1 / 15

ลักษณะของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้.

lev-beasley
Download Presentation

ลักษณะของระบบเครือข่าย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้

  2. ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client/Terminal) ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร   เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก   ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้   ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ 

  3. ลักษณะของระบบเครือข่าย Terminal Console Terminal Host Terminal

  4. รูปแบบของเน็ตเวิร์คแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ • 1. LAN (Local Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่จำกัด เช่นภายในตึกสำนักงานหรือภายในโรงงาน ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ลในการติดต่อสื่อสารกัน • 2. MAN (Metropolitan Area Network)เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นเชื่อมต่อกันในเมือง หรือในจังหวัด เป็นต้น • 3.WAN (Wide Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวาง อาจจะเป็นภายในประเทศหรือระหว่างประเทศเป็นการใช้ หลายๆ LAN หรือหลายๆ MAN ซึ่งอยู่คนละพื้นที่เชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น สำนักงานที่ New York เชื่อมต่อกับที่ Tokyo การติดต่อสื่อสารกัน อาจจะใช้ตั้งแต่สายโทรศัพท์จนกระทั่งถึงดาวเทียม • อาจจะมีอีกประเภทหนึ่ง คือ SAN (Small Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่ขนาดเล็กมาก อาจจะเป็นในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีจำนวนของคอมพิวเตอร์ไม่ควรจะเกิน 10 เครื่อง

  5. ลักษณะการทำงาน การทำหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องของระบบเน็ตเวิร์คเป็นสำคัญ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • Peer to Peer Networkเป็นลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิ์เท่าเทียม กันหมด (Peer) ไม่มีเครื่องไหนทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางของเน็ตเวิร์คเครื่องทุกเครื่องเป็นทั้งผู้ใช้ และผู้ถูกใช้ สามารถเป็นได้ทั้ง Client และ Server ไม่มีเครื่องไหนมีหน้าที่ดูแลจัดการระบบทั้งหมด เป็นต้นว่าการแชร์ทรัพยากรจะทำอย่างไร ใครเป็นผู้ดูแล ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลและทรัพยากรของตัวเอง

  6. 2. Client-Server ในกรณีที่องค์กรของเรามีผู้ใช้เครื่อง มากกว่า 15-20 เครื่อง ระบบเน็ตเวิร์คแบบpeer to peer จะไม่เหมาะสม เราควรเลือกใช้ระบบ client-server จะเหมาสมกว่าเพราะมีความสามารถในการดูแลควบคุมการใช้งานของระบบเน็ตเวิร์คที่มีผู้ใช้จำนวนมากได้ดีกว่า ระบบเน็ตเวิร์คแบบนี้จะเป็นระบบที่มีศูนย์กลาง มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ อำนวยความสะดวก จัดเก็บข้อมูล รักษาความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ มีหน้าที่คล้ายๆเป็นหัวหน้ากลุ่ม เราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ ว่า server ส่วนเครื่องที่เหลือในระบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่นี้เราเรียกว่าclient หรือ workstation เป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบ ที่ทำหน้าที่รับบริการจากเครื่อง server ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานทุกอย่างของเน็ตเวิร์ค เช่นของมูลเครื่องพิมพ์จะถูกดูแล และ แชร์โดยเครื่อง server อุปกรณ์ทุกอย่างจะถูกเชื่อมต่อโดยตรง เครื่อง client ทุกเครื่องจะใช้งานทรัพยากรต่างๆ ผ่านทาง server

  7. File Server (Application) Multiple Workstations sharing a common task

  8. ลักษณะการจัดตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ลักษณะการจัดตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ • โครงสร้างของ Networkหมายถึงรูปแบบในการจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ สายเคเบิ้ล และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อที่จะให้ข้อมูลได้ทำงานตามทิศทางที่เราได้กำหนดไว้ โครงสร้างเน็ตเวิร์คที่ต่างกันมีความต้องการด้านอุปกรณ์ต่างๆ เช่นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ • 1. แบบบัส (BUS)2. แบบดาว (STAR)3. แบบวงแหวน (RING)

  9. 1. แบบบัส (BUS) • เป็นเน็ตเวิร์คที่ง่ายที่สุด และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องด้วยการใช้สายเคเบิ้ลเป็นสายหลัก เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องโดยมีเน็ตเวิร์คการ์ดเป็นตัวเชื่อมระหว่างสายเคเบิ้ลกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะถูกส่งออกไปตามสาย ไปยังคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่อง ไม่สนใจว่าเครื่องไหนคือผู้รับ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะตรวจสอบเอง ว่าข้อมูลที่ส่งออกมานั้นเป็นของเครื่องตนเองหรือไม่ ถ้าไม่ จะปล่อยข้อมูลผ่านไป แต่ถ้าใช่ ก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ ในระบบนี้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันหลายเครื่องในเวลาเดียวกันเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์คจะน้อยลงเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์มากขึ้น สายเคเบิ้ลที่เป็นสายกลางที่ต้องใช้รับและส่งข้อมูล เรียกว่า backbone สายที่ใช้ส่วนมากจะเป็นสาย coaxial มีลักษณะคล้ายๆกับสายเคเบิ้ลทีวี การใช้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ปิดหัวและท้ายของสายเคเบิ้ลด้วย เรียกว่า terminatorคอยรับสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับไป ซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนสัญญาณได้ บัส เป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกที่สุดในการติดตั้งเน็ตเวิร์ค ไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์มากมาย มีเพียงแค่สายเคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค-การ์ด และเทอร์มิเนเตอร์ ก็พอแล้ว มักใช้กับเน็ตเวิร์คขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มากนัก • ข้อดีและข้อเสีย • - ประหยัด สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง- ถ้าหากมีจุดใดของระบบ เช่น สายเคเบิ้ลไม่สามารถทำงานได้ ทั้งระบบก็จะเสีย- ถ้าหากมีจุดเสีย ยากที่จะตรวจพบ- จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีผลกับประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ค

  10. 2. แบบดาว (STAR) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เข้าสู่อุปกรณ์ส่วนกลางที่เรียกว่า ฮับ (HUB) ข้อมูลหรือสัญญาณ จะเดินทางจากเครื่องส่งไปสู่ ผู้รับโดยผ่านฮับข้อดีและข้อเสีย - การขยายขนาดสามารถทำได้โดยง่าย โดยการต่อสายเคเบิ้ลที่เชื่อมกับคอมพิวเตอร์เข้าสู่ฮับ- เมื่อเกิดปัญหากับสายเคเบิ้ล หรือคอมพิวเตอร์ ไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เสียเครื่องที่ไม่เสีย ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ และสามารถตรวจหาจุดเสียได้ง่ายด้วย- ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงถ้ามองในแง่เน็ตเวิร์คขนาดเล็ก เพราะเราต้องซื้อฮับและต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นจำนวนมากกว่าระบบแบบอื่น แต่ปัจจุบัน ราคาฮับถูกมาก ดังนั้น ก็ไม่ถือว่ามีค่าใช้จ่ายสูงนักถ้าฮับเสียเน็ตเวิร์คทั้งระบบก็จะเสียตามด้วย

  11. 3. แบบวงแหวน (RING) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ในลักษณะของรูปวงแหวนโดยใช้สายเคเบิ้ลการต่อ ลักษณะนี้จะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย การส่งข้อมูลจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเป็นรูปวงแหวนในทิศทางเดียวกัน เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูล มันจะทำการใส่ข้อมูลตำแหน่งของเครื่องที่มันต้องการจะส่งไปให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะนำสัญญาณมาเช็คว่าเป็นของตนเองหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ก็จะส่งไปให้เครื่องต่อไป สัญญาณจะวิ่งไปจนกระทั่งเจอคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และรับข้อมูลนำไปใช้เนื่องจากสัญญาณจะวิ่งไปเรื่อยๆ เป็นวงกลม จึงไม่ต้องการอุปกรณ์ปิดหัวท้าย มักจะใช้กับเน็ตเวิร์คที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ใช้โทเค็นเป็นสือในการส่งสัญญาณ โทเค็นจะถูกวิ่งผ่านไปทุกเครื่องเรื่อยๆ จนกว่าเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลจะดึงโทเค็นไปใช้และส่งสัญญาณออกมา เครื่องที่มีโทเค็นเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ • ข้อดีและข้อเสีย • - คล้ายกับแบบบัส คือถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย หรือสายเคเบิ้ลขาดเสียหายก็จะทำให้เน็ตเวิร์คทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้- การขยายขนาดของระบบหรือการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไป ทำได้ยาก ถ้าจะทำก็ต้องมีการตัดและต่อสายเข้าไปใหม่

  12. อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย 1. เน็ตเวิร์คการ์ด (Network Interface Card - NIC) 10/100/1000 Mbps สาย UTP หัวแบบRJ 45

  13. การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ทการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ท

  14. ISDN (Integrated Services Digital Network)

  15. ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)

More Related