รักษาอัตลักษณ์ชุมชนได้อย่างสมดุล แนวปฏิบัติ ปรับปรุงพัฒนาระบบบริหารจัดการชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปฏิบัติที่มุ่งเน้นการถ่ายทอด สืบสานและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตท้องถิ่น มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านสังคม และเศรษฐกิจแก่ชุมชน มีการต้อนรับและบริการต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว Green Community(ชุมชนสีเขียว)

  43. นิยาม กิจกรรมที่คุณสามารถทำได้เพื่อความ สนุกสนานเพลิดเพลินตราบเท่าที่ไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อม แนวปฏิบัติ กิจกรรมการท่องเที่ยวต้องสอดคล้องกลมกลืนกับคุณค่าและความโดดเด่นของทรัพยากร กิจกรรมการท่องเที่ยว ต้องก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ รายการนำเที่ยว มัคคุเทศก์ ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว Green Activity(กิจกรรมสีเขียว)

  44. นิยาม ธุรกิจการท่องเที่ยวทุกประเภทที่จริงใจ ด้วย การเลือกใช้วัตถุดิบและควบคุม การปล่อยของเสียกลับคืนสู่ธรรมชาติที่ ผ่านการบำบัดทุกครั้ง แนวปฏิบัติ มีการพัฒนา/ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การบริการต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทรัพยากรท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคม www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว Green Service(การบริการสีเขียว)

  45. นิยาม การให้คืนกลับแก่โลกใบนี้ด้วยความ ตั้งใจ ผ่านกิจกรรมอันหลากหลายที่แต่ ละคนเลือกทำได้ตามความสมัครใจ แนวปฏิบัติ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการรักษาหรือฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว จัดตั้งสำนักงาน “ภาคีสิ่งแวดล้อมด้านการท่องเที่ยว เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือ” ส่งเสริม/สนับสนุนการศึกษาวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว Green Plus(ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม)

  46. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว เกณฑ์หลัก (Core Criteria) ในการพิจารณาสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยว สีเขียวตามแนวคิด 7 Greens

  47. หมวดที่ 1 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของ องค์กร การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการดำเนินธุรกิจโดยการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หมวดที่ 2 การดำเนินการขององค์กรที่ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติในการลดภาวะโลกร้อน การบริหารจัดการซื้อ การนำภาพลักษณ์ด้านการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาทำการตลาด www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว 1. ด้านการบริหารจัดการองค์กรที่คำนึงถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

  48. www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว 2. ด้านการบริหารจัดการที่คำนึงถึงความยั่งยืนของชุมชน/สังคม/ประกอบด้วย • การให้ความสำคัญกับการจัดการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนเป็นสำคัญ • การให้ความสำคัญกับการจัดการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนและนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ • การประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเสริมที่เป็นการช่วยรักษาหรือตอบแทนคืนความเป็นธรรมชาติสู่สังคมและชุมชน

  49. www.tourismthailand.org www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่อสังคม CSR C :Corporate S :Social R :Responsibility

  50. www.tourismthailand.org www.tourismthailand.org ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว • ความรับผิดชอบต่อสังคม ตาม “หลักบรรษัทภิบาล” • ภายใต้อุดมการณ์หลัก 4 ประการ คือ • การตั้งมั่นในความเป็นธรรม • มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ • ศรัทธาเชื่อมั่นในคุณค่าของคน • การถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

More Related