1 / 27

หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ

หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ. “ องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ” นางสาวฐานิดา เมนะเศวต หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. หัวข้อการบรรยาย. ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

lorene
Download Presentation

หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐหลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ “องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน” นางสาวฐานิดา เมนะเศวต หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

  2. หัวข้อการบรรยาย • ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ • กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • กลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ • บทบาทของไทยด้านสิทธิมนุษยชน • Human Rights Council • Universal Periodic Review

  3. 1.ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ1.ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ • หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการจัดตั้งสหประชาชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1945 • สิทธิมนุษยชนเปนหนึ่งในสามเสาหลักของสหประชาชาติ ได้แก่ สันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และ สิทธิมนุษยชน • สหประชาชาติมีบทบาทในการสนับสนุนประเทศตาง ๆ ใหมีขีดความสามารถในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น รวมทั้งเป็นเวที ในการเจรจาจัดตั้งกลไก และจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศที่สำคัญ

  4. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights-UDHR) ซึ่งได้รับการรับรองในที่ประชุม UNGA ในปี ค.ศ. 1948 ถือเป็นเอกสารด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก

  5. กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ-CERD • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง-ICCPR และพิธีสารเลือกรับสองฉบับ • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม-ICESCR • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรี ในทุกรูปแบบ –CEDAW และพิธีสารเลือกรับ • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก-CRC และพิธีสารเลือกรับสองฉบับ

  6. กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี-CAT และ พิธีสารเลือกรับ • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ -CRPD • อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ –CED 9. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว-MWC

  7. คณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ (Treaty Body) • แต่งตั้งประจำทุกอนุสัญญา • พิจารณารายงานประเทศ • จัดทำ general comments (ความเห็นทั่วไป) เพื่อตีความ ข้อบทต่าง ๆ • รับข้อร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลหรือจากรัฐภาคีอื่น

  8. กลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคกลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค กลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ • คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council – กลไกหลักด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ)

  9. กลไกอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อาทิ • กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) • UN Women • UNHCR • OHCHR • UNDP • UNESCO • General Assembly • Security Council

  10. กลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค อาทิ กลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคยุโรป อเมริกา แอฟริกา • กลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน • คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights – AICHR) • คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของสตรีและเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children – ACWC)

  11. กลไกภายในประเทศที่กำกับดูแลด้านสิทธิมนุษยชนกลไกภายในประเทศที่กำกับดูแลด้านสิทธิมนุษยชน • หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ • กลไกทางนิติบัญญัติ • ภาคประชาสังคม

  12. ช่องทางในการหยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับไทยช่องทางในการหยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับไทย • ผู้เสนอรายงานพิเศษตามกลไกสหประชาชาติ • ข้อร้องเรียนและการเยือนของผู้เสนอรายงานพิเศษ • กลไกของ HRC • องค์การระหว่างประเทศ • ภาคประชาสังคม • สื่อ • องค์กรอิสระ อาทิ คณะกรรมการสิทธิฯ

  13. ประเด็นปัญหา • การบูรณาการของหน่วยงานไทย/ การทำงานแบบแยกส่วน • การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน • การปรับทัศนคติจากการมองในแง่ความมั่นคงเพียงอย่างเดียว แต่อ้างอิงหลักการ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนมากขึ้น • การปรับทัศนคติของประชาชน ให้มองว่าเป็นสิทธิ ไม่ใช่การกุศล • ความแตกต่างทางมุมมอง ทัศนคติของประชาคมระหว่างประเทศ

  14. 2. บทบาทของไทยด้านสิทธิมนุษยชน • ไทยมีบทบาทสำคัญในกลไกด้านสิทธิมนุษยชน • การดำเนินการของไทยมีผลใน 2 ระดับ คือ ในระดับระหว่างประเทศ และระดับภายในประเทศ

  15. ระดับระหว่างประเทศ: ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) • ระดับภายในประเทศ - ตามพันธกรณีที่มีอยู่ - ตามกรอบการดำเนิน งานของไทย

  16. ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) • HRC เป็นกลไกหลักของสหประชาชาติที่มุ่งผลักดัน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลกโดยเป็น เวทีในการหารือประเด็นสิทธิมนุษยชนใหม่ ๆ และดูแล ติดตามประเด็นที่มีอยู่แล้ว รวมถึงสถานการณ์เร่งด่วน • HRC มีสมาชิก 47 ประเทศ • ไทยเป็นสมาชิก HRC ระหว่างกลางปี 2553 – ปลายปี 2556 และจะสมัครเป็นสมาชิกต่อ ระหว่างต้นปี 2558- ปลายปี 2560

  17. ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) ผลดีในระดับประเทศ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในภาคส่วนต่างๆ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ผลดีในระดับระหว่างประเทศบทบาทของไทยที่สำคัญเพิ่มขึ้นในเวที สิทธิมนุษยชน เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อหาจุดร่วมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศก็จะใช้โอกาสนี้ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศ กลุ่มมุสลิมด้วย

  18. รายงานสิทธิมนุษยชนของไทยภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) • กระบวนการ UPR กำหนดให้ทุกประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ต้องจัดทำรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน • รายงาน UPR เป็นรายงานภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ของประเทศในทุกด้าน ซึ่ง กต. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมในการจัดทำรายงาน • คณะผู้แทนไทยได้นำเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะทำงาน UPR สมัยที่ 12 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ณ นครเจนีวา

  19. ข้อเสนอแนะภายใต้กลไก (UPR) • ไทยได้รับข้อเสนอแนะทั้งหมด 172 ข้อ • ไทยสามารถให้การรับรองข้อเสนอแนะได้จำนวน 134 ข้อ • ไทยควรจะต้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่รับรอง และต้องแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้ประชาคมระหว่างประเทศทราบในปี 2559 • ไทยได้ประกาศที่จะรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะในปี 2557

  20. การเข้าเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • การปรับปรุงกฎหมายสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ • การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและแผนสิทธิมนุษยชน • การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึกอบรม • การเชิญกลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ เยือนไทย • การส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออก • การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม

  21. การส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม • การคุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้แสวงหาที่พักพิง • ปัญหาการค้ามนุษย์ • การแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ • การอำนวยความยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม • กระบวนการปรองดอง • การติดตามผลของกระบวนการ UPR

  22. คำมั่นของประเทศไทย 1. เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 2. ถอนข้อสงวนต่อข้อ 16 ของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW) และถอนถ้อยแถลงตีความต่อข้อ 6 และข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และข้อ 18 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) 3. ปรับกฎหมายให้สอดคล้องกับตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน 4. ประกาศเชื้อเชิญในหลักการ (standing invitation) ต่อกลไกพิเศษของ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ

  23. 5. เร่งปรับปรุงระบบยุติธรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการบังคับใช้กฎหมาย 6. พัฒนาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน และเพิ่มความพยายามในการป้องกันการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบแรงงานทั้งระบบ 7. ส่งเสริมสิทธิด้านการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสและเด็กชายขอบ 8. เสริมสร้างความเข้มแข็งของการปฏิบัติตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

  24. การดำเนินการต่อไป • สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ให้การรับรองจำนวน 134 ข้อ รวมทั้งคำมั่นที่ไทยให้ไว้จำนวน 8 ข้อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม • การจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศ และติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR เพื่อเป็นกลไกติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นระบบ

  25. ไทยต้องรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ทราบในปี 2559 • ไทยจะรายงานความคืบหน้าโดยสมัครใจให้ HRC ทราบในช่วงครึ่งเทอม ในปี 2557

  26. สรุป • ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องภายในประเทศ • สิทธิมนุษยชนถูกใช้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่าง ๆ • การดำเนินงานภายในประเทศ รวมทั้งการชี้แจงทำความเข้าใจ กับประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งในกรอบพหุภาคี และทวิภาคี มีความสำคัญ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะประเทศที่มีความรับผิดชอบ และยึดมั่นในมาตรฐานและหลักการด้านสิทธิมนุษยชนอันเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

  27. ขอบคุณค่ะ

More Related