1 / 15

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดนครปฐม

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดนครปฐม. จัดทำโดย นางสาวอลิษา โพธิ์จินดา 56670043. วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร. ประวัติ. เป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด 

lewis-lyons
Download Presentation

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดนครปฐม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดนครปฐม จัดทำโดย นางสาวอลิษา โพธิ์จินดา 56670043

  2. วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหารวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร

  3. ประวัติ • เป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด  • สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2396 โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่ มีฐานแบบโอคว่ำและมียอดปรางค์อยู่ข้างบน  • มีความสูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฎ 3 เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว (หรือประมาณ 120.5 เมตร) ฐานวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 17 วา 3 ศอก (หรือประมาณ 233 เมตร) ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

  4. สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระปฐมเจดีย์สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระปฐมเจดีย์ • พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือ หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 • พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้ามพระอุโบสถ ภายในเก็บวัตถุโบราณที่ขุดพบได้จากสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดนครปฐมทั้งสมัยบ้านเชียง สมัยทวารวดี รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดปรานมากและถูกคนลอบยิงตาย พระองค์ทรงเสียพระทัยมาก โปรดฯให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้อาลัย พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.30 น. (ปิดช่วงเวลา 12.00–13.00)

  5. การเดินทาง • รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเก่า สายถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือ เส้นทางสายใหม่ จากกรุงเทพฯ ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม • รถโดยสารประจำทาง การเดินทางไปจังหวัดนครปฐม สามารถเดินทางได้จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.15 น. ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศวิ่ง 2 เส้นทาง คือ • สายเก่า (กรุงเทพฯ-อ้อมใหญ่-สามพราน-นครปฐม) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-บางลี่ • สายใหม่ (กรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี-นครปฐม) สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ด่านช้าง(สีน้ำเงิน) หรือ รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, สายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.00 น. รถอกทุก 15 นาที

  6. พุทธมณฑล

  7. ประวัติ • เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ พุทธมณฑลเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาล และประชาชนชาวไทยร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาได้ถึง 2,500 ปี บริเวณจุดศูนย์กลางของพุทธมณฑล เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระประธานของพุทธมณฑลมีความสูง 2,500 กระเบียด (ประมาณ 15.875 เมตร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” 

  8. การเดินทาง • จากกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงได้หลายเส้นทาง คือเดินทางไปตามถนนเพชรเกษม ถึงประมาณกิโลเมตรที่ 22 เลี้ยวขวาเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 4 ไปประมาณ 8 กิโลเมตร หรือเดินทางไปตามถนนสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แล้วแยกเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 4 ไปเล็กน้อย นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยใช้ถนนพุทธมณฑลสาย 3 แยกเข้าสู่ถนนอุทยาน(อักษะ) เพื่อมุ่งเข้าสู่พุทธมณฑลได้ ถนนอุทยาน(อักษะ)เป็นถนนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ด้วยแนวเสาไฟประดับรูปกินรี น้ำพุและไม้ประดับต่างๆ มีทัศนียภาพที่สวยงาม 

  9. ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพรานลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน

  10. ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมกิโลเมตรที่ 30 ห่างจากสวนสามพราน 1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ เป็นสวนสัตว์นานาชนิด มีการแสดงโชว์ของช้าง นั่งช้างท่องอุทยาน การแสดงช้างประกอบเสียง การจับจระเข้ด้วยมือเปล่า และการแสดงมายากลทุกวัน เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-17.30 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 40 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 250 บาท • การแสดงการจับจระเข้ด้วยมือเปล่า เริ่มเวลา 12.45 น14.20 น., 16.20 น. (วันจันทร์-เสาร์) วันอาทิตย์เพิ่มรอบ 11.00 น., 16.05 น., 16.50 น.การแสดงมายากล เริ่มเวลา 13.15 น., 15.00 น. (วันจันทร์-เสาร์) วันอาทิตย์เพิ่มรอบ 11.30น.การแสดงช้างประกอบเสียง เริ่มเวลา 13.45 น., 15.30 น. (วันจันทร์-เสาร์) วันอาทิตย์เพิ่มรอบ 12.00 น.ขี่ช้างท่องอุทยาน วันจันทร์-เสาร์ 09.00-13.00 น. วันอาทิตย์ 09.00 -11.00 น.

  11. การเดินทาง • สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง ได้แก่ รถยนต์ 1. ใช้เส้นทางสายถนนเพชรเกษม ประมาณกิโลเมตรที่ 30 ก็จะพบป้ายของลานแสดงช้าง และฟาร์มจระเข้สามพรานอยู่ทางซ้ายมือ 2. ใช้เส้นทางสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑลสาย ๗ เพื่อตัดเข้าถนนเพชรเกษม สวนสามพรานจะอยู่ห่างออกไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร ทางซ้ายมือ รถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางสาย 123 (รถธรรมดา) ออกจากท่าช้าง มาลงที่หน้าลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน หรือ ปอพ.12 หรือ นั่งรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 2 จากสถานีขนส่งสายใต้ เส้นสายเก่า ถนนเพชรเกษม (กรุงเทพฯ-อ้อมใหญ่-สามพราน-นครปฐม), กรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-บางลี่, กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี

  12. วัดไร่ขิง

  13. ประวัติ • สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2394 สมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก) รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา เมื่อสร้างวัดเสร็จได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาจากวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา • ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานวัด ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยแบบประยุกต์ หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้ว สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ ลักษณะผึ่งผายคล้ายสมัยเชียงแสน พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย พระพักตร์ดูคล้ายรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี พระอุโบสถ เป็นทรงโรง ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฝาผนังก่ออิฐถือปูนหน้าบันเป็นลายพุดตาล ติดช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสลับสี ซุ้มประตูเป็นลายปูนปั้นเครือเถา บานประตูด้านนอก เป็นลายรดน้ำรูปท้าวจัตุโลกบาล ด้านในเป็นภาพสีรูปอสูรยักษ์ เซี้ยวกาง บานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำรูปต้นไม้พร้อมด้วยสิงสาราสัตว์ ด้านในเป็นภาพเขียนสีรูปดอกไม้ ส่วนซุ้มหน้าต่างเป็นรูปปูนปั้นลายเครือเถา 

  14. ที่ตั้ง • ตั้งอยู่ที่ตำบลไร่ขิง บนฝั่งแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำนครชัยศรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงพระราชทานนามว่า "วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) "จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อ วัดไร่ขิง 

  15. การเดินทาง • สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง ได้แก่ รถยนต์ ใช้เส้นทางสายถนนเพชรเกษม ผ่านสวนสามพราน ก็จะพบป้ายของวัดไร่ขิงอยู่ทางขวามือ รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 2 จากสถานีขนส่งสายใต้ สายเก่า (กรุงเทพฯ-อ้อมใหญ่-สามพราน-นครปฐม) กรุงเทพฯ-ราชบุรี กรุงเทพฯ-บางลี่ กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี ลงปากทางเข้าวัดไร่ขิงแล้วต่อรถโดยสารประจำทางเข้าไปยังวัดไร่ขิง

More Related