1 / 59

บทที่ 6

บทที่ 6. การเงินการธนาคาร และนโยบายการเงิน. คำจำกัดความของเงิน. เงิน (Money) คือ สิ่งใดๆที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่งและในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งใช้เพื่อการชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต.

leigh
Download Presentation

บทที่ 6

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 การเงินการธนาคาร และนโยบายการเงิน

  2. คำจำกัดความของเงิน เงิน (Money) คือ สิ่งใดๆที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่งและในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งใช้เพื่อการชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  3. Commodity Money Metallic Money Credit Money Full Bodied Money Token Money วิวัฒนาการของระบบเงินตรา

  4. หน้าที่ของเงิน • เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) • เป็นมาตรฐานการวัดค่า (standard of value) • เป็นเครื่องรักษามูลค่า (store of value) • เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า (standard of deferred payments)

  5. ค่าของเงิน (Value of money) • ค่าภายนอก (External value)คือ ราคาของเงินตราสกุลหนึ่งเมื่อคิดเป็นราคาของเงินตราสกุลอื่น ค่าภายนอกจึงถูกกำหนดโดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บางทีเรียกค่าภายนอกว่า อัตราแลกเปลี่ยน หรือเงินปริวรรตต่างประเทศ (foreign exchange or exchange rate) • ค่าภายใน (Internal value) คือ อำนาจซื้อ (purchasing power) สินค้าและบริการของเงินแต่ละหน่วย

  6. ตลาดการเงิน (Financial Market) ตลาดการเงิน หมายถึง ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการนำเงินออมไปลงทุน ตลาดเงินประกอบด้วย ตลาดเงินและตลาดทุน

  7. ตลาดการเงิน (Financial Market) • ตลาดเงิน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี การโอนเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น • ตลาดทุน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวและการให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ เงินฝากประจำ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และพันธบัตรของรัฐบาลและเอกชน อาจแบ่งได้เป็นตลาดสินเชื่อทั่วไปและตลาดหลักทรัพย์

  8. Paper Currency Coins Demand Deposit เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน

  9. บทบาทของธนาคารพาณิชย์ต่อปริมาณเงินบทบาทของธนาคารพาณิชย์ต่อปริมาณเงิน • ธนาคารพาณิชย์ คือ สถาบันเอกชนที่ทำธุรกิจด้านการเงิน หน้าที่หลักของธนาคารพาณิชย์คือ รับฝากเงินจากผู้ออมมาเก็บไว้แล้วให้ผู้ลงทุนกู้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากธุรกิจเหล่านั้น นั่นคือ ธนาคารพาณิชย์จะหากำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ • ข้อแตกต่างที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์จากสถาบันการเงินทั่วไปคือ ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างและทำลายเงินฝากได้ โดยผ่านการรับฝากเงินกระแสรายวันซึ่งจ่ายโอนโดยเช็ค ซึ่งธนาคารกลางจะควบคุมดูแลการสร้างเงินฝากผ่านการเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองตามกฎหมาย

  10. การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ • นาย ก นำเงิน 1,000 บาท ไปฝากที่ ธนาคารพาณิชย์ A โดยฝากแบบฝากกระแสรายวัน (Demand deposit) Primary Deposit ธนาคารที่มีเงินฝากต้องสำรองตามกฎหมาย = Legal Reserve Ratio =20% ธนาคาร A มีเงินฝาก

  11. การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 2. ธนาคารพาณิชย์ A นำเงิน 800 บาท นาย ข โดยกู้แบบเบิกเกินบัญชี ปริมาณเงิน = 1,000 + 800 =1,800 บาท Primary Deposit Derivative Deposit

  12. การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ • นาย ข ออกเช็คสั่งจ่ายให้นาย ค และ นาย ค นำไปฝากที่ธนาคาร B จำนวน 800 • - มีการ Clear เช็คที่ Clearing House • - เพิ่มเงินในธนาคาร B ลดเงินในธนาคาร A = 800 บาท ปริมาณเงิน = 1,000 + 800 =1,800 บาท

  13. การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 4. ธนาคาร B มีเงินฝาก 800 บาท ต้องสำรองตามกฎหมาย = Legal Reserve Ratio =20% ธนาคาร B มีเงินฝาก

  14. การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 5. ธนาคารพาณิชย์ B นำเงิน 640 บาท นาย ง โดยกู้แบบเบิกเกินบัญชี ปริมาณเงิน = 1,000 + 800 + 640 =2,440 บาท ระบบธนาคารจะสามารถสร้างปริมาณเงินได้เพิ่มขึ้นจนกระทั่ง Excess Reserve =0

  15. นิยามศัพท์สำคัญ เงินฝากขั้นแรก (primary deposits)คือ เงินสดที่มีผู้นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ เงินฝากขั้นต่อไป (derivative deposits)คือ เงินฝากที่เกิดจากการให้ลูกค้าของธนาคารกู้ยืม เช่น ธนาคาร A ให้นาย กกู้เงิน 50,000 บาท นาย ก ไม่ได้เบิกเป็นเงินสด แต่เอาเข้าบัญชีเงินฝากของนาย ก

  16. นิยามศัพท์สำคัญ อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย หรืออัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (legal reserve ratio) เป็นอัตราที่ธนาคารกลางกำหนดขึ้นเป็นร้อยละของเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่มีเงินฝากจะต้องดำรงเงินสดสำรองโดยฝากไว้ที่ธนาคารกลางอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดนี้

  17. นิยามศัพท์สำคัญ เงินสดสำรองตามกฎหมาย หรือเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (legal reserve or reserve requirement) คือ จำนวนเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรง โดยคำนวณจากอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายคูณด้วยจำนวนเงินฝากกระแสรายวัน เช่น ธนาคาร A มีเงินฝากทั้งสิ้น 50,000 บาท หากอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายเท่ากับร้อยละ 10 ดังนั้น ธนาคาร A จะต้องดำรงเงินสดสำรองทั้งสิ้นตามกฎหมายอย่างน้อย 5,000 บาท และฝากเงินจำนวนนี้ไว้ที่ธนาคารกลาง

  18. นิยามศัพท์สำคัญ เงินสดสำรองทั้งสิ้น (cash reserve) คือ จำนวนเงินสดทั้งสิ้นที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ ได้แก่ ผลรวมของเงินสดสำรองที่ต้องดำรองและเงินสดสำรองส่วนเกิน เงินสดสำรองส่วนเกิน (excess reserve) คือ เงินสดที่เหลือทั้งสิ้นหลังจากหักเงินสดสำรองตามกฎหมายแล้ว เช่น ธนาคาร A มีเงินสดสำรองทั้งสิ้น 50,000 บาท เป็นเงินสดสำรองที่ต้องดำรงตามกฎหมาย 5,000 บาท ดังนั้นเงินสดสำรองส่วนเกินคือ 45,000 บาท เงินจำนวนนี้ธนาคารสามารถนำออกให้กู้หรือลงทุนหาผลประโยชน์

  19. การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ Demand Deposit Multiplier = 5

  20. ตัวทวีเงินฝากเผื่อเรียก (Demand Deposit Multiplier) Legal Reserve Ratio

  21. จากตัวทวีสามารถหาได้ว่าเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวเป็นเท่าใด โดยคำนวณจาก Primary Deposit เงินฝากที่สามารถสร้างได้ เท่ากับ 5,000 -1,000 = 4,000 บาท

  22. เงื่อนไขที่ทำให้ระบบธนาคารสามารถสร้างเงินฝากต่อเนื่องได้ถึง 4,000 บาท • เมื่อธนาคารแต่ละแห่งได้รับเงินฝากต้องสำรองไว้เป็นสัดส่วนตามที่กำหนด (ร้อยละ 20 ) • ธนาคารแต่ละแห่งต้องนำเงิน Excess Reserve ปล่อยกู้ และต้องสามารถปล่อยกู้ได้ทั้งจำนวน • ผู้ที่รับชำระหนี้จากลูกค้าเงินกู้ของธนาคาร จะต้องนำเช็คหรือเงินที่ได้รับฝากเข้าธนาคารทั้งจำนวนโดยไม่ถอนเป็นเงินสด

  23. บทบาทในการทำลายเงินฝากของธนาคารพาณิชย์บทบาทในการทำลายเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เมื่อมีผู้ถอนเงินจากธนาคาร ก็จะมีผลทำให้ปริมาณเงินของธนาคารลดลงเป็นหลายเท่าของเงินที่ถอนในงวดแรก มีลูกค้ามาถอนเงินที่ธนาคาร A จำนวน 1,000 บาท และธนาคารทั้งระบบสำรองเงินไว้ 20% ของเงินฝาก ปริมาณเงินทั้งระบบจะลดลงเท่ากับ ปริมาณเงินทั้งระบบจะลดลง 5,000 บาท

  24. สมมติ Legal Reserve Ratio = 20% ลูกค้า ธนาคาร A ถอนเงินฝากจำนวน 1,000 บาท ธนาคาร A สูญเสียเงินฝาก 1,000 บาท ดึงมาจากเงินสำรอง ของเงินฝากจำนวนอื่น 800 บาท Bank สำรองไว้ 200 บาท

  25. ธนาคาร B สูญเสียเงินฝาก 800 บาท ดึงมาจากเงินสำรอง ของเงินฝากจำนวนอื่น 640 บาท Bank สำรองไว้ 160 บาท กระบวนการจะดำเนินเช่นนี้ โดยเมื่อรวมเงินฝากของธนาคารทั้งระบบที่ลดลงเป็นจำนวน 5,000 บาท การถอนเงินครั้งแรก 1,000 บาท ทำให้เงินฝากทั้งระบบลดลงเป็นจำนวน 5,000 บาท

  26. แหล่งที่มาของปริมาณเงินแหล่งที่มาของปริมาณเงิน

  27. แหล่งที่มาของปริมาณเงินแหล่งที่มาของปริมาณเงิน

  28. บทบาทของปริมาณเงินต่อระดับราคาบทบาทของปริมาณเงินต่อระดับราคา

  29. บทบาทของปริมาณเงินต่ออัตราดอกเบี้ยบทบาทของปริมาณเงินต่ออัตราดอกเบี้ย • Keynes วิเคราะห์ความต้องการถือเงิน • Demand for Money คือ ปริมาณเงินเฉลี่ยที่ประชาชนต้องการถือไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง ความต้องการถือเงินนี้เกิดจากแรงกระตุ้น 3 ประการ 1. Transaction Demand for Money 2. Precautionary Demand for Money 3.Speculative Demand for Money

  30. 1. TransactionDemand for Money (MDt) ถือเงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน -รายได้ - งวดเวลาที่ได้รายได้ MDt=f(Y,i) โดยทั่วไปแล้วกำหนดให้ i คงที่ หรือพิจารณา ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยหนึ่งๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยมีบทบาทค่อนข้างน้อยต่อ MDt

  31. 2. Precautionary Demand for Money(MDP) ถือเงินเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน • - ระดับรายได้ • ความไม่มั่นคงของอาชีพ • อุปนิสัย MDP=f(Y,i) โดยทั่วไปแล้วกำหนดให้ i คงที่ หรือพิจารณา ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยหนึ่งๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยมีบทบาทค่อนข้างน้อยต่อ MDP

  32. ความต้องการถือเงินทั้งสองประเภทต่างเป็นฟังก์ชั่นที่ขึ้นกับรายได้เป็นสาเหตุสำคัญ เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ (อัตราดอกเบี้ย) จะพบว่า อัตราดอกเบี้ย (i) Y1 Y2 i1 i0 0 Mt1 Mt2 ความต้องการถือเงิน

  33. 3. Speculative Demand for Money (MDS) ถือเงินเพื่อเก็งกำไร • -เก็งกำไรในการซื้อขายหลักทรัพย์ • ซื้อหลักทรัพย์ราคาต่ำ ขายแพง • ราคาหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย

  34. ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับอัตราดอกเบี้ยความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับอัตราดอกเบี้ย สมมติ มีพันธบัตรใบหนึ่งมีมูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ 100 บาท อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร เท่ากับ 10% ต่อปี i สูง iต่ำ ถ้า i = 15 % ถ้า i = 8 % จะไม่มีผู้ใดซื้อพันธบัตรนี้ในราคา 100 บาท ผู้ถือจะไม่ขายพันธบัตรนี้ในราคา 100 บาท ราคาหลักทรัพย์ต่ำ ราคาหลักทรัพย์สูง จะต้องขายในราคาต่ำกว่า 100 บาท จะขายในราคาสูงกว่า 100 บาท

  35. ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสูง ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสูง i สูง ราคาหลักทรัพย์ต่ำ ราคาหลักทรัพย์ต่ำ คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องสูงขึ้น คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องสูงขึ้น คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันมาก คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันมาก ปริมาณเงินที่ถือเพื่อเก็งกำไรลดลง Ms ลดลง ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร

  36. ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยต่ำ ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสูง i ต่ำ ราคาหลักทรัพย์สูง ราคาหลักทรัพย์ต่ำ คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องลดลง คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องสูงขึ้น คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันน้อย คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันมาก ปริมาณเงินที่ถือเพื่อเก็งกำไรมาก Ms มาก ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร

  37. ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไรความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ เส้นความต้องการถือเงินจะมีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly Elastic) บุคคลจะไม่นำเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์เลย หลังจากที่ถือเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายประจำวันแล้ว เงินส่วนที่เหลือก็จะถือไว้เพื่อเก็งกำไรทั้งหมด อัตราดอกเบี้ย (i) i0 i1 กับดักสภาพคล่อง (Liquidity trap) i2 0 Mt1 Mt2 ความต้องการถือเงินไว้เก็งกำไร

  38. ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินรวมความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินรวม อัตราดอกเบี้ย (i) Md 0 ความต้องการถือเงิน

  39. อุปทานของเงิน (Supply of Money) อุปทานของเงิน หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจในขณะใดขณะหนึ่ง ปริมาณเงินดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการควบคุมของธนาคารกลาง ดังนั้น ปริมาณเงินจึงไม่ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย จึงเป็นผลให้เส้นอุปทานของเงินเป็นเส้นตั้งฉาก อัตราดอกเบี้ย Ms1 Ms 0 ปริมาณเงิน

  40. ดุลยภาพของตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ย (i) Excess Supply for Money Ms i2 i1 E i0 Md 0 Excess Demand for Money ปริมาณเงิน

  41. นโยบายการเงิน นโยบายการเงิน คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลางเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของระดับราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ และการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม

  42. เครื่องมือของนโยบายการเงินเครื่องมือของนโยบายการเงิน

  43. Quantitative control • เป็นการควบคุมปริมาณเครดิต ไม่ใช่ชนิดของเครดิต ดังนั้น จึงมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาดและปริมาณเครดิตทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ • การดำเนินการโดยผ่านเครื่องมือดังกล่าวจะมีผลโดยตรงทันทีต่อการเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการขยายเครดิตของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในตลาด

  44. Quantitative control

  45. 1.การซื้อขายหลักทรัพย์ (open-market operation) • จุดประสงค์ของการซื้อขายหลักทรัพย์คือ ควบคุมเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เงินสดสำรองจะเพิ่มขึ้นเมื่อธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์ ในทางตรงข้าม เงินสดสำรองจะลดลงเมื่อธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ธนาคารกลางซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้ประกอบการการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ไม่เพียงแต่จะมีผลทันทีต่อการเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินทันทีอีกด้วย

  46. 1.การซื้อขายหลักทรัพย์ (open-market operation)

  47. 2. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount Rate) • อัตรารับช่วงซื้อลด หมายถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางเก็บล่วงหน้าจากธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อลด (Discounting) ไปขายต่อให้กับธนาคารกลาง

  48. 2. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount Rate)

  49. 3. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน(Bank Rate) • อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์ โดยปกติเป็นการกู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน • หากธนาคารกลางต้องการเพิ่มปริมาณเงินก็จะลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ในทางตรงข้าม ถ้าธนาคารกลางต้องการลดปริมาณเงินก็จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน

More Related