1 / 33

โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา - เอส โซ่

โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา - เอส โซ่. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ). เรื่อง. R - Phetch Sanck. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี. โดย. 1. นายจิรายุทธ์ แก้วเต็มดวง 2. นางสาว กนกวรรณ สุพล 3. นางสาวพรรณิดา สุดวิลัย. ครูที่ปรึกษาโครงงาน.

louis-ford
Download Presentation

โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา - เอส โซ่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เรื่อง R - PhetchSanck วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี

  2. โดย... 1. นายจิรายุทธ์ แก้วเต็มดวง 2. นางสาวกนกวรรณ สุพล 3. นางสาวพรรณิดา สุดวิลัย ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวจิราพร ทัดพินิจ นางรัชนีกร โหรชัยยะ นางสาวอรนุช กอสวัสดิ์พัฒน์ นางสาวเขมชุดา วงศ์ผาติกร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี

  3. ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน จากผลการวิจัย พบว่า ในขณะที่เด็กไทยติดขนมห่อ เฉลี่ยปีละ 9,800 บาท แต่เสียค่าใช้จ่ายเรื่องการเรียนเพียง เฉลี่ยปีละ 3,024 บาท เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน เพราะได้รับน้ำตาล แป้ง โซเดียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่ การบริโภคมันฝรั่งทอด ปลาเส้นปรุงรส ช็อกโกแลต เยลลี่ ฯลฯ ที่มีรูปลักษณ์ น่ารับประทานมีอันตราย ซึ่งอาจจะเป็นพื้นฐานให้ก่อมะเร็งในอนาคตได้

  4. ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน นอกจากนี้ ข้อมูลจากงานวิจัย พบว่า ขนมขบเคี้ยวที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากมักมีรสชาติหวานจัด มันจัด เค็มจัด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ขนมบางชนิดรับประทานเพียงแค่ชิ้นเดียวก็ให้พลังงานเกินกว่าความต้องการของร่างกายแล้ว ทั้งนี้ มีข้อมูลจากงานวิจัย พบว่าผลการสำรวจขนมประเภทขนมขบเคี้ยว และอาหารว่างประมาณ 700 ตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์จากฉลากโภชนาการ และส่วนประกอบ เพื่อหาคุณค่าทางโภชนาการพบว่ามีเพียง 10% ของขนมทั้งหมดที่ผ่านเกณฑ์โภชนาการ

  5. ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน เนื่องจากมีบางตัวอย่างที่เค็มเกินไป บางตัวอย่างหวานเกินไป และกว่า 90% มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก แต่เต็มไปด้วยสารอาหารที่เกินพอดี เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  6. ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน ทำให้คณะผู้จัดทำโครงงาน มีความสนใจที่จะพัฒนาสูตรขนมขบเคี้ยวที่มีคุณค่าอาหารสูง ถูกหลักโภชนาการ ประกอบกับพวกเราได้ศึกษาพบว่า ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่มีความมหัศจรรย์คือ มีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งแร่ธาตุสารอาหาร และมีตัวยาที่สามารถป้องกัน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ทั้งโรคที่ไม่มีเชื้อโรค และโรคที่มีเชื้อโรค อีกทั้งปริมาณแร่ธาตุสารอาหารที่มีนั้น มีอยู่ในสัดส่วนมากเมื่อเทียบอัตราส่วนกับปริมาณของเนื้อลูกเดือย นอกจากนี้ งาขาวก็เป็นพืชที่อุดมคุณค่าอาหาร ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน ที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดอะมิโนเมธิโอนีน

  7. ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน รวมทั้ง โปรตีนเกษตรเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณประโยชน์ต่างๆ มากมายเนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีไลซีน (Lysine) สูง ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกาย และยังเป็นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านความมีภูมิคุ้มกันที่ดีมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าจากการที่เราได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ ทำให้คณะผู้จัดทำได้ตั้งใจศึกษาหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหลักการบริโภค ที่ถูกสุขอนามัย โทษภัยของการบริโภคขนมขบเคี้ยวทั่วไป ทำให้เราคำนึงถึงการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี และได้ฝึกการคำนวณข้อมูลทางโภชนาการจากการคิดพัฒนาสูตรในการผลิตขนม R Phetch SNACK ที่มีประโยชน์ ตรงตามหลักโภชนาการ ด้วยการเลือกใช้ส่วนประกอบที่มีคุณค่าอาหาร ทำให้ขนมขบเคี้ยวของคนพันธุ์ R มีประโยชน์ไม่ก่อให้เกิดโทษภัยต่อสุขภาพ

  8. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1. เพื่อศึกษาวัตถุดิบ และสูตรในการผลิตขนมขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยสำหรับวัยรุ่น “R Phetch SNACK” 2. เพื่อพัฒนาสูตรการทำขนมขบเคี้ยว“R Phetch SNACK” ที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงจำนวน 3 รส ได้แก่ รสคาราเมลไลซ์ รสสมุนไพร และรสครองแครงกรอบ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อขนม R Phetch SNACK ทั้ง 3 รส

  9. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้าสมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า 1. วัตถุดิบที่มีความเหมาะสมที่จะเลือกใช้ เพื่อการผลิตขนมขบเคี้ยวที่มีประโยชน์มีคุณค่าทางโภชนาการ “R Phetch SNACK” เป็น โปรตีนเกษตร ลูกเดือย และงาขาว ทอดด้วยน้ำมันพืช ปรุงรสให้มีรสสัมผัสกรอบอร่อย ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของเด็กวัยรุ่น 2. ได้สูตรการทำขนมขบเคี้ยว R Phetch SNACK ซึ่งเป็นขนมที่มีประโยชน์มีคุณค่าทางโภชนาการ 3 รส คือ รสคาราเมลไลซ์ รสสมุนไพร และรสครองแครงกรอบ 3. ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อการบริโภคขนม R Phetch SNACK ทั้ง 3 รส อยู่ในระดับมาก

  10. ขอบเขตของการศึกษา 1. ศึกษาวัตถุดิบและสูตรที่ใช้ในการผลิตมาจากธรรมชาติ และมีคุณค่าทางโภชนาการ 2.ศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวในตลาด และส่วนแบ่งทางการตลาด 3.ขนม R Phetch SNACK เป็นขนมขบเคี้ยวที่คณะผู้จัดทำพัฒนาสูตรขึ้นมีคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัยสำหรับวัยรุ่น มีลักษณะกรุบกรอบ รสชาติอร่อยจัดจ้าน บรรจุภัณฑ์ทันสมัย

  11. ขอบเขตของการศึกษา 4. ขนม R Phetch SNACK ที่พัฒนาขึ้นนี้ มี 3 รส ได้แก่ รสคาราเมลไลท์ รสสมุนไพร และรสครองแครงกรอบ5.กลุ่มตัวอย่างที่ได้ศึกษาความพึงพอใจในการบริโภค R Phetch SNACK ได้แก่ ครู บุคลากร นักเรียน และนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี จำนวน 50 คน คนละ 3 รสชาติ และได้พัฒนาต่อจากผลการประเมินและคำแนะนำจากผู้เข้าชมนิทรรศการการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์-เอสโซ่ ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี ณ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 ที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 คน

  12. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น -วัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการ -สูตรต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหาร - กรรมวิธีแปรรูปและขั้นตอนการประกอบอาหาร ตัวแปรตาม ขนมขบเคี้ยวที่ได้รับการยอมรับ มีคุณค่าทาง โภชนาการและปลอดภัยสำหรับวัยรุ่น “R Phetch SNACK” ตัวแปรควบคุม ส่วนประกอบหลักของขนม “R Phetch SNACK”

  13. วิธีการทดลอง วัสดุที่ใช้ในการผลิต ส่วนประกอบหลัก 1. ลูกเดือย 30 % 2. โปรตีนเกษตร 30 % 3. งาขาว 10 % 4. น้ำมันถั่วเหลือง 5 % 5. น้ำตาลโตนด 25 %

  14. วิธีการทดลอง วิธีทำ 1. นำเม็ดเดือยไปแช่น้ำ 1 คืน ต้มให้สุก 2. นำไปตากแดด 1 – 2 วัน หรือเข้าตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศา นาน 20 นาที จะได้เม็ดเดือยอบแห้ง น้ำหนัก 82.5 กรัม 3. เมื่อจะใช้นำไปทอดในน้ำมัน 2 ครั้ง จะทำให้เม็ดเดือยกรอบทั้งเม็ด

  15. วิธีการทดลอง วิธีทำ 1. เอาน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อนรอให้น้ำมันร้อนใส่เม็ดเดือยแห้งลงทอด ครั้งที่ 1 จนหมาด แล้วนำมาทอดครั้งที่ 2 ให้เหลืองกรอบ แล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 2. นำโปรตีนเกษตรลงทอดให้เหลืองกรอบตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน

  16. วิธีการทดลอง เอางาขาวคั่วในกระทะใช้ไฟร้อนคั่วให้เหลืองหอม

  17. วิธีการทดลอง ส่วนผสมเครื่องปรุงรสสมุนไพร 1. พริกแกงเผ็ด 50 กรัม 2. น้ำตาลทราย 100 กรัม 3. รสดี 1ช้อนชา 4. น้ำเปล่า ถ้วย 5. แบะแซ 1 ช้อนโต๊ะ 6. น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ 7.ใบมะกรูดทอดกรอบ 5กรัม

  18. วิธีการทดลอง ขั้นตอนการทำ R Phetch SNACK รสสมุนไพร 1. เอาน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อนรอให้น้ำมันร้อนใส่เม็ดเดือยแห้ง ลงทอด ครั้งที่ 1 จนหมาด แล้วนำมาทอดอีกเป็นครั้งที่ 2 ให้เหลืองกรอบ แล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 2. นำโปรตีนเกษตรลงทอดให้เหลืองกรอบตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 3. เอางาขาวคั่วในกระทะใช้ไฟร้อนคั่วให้เหลืองหอม

  19. วิธีการทดลอง 4. นำใบมะกรูดลงทอดในน้ำมันร้อน ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 5. เอาน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟใส่พริกแกงเผ็ดลงไปผัดให้สุก แล้วเติมน้ำผัดให้สุก ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย รสดี และแบแซ เคียวให้ข้น 6. ใส่เม็ดเดือยทอด โปรตีนเกษตรทอด งาขางคั่วที่สะเด็ดน้ำมันเตรียมไว้แล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูดทอด คลุกให้เข้ากัน เทใส่ถาดทิ้งให้เย็นบรรจุใส่ถุง

  20. วิธีการทดลอง ส่วนผสมเครื่องปรุงรสคาราเมลไลซ์ 1. มาการีน 75 กรัม 2. น้ำตาลทราย 75 กรัม 3. นมข้นจืด 30 กรัม 4. เกลือ 1 ส่วน 4 กรัม 5. แบะแซ 25 กรัม

  21. วิธีการทดลอง ขั้นตอนการทำ R Phetch SNACK รสคาราเมลไลซ์ 1. เอาน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อนรอให้น้ำมันร้อนใส่เม็ดเดือยแห้งลงทอด ครั้งที่ 1 จนหมาด แล้วนำมาทอดครั้งที่ 2 ให้เหลืองกรอบ แล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 2. นำโปรตีนเกษตรลงทอดให้เหลืองกรอบตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 3. เอางาขาวคั่วในกระทะใช้ไฟร้อนคั่วให้เหลืองหอม 4. นำมาการีน น้ำตาลทราย นมข้นจืด เกลือใส่กระทะเคี่ยวไฟอ่อนให้เดือดใส่แบะแซ เคี่ยวให้ข้น ใส่เม็ดเดือยทอดกรอบ โปรตีนเกษตรทอด งาขาวคั่ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดไฟ ใส่ถาด ทิ้งให้เย็นบรรจุใส่ซอง

  22. วิธีการทดลอง ส่วนผสมเครื่องปรุงรสครองแครงกรอบ 1. น้ำตาลปึก 190 กรัม 2. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ 3. รากผักชี 10 กรัม 4. กระเทียม 10 กรัม 5. พริกไทย 20 กรัม 6. น้ำมันถั่วเหลือง 15 กรัม

  23. วิธีการทดลอง ขั้นตอนการทำ R Phetch SNACK รสครองแครงกรอบ 1. ใส่น้ำมันในกระทะตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อนรอให้น้ำมันร้อนใส่เม็ดเดือยแห้งลงทอด ครั้งที่ 1 จนหมาด แล้วนำมาทอดครั้งที่ 2 ให้เหลืองกรอบ แล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 2. นำโปรตีนเกษตรลงทอดให้เหลืองกรอบตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 3. เอางาขาวคั่วในกระทะใช้ไฟร้อนคั่วให้เหลืองหอม 4. โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทยให้ละเอียด. 5. เอาน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟ ใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยที่โขลกแล้วผัดให้หอมใส่น้ำตาลปึก น้ำปลาเคียวไฟอ่อนให้ข้น ใส่เม็ดเดือยทอดกรอบ โปรตีนเกษตรทอด งาขาวคั่ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดไฟ ใส่ถาด ทิ้งให้เย็นบรรจุใส่ซอง

  24. ผลการทดลอง

  25. ตารางข้อมูลโภชนาการ (Food Exchang List) ส่วนประกอบหลัก

  26. ตาราง Food Exchang List รสคาราเมลไรซ์

  27. ตาราง Food ExchangList รสสมุนไพร

  28. ตาราง Food ExchangList รสครองแครงกรอบ

  29. สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจ R-PetchSNACK รสคาราเมลไลซ์

  30. สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจ R-PetchSNACK รสสมุนไพร

  31. สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจ R-PetchSNACK รสครองแครงกรอบ

  32. สรุปผลการทดลอง สรุปผลและอภิปรายผลการค้นคว้า จากตารางประเมินผลผลิตภัณฑ์ได้ผลสรุปว่า ขนม R Petch SNACK ทั้ง 3 รส ได้แก่ รสคาราเมลไรท์ รสพริกแกง และรสครองแครง เป็นสูตรที่มีการยอมรับจากผู้บริโภคมากกว่าโดยมีระดับความพึงพอใจในด้านต่างๆ เท่ากันแต่มีในด้านรสชาติมากกว่าและระดับคะแนนเฉลี่ยในระดับมาก ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ขนม R Petch SNACK ได้การยอมรับจากผู้ประเมินทั้งด้านลักษณะภายนอกของขนม กลิ่นของขนม สีของขนม เนื้อสัมผัสของขนม รสชาติของขนมและได้รับการยอมรับถ้ามีจำหน่ายในท้องตลาด

  33. จบการนำเสนอ ขอขอบคุณผู้ฟังการนำเสนอทุกท่าน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี

More Related