1 / 35

ได้รับรางวัล ดีเด่นอับดับ ๓

การพัฒนาการมีส่วนร่วมโดยใช้วัฒนธรรมสังคม และศรัทธาพระพุทธศาสนาชาวล้านนา Participation Development by Social Culture and Saddha in Buddhism of Lanna โดย นายภัทวี ดวงจิตร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่๑ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

mada
Download Presentation

ได้รับรางวัล ดีเด่นอับดับ ๓

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาการมีส่วนร่วมโดยใช้วัฒนธรรมสังคมและศรัทธาพระพุทธศาสนาชาวล้านนาParticipation Development by Social Cultureand Saddha in Buddhism of Lannaโดย นายภัทวี ดวงจิตร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่๑ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  2. ด้านการพัฒนาเทคนิค สิ่งประดิษฐ์หรือวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (ด้านการก่อสร้าง การสำรวจ ปฐพีและธรณีวิทยา การพิจารณาโครงการ การวิจัยและพัฒนา และด้านอื่นๆ) งานวิจัยสังคม:การมีส่วนร่วม ได้รับรางวัล ดีเด่นอับดับ ๓

  3. บทที่ 1บทนำ

  4. ชาวล้านนานิยมประกอบพิธีกรรมสืบชะตาและสร้างพระพุทธเจ้าทันใจ เพื่อให้เกิดสิริมงคล เกื้อหนุนให้อายุยืนยาว มีความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิต เพื่อสนองศรัทธาความเชื่อในอานิสงส์แห่งทานบารมี เป็นที่พึ่งทางใจไปสู่หนทางแห่งกุศลมูลทั้งมวล ยังผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี สังคมสงบสุขร่มเย็นจนค้นพบทางจริงแท้แห่งชีวิต อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์และสืบสานพระพุทธศาสนา โดยระลึกถึงพุทธคุณขององค์พระศาสดาที่ทรงประกาศพระสัจธรรมให้มนุษย์เข้าใจและรู้เท่าทันความเป็นไปของธรรมชาติ อย่างมีเหตุผล ผู้เข้าร่วมพิธีมีจุดมุ่งหมายคล้ายกันในเชิงบวก มีการแผ่ส่วนกุศลไปยังผู้ที่รักและศรัทธาด้วยใจ มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินไปร่วมกันด้านพฤติกรรมและศาสนพิธี จนพิธีการสำเร็จอย่างมีส่วนร่วม ช่วยประสานความแน่นแฟ้นของมิตรไมตรี จนกลายมาเป็นความร่วมมือด้านอื่นๆตามมา เป็นประโยชน์ต่อชุมชน และขยายสู่สังคมส่วนรวม หลักการและเหตุผล/ความเป็นมาของผลงาน(วิเคราะห์จากปัญหา/อุปสรรค ในการปฏิบัติงาน)

  5. การเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการบริหารจัดการชลประทานที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์มีแนวโน้มสูงขึ้นเกือบทุกมิติ จะพบว่าในการทำงานด้านชลประทานมักเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำระหว่างหน่วยงาน และเกษตรกรและผู้ใช้น้ำบ่อยครั้งอันสืบเนื่องมาจากความต้องการใช้น้ำของเกษตรกรและผู้ใช้น้ำเป็นไปอย่างไร้ขีดจำกัด ดังนั้นโครงการใหญ่ๆที่ภาครัฐจะดำเนินการและต้องเกี่ยวพันกับคนหมู่มาก โดยอาศัยเสียงส่วนใหญ่เป็นประการสำคัญ ทำให้ต้องมีเหตุผลเพียงพอที่จะโต้แย้งกันเพื่อหาข้อสรุปก่อนดำเนินการ ดังนั้นการนำวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของชาวล้านนา ทั้งพิธีสืบชะตาและการสร้างพระเจ้าทันใจ อันมีจุดประสงค์ร่วมกันด้วยแรงศรัทธาเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เป็นการร่วมสัมพันธ์ด้านความเป็นอยู่ในสังคมมาใช้ในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรตามแนวคิดและหลักการการจัดการชลประทาน หลักการและเหตุผล/ความเป็นมาของผลงาน(วิเคราะห์จากปัญหา/อุปสรรค ในการปฏิบัติงาน)

  6. จากการพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยความเต็มใจด้วยศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องการใช้น้ำลดลง มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุ้มค่ากับพื้นที่ มีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้กลยุทธ์การพัฒนาทั้งทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ตลอดจนการพัฒนาการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ละเอียดอ่อน และยาวนานพอ เพื่อให้เกิดผลดี ทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประชาชน โดยไม่ลืมว่ากลยุทธ์ด้านศรัทธาต่อบุคคล ต่อศาสนา วัฒนธรรม และจารีตประเพณีที่หล่อหลอมแวดล้อม ณ ดินแดนแห่งนั้นย่อมมีความสำคัญ หลักการและเหตุผล/ความเป็นมาของผลงาน(วิเคราะห์จากปัญหา/อุปสรรค ในการปฏิบัติงาน)

  7. 1. เพื่อนำวัฒนธรรมของสังคมและศรัทธาทางพระพุทธศาสนาล้านนามาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาการมีส่วนร่วม 2. เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในองค์กรให้เกิดความเข้มแข็งสำหรับการบริหารงาน 3. เพื่อปรับประยุกต์เข้ากับสิ่งแวดล้อมปัจจุบันและการมีส่วนร่วมภาคประชาชน 4. เพื่อนำมาใช้ให้เกิดความสามัคคีและความสมานฉันท์ นำมาสู่ความปรองดองในสังคม 5. เพื่อเผยแพร่แก่อนุชนและบุคคลในสังคมเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมสาธารณะ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน(เพื่อพัฒนา หรือปรับปรุงแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค ในการปฏิบัติงาน)

  8. 1. การศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยมุ่งศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จากพระไตรปิฏก อรรถกถา วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผลงานการศึกษาวิจัยสนับสนุนที่ผ่านมาเอกสารทางวิชาการ วารสารต่างๆ หนังสืองานนิพนธ์ของนักปราชญ์ หรือราชบัณฑิต หนังสือสารานุกรม การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตและสื่อต่างๆ 2. เชิงคุณภาพ (Quality Research) เป็นการศึกษาที่ใช้วิธีการธรรมชาติจากข้อเท็จจริงตามสภาพแวดล้อม ที่ออกไปศึกษาภาคสนามอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์หยั่งลึก (Focus Group) และการสังเกตุ (Observation) การศึกษาในประเด็นที่สนใจและเกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยนี้ นอกจากนี้ยังมีการนำงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง เข้ามาทำการประมวลผลวิเคราะห์และนำเสนอสรุปผลการวิจัยแบบเชิงพรรณา (Descriptive Method) พร้อมเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ โดยให้ตอบวัตถุประสงค์และขอบเขตที่ต้องการศึกษา เพื่อให้งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิธีดำเนินงาน

  9. 1. ทำให้ทราบถึงวิธีการใช้วัฒนธรรมของสังคมและศรัทธาทางพระพุทธศาสนาล้านนาในปัจจุบัน 2. เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในองค์กรให้เกิดความเข้มแข็งสำหรับการบริหารงาน 3. เพื่อนำมาผลการวิจัยมาประยุกต์เข้ากับสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมสาธารณะ 4. เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในสังคม 5. เพื่อนำผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในกรณีศึกษาตัวอย่างกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมสังคมล้านนา นำมาประยุกต์ เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชลประทาน 6. เพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ประโยชน์ของผลงานที่มีต่อการพัฒนางานของกรมชลประทาน

  10. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง ผู้มีส่วนร่วมกับชลประทานทั้งในด้านการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นในหน่วยงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีและความสมานฉันท์กันภายในกลุ่มเกษตรกรและองค์กรชลประทาน ขอบเขตการศึกษา

  11. พื้นที่การศึกษา ศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเกษตรกร จากพื้นที่ตัวอย่างซึ่งได้แก่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตงเพื่อให้การส่งน้ำและบำรุงรักษาโครงการเป็นไปตามแนวนโยบายและวิสัยทัศน์ของกรมชลประทานที่ว่า “น้ำสมบูรณ์ สนับสนุนการผลิต เสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจมั่นคง” ขอบเขตการศึกษา

  12. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  13. 2.1.1 ศรัทธา 2.1.2 พิธีกรรมทางศาสนา 2.1.3 ประเพณีการสืบชะตา(สืบจ๊ะต๋า) 2.1.4 คติการสร้างพระพุทธรูป 2.1.5 การสร้างพระเจ้าทันใจ 2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ วัฒนธรรม ความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีทางศาสนาทางล้านนา

  14. 2.2.1 ความหมายของการมีส่วนร่วม 2.2.1 ความหมายของการมีส่วนร่วม 2.2.2 หลักการพื้นฐานของการมีส่วนร่วม 2.2.3 การบริหารจัดการชลประทานโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม 2.2.4 วัตถุประสงค์ของ PIM 2.2.5 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรโดยอาศัยศรัทธาเชื่อมโยงการมีส่วนร่วม 2.2.6 หลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 2.2 แนวคิดทฤษฎีและความหมายการมีส่วนร่วม

  15. 2.3.1 ภัทวี ดวงจิตร 2.3.2 พระมหายุทธกร ปญฺญาสิริ (สัจจรัตนพงศ์) (2546:112) 2.3.3 พระมหาบุญเรือง อายุวัฒนมงคล (2550:79) 2.3.4 ยงรัตน์ มีสัตย์(2553:108) 2.3งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  16. บทที่ 3ขั้นตอนการดำเนินการ

  17. 3.1.1 สร้างศาลาธรรมแม่แผ่นดิน 72 3.1.2 สร้างพระเจ้าทันใจ 960 ครบรอบทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช 3.1 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวน สำนักชลประทานที่ 13 จ. กาญจนบุรี

  18. 3.2.1 พิธีสืบชะตาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา 3.2.2 สร้างพระเจ้าทันใจ 980 ครบรอบพระชนมายุ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช 3.2โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง สำนักชลประทานที่1 จ.เชียงใหม่

  19. 3.3.1 พิธีสืบชะตา 3.3.2 การสร้างพระพุทธรูป (พระเจ้าทันใจนวมินทร์ ภูมิพล 982) 3.3 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่1 จ.เชียงใหม่

  20. 3.4.1 พิธีสืบชะตา 3.4.2 สร้างพระเจ้าทันใจ 984 ครบรอบพระชนมายุ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช 3.4 ศูนย์พัฒนาโครงการตามพระราชดำริ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

  21. บทที่ 4การวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน

  22. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวน รายงานผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2548/2549 รายงานผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/2550

  23. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง สถิติการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2548-2550 สถิติการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2548-2550

  24. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง สรุปการเพาะปลูกพืชในเขตพื้นที่ใช้น้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา

  25. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง แสดงการเปรียบเทียบมูลค่าฤดูฝนและฤดูแล้งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง

  26. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สรุปมูลค่าผลผลิตการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/2550

  27. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สรุปมูลค่าผลผลิตการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2550/2551

  28. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สรุปมูลค่าผลผลิตการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2551/2552

  29. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง แสดงการเปรียบเทียบมูลค่าผลผลิตฤดูแล้ง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง

  30. การพัฒนาการมีส่วนร่วม การสร้างความเชื่อมั่นในชลประทาน การพัฒนาองค์กรโดยอาศัยศรัทธาเป็นตัวเชื่อมโยง จนเกิดผลสัมฤทธิ์ในการเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ สมาคมผู้ใช้น้ำ และคณะกรรมการจัดการระบบชลประทานร่วมกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพการชลประทานสูงขึ้น อัตราปริมาณการใช้น้ำลดลง พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น เป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้สูงกว่าในอดีตมาก ซึ่งสามารถสนองยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน สร้างความอยู่ดีกินดี เป็นการเพิ่มรายได้ ให้สังคมชนบทมีสุขภาวะ เกิดความมั่นคง และเชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน อันเนื่องมาจากศรัทธา และการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการนั่นเอง การวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน

  31. จากการเข้าดำเนินการวิจัยเรื่องความเชื่อมั่นในงานชลประทาน เขตพื้นที่ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ได้มีการพบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำหลายครั้งเป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ตรวจสอบระบบชลประทานในพื้นที่จริงร่วมกัน และร่วมกันวางแผนปรับปรุงบำรุงรักษาอาคารชลประทาน ร่วมกันซ่อมแซม ขุดลอกคลอง การสันทนาการต่างๆ รวมถึงการทำบุญทำกุศลร่วมกัน จากผลการวิจัยพบว่ามีบางช่วงขาดแคลนน้ำชลประทาน โดยเฉพาะช่วงปลายคลองส่งน้ำ การวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน

  32. บทที่ 5สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

  33. ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มในการร่วมมือสำหรับการบริหารจัดการน้ำภาพรวมของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากับผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนดีขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์เริ่มต้นร่วมกัน ความร่วมมือในการดูแลและบำรุงรักษาอาคารชลประทาน การเคารพกฎกติกาในการบริหารจัดการน้ำ และมีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกันทุกขณะหากเกิดปัญหาหรืออุปสรรคในระบบ สิ่งเหล่านี้เป็นอานิสงส์มาจากการใช้วัฒนธรรมของสังคมและศรัทธาทางพระพุทธศาสนาชาวล้านนานำมาพัฒนาการมีส่วนร่วมก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี เป็นการเสริมสร้างพลังความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นของสังคม คือผลจากการบำเพ็ญบุญด้านทาน ศีล และภาวนา สรุปข้อเสนอแนะการนำผลงานไปใช้ในการปฏิบัติงาน

  34. ข้อเสนอแนะ : ควรดำเนินการต่อเนื่องเกี่ยวกับ 1. การสร้างพระเจ้าทันใจ และทำพิธีสืบชะตาล้านนาถวายแด่พ่อหลวงในโอกาสสำคัญต่อไป 2. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกระบวนการและพิธีการ ในข้อที่ 1 เพื่อน้อมนำศรัทธาอันประกอบด้วยปัญญา ซึ่งนำไปสู่การประพฤติธรรมด้านทาน ศีล ภาวนา ได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย 3. ประมวลผลความพึงพอใจ และความต้องการของทุกภาคส่วนการใช้น้ำต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วม 4. งานวิจัยต่อยอดควรพิจารณานำหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้อง และวัฒนธรรมอันงดงามของชาวล้านนามาปรับประยุกต์เข้ากับการบริหารงานในองค์กรต่อไป สรุปข้อเสนอแนะการนำผลงานไปใช้ในการปฏิบัติงาน

More Related