1 / 56

กระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล Good Governance

กระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล Good Governance. ดร.สมเดช สีแสง. 1. เกริ่นนำ. 1.1 เหตุผลที่ต้องมีการบริหารกิจการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล.

Download Presentation

กระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล Good Governance

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลGood Governance ดร.สมเดช สีแสง

  2. 1.เกริ่นนำ 1.1 เหตุผลที่ต้องมีการบริหารกิจการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการนำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีฉบับแรกของไทย และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวด 5 มาตรา 78 (4) ที่บัญญัติไว้ว่า “...พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ” 1.2 การบริหารจัดการที่ดีกับการบริหารการศึกษา “การปฏิรูปการศึกษา” ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนในมิติสำคัญ เช่น การ ปฏิรูปการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตลอดชีวิต การปฏิรูปการเรียนการสอนโดยเน้นที่ ผู้เรียนเป็นสำคัญ การปฏิรูปครู ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูปในมิติต่างๆ เหล่านี้ประสบ ความสำเร็จ ก็คือ การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการศึกษาให้สถานศึกษาและชุมชน

  3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (มาตรา 6) หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของ (มาตรา 7-มาตรา 8) ประชาชน หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (มาตรา 9-มาตรา 19) ต่อภารกิจของรัฐ หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ (มาตรา 20-มาตรา 26) และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (มาตรา 27-มาตรา 32) หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (มาตรา 33-มาตรา 36) หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนอง (มาตรา 37-มาตรา 44) ความต้องการของประชาชน หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (มาตรา 45-มาตรา 49) หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด (มาตรา 50-มาตรา 53) 3

  4. Strategic Management พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แนวนโยบายของรัฐบาล ม.3 แผนบริหารราชการแผ่นดิน Result Based Management Public Participation Transparency & Responsiveness Customer-Driven ม.9(2) มีเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดผลสำเร็จ ม.16 แผนปฏิบัติการ 4 ปี ม.10 การบูรณาการร่วมกัน ม.16 แผนปฏิบัติการประจำปี • ม.8 • วิเคราะห์ผลดีผลเสีย • ฟังความเห็น ปชช. • หากเกิดปัญหา รีบแก้ไข ปรับปรุงภารกิจ ม.33 ทบทวนภารกิจอำนาจหน้าที่ โครงสร้างและอัตรากำลัง ม.33 ทบทวนกฎหมาย ประกาศ KM/LO ม.11 องค์การแห่งการเรียนรู้ ม.41-42 หากมีข้อร้องเรียน ต้องแก้ไข และตอบให้เข้าใจ VFM/Activity-Based Costing การปฏิรูปราชการ ม.23 จัดซื้อโปร่งใส ม.25 วินิจฉัยโดยเร็ว ม.26 สั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร ม.43 ทุกเรื่องเป็นเรื่องเปิดเผย ม.44 เผยแพร่ข้อมูลงบรายจ่าย ม.22 บัญชีต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ม.22 การประเมินความคุ้มค่า ม.37 กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ม.37 นำ ICT มาใช้ ม.45 มีคณะผู้ประเมินอิสระประเมิน ผลสัมทธิ์ คุณภาพความพอใจ ของประชาชน ม.46-47 ประเมินผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ม.48-49 รางวัล ลดขั้นตอน ม.27 กระจายอำนาจ ม.29 ทำแผนภูมิขั้นตอน ม.30-32 ศูนย์บริการร่วม 4 Accountability Business Process Reengineering

  5. ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ปฏิรูประบบการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัยให้มี ความสอดรับซึ่งกันและกัน ปฏิรูปการเรียนรู้ ครอบคลุมทั้งหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ปฏิรูประบบการบริหาร และการจัดการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน โดยเน้นการ กระจายอำนาจ ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา โดยเน้นการระดมทรัพยากร เพื่อจัดการศึกษา ปฏิรูปครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เน้นการพัฒนามาตรฐานและ จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาครูประจำการ

  6. สภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา • การปฏิรูประบบการศึกษา เน้นการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย • การปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพของผู้เรียน มีการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง • การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โครงสร้างองค์กร การแบ่งส่วนงาน วิธีการ และกระบวนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานมีอิสระ คล่องตัว

  7. สภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา • การปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เป็นการระดมทรัพยากร ทั้งนี้ เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินมาใช้ในการจัดการศึกษา มีการจัดสรรทรัพยากรและการบริหารและการใช้ทรัพยากรให้เกิดความเสมอภาค เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ • การปฏิรูประบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เป็นปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา เน้นการปรับระบบการผลิต การพัฒนา การส่งเสริมยกย่อง และยกระดับคุณภาพครูให้มีมาตรฐานวิชาชีพเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

  8. ปัญหาที่เป็นเหตุผลของการปฏิรูปการศึกษาปัญหาที่เป็นเหตุผลของการปฏิรูปการศึกษา • ปัญหาการบริหารจัดการ • ปัญหาคุณภาพการจัดการศึกษา

  9. แนวทางการดำเนินงาน • การดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ • การดำเนินงานเชิงการบริหารจัดการ • การดำเนินงานเชิงการปฏิบัติการ • การดำเนินงานเชิงประเมินผล

  10. ชวนคิด “โรงเรียนที่สามารถระดมการมีส่วนร่วมของชุมชน นักเรียน บุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนต่างๆ มามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง บทบาทภารกิจ ร่วมดำเนินการภารกิจที่มีการจัดแบ่งความรับผิดชอบอย่างชัดเจน และร่วมตรวจสอบติดตามการดำเนินงาน จะมีโอกาสที่จะดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จได้ดีกว่า”ท่านคิดว่าจริงหรือไม่ และจะมีปัญหาอุปสรรคใดบ้าง และควรป้องกันแก้ไขอย่างไร

  11. ชวนคิด จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของท่าน ท่านได้ใช้หลักการบริหารจัดการที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของท่านในเรื่องใดบ้าง และท่านมีวิธีดำเนินการอย่างไร ลองยกตัวอย่างมาเล่าสู่กันฟัง

  12. สำคัญ ถ้าผู้บริหารละเลยไม่นำการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติ แล้วจะเป็นอย่างไร? หน่วยงานจะทำงานไม่คุ้มค่า ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจถูกร้องเรียน ประท้วง ฟ้องร้องวุ่นวายได้ และหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก็อาจโดนฟ้องข้อหาละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ได้... จึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ผู้บริหารควรทำความเข้าใจ

  13. “เพื่อจัดการศึกษาที่ตอบสนองพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ”“เพื่อจัดการศึกษาที่ตอบสนองพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ” “เพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ”

  14. 2. ความหมายของ “ธรรมาภิบาล” • ธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น

  15. ภายนอก ความสำเร็จ ความสุข ภายใน ความสมดุล

  16. 3. ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล • เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม • ถ้ามีธรรมาภิบาลในทุกระดับจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีคนเป็นศูนย์กลางที่แท้จริง • ธรรมาภิบาล ช่วยลด บรรเทา หรือแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร • ธรรมาภิบาลจะช่วยให้สังคมมีความเข้มแข็งในทุกด้านทั้งทางคุณค่าและจิตสำนึกทางสังคม • ธรรมาภิบาลจะช่วยลดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง • เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตยจะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและมีการตรวจสอบการทำงาน

  17. 3. ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล 7. ช่วยให้ระบบบริหารของรัฐมีความยุติธรรมเป็นที่น่าเชื่อถือ 8. หลักธรรมาภิบาลกลายเป็นมาตรฐานสากลที่บ่งชี้ถึงระดับการพัฒนาของประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง หากสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นได้ย่อมหมายถึงการได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากสังคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

  18. หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ หลักความ รับผิดชอบ หลักความโปร่งใส่ หลักความ มีส่วนร่วม 4. องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

  19. 4. องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good Governance ประสิทธิภาพ (Efficiency) ความคุ้มค่าของเงิน (Value-for-money) การมีส่วนร่วมของประชาชน (Participation) เปิดเผยโปร่งใส (Transparency) ตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) กระจายอำนาจ(Decentralization) ประสิทธิผล (Effectiveness) คุณภาพ (Quality) ภาระรับผิดชอบ(Accountability) นิติธรรม (Rule of law) 19

  20. การมีส่วนร่วม (Participation) นิติธรรม (Rule of law) ความโปร่งใส (Transparency) การตอบสนอง (Responsiveness) การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus oriented)* ความเสมอภาค/ ความเที่ยงธรรม (Equity) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล(Efficiency&Effectiveness) ภาระรับผิดชอบ (Accountability) วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision) หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good Governance Principles http://www.unescap.org/pdd/prs/ProjectActivities/Ongoing/gg/governance.asp 20 http://mirror.undp.org/magnet/policy/

  21. คุณธรรม จริยธรรม และ ธรรมาภิบาล คุณธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics) ธรรมาภิบาล (Good Governance) พฤติกรรม (Behavior) การปฏิบัติงาน (Operation) กลไกควบคุม ตนเอง โครงสร้าง ระบบ กระบวนการ ลดความสูญเสีย ขจัดรูรั่วไหล ป้องกันการทุจริต ประพฤติ และดำเนินการที่มิชอบ เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า โปร่งใส ตอบสนอง สุจริต ซื่อตรง เที่ยงธรรม 21 Company Logo

  22. เป้าหมายและแนวทางในการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลเป้าหมายและแนวทางในการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

  23. SVM Strategic Vision Management HRM Human Resource Management ABC Activity-Based Costing Result-Based Management BPR Business Process Reengineering TQM Total Quality Management CTM Cycle-Time Management RBM ITM Information Technology Management 5. เครื่องมือในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การบูรณาการเครื่องมือทางการบริหารในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

  24. การวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning and Strategic Management) 1 การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-based Management) 2 การบริหารกระบวนงาน (Business Process Management) 3 5. เครื่องมือในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

  25. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ (Information Technology Management) การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) 4 7 การบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-based Costing and Management) 5 การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Management) 6

  26. ชวนคิด ลองพิจารณาว่าสถานศึกษา/องค์กรของท่านมีการดำเนินการตามข้อความที่กำหนดให้ดังต่อไปนี้หรือไม่ ให้ใช้เครื่องหมาย หน้าข้อที่มีการดำเนินการในสถานศึกษาของท่าน มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่ระบุถึงบทบาท ภารกิจ กลยุทธ์ ที่บ่งบอกถึงจุดมุ่งเน้นในการดำเนินงานที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้อย่างชัดเจน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า เป็นธรรม อย่างโปร่งใสแล้วหรือยัง  มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของผลงานด้านต่างๆ พร้อมทั้งการติดตามประเมินผลสำเร็จความก้าวหน้าเพื่อให้สามารถแสดงออกถึงความรับผิดรับชอบต่อผลสำเร็จของงานอย่างโปร่งใส เป็นธรรมแล้วหรือยัง

  27. ชวนคิด(ต่อ)  มีการบริหารปรับปรุงกระบวนงานต่างๆ ให้รวดเร็ว กระชับ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพคุ้มค่าแล้วหรือยัง • มีการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ว่ามีความคุ้มค่า ประหยัด และมีความพยายามที่จะบริหารต้นทุนเหล่านนั้นอย่างโปร่งใสชัดเจนแล้วหรือยัง  มีความพยายามที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว ตลอดจรคุณภาพมาตรฐานในการดำเนินงานอย่างพอเพียงแล้วหรือยัง  มีการบริหารคุณภาพที่สามารถบอกได้ถึงความพยายามในการปรับปรุงคุณภาพและ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศแล้วหรือยัง  มีการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้เขามีความรู้ความสามารถ ขีดสมรรถนะความสำเร็จก้าวหน้าและความสุขในงานได้อย่างเป็นระบบ โปร่งใส เป็นธรรมแล้วหรือยัง

  28. กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเขตพื้นที่ การศึกษา 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ 2 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ 3 6. ธรรมาภิบาลกับการบริหารการศึกษา

  29. พัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว • ชุมชนในการจัดการศึกษา • 2) ส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • (อปท.) ให้เข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการ จัดการศึกษามากขึ้น 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 5 6.ธรรมาภิบาลกับการบริหารการศึกษา

  30. 7. การสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล 1. สิ่งที่ผู้นำให้ความสำคัญ และคอยติดตาม กำกับดูแล และทุ่มเทกวดขันอยู่เสมอ ก็จะเป็นสิ่ง ที่คนอื่นๆ ในองค์การต้องให้ความสำคัญไปด้วย 2. ลักษณะการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการบ่งบอกแก่ สมาชิกทั้งหลายในองค์การว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ ซึ่งบางครั้งวิธีการแก้สถานการณ์ของผู้นำ อาจมีผลต่อพฤติกรรมในองค์การมากกว่านโยบายที่ประกาศไว้ 3. การจงใจปฏิบัติตนของผู้นำให้เป็นตัวอย่าง และการยกย่องบุคคลตัวอย่างในองค์การ เป็นการทำให้เห็นว่าค่านิยมที่สำคัญขององค์การเป็นอย่างไร 4. การที่ผู้นำพยายามสื่อสารโดยตอกย้ำหลักการและข้อควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คงเส้นคงวาในทุกๆ ครั้งตามที่โอกาสจะอำนวย ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะสะท้อนความเอาจริงเอาจังในการสร้าง ธรรมาภิบาลขึ้นในองค์การ 5. หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาความดีความชอบ การลงโทษ และการแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อวัฒนธรรมธรรมาภิบาลในองค์การ

  31. “ธรรมาภิบาลช่วยในการบริหารงานจริงหรือไม่?”“ธรรมาภิบาลช่วยในการบริหารงานจริงหรือไม่?”

  32. ชวนคิด จากการปูพื้นความรู้ข้างต้นนั้นท่านลองวิเคราะห์ความพร้อมในตัวของท่านเอง ว่าท่านมีความพร้อมในการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของ ท่านหรือไม่ และมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไร มีประเด็นใดบ้างที่ท่านคิดว่ายังไม่พร้อมและต้องการความช่วยเหลือด้านใดเพื่อใช้ในการบริหารงานภายในองค์การของท่านเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล (เพื่อจะได้โยงไปสู่การจัดการความรู้)

  33. 8. การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล

  34. การเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวในการจัดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวในการจัดการศึกษา • ประการที่ 1รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 • ประการที่ 2การนำการบริหารจัดการฐานโรงเรียน (School Based Management: SBM) มาใช้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งหลักการบริหารโรงเรียนสอดคล้องกับหลักการของธรรมาภิบาล เกือบทั้งหมดจึงเป็นการสอดรับกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 • ประการที่ 3ตามที่มี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้ว่ามาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการงบประมาณการบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงและใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 35 บัญญัติไว้ว่า “สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา 34 (2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียนของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลเมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง ให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง”

  35. 9. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใด ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ ความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้ โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย

  36. 9. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ความโปร่งใส ความโปร่งใส หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินการต่าง ๆ อยู่บนกฎระเบียบชัดเจน การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่าง ๆ นั้น สาธารณะชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย

  37. 9. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การปราบปราบทุจริตและการประพฤติมิชอบ การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็นการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งต่อองค์การภาครัฐเองและองค์การในภาคเอกชน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉล และเสริมสร้างธรรมาภิบาล

  38. 9. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การสร้างการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ และเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการทำดำเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี

  39. 9. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฎหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการละเมิด หรือฝ่าฝืน การมีระบบกฎหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม

  40. 9. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การตอบสนองที่ทันการ ธรรมาภิบาล หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในเวลาที่ทันการ ความเห็นชอบร่วมกันสังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่างให้บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก

  41. 9. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้น ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน

  42. ตัวอย่าง : การรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผอ. : ผมมีโครงการให้คุณทำ รายละเอียดอยู่ในแฟ้มนะลองอ่านดู ครู :ครับได้ครับเดี๋ยวผมขออ่านรายละเอียดดูก่อน …เวลาผ่านไป 10 นาที ผอ. : อ่านแล้วเข้าใจนะ แล้วจะทำได้ไหม ครู :ครับ ผมอ่านแล้วเข้าใจดีครับ... มั่นใจว่าทำได้ครับ เมื่อคุยและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเสร็จแล้วครูผู้ปฏิบัติงานก็นำโครงการนั้นไป สู่การปฏิบัติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ กลับพบว่าเกิดความผิดพลาดขึ้น ทำให้ครูคนอื่นๆ ในโรงเรียนเกิดความไม่พอใจในการดำเนินงานในโครงการนี้ ครู : ผอ. ครับ คือว่าผมเสียใจที่เกิดความผิดพลาดในครั้งนี้ขึ้น ผมขอโทษครับ ผมขอรับผิดชอบเองครับ ผอ. :ความผิดพลาดมันเกิดขึ้นไปแล้วโทษคุณคนเดียวก็ไม่ถูกหรอกนะผมเองก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบ ด้วยเช่นกัน

  43. 10. ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด และความดำเนินการตามหลักความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยที่คณะกรรมการพึงคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และยังต้องเป็นบุคคลที่ซื่อตรง มีหลักการและยึดถือความถูกต้อง

  44. 10. ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ กำหนดนโยบายเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสถานศึกษาเพราะจะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวางกรอบทิศทางและนโยบายของสถานศึกษานั้นต้องมีการกำหนดนโยบายของเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน และมีมาตรการผลักดันให้มีการปฏิบัติตาม

  45. 10. ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ กำหนดทิศทาง นโยบาย เป้าหมายและยุทธศาสตร์ เพื่อควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้เป็นระยะ โดยคณะกรรมการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเข้ามามีส่วนร่วมและแสดงบทบาทในการกำหนดทิศทาง นโยบาย เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาเพื่อให้คณะกรรมการสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ นำความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาในการดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้อย่างสัมฤทธิ์ผล

  46. 10. ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ การกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน สถานศึกษาต้องสร้างระบบติดตามและประเมินผลขึ้นมาเพื่อกำกับการดำเนินงานตามแผนการทำงาน ซึ่งสามารถทำได้อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการและนำสารสนเทศไปสู่การปรับปรุงแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ การเผยแพร่ผลการดำเนินงาน นี่ถ้าประชาคมได้รู้ว่า เราได้ทำอะไรมากมายขนาดไหน เพื่อให้เขาได้มีสถานศึกษาที่มีธรรมาภิบาล เขาคงจะเต็มใจมาช่วยเราพัฒนาเรื่องอื่นๆ ได้อีกเยอะเลยนะ

  47. ชวนคิด จากกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ท่านเห็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารเช่นนี้จากที่ใดบ้าง ลองยกมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพการบริหารคุณภาพการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  48. ทดสอบความเข้าใจ

  49. แบบทดสอบความเข้าใจ • จงออกแบบการบริหารสถานศึกษาของท่านตามหลักธรรมาภิบาลโดยจำแนกงานบริหารทั้ง 4 ด้าน • จงยกตัวอย่างโรงเรียนที่มีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลที่ไม่ซ้ำกับกรณีศึกษาเล่มนี้ พร้อมอธิบายรูปแบบการบริหารสถานศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

  50. ฝากให้จำและนำไปใช้

More Related