1 / 41

คุณสมบัติของนักวิจัย

คุณสมบัติของนักวิจัย. ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สิ่งที่นักวิจัยพึงรู้และปฏิบัติ. ทำอย่างไรจึงจะเป็น Independent Researcher ที่ประสบความสำเร็จ ?. สิ่งที่นักวิจัยพึงรู้และปฏิบัติ.

leigh
Download Presentation

คุณสมบัติของนักวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คุณสมบัติของนักวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

  2. สิ่งที่นักวิจัยพึงรู้และปฏิบัติสิ่งที่นักวิจัยพึงรู้และปฏิบัติ • ทำอย่างไรจึงจะเป็น Independent Researcher ที่ประสบความสำเร็จ?

  3. สิ่งที่นักวิจัยพึงรู้และปฏิบัติสิ่งที่นักวิจัยพึงรู้และปฏิบัติ

  4. ความคิดที่เป็นบ่อเกิดความล้มเหลวความคิดที่เป็นบ่อเกิดความล้มเหลว Statistics Calculations Complexity Theoretical Inquiry Difficulty Academic exercise Take time Out of my life Pay more Useless

  5. นักวิจัยพึงรู้ • อะไรคืองานวิจัย/อะไรไม่ใช่งานวิจัย • งานวิจัยที่มีคุณภาพ • ที่มาของปัญหาปัญหาในการทำวิจัย • การทบทวนงานวิจัย

  6. อะไรคืองานวิจัย/อะไรไม่ใช่งานวิจัยอะไรคืองานวิจัย/อะไรไม่ใช่งานวิจัย • งานวิจัยไม่ใช่การรวบรวมข้อมูล: • การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือหรือบทความวิจัย ไม่ใช่งานวิจัย • ขาดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ • งานวิจัยไม่ใช่การนำข้อมูลความจริงมาเขียนซ้ำ: • การรวบรวมความจริง/ทฤษฎี/ความรู้จากแหล่งต่างๆ มาเขียนใหม่ ไม่ใช่งานวิจัย • แม้ว่าจะเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ แต่ไม่ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่

  7. งานวิจัยคืออะไร? • งานวิจัยคือ: “…กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบที่ประกอบด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (ผลการศึกษา) เพื่อเพิ่มความเข้าใจในปรากฏการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังสนใจ”

  8. งานวิจัยที่มีคุณภาพ • งานวิจัยที่มีคุณภาพต้อง: • มีขอบเขตและข้อจำกัดของงานให้ชัดเจน • ทดสอบตามมาตรฐานสากล---ผลการทดสอบที่มียอมรับได้/น่าเชื่อถือ • มีขั้นตอนการทำงานที่สามารถทำซ้ำได้ (หากไม่มีมาตรฐานการทดสอบ)---ผลการทดสอบที่มียอมรับได้/น่าเชื่อถือ • มีการวิเคราะห์และอธิบายผลการศึกษาอย่างถูกต้องและน่าสนใจ* • มีบทสรุปที่กระชับและตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลการศึกษา

  9. ที่มาของปัญหาในงานวิจัย---พูด/ฟัง/อ่านที่มาของปัญหาในงานวิจัย---พูด/ฟัง/อ่าน • นักวิจัย/นักวิชาการ/ผู้ประกอบการ/.... • งานสัมมนาวิชาการ • ทบทวนงานวิจัย

  10. ปัญหาที่มีคุณค่า • ปัญหาที่มีคุณค่าคือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ • ปัญหาที่มีคุณค่าต้องสร้างทฤษฎีใหม่หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ • ทฤษฎี/องค์ความรู้ใหม่ต้องมีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและสามารถใช้งานได้จริง

  11. การทบทวนงานวิจัย • การทบทวนงานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญ • ปัญหาที่จะทำงานวิจัยได้มีนักวิจัยอื่นทำไปแล้วหรือยัง? • การทบทวนงานวิจัยเป็นการค้นหาต้นแบบ---List of Reference • การทบทวนงานวิจัย: • เริ่มต้นจากวารสารวิชาการที่มีคุณภาพสูง (ISI และสมาคมวิชาชีพ) • เริ่มต้นจากบทความใหม่ๆ • ไม่ต้องผิดหวัง ถ้าพบว่างานที่คุณจะทำได้มีผู้อื่นทำแล้ว

  12. หลุมพรางในกระบวนการทบทวนงานวิจัยหลุมพรางในกระบวนการทบทวนงานวิจัย • งานวิจัยที่ไม่มี peer review --- เสียเวลา • งานสัมมนาและวารสารคุณภาพสูงเท่านั้นที่ควรพิจารณา เพราะผ่านการประเมิน (peer review) โดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน • วารสารที่จัดทำโดยสมาคมต่างๆ เช่น ASCE, ACI, JSCE เป็นต้น • Internet อาจเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ แต่ก็อาจเป็นแหล่งที่มีข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือได้เช่นกัน (ไม่มี peer review)

  13. กระบวนการทำงานวิจัย

  14. เหล็กเสริมที่ใช้ในประเทศไทยเหล็กเสริมที่ใช้ในประเทศไทย

  15. Step 1: การตั้งคำถาม/โจทย์ • เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของงาน • จากโจทย์ ตอบตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการ • เหล็กเสริมที่มีประสิทธิภาพสูง (ต้นทุนต่ำ ขนส่งง่าย ใช้งานง่าย) • คำนวณ/ออกแบบ? • ใช้งานได้จริง? • Numerical simulation?

  16. Step 2: ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาในลักษณะที่คล้ายกัน • สแกนบทความก่อนอ่านจริง: หัวข้อ บทคัดย่อ บทนำ และบทสรุป • หาบทความที่เกี่ยวข้องจาก • เพื่อหาต้นแบบ • เป็นขั้นตอนในการกำหนดทิศทาง/ขั้นตอนในการทำงาน • Laboratory investigation • Full scale test • Numerical simulation

  17. Laboratory Investigation

  18. Full scale test

  19. Numerical Simulation

  20. Step 3: เสนอสมมติฐาน/ทฤษฎีที่เป็นไปได้ • นักวิจัยนำเสนอสมมติฐานในการแก้ปัญหา • ขั้นตอนนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเบื้องต้น เพราะสมมติฐานที่เสนออาจได้ยอมรับได้หรือถูกปฏิเสธ • เป็นขั้นตอนที่กำหนดบทสรุป

  21. Step 4: รวบรวมข้อมูล/ผลทดสอบ • ทำการศึกษาตามแผนงานที่กำหนด • กำหนดทีมงาน แผนคน และแผนงาน • ทีมงาน---2 ทีม • แผนคน---ทักษะด้านเครื่องมือ ทักษะด้าน computation • แผนงาน---ห้องปฏิบัติการ สนาม การคำนวณ

  22. Step 5: การวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล • วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอความจริงที่น่าสนใจและบทสรุปที่น่าสนใจ • ส่วนที่ยากที่สุดและเป็นหัวใจของงานวิจัย • เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นเฉพาะตน และไม่ซ้ำแบบใคร • เกิดจากประสบการณ์ • สร้างสมมติฐาน/ทฤษฎีใหม่ • ผลงานวิจัยที่ได้: • งานในห้องปฏิบัติการ • งานในสนาม • งานด้าน computation

  23. ทำอย่างไรจึงจะเป็นนักวิจัยอิสระที่ประสบความสำเร็จ?ทำอย่างไรจึงจะเป็นนักวิจัยอิสระที่ประสบความสำเร็จ?

  24. การเป็นจะเป็นนักวิจัยอิสระต้องการเป็นจะเป็นนักวิจัยอิสระต้อง • พัฒนาตนเอง • ทำงานเป็นทีม • หัวใจแห่งความสำเร็จ • ต้องเป็นผู้ร่วมงานและหัวหน้าที่ดี

  25. พัฒนาตนเอง • แม้ว่าสำเร็จปริญญาเอกแล้วก็ตาม การเริ่มทำงานวิจัยอย่างอิสระก็ไม่ใช่เรื่องง่าย • ทำไม? • ขาดการทำงานวิจัยหลังสำเร็จการศึกษา (dead wood) • ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร • เคยแต่เป็นผู้ตามที่ดี • อาจเริ่มต้นจากงานวิจัยที่ทำในขณะเรียนปริญญาเอก และขยายหัวข้อให้ใหญ่ขึ้น

  26. พัฒนาตนเอง • ต้องรู้จักงานวิจัยข้างเคียง (ที่คล้ายกับงานวิจัยที่ทำอยู่) • ต้องมีความสามารถในการเชื่อมโยงความสามารถ/ความเชี่ยวชาญของตนกับงานวิจัยอื่นที่ใกล้เคียงกัน • ต้องสามารถวิเคราะห์/วิจารณ์บทความ (Conference/journal) ที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญ • มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ (Analysis) และอภิปรายผลทดสอบ (Discussion)---สร้างความเชื่อมโยงงานวิจัยที่ทำกับงานวิจัยอื่นได้

  27. พัฒนาตนเอง • ต้องเป็นนักวิจัยเฉพาะด้าน – อย่างน้อย 3 ปี • อะไรคือสิ่งที่สนใจ/เชี่ยวชาญ? • การศึกษางานวิจัย (Literature study) • ต้องรู้/คาดคะเนทิศทางงานวิจัยในปัจจุบันและอนาคต • มีความสามารถในการวิเคราะห์/วิจารณ์บทความ (Review) • เรียนรู้การเขียนบทความ • พัฒนาความรู้ให้ทันสมัยเสมอ

  28. พัฒนาตนเอง • การเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ • ควรถาม ให้ข้อเสนอแนะ และยินดีเมื่อได้รับคำถาม • เป็นโอกาสที่จะทำให้เข้าใจของงานวิจัยที่กำลังทำอยู่/หรือกำลังจะทำมากยิ่งขึ้น • เป็นโอกาสรับฟังของคิดเห็นใหม่ ซึ่งจะเปิดมุมมอง/ความคิดใหม่ • เป็นโอกาสให้วิเคราะห์/สรุปผลการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น • พึงตระหนักว่า: เราโจมตีปัญหา ไม่ใช่ผู้นำเสนอ/ผู้พูด

  29. ทำงานเป็นทีม • ทีมเล็ก • อาจารย์ (ต้องเป็น mentor ที่ดี) • นักศึกษา • ทีมใหญ่ (จัดตั้งได้ยากแต่ประสิทธิภาพสูง) • หัวหน้าทีม (ศักยภาพสูงและเป็น mentor ที่ดี) • คณาจารย์ • นักวิจัยหลังปริญญาโท-ปริญญาเอก • นักศึกษาปริญญาโท-เอก • นักวิจัยรับเชิญ

  30. ทำงานเป็นทีม • ทุนวิจัยและโครงการวิจัย • การจัดการงานวิจัย • เผยแพร่ผลงานวิจัย • การสร้างเครือข่าย – เข้าสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้/วิจัย

  31. ทุนวิจัย/โครงการวิจัยทุนวิจัย/โครงการวิจัย • ทำไมต้องมีทุนวิจัย • ค่าตอบแทนผู้ช่วยวิจัย • ค่าตอบแทนนักวิจัย (Post-graduate และ Post-doctor) • ค่าตอบแทนนักวิจัยรับเชิญ • ค่าอุปกรณ์/เครื่องมือทดสอบ • ค่าติดต่อประสานงาน/เลขานุการ • ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ

  32. ทุนวิจัยและโครงการวิจัยทุนวิจัยและโครงการวิจัย • แหล่งทุน • มหาวิทยาลัย • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) • ภาคเอกชน • โครงการวิจัย • ขึ้นอยู่กับความสามารถของทีม • แก้ปัญหาได้ในเวลาที่กำหนด • ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ

  33. การจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย • อาจเริ่มต้นด้วยการเป็นนักวิจัยร่วมในโครงการขนาดใหญ่ที่มีนักวิจัยผู้มีประสบการณ์เป็นหัวหน้าโครงการ • อาจเริ่มต้นด้วยการเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยขนาดเล็กที่มีนักวิจัยผู้มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา • ต่อมาเสนอโครงการขนาดใหญ่ที่มีนักวิจัยผู้มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาหรือผู้ร่วมโครงการ • เสนอขอทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัย 2-3 ครั้ง ก่อนขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก • พยายามสร้างความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรม/พยายามทำงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม

  34. การจัดการงานวิจัย • การเป็นนักวิจัยอิสระที่ประสบความสำเร็จต้องมีมากกว่าการมีสติปัญญาที่ดี • นักวิจัยอิสระที่ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการวางแผนและทำงานให้ประสบความสำเร็จ---การทำงานเป็นทีม (ศิลปะ) • มีความสามารถในการสั่งการและติดตามผลงาน • ปัจจัยเกื้อหนุน-ปัจจัยสนับสนุน • ความต้องการของคน

  35. เผยแพร่ผลงานวิจัย • ทำไมต้องตีพิมพ์ผลงาน • งานวิจัยที่ดีแต่ไม่ได้รับการเผยแพร่ก็คือขยะ สิ้นเปลืองเวลาและเงินทุนของท่าน/ผู้ร่วมงานและผู้ให้ทุน • ผลงานตีพิมพ์แล้วใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับงานวิจัยปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ • ผลงานตีพิมพ์เป็นสิ่งแสดงความสำเร็จของงานวิจัย • ผลงานวิจัยใช้สำหรับขอตำแหน่งวิชาการ • ผลงานวิจัยใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับการประกอบวิชาชีพ

  36. เผยแพร่ผลงานวิจัย • จะเริ่มต้นเผยแพร่ผลงาน ท่านต้องรู้จักการเขียนบทความ • แน่นอนว่า • ความคิดที่ดียอดเยี่ยมไม่สามารถตีพิมพ์ได้หากนำเสนอไม่ดี • ผลลัพธ์ที่ไม่ดีไม่สามารถตีพิมพ์ได้แม้ว่าจะเขียนบรรยายได้ดี • เริ่มส่งบทความเมื่อบทความนั้นมี “เนื้อหาที่น่าสนใจ” ซึ่งอาจประเมินโดย mentor หรือตัวผู้วิจัยเอง • ผลลัพธ์และการโต้ตอบ • ผลการประเมินจะให้ feedback ซึ่งอาจเป็นแง่บวกหรือลบ • ถ้าบทความได้รับการตอบรับ Congratulations และจงทำงานที่ต่อยอด • ถ้าบทความได้รับการปฏิเสธ ไม่ต้องเสียใจ พิจารณาผลการประเมิน ปรับปรุงและจัดส่งใหม่

  37. สร้างเครือข่าย - เข้าสู่สังคมของการวิจัย • หมั่นพบปะพูดคุยกับนักวิจัยที่มีความสามารถและประสบการณ์สูง • ทำให้ตัวให้เป็นที่รู้จัก • ต้องเรียนรู้การสร้างเครือข่าย - สิ่งนี้เป็นทักษะที่เรียนรู้ได้ • กิจกรรมการเข้าสู่สังคมของการวิจัย: • เมื่อเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ: ควรทำกิจกรรม • นำเสนอบทความ • เข้าร่วมกิจกรรมการซักถาม (Discussions) • ถ้ามีคนสนใจในงานวิจัยของคุณ ติดตามและให้ข้อมูลเพิ่มเติม

  38. สร้างเครือข่าย - เข้าสู่สังคมของการวิจัย • พยายามเริ่ม/สร้างกลุ่มวิจัยที่มีการทำงานร่วมกัน • เริ่มต้นจากโครงการเล็กและเขียนบทความร่วมกัน • ตามด้วยโครงการขนาดใหญ่ขึ้น • เชิญเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม • สำหรับความร่วมมือระดับนานาชาติ • อาจประสานงานด้วย e-mail • Research fellow

  39. บทสรุป – การจะเป็นนักวิจัยอิสระที่ประสบความสำเร็จ • เป็นนักวิจัยที่ดี • มีแนวคิดที่ดีและทันสมัย สามารถใช้ในทางปฏิบัติ/ภาคอุตสาหกรรมได้ • หมั่นอ่านบทความวิชาการที่มีคุณภาพสูง • หมั่นปรึกษาหารือด้านวิชาการกับเพื่อนร่วมงาน/ผู้มีประสบการณ์ • พัฒนาตนเองอยู่เสมอ • ทำงานเป็นทีมได้

  40. Questions?

More Related