1 / 51

การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ. ดร.มัณฑนาวดี เมธาพัฒนะ. การ แบ่งชนิดของโรคระบบทางเดินหายใจ. 1. โรค ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ( Upper Respiratory Infection ; URI ) เป็น การติด เชื้อของระบบ ทางเดินหายใจส่วนบนเหนือระดับกล่อง เสียงขึ้นมา ได้แก่ โรค หวัด ( Common cold )

Download Presentation

การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจการพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ดร.มัณฑนาวดี เมธาพัฒนะ

  2. การแบ่งชนิดของโรคระบบทางเดินหายใจการแบ่งชนิดของโรคระบบทางเดินหายใจ 1. โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory Infection ; URI) เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนเหนือระดับกล่องเสียงขึ้นมา ได้แก่ • โรคหวัด (Common cold) • คออักเสบ(Pharyngitis) • ต่อมทอลซิลอักเสบ (Tonsillitis) • ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) • กลุ่มอาการ Croup

  3. 2. โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower Respiratory Infection ; LRI) เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างตั้งแต่กล่องเสียงลงไปถึงถุงลมปอด • หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) • หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) • ปอดบวม (Pneumonia)

  4. เยื่อบุจมูกอักเสบจา3. โรคระบบทางเดินหายใจจากภูมิแพ้ • กภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) • หอบหืด (Asthma)

  5. คออักเสบ (Paryngitis) เป็นการอักเสบบริเวณคอ อาจพบทอนซิลอักเสบร่วมด้วย พบบ่อยในเด็กอายุ 4-7 ปี เชื้อที่พบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 80-90 ได้แก่ เชื้อไวรัส ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อย ได้แก่เชื้อ β – hemolytic streptococcus group A

  6. อาการและอาการแสดง • คออักเสบจากเชื้อไวรัส อาการสำคัญคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ อาการจะค่อยๆ เป็นมากขึ้น • คออักเสบจากเชื้อ streptococcalอาการรุนแรงกว่ากลุ่มที่เกิดจากไวรัส อาการสำคัญคือ มีไข้สูงมักเป็นอยู่ 1-4 วัน มีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก ทอนซิลโตมีจุดหนอง คลำได้ต่อมน้ำเหลืองข้างคอโตและกดเจ็บ

  7. การรักษา • การรักษาทั่วไป เช่น การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ • การรักษาจำเพาะ เช่น ให้ยาปฎิชีวนะ ในรายปกติให้ penicillin ในกรณีที่แพ้ penicillin ให้ใช้ erythromycin

  8. ต่อมทอลซินอักเสบ (Tonsillitis) มีหน้าที่ในการกรองเชื้อโรคและป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ขนาดของต่อมทอนซิลในเด็กจะมีขนาดโตกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีความต้านทานต่อการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจน้อยกว่า พบได้บ่อยในเด็กต่ำกว่า 9 ปี เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ β– hemolytic streptococcus group A

  9. อาการและอาการแสดง • เจ็บคอ กลืนลำบาก คออักเสบแดง • เยื่อบุในปากแห้ง เป็นแผล มีกลิ่นปาก • ลิ้นเป็นฝ้าขาว ต่อมทอนซิลโตแดง มีหนองปกคลุม มักพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตและกดเจ็บ

  10. ภาวะแทรกซ้อน • หูชั้นกลางอักเสบ • ปอดอักเสบ • ไตอักเสบเฉียบพลัน • ไข้รูมาติก

  11. การรักษา • ในรายที่ต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อไวรัส ให้การรักษาตามอาการ ในรายที่ต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียให้ยาปฎิชีวนะ • การผ่าตัดทอนซิล (Tonsillectomy) จะทำให้กรณีที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบเรื้อรัง > 4 ครั้ง/ปี และขนาดโตมากจนอุดกั้นทางเดินหายใจ กลืนลำบาก รบกวนการพูด เป็นพาหะของเชื้อคอตีบ ข้อห้ามในการฝ่าตัดทอนซิลคือ เป็นโรคเลือด เพดานโหว่

  12. หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) สาเหตุ • เกิดการติดเชื้อไวรัส เชื้อที่พบได้บ่อยได้แก่ Respiratory syncytial virus (RSV) และติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Hemophilus influenza , Pneumococci • เกิดจากภาวะภูมิแพ้ การมีปฎิกริยาไวเกินไปของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เยื่อบุบวม และมีหลอดลมหดเรื้อรัง • จากสารต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ สารเคมี

  13. อาการและอาการแสดง • มีไข้ต่ำๆ • ไอแห้งๆ ในระยะแรก ต่อมาจะไอมีเสมหะ จากนั้น 2-3 วัน เสมหะจากใสเปลี่ยนเป็นสีข้นเหมือนหนอง

  14. การรักษา • การรักษาจำเพาะ ในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ยาปฎิชีวนะ • การรักษาทั่วไปเป็นการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ การทำกายภาพบำบัดทรวงอก การดูดเสมหะ

  15. หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) เป็นการอักเสบบริเวณทางเดินหายใจส่วนปลาย พบได้บ่อยในเด็กอายุ 2-12 เดือน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสRespiratory syncytial virus (RSV) ส่วนเชื้อ mycoplasmaมักพบเฉพาะในเด็กโต

  16. อาการและอาการแสดง • มีไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล • หายใจเร็ว เริ่มหอบลึก • ไอเสมหะมากขึ้น

  17. การรักษา • การรักษาแบบประคับประคอง โดยให้ออกซิเจนที่มีความชื้นสูงจะช่วยให้เสมหะไม่เหนียวหนืดจนเกินไป สามารถระบายออกได้ดี • การรักษาแบบจำเพาะ ได้แก่ พิจารณาให้ยาปฎิชีวนะในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสRespiratory syncytial virus (RSV) ได้แก่ ribavirin

  18. กลุ่มอาการ Croup เป็นกลุ่มอาการเสียงแหบ ไอเสียงก้อง (barking) มีเสียงฮืดขณะหายใจเข้า (inspiratorystridor) และหายใจลำบาก เนื่องจากการอักเสบที่บริเวณกล่องเสียง หลอดคอ และหลอดลม

  19. สาเหตุ • เกิดการติดเชื้อไวรัส ได้แก่ Respiratory syncytial virus (RSV) และติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Hemophilusinfluenza, Pneumococcus, Corynebacterium diphtheria • เกิดจากการแพ้สิ่งต่างๆ

  20. อาการและอาการแสดง พบมีอาการหวัดนำมาก่อน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือไข้สูงก็ได้ หลังจากนั้น 1-3 วัน การอักเสบจะลุกลามไปที่กล่องเสียงบริเวณสายเสียง และบริเวณใต้ glottis ทำให้บริเวณนั้นบวมและทางเดินหายใจถูกอุดกั้น เด็กจะหายใจลำบากและเสียงแหบ อาการมักเป็นในตอนกลางคืน

  21. Croup Score (คะแนน <4 น้อย, 4-7 ปานกลางถึงมาก, >7 มาก)

  22. การรักษา • ให้ยาขยายหลอดลม • ให้ยาปฎิชีวนะ ในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ • ให้ O2 Tent • ในรายที่มีอาการบวมของกล่องเสียงจะให้ adrenaline(1:1000) ฉีด แล้วอาจให้ steroid ฉีดตาม

  23. ปอดอักเสบ (Pneumonia) เป็นการอักเสบของเนื้อปอดชั้นในสุด ทำให้หลอดลมฝอยส่วนปลายสุด และถุงลมปอด เต็มไปด้วย exudateทำให้ปอดไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

  24. อาการและอาการแสดง มีลักษณะและความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ อายุ ตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ โดยทั่วไปเด็กจะมีไข้สูงอย่างเฉียบพลันและหนาวสั่น ไอแห้งๆ สั้นๆ เจ็บหน้าอก ต่อมาไอมีเสมหะมีสีสนิม หายใจเร็วตื้น หอบเหนื่อย ฟังปอดจะได้ยินเสียงcrepitation

  25. ภาวะแทรกซ้อน • น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) พบได้บ่อยที่สุด • หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (Empyema) • มีลมและมีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Endocarditis) • อาจพบ Sepsis Meningitis และ Atelactasis

  26. ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) อาการและอาการแสดง โดยทั่วไปมักมีอาการของโรคที่เป็นสาเหตุก่อนPleural Effusion จะมีอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของเหลว และอัตราการเกิดของเหลวว่าเร็วหรือช้า

  27. การรักษา • เจาะของเหลวออกทุกราย • รักษาสาเหตุของการเกิดสารน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด

  28. ภาวะหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (Empyema) อาการและอาการแสดง จะมีไข้สูง อ่อนเพลีย ไอ คล้ายกับอาการปอดอักเสบจากแบคทีเรีย อาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วอย่างเฉียบพลัน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เขียว นอนราบไม่ได้

  29. การรักษา • เจาะหนองออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด • ให้ยาปฎิชีวนะตามเชื้อที่เป็นสาเหตุ • การทำการภาพบำบัดทรวงอก • การผ่าตัดเลาะเนื้อผิวปอด

  30. หอบหืด (Asthma) เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฎิกริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมไวกว่าปกติ มีลักษณะเฉพาะคือ เด็กจะมีอาการทันทีเมื่อได้รับสารก่อโรคและจะหายได้เองหรือหายเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม

  31. สาเหตุ • พันธุกรรม • การที่เด็กมีความไวต่อการตอบสนอง (extrinsic หรือ allergic) ต่อสารบางชนิดที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแวดล้อมไวกว่าปกติ • ปัจจัยกระตุ้นจากภายใน (intrinsic หรือ non-allergic) เช่น การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ หรือการออกกำลังกายมากเกินไป

  32. อาการและอาการแสดง • หายใจไม่ออก หายใจลำบาก • ได้ยินเสียง wheeze ขณะหายใจออก • มีอาการไอบ่อย มีเสมหะมาก เสมหะเหนียวขับออกยาก • ถ้าอาการรุนแรงจะฟังเสียง wheeze ไม่ได้เนื่องจากหลอดลมตีบมาก • นอนราบไม่ได้ต้องลุกนั่ง • กระสับกระส่าย เขียว เหงื่อออกมาก หมดสติ

  33. การประเมินระดับความรุนแรงของหอบหืดโดยวิธี Wood’s asthma score

  34. การรักษา • การรักษาขณะมีอาการหอบ • ให้ออกซิเจน • ให้ยาขยายหลอดลม ให้ผลเร็วกว่าการฉีด ถ้าไม่สามารถพ่นยาได้อาจใช้ยาฉีด เช่น adrenalin, aminophylline • ให้ยา corticosteroid ควรให้ทันทีขณะที่หอบมาก เป็นยาลดการอักเสบจะได้ผลหลังให้ยา 6-8 ชั่วโมง • รักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ปอดแฟบ

  35. การรักษาโรคหืดระยะยาวการรักษาโรคหืดระยะยาว • การควบคุมสิ่งกระตุ้นให้เกิดการแพ้ • ให้ยาเพื่อรักษาภาวะหลอดลมหดเกร็ง • กายภาพบำบัดทรวงอก เช่น การฝึกการหายใจ การไออย่างมีประสิทธิภาพ • การออกกำลังกาย

  36. Nursing Diagnosis • มีโอกาสเกิดภาวะเนื่อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจาก • มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคในกลุ่มอาการครูพ • มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจการสร้างเสมหะมากขึ้น มีการบวมหรือเกิดการหดเกร็งของหลอดลม • มีความบกพร่องในการแลกเปลี่ยนก๊าซจากการอักเสบของถุงลมและเนื่อเยื่อรอบๆ • แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ

  37. การกำจัดเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการสร้างเสมหะมากชึ้น การไอไม่มีประสิทธิภาพ มีการคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจ และมีการเจ็บปวดในขณะไอ • การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากมีการหดเกร็งของหลอดลม การบวมของหลอดลมหรือมีการสร้างเสมหะมากขึ้น • อุณหภูมิร่างกายสูงเนื่องจากมีการติดเชื้อ หรือภาวะขาดน้ำ • เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำในระบบหายใจ

  38. ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมลดลง เนื่องจากมีความไม่สมดุลระหว่าง O2 supply และ O2 demand • มีโอกาสขาดสารน้ำและขาดสมดุลของ electrolyte เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากภาวะหายใจเร็ว เหงื่อออกมาก และได้รับสารน้ำลดลงจากอาการหายใจลำบาก • เสี่ยงต่อภาวะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีอาการหอบเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน • เด็กมีความกลัว วิตกกังวล เนื่องจากภาวะหายใจลำบากและต้องอยู่โรงพยาบาล • ครอบครัวอาจรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวล เนื่องจากอาการหายใจลำบากของเด็กและการรักษาที่ได้รับ

  39. การดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจด้วยกายภาพบำบัดทรวงอกและออกซิเจนการดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจด้วยกายภาพบำบัดทรวงอกและออกซิเจน

  40. หลักการทั่วไป • การจัดท่าเพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง • การเคาะใช้อุ้งมือ ไม่ควรใช้ฝ่ามือควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้มชิดกัน ที่เรียกว่า Cupped Hand • ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ

  41. การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 1-3 นาทีหรือนานกว่านั้นถ้ายังมีเสียงเสมหะมาก • ขณะเคาะหากเด็กไอ  ควรใช้การสั่นสะเทือนช่วยในระหว่างที่กำลังไอหรือช่วงที่เด็กหายใจออก

  42. ฝึกการไอให้มีประสิทธิภาพ  (ทำได้เฉพาะเด็กที่รู้เรื่อง สามารถเข้าใจและทำตามคำอธิบายได้)ฝึกได้โดยให้เด็กหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆกลั้นไว้สักครู่และไอออกมาโดยเร็วและแรง • ควรทำการระบายเสมหะ ก่อนมื้อนมหรืออาหาร หรือขณะท้องว่าง หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักและอาเจียน

  43. การจัดท่าเคาะปอด • ท่าที่ 1ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังประมาณ 30°เคาะบริเวณด้านบนเหนือทรวงอกด้านซ้ายระหว่างกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก

  44. ท่าที่ 2  ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (30°) บนแขนของผู้ให้การบำบัดเคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่

  45. ท่าที่ 3   ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า จัดท่านอนหงายราบเคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย

  46. ท่าที่ 4   ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15° และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาจากแนวราบและเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย

  47. ท่าที่ 5   ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30°ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมาเล็กน้อยเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย

  48. ท่าที่ 6    ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง จัดท่าศีรษะต่ำ 30o นอนตะแคงเกือบคว่ำเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5  ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก

  49. ท่าที่ 7 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง จัดท่าศีรษะต่ำ 30° นอนคว่ำเคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า

  50. References • คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร :ห้างหุ้นส่วน จำกัด พรี-วัน. • พรทิพย์ ศิริบูรณพิพัฒนา. (2552). การพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7) โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรม ราชนก กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี : ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด.

More Related