1 / 8

โครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติโดยชุมชน บ้านห้วยลากปืนใน ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่

โครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติโดยชุมชน บ้านห้วยลากปืนใน ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่. ความเป็นมา

lok
Download Presentation

โครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติโดยชุมชน บ้านห้วยลากปืนใน ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติโดยชุมชนบ้านห้วยลากปืนใน ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ความเป็นมา แพร่เป็นเขตป่าต้นน้ำสำคัญของประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง สลับซับซ้อน จากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้แพร่กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ ในอัตราสูงแห่งหนึ่งของประเทศ เกิดพายุฤดูร้อนต่อเนื่องทุกปีและทวีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทำให้ปัญหาไฟป่ากำลังส่งผลต่อสภาวะในอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจากสถิติพบว่าปัญหาน้ำป่าก็รุนแรงหนักเช่นกัน ในปี 2544 น้ำป่าทำลายบ้านเรือนผู้คนใน 3 ตำบลของอำเภอวังชิ้น ที่ลุ่มน้ำสรอยและลุ่มน้ำแม่พุง มีผู้เสียชีวิตภายในคืนเดียวพร้อมกันถึง 40 ราย ปี 2549 เกิดน้ำป่ารุนแรงขึ้นอีกในเทือกเขารอยต่อแพร่อุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ได้รับผลกระทบถึง 3 อำเภอคือ อ.เด่นชัย อ.สูงเม่น และ อ.เมืองแพร่ และจากนี้ไป ไม่มีใครยืนยันได้ว่า ภัยพิบัติจะไม่เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่อีก และปัญหานี้ประชาชนกำลังให้ความสำคัญ

  2. จุดเริ่มต้นโครงการฟื้นฟูภัยพิบัติโดยชุมชนบ้านห้วยลากปืนจุดเริ่มต้นโครงการฟื้นฟูภัยพิบัติโดยชุมชนบ้านห้วยลากปืน • ปี 2549 ชาวบ้านต้องเผชิญกับปัญหาน้ำป่ารุนแรง ส่งผลกระทบหลายด้าน • การช่วยเหลือภัยพิบัติจากทางการไม่ตรงความต้องการ • ในขณะที่การใช้ทรัพยากร ของชาวบ้านและราชการ ไม่รับผิดชอบต่อธรรมชาติ • ปัญหาพืชผลเกษตรที่ประสบสภาวะขาดทุน • ชุมชนยังคิดเรื่องการอยู่อย่างพอเพียง ไม่ติดไปทำงานต่างพื้นที่และอยู่กับดินน้ำป่าบ้านของตนเอง

  3. เกิดเวทีชาวบ้านสรุปบทเรียนประเมินสถานการณ์ในพื้นที่หาทางออกชาวบ้านพบหลายประเด็นน่าสนใจเกิดเวทีชาวบ้านสรุปบทเรียนประเมินสถานการณ์ในพื้นที่หาทางออกชาวบ้านพบหลายประเด็นน่าสนใจ • จากประวัติของชุมชน -ชาวบ้านอยู่มานานก่อนกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ อาศัยป่ายังชีพ -ป่าไม้ในอดีตให้ความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี ไม่แห้งแล้ง -ป่าให้ปัจจัย 4 กับชุมชนได้ใช้อย่างเพียงพอ -ชาวบ้านเชื่อว่าป่ามี “ผี” ดูแลไม่ลบหลู่

  4. สิ่งที่ได้จากเวทีเกิดการค้นหาความจริงสิ่งที่ได้จากเวทีเกิดการค้นหาความจริง • ศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยในชุมชน • พบพื้นที่ดินถล่มมากกว่า 20 แห่งในลำห้วยลากปืน • พบป่าไม้สักของ ออป.ต้นเหตุดินพังทลาย • พบชาวบ้านไม่ให้ความสำคัญกับลำห้วย สร้างขยะในลำห้วย • พบว่าพืชเชิงเดี่ยวของชาวบ้านก็คือตัวทำให้ดินพังทลายเร็วขึ้น • ค้นหาคนทำงานและปราชญ์ของชุมชน ผู้นำทางพิธีกรรม หมอพื้นบ้าน • ได้ผู้นำในระบบ ผญบ.อบต. กำนัน พระสงฆ์ ที่มีใจ • ได้ผู้นำธรรมชาติ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน

  5. สิ่งที่ได้จากเวทีเกิดการค้นหาความจริงสิ่งที่ได้จากเวทีเกิดการค้นหาความจริง • ร่วมสำรวจป่าหาสาเหตุสำคัญ ในการแก้ปัญหาและต้นเหตุของปัญหา • ได้หมอพื้นบ้านเป็นผู้รู้ในการนำสำรวจไปตามเส้นทางหาสมุนไพร • ได้ชุดความรู้การเฝ้าระวังภัยพิบัติ ด้วยการดูต้นไม้ และสัตว์ป่า • เกิดสำนึกรักป่า ชาวบ้านหันมาฟื้นฟูการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค • พบพืชพันธุ์ท้องถิ่นหลายชนิดลดลงไปเกิดการเพาะพันธุ์พืชท้องถิ่นคืนป่า

  6. สิ่งที่ได้จากเวทีเกิดการค้นหาความจริงสิ่งที่ได้จากเวทีเกิดการค้นหาความจริง • สำรวจชุมชน ที่อยู่อาศัย ที่ปลอดภัย เก็บข้อมูล • ทำฐานข้อมูลชุมชน ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตร สิ่งสาธารณะประโยชน์ • กำหนดจุดปลอดภัย • ฝึกอาสาสมัคร และ ฝืกเตือนภัย • เกิดกองทุน (ยังไม่ชัด)

  7. สิ่งที่ได้จากการทำงานในรอบ 1 ปี • พบชุมชนมีการเฝ้าระวังโดยวัฒนธรรม • การดูต้นไม้ สัตว์ป่า พยากรณ์อากาศ • การตั้งถิ่นฐานที่อยู่ไม่รุกล้ำที่ลุ่ม • หมอยามีวิธีรักษาป่าและเข้าใจนิเวศน์ของป่ามากกว่าหน่วยงานรัฐ

  8. ยกระดับชุมชนห้วยลากปืนสู่ลุ่มน้ำแม่พวกยกระดับชุมชนห้วยลากปืนสู่ลุ่มน้ำแม่พวก • นำแนวคิดของห้วยลากปืน สู่การฟื้นฟูร่วมกันในลุ่มน้ำ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

More Related