1 / 43

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:01

การทำงานเป็นทีม. วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เรียน 1. ทราบแนวคิดพื้นฐานในการทำงานเป็นทีม 2. เข้าใจบทบาทของผู้ช่วยเหลือทีม (Facilitator) 3. ประเมินว่ามีทักษะที่จำเป็นเพียงใด ควรพัฒนาอย่างไร 4. นำเทคนิคการรวบรวมความคิดและการตัดสินใจไปใช้ได้. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:01.

leda
Download Presentation

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:01

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การทำงานเป็นทีม วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน 1. ทราบแนวคิดพื้นฐานในการทำงานเป็นทีม 2. เข้าใจบทบาทของผู้ช่วยเหลือทีม (Facilitator) 3. ประเมินว่ามีทักษะที่จำเป็นเพียงใด ควรพัฒนาอย่างไร 4. นำเทคนิคการรวบรวมความคิดและการตัดสินใจไปใช้ได้ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:01

  2. ทำไมต้องทำงานเป็นทีม ความซับซ้อนของระบบ ความจำเป็นที่ต้องใช้ทักษะที่หลากหลาย ความคิดสร้างสรรค์ นวตกรรม ขอให้วิเคราะห์งานที่ตนเองรับผิดชอบว่า -งานที่ทำคนเดียวก็ได้ผลดี -งานที่จำเป็นต้องร่วมมือเป็นทีมจึงจะได้ผลดี สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:02

  3. ปัจจัยเกื้อหนุนต่อการทำงานเป็นทีมปัจจัยเกื้อหนุนต่อการทำงานเป็นทีม Synergy: 1 + 1 > 2 บรรยากาศส่งเสริม ทรัพยากร สามารถนำการตัดสินใจไปปฏิบัติ ผู้บริหารให้การสนับสนุน การให้รางวัลหรือยกย่อง มีการฝึกฝนทักษะของทีม มีกระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นมาตรฐาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:03

  4. ทักษะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกทีมทักษะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกทีม ฟังเป็น สร้างบรรยากาศให้อยากพูด ท้าทายความคิด ใจมุ่งมั่น ยอมรับความคิดของผู้อื่น สะท้อนกลับ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:04

  5. ลักษณะของทีมที่ดี • บรรยากาศ • วิธีการสื่อสาร • บทบาทหน้าที่ • การตรวจสอบตนเอง ขอให้ประเมินว่าทีมในหน่วยงานของท่าน มีลักษณะของทีมที่ดีอยู่ในระดับใด สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:05

  6. การเสริมพลังให้ทีม (Team Empowerment) ต้องการเวลา ทักษะ และความตั้งใจของผู้บริหาร ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนอยากทำงาน แทนที่จะถูกสั่งให้ทำ ให้ทิศทาง ให้การฝึกอบรม ขอให้วิเคราะห์โอกาสการเสริมพลังให้ทีม -งานที่ทีมรับผิดชอบอยู่แล้ว -งานที่ทีมควรรับผิดชอบเองมากขึ้น -งานที่ทีมควรมีส่วนร่วมกับหัวหน้ามากขึ้น สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:06

  7. พัฒนาการของทีม การวิเคราะห์ว่าทีมอยู่ในขั้นตอนใด จะทำให้จัดการกับสถานการณ์ในขั้นตอนนั้นได้อย่างเหมาะสม ขั้นก่อตัว (Formimg) ขั้นปะทะ (Stormimg) ขั้นลงตัว (Norming) ขั้นได้งาน (Performing) ขั้นก่อตัวใหม่ (Reforming) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:07

  8. ผู้ช่วยเหลือทีม (Facilitator) รับผิดชอบจัดเวทีให้ทีมสามารถทำงานได้สำเร็จ เป็นผู้จัดเตรียม ผู้สื่อสาร เน้นในส่วนกระบวนการ ทุกคนสามารถและควรใช้ทักษะของผู้ช่วยเหลือทีม (1) ขอให้วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการทำหน้าที่ผู้ช่วยเหลือทีม และหัวหน้าหน่วยในรูปแบบต่างๆ (2) ขอให้ตรวจสอบความสามารถในการเป็นผู้ช่วยเหลือทีม สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:08

  9. การตั้งคำถาม เป็นทักษะการสื่อสารที่มีพลังที่สุด คำถามปลายเปิด มีประโยชน์มากที่สุด แต่ใช้น้อยเกินไป สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:09

  10. การสังเกต ผู้สังเกตไม่เข้าร่วมในเนื้อหาของการอภิปราย นำเสนอผลการสังเกตในส่วนที่ตนเห็นและได้ยิน สมาชิกร่วมอภิปราย ในกรณีมีจำนวนสมาชิกน้อย ทุกคนจะร่วมกันสรุปความรู้สึกของตนต่อการประชุม (ดูท้ายบทที่ 10) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:10

  11. การสะท้อนกลับ (Feedback) Supportive - ชื่นชมพฤติกรรมเพื่อให้รักษาไว้ Constructive - เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทุกคนต้องตกลงกันก่อนว่าจะยอมรับการสะท้อนกลับ การขอให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควรพูดตัวต่อตัว อย่าใช้คำพูดเชิงพิพากษา ให้บอกความรู้สึกของผู้พูด สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:11

  12. การประชุมของทีม กระบวนการประชุม: อะไรคือจุดอ่อนของท่าน บทบาทของผู้นำ, ผู้ช่วยเหลือทีม, ผู้บันทึก, สมาชิก สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:12

  13. บทบาทของผู้ช่วยเหลือทีมบทบาทของผู้ช่วยเหลือทีม • ดึงกลุ่มให้อยู่ในประเด็นเดียวกัน • กระตุ้นและเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม • ควบคุมการจราจร • รักษาเวลา • เสนอทางเลือกในวิธีการประชุม • ปกป้องการโจมตีสมาชิก • จัดการกับปัญหาเรื่องคน • วางตัวเป็นกลางเมื่อความเห็นไม่ลงรอย สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Team:13

  14. เทคนิคในการรวบรวมความคิดเทคนิคในการรวบรวมความคิด ระดมสมอง จัดระบบความคิด -แผนภูมิกลุ่มความคิด -แผนภูมิระบบ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:14

  15. ขั้นตอนการระดมสมอง • เตรียมการ (ประเด็น, กำหนดเวลา, กฎ) • กำหนดวิธีการระดมสมอง (ฟรีรอบวง, เรียงตามคิว) • ระดมความคิด (สมาธิ, คิด, ระดม) • กำหนดและใช้เกณฑ์กรอง (filter) • สรุป สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:15

  16. กฎ กติกา มารยาท ในการระดมสมอง • เสนอครั้งละ 1 ความเห็น • บัตรความคิด ให้เขียน 1 ความเห็นต่อบัตรอย่างกระชับ • ถ้าเลขาเป็นผู้บันทึก ต้องไม่แก้ไขถ้อยคำของผู้เสนอ • อย่าวิจารณ์ความเห็นของผู้อื่น (ทั้งวาจาและท่าทาง) • ซักถามได้ แต่ไม่มีการอภิปรายความเห็น • เน้นจำนวนมากที่สุด, ใช้ความคิดสร้างสรรค์ & อารมณ์ขัน • ต่อยอดความคิดของผู้อื่น สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:16

  17. การนำเสนอ • ลำดับ (ฟรีรอบวง หรือเรียงตามคิว) • วิธีการ (ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง) • เขียนลงบัตรด้วยอักษรตัวใหญ่, อ่านข้อความที่เขียนในบัตร, นำบัตรติดบน flip chart • เสนอด้วยคำพูด, เลขาบันทึกบน flip chart • สมาชิกคนอื่นฟังอย่างตั้งใจ เพื่อคิดต่อยอด สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:17

  18. จัดระบบความคิด • ความคิดจากการระดมสมองเป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที • การนำความคิดจากการระดมสมองมาใช้ ต้องจัดความคิดให้เป็นหมวดหมู่ และจัดระบบเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และความเป็นเหตุเป็นผล • การจัดหมวดหมู่ทำได้โดยกำหนดหมวดหมู่ก่อน หรือจัดกลุ่มด้วยวิธีธรรมชาติ (Affinity Diagram) • การตรวจสอบความสมบูรณ์และความเป็นเหตุเป็นผลต้องคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic/Tree Diagram) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:18

  19. แผนภูมิกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) • KJ-Kawakita Jiro นักสังคมศาสตร์ เป็นผู้คิด • เป็นการจัดกลุ่มตามความสัมพันธ์แบบธรรมชาติ • ใช้ความรู้สึกและความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเหตุผล • ผลคือการจัดระบบ การให้มุมมองใหม่ • เหมาะสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน ไม่แน่นอน ไม่เป็นระเบียบ มีจำนวนมาก หรือต้องการฉีกแนว สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:19

  20. Affinity Diagram ของปัญหาผู้ป่วยกระดูกหักนอน รพ.นาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:20

  21. แผนภูมิกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) ทำอย่างไร • กระจายบัตรความคิดบนโต๊ะหรือ Flip Chart • ใช้ความรู้สึก จัดกลุ่มความคิด ด้วยความเงียบ • ห้ามพูดคุยปรึกษากัน • ห้ามกำหนดหัวข้อกลุ่มไว้ก่อน • ใช้เพียงความรู้สึกอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องไตร่ตรอง • เปลี่ยนตำแหน่งบัตรที่ผู้อื่นจัดไว้ได้ • ตั้งชื่อกลุ่ม • เขียนแผนภูมิ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:21

  22. แผนภูมิระบบ/แผนภูมิต้นไม้(Systematic/Tree Diagram) • แสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลชนิดเป็นเส้นตรง • จาก ปัญหาหรือผล ไปหา สาเหตุ • จาก เป้าหมาย ไปหา วิธีการ • มีการขยายรายละเอียดเพิ่มขึ้นตามลำดับ • ช่วยให้พิจารณาองค์ประกอบของปัญหาได้ครบถ้วน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:22

  23. แผนภูมิต้นไม้ของการให้ข้อมูลผู้ป่วยแผนภูมิต้นไม้ของการให้ข้อมูลผู้ป่วย จัดความสำคัญ วิเคราะห์ปัญหา ยกร่าง มีเนื้อหาชัดเจน ทบทวน ออกแบบ สื่อมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้รับข้อมูล จัดทำ แพทย์ มอบหมาย มีผู้รับผิดชอบ พยาบาล ฝึกอบรม/คู่มือ มีการประเมินผล สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:23

  24. การนำชื่อกลุ่มของ Affinity Diagram มาเป็นแขนงหลัก ประสานงานกับญาติ ปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษา ผู้ป่วยกระดูกหัก กลับบ้านเร็ว ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ผ่าตัดทันที สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:24

  25. ระดมสมองด้วยเทคนิคสี่สถานีระดมสมองด้วยเทคนิคสี่สถานี • จะมีการแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 3-4 กลุ่ม A, B, C • แต่ละกลุ่มใหญ่ จะจัดบอร์ดไว้ 4 สถานี 1, 2, 3, 4 • แต่ละสถานีมีประเด็นให้ระดมสมอง 1 หัวข้อ • ทุกคนจะได้รับบัตรเดินทาง ระบุสถานีตามลำดับ • กำหนดเวลาและงานที่จะให้ทำในแต่ละรอบ • รอบที่ 1 15 นาที ระดมสมอง • รอบที่ 2 10 นาที ระดมสมองเพิ่ม จัดกลุ่มความคิด • รอบที่ 3 10 นาที ระดมสมองเพิ่ม จัดกลุ่มความคิด • รอบที่ 4 10 นาที ระดมสมองเพิ่ม เขียนแผนภูมิระบบ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:25

  26. ประเด็นอภิปราย 1. การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนองค์ประกอบของกลุ่ม มีผลดีอย่างไร 2.มีหัวข้อกลุ่มความคิดอะไรบ้างที่แตกต่างไปจากหัวข้อเดิมๆ ที่คุ้นเคย (หัวข้อเดิมที่คุ้นเคยได้แก่ คน เงิน ของ สิ่งแวดล้อม) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:26

  27. การตัดสินใจของทีม • สำคัญอย่างไร • ลักษณะการตัดสินใจ • คัดกรองประเด็น (Multivoting) • คัดเลือกประเด็น (Criteria Rating) • สรุปความเห็นร่วม (Consensus) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:27

  28. การคัดกรองประเด็น • Multivoting • ให้แต่ละคนเลือกประเด็นที่เห็นด้วยไว้ 1 ใน 3 ของทั้งหมด • รวมจำนวนที่เลือกเป็นของกลุ่ม (คะแนนมากคือสำคัญมาก) • คัดเลือกไว้จำนวนหนึ่งและทำซ้ำ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:28

  29. การคัดเลือกประเด็น • Criteria Rating/Weighting • กำหนดเกณฑ์คัดเลือก • ระดมสมอง, เลือกเอาไว้ 3-5 เกณฑ์ • กำหนดน้ำหนักของเกณฑ์ • กำหนดเป็นร้อยละ หรือจำนวนเท่า • ลงคะแนนโดยใช้เกณฑ์ทีละตัว รวมเป็นคะแนนของกลุ่ม • รวมคะแนนของทุกเกณฑ์ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:29

  30. Criteria Rating/Weighting เกณฑ์ 1 x …. เกณฑ์ 2 x …. เกณฑ์ 3 x …. รวม ทางเลือก 1 ทางเลือก 2 ทางเลือก 3 ทางเลือก 4 สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:30

  31. ความเห็นร่วม (Consensus) • ความเห็นร่วมไม่ใช่ความเห็นเอกฉันท์ • ความเห็นร่วมไม่ได้หมายความว่าทุกคนไม่มีความเห็นต่าง • ความเห็นร่วมคือสิ่งที่ทุกคนยอมรับได้ และพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติ หลังจากที่ได้วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียทุกแง่มุมแล้ว • การหาความเห็นร่วมทำให้เกิดสถานการณ์ ชนะ/ชนะ • ใช้เมื่อประเด็นที่ต้องตัดสินใจมีความสำคัญและซับซ้อน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:31

  32. กฎ กติกา ในการหาความเห็นร่วม • ยอมรับว่าสมาชิกสามารถมีความเห็นที่ไม่ตรงกันได้ แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการหาความเห็นร่วม • พยายามให้เกิดการต่อรองและความร่วมมือระหว่างสมาชิกเพื่อให้เกิดความเห็นเอกฉันท์ • เน้นการใช้ข้อเท็จจริงมากกว่าความเห็น • การยอมถอย 1 ก้าวไม่ใช่การแพ้ การได้มาซึ่งการสนับสนุนไม่ใช่การชนะ • สมาชิกไม่เพียงยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง • เน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูล, การค้นหาประเด็นที่เห็นไม่ตรงกัน และการสำรวจทางเลือกที่เป็นไปได้ • การลงมติเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อเป็น routine สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:32

  33. ขั้นตอนในการหาความเห็นร่วมขั้นตอนในการหาความเห็นร่วม • กำหนดประเด็น, เป้าหมาย • สมาชิกแต่ละคนนำเสนอจุดยืนของตนพร้อมข้อมูลและเหตุผลประกอบ พร้อมทั้งเรียนรู้ความเห็นของผู้อื่น • แยกแยะความเห็น • สรุปและนำไปปฏิบัติ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:33

  34. โครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:34

  35. แนวคิดทีมสามประสาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:35

  36. โครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพ (มองจากด้านข้าง/แนวติ่ง) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:36

  37. โครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพ (มองจากด้านบน/แนวราบ) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:37

  38. ทีมชี้นำและเสริมพลัง • ระดับโรงพยาบาล • ระดับหน่วยงาน • ระดับกลาง • ระบบงานหลักของ รพ. (คน สิ่งแวดล้อม สารสนเทศ) • ระบบบริการ (OPD, IPD) • ทีมนำทางคลินิก หน้าที่: หาโอกาส, จัดทีมทำ, ติดตามผล สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:38

  39. ประเด็นอภิปราย 1. โครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพที่ควรมีในช่วงเริ่มต้นได้แก่อะไร 2.เหตุใดจึงต้องให้ทีมผู้บริหารระดับสูงเป็นทีมนำของโรงพยาบาล 3. จำเป็นอย่างไรที่ต้องให้คณะกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพที่มีอยู่เดิม เช่น ๕ ส., ระบบข้อเสนอแนะ, ประกันคุณภาพ เข้ามาร่วมใน Quality Support Team 4.ทำอย่างไรจะให้มีกรรมการให้น้อยชุดที่สุด สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:39

  40. ประเด็นอภิปราย 5.ทีมนำทางคลินิกสำหรับโรงพยาบาลขนาดต่างๆ ควรเป็นอย่างไร 6. จะป้องกันความสับสนระหว่างทีมต่างๆ ได้อย่างไร 7. จะป้องกันความขัดแย้งในทีมคร่อมสายงานได้อย่างไร สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:40

  41. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง GEN.2 มีการจัดองค์กรและการบริหารในลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการให้บริการผู้ป่วยตามพันธกิจที่กำหนดไว้ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ GEN.8.1 มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างสาขาวิชาชีพต่างๆ GEN.9.1 หน่วยบริการหรือหน่วยงานทุกหน่วยมีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ โดยความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:41

  42. ประเด็นอภิปราย 1. ทีมที่เกี่ยวข้องในมาตรฐานข้างต้นมีลักษณะใดบ้าง 2.กลไกการร่วมวางแผน ตัดสินใจ และกำหนดนโยบายในภาพรวม มีรูปธรรมอะไรที่ท่านคุ้นเคย 3.การประเมินและวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันโดยสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมีรูปแบบใดได้บ้าง 4. การทบทวนผลการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันโดยสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมีรูปแบบใดได้บ้าง สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:42

  43. ประเด็นอภิปราย 5. การประชุมร่วมกันระหว่างผู้ป่วย/ครอบครัว/เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีที่ใช้ตรงไหน 6. จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพได้อย่างไร 7. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพระหว่างหน่วยงานมีที่ใช้ตรงไหน ทีมที่รับผิดชอบควรมีลักษณะอย่างไร สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Tesm:43

More Related