1 / 40

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก. บทที่ 3. UBS Bank. ธนาคารสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ ประสบปัญหาเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านการเมือง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องการป้องกันการผ่องถ่ายเงินออกนอกประเทศอย่างไม่ถูกกฎหมาย ในขณะที่ธนาคารสวิสเซอร์แลนด์มักจะเป็นแหล่งที่มีการผ่องถ่ายเงินไปฝากไว้

Download Presentation

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก บทที่ 3

  2. UBS Bank • ธนาคารสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ ประสบปัญหาเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านการเมือง • รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องการป้องกันการผ่องถ่ายเงินออกนอกประเทศอย่างไม่ถูกกฎหมาย • ในขณะที่ธนาคารสวิสเซอร์แลนด์มักจะเป็นแหล่งที่มีการผ่องถ่ายเงินไปฝากไว้ • รัฐบาลอเมริกากำหนดให้ธนาคารนี้ต้องเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องสงสัยจำนวน 52,000 ราย • เริ่มแรกธนาคารปฎิเสธ อ้างกฎหมายของประเทศสวิสเซอร์แลนด์เรื่องการป้องกันความเป็นส่วนตัวของลูกค้า • ในที่สุดธนาคารก็จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อผู้ต้องสงสัย 4,450 ราย • ประมาณการว่ามีลูกค้าที่ฝากเงินไว้จำนวน 2 ล้านล้านดอลล่าห์ ที่อาจจะถอนเงินจากระบบของธนาคารสวิสเซอร์แลนด์

  3. ปัจจัยที่อาจจะกระทบผลการดำเนินงานปัจจัยที่อาจจะกระทบผลการดำเนินงาน • ภาวะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี • ลูกค้าเปลี่ยนทัศนคติหรือความพึงพอใจต่อสินค้าหรือบริการ • ภาวะการแข่งขันทางการตลาดทั้งสินค้าและบริการที่เข้มข้นขึ้น • กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง • การขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน • สภาวะทางเศรษฐกิจ การค้า ความร่วมมือระหว่างประเทศ และสภาวะแวดล้อมภายนอกอื่น

  4. สภาพแวดล้อมภายนอก • หมายถึง สถานกราณ์ภายนอกองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน โดยให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในเชิงโอกาส (Opportunities) และภัยคุกคาม(Threats) แบ่งเป็น • สภาพแวดล้อมทางสังคมหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป • สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม

  5. Creating Strategic Fit to Leverage Internal Strengths EXHIBIT 4.1 4–5

  6. ลักษณะของสภาพแวดล้อมภายนอกลักษณะของสภาพแวดล้อมภายนอก • ปัญหาใหญ่คือ “ความไม่แน่นอน” (Uncertainty) ของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 3 รูปแบบ (Johnson & Scholes, 1997) • สภาพแวดล้อมจะมีลักษณะง่าย หรือคงที่ สามารถคาดการณ์เหตุการณ์อนาคตได้จากเรื่องราวในอดีต เนื่องจากสภาพแวดล้อมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตมีความแตกต่างกันไม่มาก • สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงลักษณะพลวัติ (Dynamic) เนื่องมากจากความเป็นโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ดังนั้นการวิเคราะห์ต้องคาดการณ์ทางเลือกของอนาคตไว้หลายทาง (Multiple Scenario) • การเปลี่ยนแปลงในลักษณะซับซ้อน ความซับซ้อนของสภาพแวดล้อม ก็คือสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวมันเองบนเงื่อนไขที่เป็นพลวัตและซับซ้อนอย่างมาก

  7. ความสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกความสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก • กระบวนการวิเคราะห์ประกอบด้วย • การค้นหา คือ การค้นหาสภาพแวดล้อมธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลง เพื่อพิจารณาในเชิงโอกาสและอุปสรรค • การตรวจสอบ คือ การวิเคราะห์และตรวจสอบสภาพแวดล้อมทั่วไปที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อนำไปสู่ข่าวสาร (information) ในการพยากรณ์แนวโน้มในอนาคต • การพยากรณ์ คือ การคาดการณ์ผลกระทบและพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อองค์กรในอนาคต ทำให้องค์กรสมารถนำไปสู่การปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาที่ถูกต้อง ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะมาถึง • การวินิจฉัย คือ การระบุหรือการประเมินค่าสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั่วไปและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

  8. ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก • กลยุทธ์หลักในปัจจุบันสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือไม่ • ทราบถึงความเข้มข้นทางการแข่งขันในอุตสาหกรรม • ทราบทิศทางและแนวโน้มในอนาคต เพื่อประโยชน์ในการวางแผนด้านกลยุทธ์ได้ถูกต้องอย่างมีหลักเกณฑ์ • ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กร • ทราบโอกาส หรืออุปสรรคที่อาจเป็นภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคต • สามารถใช้สมรรถนะหลักองค์กรเพื่อฉกฉวยโอกาสหรือดักหน้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล

  9. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปโดยใช้ PESTEL • P = Political Factors • E = Economic Factors ได้แก่ growth rats, interest rates, levels of employment, price stability, currency exchange rate • S = Socio cultural Factors • T = Technological Factors • E = Ecological Factors • L = Legal Factors

  10. PESTEL Framework • Political • Gov’t pressures • Subsidies & incentives • Differences in countries, states, Countries & regions • Economic • Growth rates • Interest rates • Employment levels • Currency exchange • Sociocultural • Norms, culture, values • Demographics • Lifestyle changes • Technological • Innovation • Diffusion • Research & development • Environmental • Global warming • Sustainability • Pollution • Legal • Court system • Legislation • Hiring laws, ADA, SBOX 3-10

  11. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป • PEST = Politic + Economic + Social + Technology • PESTEL = PEST + Environment + Legal • PESTTELI = PESTEL + Industry Analysis (การวิเคราะห์อุตสาหกรรม) • STEEP = PEST + Ethical (ปัจจัยทางศีลธรรม) • LONGPEST = Local + National + Global factors + PEST (สำหรับกรณีธุรกิจใหญ่ระดับประเทศ)

  12. วัตถุประสงค์ของการศึกษาพยากรณ์วัตถุประสงค์ของการศึกษาพยากรณ์ • ทราบสภาพแวดล้อมทั่วไป จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์ • การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมผันแปรตลอดเวลา จะมีผลต่อความสำเร็จขององค์กร • ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์กร

  13. การพยากรณ์สภาพแวดล้อมทั่วไปการพยากรณ์สภาพแวดล้อมทั่วไป • 1. การพยากรณ์โดยใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อทำนายอนาคต เชื่อว่า อดีตจะซ้ำรอยตัวเองอยู่เสมอ เป็นการมองอนาคตเป็นวงจร (Cycle) เพื่อหารูปแบบ (Pattern) ของวงจรและพยายามระบุให้ได้ว่า ปัจจุบันของวงจรอยู่ตรงไหน เพื่อพยากรณ์อนาคต แล้วทำการวางแผนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของวงจรนั้น ๆ • การพยากรณ์โดยวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time Series Analysis) เป็นการพยากรณ์ที่อาศัยข้อมูลในอดีตมาพิจารณาว่า ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลเมื่อเวลาเปลี่ยนไปมีลักษณะเป็นอย่างไร มีการเคลื่อนไหวมากน้อยเพียงใดโดยมีข้อสมมติว่าการเคลื่อนไหวของข้อมูลในอนาคตจะไม่แตกต่างกับในอดีต

  14. อนุกรมเวลา (Time series) • อนุกรมเวลา (Time series) หมายถึง ข้อมูลหรือค่าสังเกตที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บรวบรวม ณ ช่วงเวลาต่างๆ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ส่วนประกอบของข้อมูลอนุกรมเวลา คือ สาเหตุของการแปรผันแบบต่างๆ ในข้อมูลอนุกรมเวลาซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบของข้อมูลอนุกรมเวลาออกได้เป็น 4 ส่วนด้วยกันดังนี้คือ • แนวโน้ม (trend component: T) • ฤดูกาล (seasonal component: S) • วัฏจักร (cyclical component: C) • ผิดปกติ (irregular component: I)

  15. อนุกรมเวลา (Time series) • แนวโน้ม (trend component: T) หมายถึง การเคลื่อนไหวของอนุกรมเวลาในระยะยาวว่าน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง และลักษณะแนวโน้มนั้นอาจจะมีแนวโน้มเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งก็ได้ ระยะเวลาที่จะทำให้เห็นแนวโน้มส่วนใหญ่ไม่ควรต่ำกว่า 10 ช่วงเวลา ลักษณะเด่นของเส้นแนวโน้มคือจะต้องเรียบไม่มีการหักมุม ณ ที่ใดๆ

  16. กราฟแสดงค่าแนวโน้มของผลผลิตเคมีภัณฑ์ชนิดหนึ่งกราฟแสดงค่าแนวโน้มของผลผลิตเคมีภัณฑ์ชนิดหนึ่ง

  17. อนุกรมเวลา (Time series) • ฤดูกาล (seasonal component: S) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของฤดูกาล ซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำๆ กัน ในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี โดยทั่วไปช่วงเวลาของฤดูกาลหนึ่งๆ มักจะสั้นกว่า 1 ปี เช่น รายเดือน รายไตรมาส คำว่าฤดูกาลในที่นี้หมายถึง สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม สภาพสังคม หรือเทศกาลต่างๆ ก็ได้ เช่น รายได้ของบริษัทขนส่ง จำกัด จะเพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนเมษายน และเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงหยุดยาว คนนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือไปเที่ยว

  18. รูปกราฟแสดงการแปรผันตามฤดูกาลรูปกราฟแสดงการแปรผันตามฤดูกาล

  19. อนุกรมเวลา (Time series) • วัฏจักร (cyclical component: C) หมายถึง การเคลื่อนไหวของข้อมูลที่มีลักษณะซ้ำๆ กัน คล้ายกับความผันแปรตามฤดูกาลต่างกันที่ระยะเวลาของการเคลื่อนไหวของข้อมูลจะมีระยะเวลานานกว่าหนึ่งปี เช่น 10 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปความผันแปรตามวัฏจักรมักจะพบในวัฏจักรของธุรกิจ

  20. รูปกราฟแสดงการแปรผันตามวัฏจักรรูปกราฟแสดงการแปรผันตามวัฏจักร ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรในทางธุรกิจ เรียกว่า "วัฏจักรธุรกิจ" (BusinessCyclical)โดยทั่วไปประกอบด้วย ระยะเจริญรุ่งเรือง (prosperity)ระยะฝืดเคือง (recession)ระยะตกต่ำ (depression)และระยะขยายตัว (recovery)

  21. อนุกรมเวลา (Time series) • ผิดปกติ (irregular component: I) หมายถึง การเคลื่อนไหวของข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ลักษณะของข้อมูลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของเหตุการณ์ที่เราไม่ได้คาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้า เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม ฝนแล้ง การชุมนุมประท้วง และ การประกาศนัดหยุดงาน เป็นต้น

  22. อนุกรมเวลา (Time series) • จากองค์ประกอบของอนุกรมเวลาทั้ง 4 อย่าง คือ T S C และ I ในข้อมูลอนุกรมชุดหนึ่ง ๆ ไม่จำเป็นต้องครบองค์ประกอบข้างต้นก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลของเรา ก่อนการแยกส่วนประกอบของข้อมูลอนุกรมเวลา จำเป็นต้องทราบก่อนว่าส่วนประกอบของข้อมูลอยู่ในลักษณะใด ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสองลักษณะดังนี้ คือ 1. ตัวแบบการบวก (Additive model)Y = T + S + C + I 2.ตัวแบบการคูณ (Multiplicative model) Y = T * S * C * I

  23. อนุกรมเวลา (Time series) • ตัวแบบการบวก (Additive model) เกิดขึ้นจากแนวความคิดที่ว่า ส่วนประกอบทั้ง 4 ของอนุกรมเวลาจะต้องเป็นอิสระต่อกัน กล่าวคือ ส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งมีค่าเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง จะไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหลือ • ตัวแบบการคูณ (Multiplicative model) เกิดขึ้นจากแนวความคิดที่ว่า ส่วนประกอบทั้ง 4 ของอนุกรมเวลาจะมีความสัมพันธ์กัน หมายความว่า ถ้าส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งมีค่าเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหลือ ตัวแบบการคูณมักนิยมใช้กับข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ และธุรกิจ เพราะการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในทางธุรกิจ จะมีผลกระทบต่อปัจจัยอื่นๆ ด้วย

  24. แบบแผนของข้อมูลอนุกรมเวลาแบบแผนของข้อมูลอนุกรมเวลา แบบการคูณ ตัวแปร แบบการบวก เวลา

  25. อนุกรมเวลา (Time series) • โดยทั่วไปข้อมูลอนุกรมเวลา ในทางธุรกิจจะมีความสัมพันธ์ในรูปแบบจำลองผลคูณ เนื่องจากเป็นการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในรูปอัตราร้อยละ ซึ่งจะทำให้ผลการวิเคราะห์ใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่าการใช้แบบจำลองผลบวก

  26. วิธีการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) • เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะหรือปัจจัยที่แทนด้วยตัวแปรตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป เพื่อทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ ทิศทางความสัมพันธ์ และลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือเป็นการวิเคราะห์โดยอาศัยค่าที่ทราบจากตัวแปรหนึ่ง แล้วนำไปพยากรณ์ ค่าของอีกตัวแปรหนึ่ง ว่ามีความแปรผันในสัดส่วนเท่าใดหรือในระดับใด • ตัวอย่างเช่น การศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับ ยอดขายสินค้า… ราคาสินค้า และยอดโฆษณา ,ผลผลิตข้าว… เนื้อที่เพาะปลูก และปริมาณปุ๋ยที่ใช้เฉลี่ยต่อไร่, จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ… รายได้ประชาชาติ และยอดโฆษณาด้านการท่องเที่ยว, ความดันโลหิต… อายุ และประเภทของอาหารที่รับประทาน

  27. การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ตัวแปรตาม (Dependent Var.) ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Var.) X1 ตัวแปรตาม (Dependent Var.) เป็นวิธีการทางสถิติ ใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ≥ 2 ตัวขึ้นไป X2 Xn ตัวแปรอิสระ มักเรียกว่า ตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรทำนาย(Predicted Variable) ตัวแปรตามมักเรียกว่า ตัวแปรตอบสนอง(Response variable)

  28. วิธีการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) • การวิเคราะห์การถดถอยทำให้สามารถ นำผลการศึกษาไปประมาณค่าของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง หรือพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนและการตัดสินใจ • ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งทราบว่าในปีที่ผ่านมายอดโฆษณากับยอดขายสินค้ามีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากกำหนดยอดโฆษณาในปีหน้าก็จะสามารถประมาณยอดขายในปีหน้าได้ด้วย

  29. รูปแบบสมการเชิงเส้น (linear model) I. Degree = 1 II. Additive model Y = a + bX Y = b0 + b1X1 Y = b0 + b1X1 + b2X2 Y = b0 + b1X1 + b2X2 + b3X3 Y = b0 + b1X1 + b2X2 + … + bnXn

  30. สัมประสิทธิ์การถดถอย (Regression Coefficient) หรือสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เป็นค่าของ bที่เป็นความชันของกราฟเส้นตรง ที่เกิดจากสมการเชิงเส้น ถ้าทราบค่าของ b และค่าของ a แล้ว ก็จะสามารถพยากรณ์ค่าของตัวแปร Y ได้ซึ่งสรุปได้ดังนี้1. ถ้า b > 0 แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้า X มีค่าสูงขึ้น ค่าของ Y ก็จะมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย

  31. 2. ถ้า b < 0 แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ถ้า X มีค่าสูงขึ้น ค่าของ Y จะต่ำลง y x

  32. 3. ถ้า b มีค่าใกล้ 0 แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์กันน้อย 4. ถ้า b = 0 แสดงว่า X และ Y ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เส้นกราฟที่ได้จะเป็นเส้นตรง ค่าของ Y จะมีค่าเท่ากับค่าคงที่ (a)

  33. 5. ถ้า b = 1 แสดงว่าความชันของเส้นกราฟมีค่าเท่ากับ 45 องศา ค่า X และ Y จะมีค่าเท่า กัน ในกรณีที่ค่าคงที่ a เท่ากับศูนย์

  34. ลักษณะของเส้นกราฟถดถอยอย่างง่าย มีดังนี้ 1. ค่า aเป็นค่าคงที่ จะมีค่าเป็นบวก เมื่อเส้นกราฟตัดกับแกน Y เหนือเส้นแกน X ขึ้นไปหากเส้นกราฟตัดที่จุดกำเนิดหรือจุดกำเนิด (0,0) ค่า a จะมีค่าเป็นศูนย์ ณ จุดนี้ค่า Y จะขึ้นอยู่กับผลของค่า X กับสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่านั้น แต่ถ้าเส้นกราฟตัดกับแกน Y ต่ำกว่าเส้นแกน X ค่า a จะมีค่าเป็นลบ y x

  35. ถ้าเส้นกราฟมีความชันมาก การเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปร X จะทำให้ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนวนมาก • - ถ้าความชันมีค่าเท่ากับ 1 การเปลี่ยนแปลงของตัวแปร X จะส่งผลให้ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนวนที่เป็นสัดส่วนกับค่า X • - ถ้าความชันมีค่าต่ำๆ (b < 1) จะทำให้ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนน้อยกว่าค่าของ X b>1 b<1

  36. 3. ในกรณีที่ a มีค่าเป็นศูนย์และ b มีค่าเท่ากับ 1 เส้นกราฟจะผ่านจุดกำเนิดและความชันเป็น 45 องศา ซึ่งทำให้ค่าของ X และ Y มีค่าเท่ากัน b=1

  37. วิธีการคาดการณ์ในอนาคต (Multiple scenario) • สร้างภาพจุดสิ้นสุดของเส้นทางในอนาคต โดยจำลองจุดสิ้นสุดเป็นสถานการณ์ A ผู้บริหารจะตัดสินใจที่จะเริ่มต้นอย่างไร และทำไมจึงตัดสินใจเช่นนั้น หรือจุดสิ้นสุดเป็นสถานการณ์ B ผู้บริหารจะตัดสินใจที่จุดเริ่มต้นอย่างไร และทำไมจึงตัดสินใจเช่นนั้น ซึ่งสามารถอธิบายได้คือ • Best case scenario • Worst case scenario • Most possible scenario (ดูตัวอย่างรูป 3.5)

  38. Road map • “จินตนาการ” และวาดภาพองค์กรในอนาคตพร้อมออกแบบขั้นตอนที่จะไปถึงให้ได้ ควรต้องมีตัวชี้วัดในแต่ละช่วงเวลา และหน่วยงานไหนต้องทำอะไร และเชื่อมโยงการกระทำของหน่วยงานในแต่ละจุดต่าง ๆ นี่คือการสร้าง “แผนที่เส้นทาง” • การสร้าง Road map เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า องค์กรจะต้องทำอะไรบ้างเพื่ออนาคต สมรรถนะใดที่องค์กรต้องมี ลูกค้ากลุ่มใดที่จะได้รับการตอบสนอง (ดูรูป 3.6)

More Related