1 / 44

ประวัติความเป็นมาของเส้นใยแก้วนำแสง

ประวัติความเป็นมาของเส้นใยแก้วนำแสง.

macha
Download Presentation

ประวัติความเป็นมาของเส้นใยแก้วนำแสง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติความเป็นมาของเส้นใยแก้วนำแสงประวัติความเป็นมาของเส้นใยแก้วนำแสง • การใช้แสงเป็นสื่อในการนำสัญญาณแล้วส่งไปในตัวกลางต่างๆ นั้น ได้เริ่มขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ทินดัล ( John Tyndall ) ได้พบว่าแสงสามารถส่งผ่านไปตามลำได้ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2413 จากจุดเริ่มต้นนี้ก็ได้มีความพยายามกันเป็นเวลานานที่จะทำให้ปรากฏการณ์นี้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2503 ก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลงได้มาถึงเมื่อมีการทดลองใช้เลเซอร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ก็มีนักวิทยาศาสตร์สองคนของสหราชอาณาจักร ชื่อ ฮอคแคม ( G.A Hockham) และเกา • ( C.C. Kao ) ได้ทำการศึกษาวิจัยว่าตัวกลางที่ทำด้วยใยแก้วนำแสงสามารถส่งผ่านได้1% ของแสงอินพุตด้วยระยะทาง 1 กิโลเมตร และตัวกลางนี้จะเป็นคู่แข่งสำคัญกับสายทองแดงและสายหุ้มฉนวน ( Coaxial Cable ) จากนั้นความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์เรื่อยมา จนปัจจุบันทำให้สามารถมีใยแก้วนำแสงที่มีการส่งผ่านแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการสูญเสียต่ำได้ ใยแก้วนำแสงบางชนิดซึ่งอาจมีการสูญเสียต่ำมากคือการสูญเสียเพียง0.1 เดซิเบลต่อกิโลเมตร ( db\km ) เท่านั้น

  2. โครงสร้างของใยแก้วนำแสงโครงสร้างของใยแก้วนำแสง • ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือส่วนที่เป็นแกนอยู่ตรงกลางหรือชั้นในที่หุ้มด้วยส่วนที่เป็นแคลด แล้วถูกหุ้มด้วยส่วนที่ป้องกัน ( Coating ) โยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงที่มีค่าแตกต่างกัน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงค่าหลักการหักเหและสะท้อนกลับมาหมดของแสงดังที่ได้กล่าวไปแล้ว • แกน : เป็นส่วนตรงกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วนนำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมากกว่าของส่วนแคลดแล้วลำแสงที่ไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อนที่ไปตามเส้นใยแก้วนำแสงด้วยขบวนการสะท้อนกลับหมดภายใน • ส่วนป้องกัน: เป็นชั้นที่ต่อมาจากแคลดเป็นที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้นใยแก้วนำแสง และกันแสงจากเส้นใยแก้วนำแสงออกข้างนอก และยังใช้ประโยชน์เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสง โครงสร้างอาจประกอบไปด้วยชั้นของพลาสติกหลายๆชั้น นอกจากนั้นส่วนป้องกันยังทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการกระทำจากแรงภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างของค่าดัชนีหักเหเช่น แกนมีค่าดัชนีหักเหประมาณ 1.48 ส่วนของแคลดและส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนออกภายนอก และป้องกันแสงภายนอกลบกวนจะมีค่าดัชนีหักเหเป็น 1.46 และ 1.52 ตามลำดับ

  3. รูป แสดงส่วนประกอบของเส้นใยแก้วนำแสง

  4. สายเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสงสายเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง • ใยแก้วนำแสงนั้นมีกระบวนการผลิตหลายวิธี ซึ่งจะแตกต่างกันที่วิธีทำแท่งพรีฟอร์มหลังจากได้แท่งพรีฟอร์มแล้วก็จะนำมาดึงเป็นใยแก้วนำแสงขนาดและประเภทต่างๆ พร้อมทั้งทำการป้องกันเพื่อทำเป็นเคเบิลตามลักษณะของการใช้งานต่างๆ เช่น สายเคเบิลกับงานเดินสายใต้ดิน สายอากาศใต้น้ำ สายในอาคาร และงานหระว่างอาคาร เป็นต้น ดูดังรูปที่6 จะเป็นตัวอย่างเคเบิลใยแก้วนำแสง ซึ่งเป็นลักษณะทั่วๆไปเท่านั้น สำหรับการใช้งานในปัจจุบันนั้นมีเคเบิลมากมายหลายชนิดแล้วแต่ความต้องการใช้งานเป็นสำคัญ

  5. รูปแสคงส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงรูปแสคงส่วนประกอบของใยแก้วนำแสง

  6. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงชนิดของเส้นใยแก้วนำแสง • ภายเส้นใยแก้วนำแสงนั้นจำนวนลำแสงที่เดินทางหรือเกดขึ้นจะเป็นตัวบอกโหมดของแสงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงนั้น กล่าวคือถ้ามีแนวเส้นลำแสงอยู่แนวเดียวกันเรียกว่าเส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียว ( Single Mode Fiber ) แต่ภายในเส้นใยแก้วนำแสงนั้นมีแนวลำแสงอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกว่าสันใยแก้วนำแสงหลายโหมด ( Multimode Fiber ) ดูรูปนอกจากแบ่งชนิดใยแก้วนำแสงตามลักษณะของโหมดแล้วก็ยังมีวิธีอื่นที่แบ่งโดยจากวัสดุที่ทำเช่น เส้นใยที่ทำจากแก้ว พลาสติก หรือโพลิเมอร์ และก็สามารถแบ่งได้ตามลักษณะและรูปร่าง ลักษณะของดัชนีหักเห เช่น ใยแก้วชนิดดัชนีขั้นบันได ( Step Index ) หรือดีชะนีรูปมน ( Graded Index ) เป็นต้น • เส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียว • เส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนและแคลดประมาณ 5-10 และ125 ไมคอน ตามลำดับ ซึ่งส่วนของแกนมีขนาดเล็กกว่าเส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมดมาก แลให้แสงออกมาเพียงโหมดเดียว ลักษณะหน้าตัดของเส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียวแสดงไว้ดังรูป

  7. รูปแสคงลักษณะภาคตัดของใยแก้วนำแสงรูปแสคงลักษณะภาคตัดของใยแก้วนำแสง

  8. รูปแสดงลักษณะของแสงที่เดินทางภายในใยแก้วรูปแสดงลักษณะของแสงที่เดินทางภายในใยแก้ว

  9. เส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมดเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมด • โครงสร้างภายในเส้นใยแก้วนำแสง ซึ่งประกอบด้วยแกนและแคลดดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นสำหรับเส้นใยแก้วหลายโหมดส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนแคลดประมาณ 50 ไมคอน และ125 ตามลับ เนื่องจากขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนของเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมดนั้นมีขนาดใหญ่ดังนั้นแสงที่ตกกระทบที่ปลายอินพุตของเส้นใยแก้วนำแสงมีมุมตกกระทบที่แตกต่างกันหลายค่า จากหลักการสะท้อนกลับหมดของแสงที่เกิดขึ้นภายในส่วนของแกนทำให้มีแนวลำแสงเกิดขึ้นหลายโหมด และแสงแต่ละโหมดใช้เวลาเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเดินทางที่แตกต่างกันอันเป็นเหตุให้เกิดการแตกกระจายของโหมดแสง ( Mode Dispersion ) หรือของสัญญาณที่ได้รับได้เนื่องจากความแตกต่างของเวลา จึงได้มีการพัฒนาจะลดการแตกกระจายของสัญญาณซึ่งเกิดขึ้นจากเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมดด้วนการปรับปรุงลักษณะดัชนีการหลักเหของแสงของแกน

  10. แสดงภาคตัดขวางของเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมดแสดงภาคตัดขวางของเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมด

  11. ระบบสื่อสารใยแก้วนำแสงระบบสื่อสารใยแก้วนำแสง • ระบบอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสงนั้นทำได้โดยใช้อุปกรณ์ทางแสงได้แก่ แหล่งกำเนิดแสง ( Light Source ) ซึ่งปกติใช้อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิด ไดโอดเปล่งแสง ( LED ) หรือไดโอดเลเซอร์ ( LD ) ส่วนอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้านั้นทำได้โดยใช้ไดโอดแสง( Photodiode ) หรือทรานซิสเตอร์แสง ( Photo Transistor ) นอกจากกรณีของสายส่งยาวมากอาจต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณ ( Repeater ) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วเปลี่ยนกับมาเป็นแสงอีกครั้งและส่งกลับไปในเส้นใยแก้วนำแสง

  12. การผสมและแยกสัญญาณ • การผสมสัญญาณ ( Modulation ) ของสื่อสารนั้น หมายถึงการทำให้ความถี่ของการสั่นในการส่งเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณข่าวสาร สำหรับการสื่อสารใยแก้วนำแสงนั้นความถี่ ( หรือความยาวคลื่น ) ของแสงที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์กำเนิดแสงที่ไม่มีค่าคงที่ ดังนั้นความหมายของการผสมสัญญาณจึงแตกต่างกับการสื่อสารทางไฟฟ้า ถ้าหากสามารถทำให้แสงเป็นแสงอาพันธ์ ( Coherence Light ) ที่สมบูรณ์นั้นคือความถี่คงที่ และสามารถเปลี่ยนความถี่แสงให้อยู่ในย่านความถี่ไมโครเวฟได้ก็ทำให้การสื่อสารใยแก้วนำแสงมีการผสมคลื่นต่างๆ เหมือนกับการสื่อสารทางไฟฟ้า ดังนั้นจงกล่าวไว้ว่าการผสมคลื่นแสงนั้นเป็นเพียงการผสมความเข้มแสง ( Intensity Modulation ) เท่านั้น ดูรูป ประกอบ

  13. แสดงการผสมสัญญาณแลการส่งแสดงการผสมสัญญาณแลการส่ง

  14. ปกติสัญญาณแสงทางด้านรับของระบบสื่อสารนั้นสัญญาณจะอ่อนกำลังลง และบางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการส่งผ่านไปใยแก้วนำแสง เมื่ออุปกรณ์รับแสงทำการแปลงสัญญาณแสงให้ได้สัญญาณไฟฟ้าที่ออกมาเป็นรูปของสัญญาณเดิมที่สัญญาณพื้นฐาน ( Baseband ) และเป็นไปตามรูปร่างของกรอบคลื่น ( Envelope ) ของสัญญาณที่เกิดจากการรวมกับคลื่นพาห์ทางแสง สัญญาณนี้จะผ่านขั้นตอนทางไฟฟ้าเพื่อทำการขยายสัญญาณ และได้สัญญาณที่เครื่องรับปลายทางเหมือนกับต้นกำเนิดข่าวสารทุกประการ ในอนาคตเราสามารถทำให้แสงที่เป็นแสงอาพันธ์อย่างสมบูรณ์ก็จะสมารถใช้กับวิธีการผสมที่ทำให้ความถี่ของต้นกำเนิดแสงเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณนั้น คือใช้วิธีผสมคลื่นที่มีประสิทธิภาพดีได้และทำนองเดียวกันกับทางด้านรับแสงก็สามารถใช้แยกสัญญาณที่เรียกว่าเทคนิคทางด้านความถี่ ( Heterodyne Detection ) เป็นส่วนการรับสัญญาณปลายทาง

  15. การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลและแอนะล็อกการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลและแอนะล็อก • การส่งสัญญาณโดยทั่วไปนั้นมีสองแบบคือ การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ( Digital ) และแอนะล็อก ( Analog ) การสื่อสารด้วยแสงนั้นมีการส่งสัญญาณอยู่สองชนิดนี้เช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสัญญาณไฟฟ้าที่มาผสมกับแสงว่าเป็นสัญญาณดิจิตอลหรือแอนะล็อกเท่านั้น การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลโดยทั่วไปแล้วจะนำมาเปลี่ยนรหัส ( Code ) ที่เหมาะแก่การส่งก่อนแล้วจึงส่งออกไปเช่นเดียวกับการส่งสัญญาณแบบแอนะล็อก นั้นคือก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแสงนั้น จะทำการผสมสัญญาณขั้นแรกกับแหล่งกำเนิดแสงก่อน ทั้งนี้ก็เพราะว่าแสงเอาต์พุตของอุปกรกำเนิดแสงนั้นไม่เป็นสัดส่วนกับระดับสัญญาณไฟฟ้าอินพุตเสมอไป ซึ่งทำให้เกิดความยุงยากในการรักษาคุณสมบัติของการส่งเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องทำการผสมสัญญาณเบื้องต้นก่อน การเลือกระบบการส่งสัญญาณทั้งสองชนิดนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำงาน การเลื่อระบบการส่งแบบแอนะล็อกมักใช้กับการส่งสัญญาณภาพในข่าย ( Networks) หรืเคเบิ้ลทีวี แต่ในอนาคตการส่งแบบดิจิตอลที่มีคุณสมบัติดีกว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ด้าน

  16. การทำมัลติเพลกซ์ • การสื่อสารนั้นถ้าสามารถส่งข่าวสารได้มากกว่าเท่าใดก็จะเป็นการประหยัด ระบบสื่อสารใยแก้วนำแสงก็เช่นเดียวกันต้องมีการทำมัลติเพลกซ์ ( Multiplex ) เหมือนกับระบบสื่อสารในสายที่เป็นโลหะเช่นกันการมัลติเพล็กซ์ทางแสงสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทคือ • 1. การมัลติเพลกซ์แบบระยะทาง ( Space Division Multiplexing ) หมายถึง ในสายเคเบิ้ลหนึ่งเส้นจะมีเส้นใยแก้วนำแสงเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ส่งสัญญาณได้จำนวนมากกว่าสายเคเบิ้ลหนึ่งเส้น • 2. การมัลติพลกซ์แบบแบ่งความถี่ ( Frequency Division Multiplexing ) เป็นระบบที่ใช้กับการสื่อสารใยแก้วนำแสงที่มีการส่งสัญญาณจำนวนมาก โดยก่อนส่งไปนั้นจะถูกทำการมัลติเพลกซ์ในขั้นตอนของการแปลงเป็นสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อนการส่งสัญญาณ ดูรูปฤฤ

  17. 3. การมัลติเพลกซ์แบบแบ่งเวลา ( Time Division Multiplexing ) มีหลักการเช่นเดียวกับการมัลติเพลกซ์แบบแบ่งความถี่ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล • 4. การมัลติเพลกซ์แบบแบ่งความยาคลื่น ( Wavelength Division Multiplexing ) เป็นวิธีการส่งสัญญาณแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันจำนวนมากในใยแก้วนำแสงเส้นหนึ่ง ข้อดีคือสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งไปกับความยาวคลื่นแต่ละความยาวคลื่นไม่ง่าจะเป็นแบบแอนะล็อกหรือแบบดิจิตอลสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ดูรูป

  18. รูป การมัลติเพลกซ์แบบแบ่งความยาคลื่น

  19. อุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสงอุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสง • แหล่งกำเนิดแสงที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือไดโอดเปล่งแสงชนิดสารกึ่งตัวนำและไดโอดเลเซอร์ เพราะไดโอดเหล่านี้เปล่งแสงที่มีความยาวคลื่นย่าน 0.8-0.9 และ 1.3-1.6 ไมครอน ซึ่งตรงกับย่านที่ใยแก้วนำแสงมีค่าสูญเสียต่ำแลสามารถควบคุมกำลังขาออกได้อย่างรวดเร็วโดยการปรับค่ากระแสไบแอส ( Bias Current ) จึงง่ายต่อการผสมสัญญาณ อีกทั้งอายุใช้งานมากกว่าหนึ่งล้านชั่วโมง ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง LED และ LD คือ LD มีมุมการเปล่งแสงที่แคบกว่าแต่มีความกว้างของสเปกตรัมมากกว่า ( Spectrum Width ) จึงนิยมใช้กับการส่งสัญญาณแบบโคฮีเรนท์ ( Coherent Transmission ) นอกจากนี้ยังเปล่งแสงเมื่อมีการต่อกระแสขับดัน ( Drive Current ) ได้เร็วกว่า แต่เนื่องจาก LD เป็นอุปกรณ์เทรชส์โฮลด์ ( Threshold Device ) การเปล่งแสงจึงไม่คงที่และเป็นสัดส่วนโดยตรงกับกระแส จึงต้องมีวงจรควบคุมแบบป้อนกลับ ( Feedback ) เพื่อทำให้กำลังขาออกของเลเซอร์คงที่

  20. อุปกรณ์รับแสง • อุปกรณ์รับแสงที่นิยมใช้เป็นประเภทสารกึ่งตัวนำแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทตามแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้จากภายนอกคือ • 1. โพโตไดโอด ( Photodiode, PD ) เป็นพวกที่ได้รับการป้อนแรงดันไฟฟ้าปริมาณน้อย ตัวอย่างเช่น ( PIN-PD )เป็นต้น • 2. อะวาลานช์โฑไอโอด ( Avalanche Photodiode, APD )เป็นพวกที่ได้รับการป้อนปริมาณแรงดันไฟฟ้าปริมาณมาก การเลือกใช้อุปกรณ์รับแสงแบบ PIN หรือ APD นั้น ตามปกติจะขึ้นอยู่กับราคาและความไวของเครื่องรับที่ต้องการ ( Receiver Sensitivity) กระบวนการอะวาลานช์ใน APD มีเทรชส์โฮลด์ซึ่งทำให้มีราคาแพงกว่า PIN เนื่องจาก APD มีการขยายกำลังได้สูงจึงจะทำให้ความไวของเครื่องรับได้ถึงปริมาณ -15 dB ซึ่งมากกว่า ไดโอด PIN นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงระดับสัญญาณระดับต่ำสุดที่จะรับได้ด้วย

  21. คุณสมบัติใยแก้วนำแสง • การลดทอน • กำลังของแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ( Pi ) ถูกส่งเข้าไปใยเส้นใยแก้วนำแสงยาว L กิโลเมตรแล้วกำลังของแสงที่ออกจากเส้นใยแก้วนำแสง ( Po ) เมื่อพิจารณาที่ ( Po<Pi ) โดยทั่วไปแล้วการสูญเสียกำลังของแสงในเส้นใยแก้วนำแสงจะถูกส่งเป็นค่าสัมประสิทธิ์ของการลดทอน ( Attenuation Coefficient) ซึ่งมีหน่วยเป็นเดซิเบลต่อกิโลเมตร ซึ่งแทนด้วยความสัมพันธ์คือ • เมื่อการลดทอนกำลังของแสงในแก้วนำแสงนั้นมีผลมาจกการดูดกลืนแสงของในส่วนของแกน หรือ แคลด การสะท้อนของรังสีของแสง และการโค้งงอของใยแก้วนำแสง

  22. รูป แสดงการลดท้อนของเส้นใยแก้วนำแสงสัมพันธ์กับความยาวคลื่น

  23. การดูดกลืนของวัสดุ • พิจารณาการดูดกลืนในใยแก้วซิลิกาที่บริสุทธิ์ จากรูปที่ 12 จะเห็นว่าแก้วซิลิกาที่บริสุทธิ์จะดูดกลืนแสงน้อย และจะเห็นว่าอยู่ในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 0.8 ถึง 1.6 ไมครอน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ในช่วงความยาวคลื่นดังกล่าวถูกเลือกใช้งานทางด้านสื่อสาร การดูดกลืนแบบนี้จะมีค่ามากบริเวณความยาวคลื่นในช่วงของอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet, UV ) และอินฟราเรด ( Infrared, IR )

  24. การดูดกลืนจากภายนอก • โอเวอร์โทนจะได้จุดยอดที่ 1.24 1.13 และ 0.88 การลดทอนของแสงที่เกิดจากการดูดกลืนของแสงนี้เกิดจากการที่ใช้สารผลิตเส้นใยแก้วนำแสงหรืแก้วที่มีสารอื่นเจือปนอยู่ทำให้เกิดการดูดกลืนของแสงขึ้น โดยทั่วไปจะมีการดูดแสงอันเนื่องมาจากแก้วและสารเจือปน ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีสารเจือปนอยู่ 1 ในล้านส่วนก็จะทำให้เกิดการดูดกลืน • เทคนิคการผลิตเส้นใยแก้วนำแสงสมัยใหม่สามารถลดอิออนของสารเจือปนพวกนี้ได้จนถึงระดับไม่มีผลต่อการดูดกลืนได้ อย่างไรก็ตามอิออนตัวหนึ่งที่สามารถขจัดได้คือ ไฮดรอกซิล ( Hydroxyl,OH ) ดังแสดงในรูปที่ 13 จุดยอดของการสั่นพื้นฐานของอิออนไฮดรอกซิลจะเกิดที่ความยาวคลื่นประมาณ2.27 ไมครอน และพื้นฐานการสั่นประมาณ 4.2 ไมครอน ซึ่งการสั่นพื้นฐานจะทำให้เกิดโอเวอร์โทน ( Overtone ) ที่ฮาร์มอนิกต่างๆ ดังนี้ 1.38 0.95 และ0.72 ไมครอน และเมื่อรวมระหร่างการสั่นพื้นฐานและไมครอนตามลำดับ

  25. การสะท้อนเรย์ลี • การดูดกลืนของใยแก้วนำแสงที่ความยาวคลื่นสั้นซึ้งขึ้นอยู่กับการสะท้อนของแสงที่เกิดจากเส้นใยแก้วนำแสงมีค่าดัชนีการหักเหที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน โดยค่าสัมประสิทธิ์ของการดูดกลืนชนิดเรย์ลี ( Rayleigh )จะเท่ากับ 1/ ของค่าสูญเสียของกำลังแสงที่เกิดจากการสะท้อนเรย์ลีนั้นแสดงในรูป

  26. รูป แสดงการดูดกลืนจากไฮดรอกซิล

  27. การสูญเสียจากการโค้งงอการสูญเสียจากการโค้งงอ • การสูญเสียแบบโค้งงอ ( Bending Loss ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ การโค้งงอชนิด มหภาคหรือการแมคโคเบนด์ ( Macrobend ) ที่มีรัศมีส่วนโค้งมากกว่า 10 มิลลิเมตร และการโค้งงอชนิดจุลภาคหรือไมโครเบนด์ ( Microbend ) ที่มีรัศมีส่วนโค้งน้อยกว่า 10 มิลลิเมตร การดค้งงอแบบแมคโคเบนด์จะเกิดขึ้นเมื่อเส้นใยแก้วนำแสงม้วนอยู่รอบหลอดม้วน เนื่องจากการถูกโค้งงอตามมุมต่างๆ การเกิดการสูญเสียเนื่องจากการโค้งงอแบบมีรังสีของแสงที่เคลื่อนที่ที่เส้นใยแก้วตรงบริเวณที่โค้งงอ ซึ่งทำให้แสงตกกระทบตรงลอยต่อระหว่างแกน และแคลด ที่มีค่าน้อยกว่ามุมวิกฤต จึงทำให้รังสีของแสงกระจายออกไปนอกเส้นใยแก้วดังแสดงในรูป

  28. รูป แสดงการเดินทางของแสงในแก้วนำแสงที่โค้งงอ

  29. การสูญเสียของกำลังแสงจะมีต่ำสำหรับแสงที่มีความยาวคลื่นต่ำ และถ้าผลต่างของค่าดัชนีหักเหระหว่างแกนและแคลดมีค่ามากก็จะทำให้การสูญเสียมีค่าสูง เส้นใยแก้วชนิดโหมดเดียวที่ทำงานที่ความยาวคลื่นยาวๆ จะไวต่อการสูญเสียต่อการโค้งงอ และเส้นใยแก้วที่พันอยู่รอบแกนม้วนที่มรรัศมี 10 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าสั้นนั้นก็ยังสามารถแก้ไขได้โยการตัดใยแก้วนำแสงส่วนที่โค้งงอทิ้งไปได้ การโค้งงอชนิดไมโครเบนด์เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างทางเรขาคณิตของเส้นใยแก้วนำแสงในขบวนการผลิตเช่น รัศมีของแกน จุดต่อระหว่างแกน และแคลดที่ขรุขระ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการผลิต นอกจากนั้นที่เส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยแก้วไม่เท่ากันตลอดทั้งเส้นก็ทำให้มีแสงบางส่วนกระจายออกมาจากเส้นใยแก้วนำแสงได้เหมือนกัน

  30. การเดินทางของแสงในใยแก้วนำแสงการเดินทางของแสงในใยแก้วนำแสง • แสงสามารถแพร่กระจายเข้าไปในใยแก้วได้โดยการสะท้อนหรือการหักเหแสง กล่าวคือแสงจะแพร่กระจายอย่างไรขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายและรูปแบบของดัชนีการหักเห โหมดของการแพร่กระจายหรือโหมด หมายถึงทางเดิน ( Path ) ของแสงนั้นเอง ถ้าทางเดินของแสงมีเพียงทางเดียวที่ทำให้แสงแพร่กระจายเข้าไปในใยแก้วนำแสงได้เรียกโหมดเดียว ( Single Mode ) ถ้าทางเดินของแสงมีหลายทางๆ เรียกว่า มัลติโหมด ( Multimode ) หรืหลายโหมด ดังรูปที่ 17 แสดงการกระจายของแสงเข้าไปในใยแก้วแสงแบบโหมดเดียวและแบบหลายโหมด

  31. อินเดกซ์โปรไฟล์ • อินเดกซ์โปรไฟล์ ( Index Profile ) ของแสงในใยแก้วนำแสงคือกราฟของความสัมพันธ์กับดัชนีหักเหของแกนของเส้นใยแก้วนำแสง โดยที่ดัชนีหักเหถูกเขียนบนแกนนอนและระยะห่างจากแกนของเส้นใยแก้วนำแสงอยู่ในแนวตั้ง อินเดกซ์โปรไฟล์ของใยแก้วทั้งสามชนิด โดยทั่ว๐ไปใยแก้วนำแสงจะมีอินเดกโปรซ์ไฟล์ 2 ประเภทคือ แบบสเตปและเกรดอินเดกซ์ หรือแบบขั้นบันได และแบบบน โดยที่แบสเตปอินเดกซ์จะมีดัชนีหักเหของแสงคงที่ตลอดเนื้อสารที่เป็นแกนและแคลด โดยปกติค่าดัชนีหักเหที่แกนจะมีค่ามากกว่าที่แคลด แนวทางเดินของแสงจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงสะท้อนไปมาตรงบริเวณรอยต่อระหว่างแกนและแคลดตามกฎของสเนลล์ ส่วนเส้นใยแก้วนำแสงแบบอินเดกซ์จะมีดัชนีการหักเหของแกนเปลี่ยนแปลงไปตามแนวแกนของใยแก้ว โดยที่ตำแหน่งของศูนย์กลางของใยแก้วจะมีค่าดัชนีหักเหสูงสุดจากนั้นค่าดัชนีหักเหจะค่อยๆ ลดลงไปตามระยะที่ห่างออกจากแนวศูนย์กลาง จนมีค่าเท่ากับดัชนีหักเหของแคลดในตำแหน่งที่แกนต่อกับแคลดพอดี โครงสร้างของเส้นใยแก้วนำแสงโดนทั่วๆ แบ่งแบ่งออกเป็นประเภทตามโครงสร้างได้ 3 ประเภท คือ โหมดเดียว หลายโหมดสเตปอินเดกซ์ และหลายโหมดเกรดอินเดกซ์

  32. รูป แสดงอินเดกซ์โปรไฟล์ของแกนใยแก้วนำแสง

  33. เส้นใยพลาสติกนำแสง • การสื่อสารเครือข่ายแบนด์วิดท์กว้างนับว่ามีความสำคัญมากในการนำไปใช้งานทางด้านสื่อสารทั้งด้านข้อมูล ภาพ และเสียง เส้นใยพลาสติกนำแสง ( Plastic Optical Fiber ) ในปัจจุบันนั้นสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 300 Mbit/s ถึง 3 Gbit/s ถึงแม้จะไม่เทียบกับความสามารถของใยแก้วนำแสงก็ตาม แต่นับว่ามีอัตราทีมากกว่าการใช้สายทองแดง ด้วยเส้นผ่าศูนย์ขนาด 1 มิลลิเมตร ทำให้ง่ายต่าการติดตั้งแลพเดินสายมากกว่าใยแก้วเส้นใยพลาสติกเหมาะสมกับกาส่งข้อมูลในระยะทางใกล้ๆ ประมาณ 100 เมตร หรือ น้อยกว่า อย่างเช่น ระบบ LAN และการสื่อสารและสื่อประสม แม้กระทั้งการส่งข้อมูลแบบ แอะซิงโคนัส ( Asynchronous Transfer Mode ) ซึ่งเดิมใช้สายทองแดงมีความจุของสัญญาณไม่เพียงพอ ในการเชื่อต่อต่างๆ นั้นเส้นใยพลาสติกก็ทำได้ง่าย ดังนั้น

  34. ในไม่ช้าเส้นใยพลาสติกจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากอย่างแน่นอน จนสามารถนำเครือข่ายสื่อสารเข้าถึงบ้านเรีอน หรือที่อยู่อาศัยได้ ( Fiber-optic to the home ) เส้นใยพลาสติกนั้นอาจทำมาจากพลาสติกประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่น โพลิเมทีลเมตะครเลท ( Polymethylmethacrylate ) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความยาวคลื่นประมาณ 650 nm ที่มีค่าการลดทอนของแสงเท่ากับ 150 dB/km อย่างไรก็ตามในช่วงความยาวคลื่นนี้ไม่ได้อยู่ในย่านของการสื่อสารจึงไม่นิยมใช้งาน เส้นใยพลาสติกอีกประเภทหนึ่งคือ ฟลูออริเนทโมโนเมอร์ ( Flourniated Monomer ) ซึ่งพบว่ามีค่าการลดทอนที่ 25-50 dB/km ในช่วงความยาวคลื่นที่สามารถใช้ได้ในเครือข่ายสื่อสารคือ 600-13000 nm เส้นใยแก้วพลาสติกประเภทโพลิเมอร์โยเมื่อนำไปใช้งานจะมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 750 ถึง 1000 ไมโคเมตร และสามารถส่งผ่านสัญญาณที่ทีอัตราความเร็วได้ถึง 3 Gbit/s เลยที่เดียว รูปเป็นตัวอย่างเส้นใยพลาสติก

  35. รูป ตัวอย่างเส้นใยพลาสติก

  36. การประยุกต์สื่อสารทางแสงการประยุกต์สื่อสารทางแสง • การมัลติเพลกซ์ทางแสง • จะกล่าวถึงหลักการของการสื่อสารทางแสงและการมัลติเพลกซ์ทางแสงโดยจะกล่าวถึงข้อดีของการสื่อสารทางแสง ในส่วยของการมัลติเพลกซ์ทางแสงก็จะกล่าวถึงวิธีในการมัลติเพลกซ์ทางแสงแบบต่างๆ ที่นำมาใช้ในระบบสื่อสารทางแสง ซึ่งจะกล่าวเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ • หลักการสื่อสารทางแสง • ในอดีตมนุษย์ได้ค้นคว้าหาวิธีที่จะทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้รับข่าวสารได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้สัญญาณไฟ สัญญาณควัน หรือเสียงแตรเป็นต้นเพื่อจุดประสงค์ให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลสามารถทราบข่าวสารได้จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2381 แซลมวล มอส ( Samuel F.B. Morse ) ได้เสนอทฤษฏีในการสื่อสารทางไฟฟ้าขึ้นจากจุดนี้เองทำให้เกิดการวิจัยเพื่อที่จะทำการส่งข่าวสารให้ได้ระยะไกลยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ให้บริการรับส่งทางโทรเลข และต่อมาก็ได้มีการติดตั้งตั้งระบบ

  37. โทรศัพท์ขึ้นหลังจากนั้นจึงได้มีการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในปี พ.ศ. 2430 โดยเฮิรตซ์ ( Hertz ) จากจุดนี้เองก็ได้มีการพัฒนาระบบสื่อสารขึ้นเป็นอย่างมาก จึงได้มีการนำเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ไปใช้ในการสื่อสารอย่างกว้างขวาง และทำให้เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารเติบโตขึ้นอย่างเร็ว ซึ่งเป็นผลทำให้ช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ถูกนำมาใช้งานมากขึ้นเนื่องจากการสื่อสารข่าวสารในระบบไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านช่องสัญญาณสื่อสารของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โยจะฝากข่าวสารไปกับตัวกลางเมื่อถึงปลายทางจะดึงข่าวสารออกมาเพื่อนำไปประมาณผลต่อไป โดยปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านไปในตัวกลางนั้นจะสัมพันธ์กับความถี่ของคลื่นพาห์ที่ใช้งาน ถ้าคลื่นพาห์มีความถี่สูงขึ้นแบนด์วิดท์ของการสื่อสารก็จะสูงตามไปด้วย ทำให้ความจุของสัญญาณมากขึ้น ดังนั้นแนวโน้มในการพัฒนาระบบสื่อสารนี้ก็จะมีการใช้ความถี่สูงขึ้น แต่เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการ

  38. ช่องสัญญาณมากขึ้น ซึ่งทำให้ช่องสัญญาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอตามความต้องการ จึงทำให้ไปสนพิจารณาช่วงสเปกตรัมของคลื่นแสงทั้งนี้เนื่องจากสเปกตรัมของคลื่นสงอยู่ในย่านความถี่ประมาณ 10-10 เฮิรตซ์ ดังแสคงในรูปที่ 20 คลื่นแสงที่นำไปใช้งานในด้านโทรศัพท์ข้อมูลและสัญญาณภาพซึ่งทำให้ข่าวสารที่ส่งไปนั้นมีความจุของขาวสารจำนวนมากเลเซอร์เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งที่ได้ถูกนำมาใช้ในการสื่อสาร โดยเลเซอร์นี้ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2503 การส่งสัญาณด้วยแสงในระยะแรกนั้นจะนำไปใช้ในการสื่อสารระยะทางใกล้ๆและต่อมาจึงได้นำไปใช้กับระยะทางไกลๆ จนถึงระยะทางไกลระห่างโลกและอวกาศและการส่งสัญญาณระหว่างดาวเทียมเป็นต้น

  39. <*** มาตราฐานของเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง ***> • กะบิตต่อวินาที และเรียกมาตราฐานนี้ว่า SynchronousTransport Module หรือ STM-1 ทั้งนี้ยังในปี 2528 Bellcore ได้พัฒนามาตราฐานระบบที่ มีชื่อว่า SONET ( Synchronous Optical Network ทำให้การสื่อสารข้อมูล ในเครือข่ายดิจิตอลที่ใช้เคเบิ้ล ใยแก้วนำแสง เป็นสื่อรับ-ส่งข้อมูล มีความยืดหยุ่นและถูก ต้องน่า เชื่อถือมากยิ่งขึ้นทั้งในด้านของประสิทธิภาพ ของ การสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถลดจำนวนสายเคเบิ้ล ที่เคย มีจำนวนหลาย ๆ สาย ให้เหลือเพียงสายเส้นเดียวได้ โดย ที่ทางคณะกรรมการ ที่ปรึกษาด้านโทรศัพท์และโทรเลข ระหว่างประเทศ ( CCITT ) ได้ประยุกต์และกำหนดให้ SONET เป็นมาตราฐานสากล แบบหนึ่ง โดยที่มีการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 155 เมสามารถนำ STM-1 ไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์ ระดับสูง ที่ใช้โครงสร้างการสื่อสาร แบบสองทางด้วย

  40. สัญญาณดิ จิตอล เพื่อให้ความเร็วในการ ส่งข้อมูลสูงขึ้นเป็น 622 เมกะบิต ต่อวินาที ( STM-4 ) และ 2.5 กิกะบิตต่อวินาที (STM-16 ) ได้ด้วย ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแต่อย่างไรก็ตาม SONET ก็เป็นการกำหนดมาตราฐาน เฉพาะจากภาคส่งเท่านั้น ทำให้เกิดความจำเป็นที่ จะต้อง มีการหามาตรการเพื่อกำหนดมาตรฐาน ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ เคเบิ้ลใย แก้วในภาครัฐด้วย และท้ายสุดก็ได้มีการกำหนดมาตรฐาน ของความ เร็วในการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านเคเบิ้ลใยแก้ว ที่เรียกว่า FDDI ( Fiber Distributed Data Interface ) ได้ถูกกำหนดขึ้นมาที่ความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที

  41. <*** ประโยชน์ของใยแก้วนำแสง ***> • 1. การลดทอนสัญญาณในเคเบิ้ลใยแก้ว มีค่าต่ำกว่าในสายเคเบิ้ลธรรมดา ทำให้การติดตั้งระบบเคเบิ้ลใยแก้ว เพื่อการสื่อสารเสียเงินลงทุนต่ำกว่า เพราะในเคเบิ้ล ธรรมดา ต้องมีสถานีทวนสัญญาณทุก ๆ 3-5กิโลเมตร ส่วนใน กรณีของเคเบิ้ลใย แก้วมีระยะห่างได้ถึง 50 กิโลเมตรทีเดียว2. ช่องกว้างของแถบการส่งสัญญาณ แบนด์ววิดท์ของเคเบิ้ลใยแก้วมีสูงกว่า ทำให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้มากกว่า

  42. 3. ขนาดของเคเบิ้ลใยแก้วเล็กกว่าเคเบิ้ลธรรมดา ถ้านำไปใช้ในงานบางอย่าง เช่น การวางเคเบิ้ลใต้น้ำ ซึ่งเดิม ต้องใช้ เคเบิ้ลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วครึ่ง ที่ประกอบด้วยสาย ส่งสัญญาณจำนวน 320 เส้น แต่หากใช้เคเบิ้ลใยแก้วแล้ว ก็จะมีเส้น ผ่านศูนย์กลางเพียงประมาณ 125 ไมครอน และใช้สายสัญญาณเพียง 5เส้นเท่า นั้น และที่สำคัญ คือ มีน้ำหนักเบา สามารถติดตั้งบำรุงรักษา และซ่อมแซม ได้ง่ายอีกด้วย4. เคเบิ้ลใยแก้วช่วยตัดปัญหา เรื่องสัญญาณรบกวน อันเนื่องมาจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ได้โดยเด็ดขาดเพราะมีการ ใช้ สัญญาณแสงเป็นตัวนำข้อมูล ไม่มีสัญญาณไฟฟ้า เข้ามาเกี่ยวข้องทำ ให้การรับ-ส่งข้อมูล มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า

  43. ข้อดีจองการสื่อสารทางแสงข้อดีจองการสื่อสารทางแสง • สำหรับข้อดีของการสื่อสารทางแสงมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ • 1. มีแบนด์วิดท์กว้าง และมีอัตราของการสูญเสียของแสงต่ำ ทำให้ประหยัดช่องสัญญาณ นอกจากนี้ยังทำให้ประหยัดอุปกรณ์ในการทวนสัญญาณ • 2. มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานและติดตั้งได้ง่าย • 3. ปราศจากสัญญาณรบกวนทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากเป็นแสงจึงไม่มีผลของการรบกวนเนื่องจากผลของการเหนี่ยวนำไฟฟ้าเกิดขึ้น • 4. สามารถแยกสัญญาณทางไฟฟ้าได้ด้วยแสง โดยปกติการส่งสัญญาณทางไฟฟ้าจะต้องมีสายดินรวมกัน แต่ในระบบการสื่อสารทางแสงนี้ไม่ต้องต่อสายดิน เนื่องจากอาศัยหลักการเปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสง

  44. 5. มีความปลอดภัยของสัญญาณ ข่าวสารที่ส่งไปกับแสงจะมีตำแหน่งรับส่งที่แน่นอน ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะลักลอบใช้สัญญาณทางแสงเพื่อไปประมวลผลได้ • 6. องค์ประกอบที่ใช้ในการส่งสัญญาณทางแสงจะมีขนาดเล็กและราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนช่องสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร

More Related