1 / 15

บทที่ 1

บทที่ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศ. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหา ความจริงหรือการคำนวณสำหรับ การหาค่าความจริง ปกติคือข้อมูลดิบ (Raw Data)

lev-weber
Download Presentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

  2. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหา ความจริงหรือการคำนวณสำหรับ การหาค่าความจริง ปกติคือข้อมูลดิบ (Raw Data) • สารสนเทศหรือสารนิเทศ (Information) คือ ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณหรือประมวลผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้สามารถนำไปใช้ได้ทันที • เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำความรู้ทางด้านฟิสิกส์มาประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า นำมาความรู้ทางด้านเคมีมาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น

  3. ข้อมูล (Data) ประมวลผล (Processing) สารสนเทศ (Information) ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปที่ 1.1 แสดงกระบวนการเกิดสารสนเทศ

  4. ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท คือ • ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System: TPS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) • ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence System / Expert System: AIS/ES) • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS)

  5. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (TransactionProcessingSystem: TPS) ลักษณะเด่นของ TPS คือ ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบ TPS คือ • ช่วยลดจำนวนพนักงาน (เสมียน) • ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับบริการ ที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น • ช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น

  6. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) • คุณสมบัติของระบบ MIS ที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้ • สนับสนุนการทำงานของระบบ TPS และการจัดเก็บข้อมูลรายวัน • ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน (Share Database) และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กรช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ • มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับความต้องการข้อมูล และสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร • ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น

  7. ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) คุณสมบัติของระบบ DSS ที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้ • ต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ • ถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนได้ • สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์ • มีรูปแบบการใช้งานแบบเอนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ

  8. ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) (ต่อ) • เป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องอาศัยเลย • สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่าง ๆ • มีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว • สามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้ • ทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร • มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

  9. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (ExecutiveInformation System : EIS)

  10. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ExpertSystem : ES ) ข้อดีที่แตกต่างจากระบบสารสนเทศอื่น ๆ ดังนี้ • ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้นเมื่อผู้เชี่ยวชาญออกจากองค์กรหรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้ • ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพร้อมๆ กัน • สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก • ทำให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน • ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง • มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนอย่างมาก

  11. EIS TOP (ผู้บริหารระดับสูง) DSS Middle (ผู้บริหารระดับกลาง) MIS OAS TPS Operation (ระดับปฏิบัติการ) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS)

  12. ผู้รับสารสนเทศ ผู้ส่งสารสนเทศ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ • เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สื่อกลางการสื่อสาร

  13. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ เป็นต้น • ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก • ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผลและเรียกใช้สารสนเทศ • ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น • ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางโดยการใช้ระบบโทรศัพท์และอื่น ๆ

  14. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการเงินและการพาณิชย์ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการสื่อสาร • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา

  15. แบบฝึกหัด 1. จงอธิบายความหมายของคำว่าข้อมูล สารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. จงบอกข้อแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) และระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (DSS) 3. จงบอกลักษณะเด่นของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS) 4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) เกี่ยวข้องกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างไร 5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS) แตกต่างจากระบบประมวลผลทางธุรกิจ (TPS) อย่างไร 6. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีกี่สาขาอะไรบ้าง 7. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถประยุกต์ใช้ในด้านใดได้บ้าง จงอธิบาย

More Related