1 / 21

กฎหมายการทูต

กฎหมายการทูต. กฎหมายการทูต. แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายการทูต คณะผู้แทนทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต สถาบันกงสุล เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล. ประเภทผู้แทนของรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. คณะผู้แทนทางการทูต

maj
Download Presentation

กฎหมายการทูต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายการทูต

  2. กฎหมายการทูต • แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายการทูต • คณะผู้แทนทางการทูต • เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต • สถาบันกงสุล • เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล

  3. ประเภทผู้แทนของรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประเภทผู้แทนของรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ • คณะผู้แทนทางการทูต • เป็นตัวแทนที่รัฐส่งไปประจำอยู่ในรัฐผู้รับและคอยควบคุมดูแลกิจการทุกอย่างของรัฐผู้ส่งในในอาณาจักรของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาสัมพันธ์ภาพอันดีในทุกทางระหว่างรัฐทั้งสอง • กงสุล • กงสุลเป็นเพียงตัวแทน Office Agent ของรัฐผู้ส่งที่ได้รับมอบหมายให้อำนวยความสะดวกช่วยเหลือคนชาติของรัฐผู้ส่งกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ส่วนบุคคลของคนชาตินั้นๆในต่างประเทศ เดิมทีวิวัฒนาการมาจากการเป็นตัวแทนพ่อค้าของคนชาตินั้นๆในรัฐต่างประเทศ และทำหน้าที่ตุลาการด้วย พิจารณาคดีทั้งทางแพ่ง ทางอาญา คุ้มครองชีวิต และทรัพย์สินของคนชาติของตนในต่างแดน ต่อมาบทบาทได้ลดลงเหลือเพียงการควบคุมดูแลการพาณิชย์และปกป้องผลประโยชน์คนชาติของตนในต่างแดน

  4. แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายการทูตแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายการทูต

  5. ความหมายของการทูต และกฎหมายการทูต • การทูต คือการดำเนินนโยบายต่างประเทศ หรือศิลปะของผู้แทนรัฐในการเจรจา หรือเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินนโยบายต่างประเทศของบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ โดยสันติวิธี อันหมายถึงการเจรจาเป็นสำคัญ หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยตัวแทนรัฐ เนื่องจากรัฐเป็นนิติบุคคลไม่สามารถดำเนินการเองได้จึงจำเป็นต้องมีคณะบุคคลทำหน้าที่ดำเนินการทั้งกิจการภายในและภายนอก ได้แก่รัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็ได้ส่งตัวแทนทางการทูตไปปฏิบัติหน้าที่ดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ • กฎหมายการทูต หมายความถึงกฎเกณฑ์ที่มุ่งวางนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆของบุคคลระหว่างรัฐ หรือ องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่อย่างถาวร หรือ อย่างชั่วคราวในการดำเนินความสัมพันธ์ภายนอกของรัฐ หรือหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่มุ่งบังคับในการดำเนินความสัมพันธ์นั้นๆ

  6. กฎหมายว่าด้วยการทูต และ กงสุล • กฎหมายการทูตและกงสุลวิวัฒนาการมาจากจารีตประเพณี และแนวทางปฏิบัติของรัฐมาเป็นเวลาช้านาน จนก่อให้เกิดเป็นกฎหมายจารีตประเพณีทางการทูต • ต่อมา คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission) ได้ประมวลกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และกงสุลขึ้นสองฉบับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ • Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961 • Vienna Convention on Consular Relations 1963 • Convention on the prevention and punishment of crime against internationally protected persons, including diplomatic agent 1973 • Convention against the taking of Hostage 1979

  7. หลักการที่สำคัญและที่มาของแนวคิดทางการทูตหลักการที่สำคัญและที่มาของแนวคิดทางการทูต • แนวคิดที่วิวัฒนาการเกี่ยวกับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในสมัยโบราณมาจาก การที่พระเป็นตัวแทนของรัฐในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือในภารกิจที่สำคัญ โดยถือว่าเป็นกิจการที่กระทำในนามของพระเจ้า หรือเป็นตัวแทนของพระเจ้า พระ จึงได้รับอภิสิทธิ์ และความคุ้มกันจากรัฐอื่น • ในสมัยใหม่ซึ่งได้มีการประมวลเป็นอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายทางการทูต และกงสุลแล้วนั้น ได้สรุปสาระสองประเด็น คือ • หลักการทางกฎหมาย ถือหลักความเท่าเทียมกันของรัฐอธิปไตยทั้งปวงไม่ว่ารัฐเล็ก หรือใหญ่ และเอกสิทธิ์ และ ความคุ้มกันทางการทูตมิใช่เพื่อตัวบุคคล แต่เพื่อการปฏิบัติภารกิจหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของคณะผู้แทนทางการทูต • หลักการทางด้านการเมือง เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพความมั่นคง และการส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างชาติโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในระบบแห่งธรรมนูญ และสังคมของชาติ กล่าวคือเป็นความร่วมมือทั้งทางด้านสันติภาพ และมิตรภาพด้วย

  8. คณะผู้แทนทางการทูต

  9. การแบ่งประเภทคณะผู้แทนทางการทูตการแบ่งประเภทคณะผู้แทนทางการทูต • หัวหน้าคณะผู้แทน (Head of the Mission) • เอกอัครราชทูต (Ambassador), เอกอัครสมณทูต (Nuncio), ผู้แทนของสันตะปาปา • รัฐทูตพิเศษ อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Envoy Extraordinary and Minister Plenipotentiary), รองสมณทูต • Ministre Resident • อุปทูต Charge d’Affaires • บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูต (Members of the Diplomatic Staff) • บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและวิชาการ (Members of the Administrative and Technical staff) • บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ (Members of the Service staff of the Mission) • ครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต (Family of the members of Diplomatic Mission) • คนรับใช้ส่วนตัว (Private Servant)

  10. การเข้าดำรงตำแหน่งของผู้แทนทางการทูตการเข้าดำรงตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต • การเข้าดำรงตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐผู้รับ และรัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบกับหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตทุกระดับ และต้องมีการออกพระราชสาส์นตราตั้งสำหรับกรณีของประเทศไทย และต้องมีการเสนออักษรสาส์นตราตั้ง บอกกล่าวการมาถึงอย่างเป็นทางการ จึงจะถือว่ารัฐผู้รับได้รับทูตแล้ว • การเข้าดำรงตำแหน่งของบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูต และบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและวิชาการ ไม่จำเป็นต้องเสนอสาส์นตราตั้ง แต่ต้องแจ้งให้รัฐผู้รับทราบและไม่มีการคัดค้าน • การเข้าดำรงตำแหน่งของบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ เพียงแต่แจ้งการแต่งตั้ง การมาถึง และการเดินทางออกไปแก่รัฐผู้รับ สำหรับคนรับใช้ส่วนตัว รัฐผู้ส่งมีหน้าที่แจ้งการมาถึงและการเดินทางออกไปท้ายที่สุดแก่รัฐผู้รับ • ผู้แทนทางการทูตเป็นคนในสัญชาติของรัฐผู้รับ ก็ต้องขอความยินยอมจากรัฐผู้รับเช่นกัน ซึ่งอาจจะได้รับการยอมรับ หรือปฏิเสธก็ได้

  11. การสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้แทนทางการทูตการสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้แทนทางการทูต • สาเหตุการสิ้นสุดของการดำรงตำแหน่งผู้แทนทางการทูต • สาเหตุอันเนื่องมาจากรัฐผู้ส่ง เช่นการเรียกทูตกลับจากเหตุเกี่ยวกับทูตเอง หรือจากเหตุ การประท้วงรัฐผู้รับ • สาเหตุอันเนื่องจากรัฐผู้รับ เช่นรัฐผู้รับประการว่าผู้แทนทางการทูตเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ (Persona non Grata) • สาเหตุอื่น เช่น การลาออกของทูตเอง การตาย หรือครบวาระการดำรงตำแหน่ง • วิธีการปฏิบัติเพื่อให้ผู้แทนทางการทูตพ้นจากตำแหน่ง • การเรียกหัวหน้าคณะผู้แทนกลับ โดยมีการมอบอักษรสาส์นเรียกกลับ และระบุสาเหตุการเรียกกลับด้วย เว้นแต่กรณีถูกประกาศว่าเป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ • การเรียกบุคคลอื่นในคณะผู้แทนกลับ โดยการแจ้งไปยังรัฐผู้รับว่าภาระหน้าที่ของผู้แทนยุติแล้วและแจ้งการเดินทางออกนอกประเทศรัฐผู้รับด้วย • การขับไล่ (Expulsion) เป็นสิทธิของรัฐผู้รับที่จะขับไล่บุคคลที่ไม่พึงประสงค์ได้ หรือ จับกุมและนำตัวส่งกลับประเทศรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่ร้ายแรง

  12. หน้าที่ของผู้แทนทางการทูตหน้าที่ของผู้แทนทางการทูต • หน้าที่ของผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้ส่ง • การเป็นตัวแทนรัฐผู้ส่ง • คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของชนชาติของรัฐผู้ส่ง (Diplomatic Protection) • ทำการเจรจากับรัฐผู้รับในเรื่องต่างๆ • การเสาะแสวงหาข่าวและรายงาน ศึกษาสถานการณ์ ปฏิกิริยาต่อสถานการณ์โลก • ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างรัฐผู้รับ และรัฐผู้ส่ง • หน้าที่ของผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ • การไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของรัฐผู้รับ • การเคารพต่อกฎหมายภายในรัฐผู้รับ

  13. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต • เอกสิทธิ์ (Privilege) เป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อทำให้บุคคลนั้นอยู่ภายนอก หรือ อยู่เหนือกฎหมายธรรมดาทั่วไป เช่น ไม่ต้องเสียภาษีบางอย่าง ไม่ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น เอกสิทธิ์ จึงเป็นเรื่องของการให้ประโยชน์เป็นการพิเศษนอกเหนือจากกฎหมายธรรมดา เอกสิทธิ์เป็นสิทธิของผู้ให้ ผู้ให้เป็นผู้ให้สิทธิ ผู้รับจึงจะได้เอกสิทธิ เอกสิทธิทางการทูตจึงให้โดยรัฐผู้รับ • ความคุ้มกัน (Immunities) เป็นการที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้ภาระบางประการ หรือการได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ในบังคับของกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ปลอดพ้นจากภัย หรือการได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง การคุ้มกันเป็นเรื่องการยกเว้นจากการบังคับของกฎเกณฑ์ ความคุ้มกันเป็นสิทธิของผู้รับ อยู่ในตัว ผู้ให้จำเป็นต้องให้ความคุ้มกันจะไม่ให้ไม่ได้ ความคุ้มกันทางการทูตเป็นสิทธิของรัฐผู้ส่ง และไม่ใช่ของตัวทูตเอง ดังนั้นเวลาสละความคุ้มกันจึงต้องให้รัฐผู้ส่งสละผู้แทนจะสละเองไม่ได้

  14. ทฤษฎีเรื่องเอกสิทธิและความคุ้มกันทฤษฎีเรื่องเอกสิทธิและความคุ้มกัน • ทฤษฎีลักษณะตัวแทนของผู้แทนทางการทูต • ถือว่าทูตเป็นตัวแทนกษัตริย์ • ทฤษฎีสภาพนอกอาณาเขต • ผู้แทนทางการทูตไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่ไปอยู่ ถือว่ายังอยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐผู้ส่ง • ทฤษฎีประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ และการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ • ถือหลักเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ดำเนินไปโดยสะดวก มีประสิทธิภาพ เป็นอิสระ และเป็นการต่างปฏิบัติตอบแทนระหว่างกันในการเคารพต่อเอกสิทธิ ความคุ้มกัน ที่ให้แก่คณะผู้แทนทางการทูตของกันและกัน

  15. ขอบเขตของเอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูตขอบเขตของเอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต • เอกสิทธิเกี่ยวกับภาษีอากร และค่าธรรมเนียม หรือค่าภาระที่เรียกเก็บในรัฐผู้รับ • เอกสิทธิเกี่ยวกับภาษีรายได้ • เอกสิทธิเกี่ยวกับภาษีศุลกากร • เสรีภาพในการคมนาคมสื่อสาร • ความคุ้มกันเกี่ยวกับตัวบุคคล • ความคุ้มกันเกี่ยวกับสถานที่ของคณะผู้แทน • ความคุ้มกันทางศาล • การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของเอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต • สิทธิเริ่มตั้งแต่เดินทางเข้าไปในรัฐและบอกกล่าวการแต่งตั้งของตน • สิทธิสิ้นสุดลงเมื่อเมื่อภาระหน้าที่ยุติลงและได้เดินทางออกไปจากประเทศ • กรณีผู้แทนทูตเสียชีวิต ให้คนในครอบครัวอุปโภคสิทธิอยู่จนกว่าจะเดินทางออกไปในเวลาอันสมควร • กรณีผู้แทนทูตเสียชีวิตอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ออกไปได้โดยไม่ต้องเสียอากรกองมรดก

  16. สถาบันกงสุล

  17. ประเภทของกงสุล • พนักงานฝ่ายกงสุลอาชีพ • เป็นกงสุลอาชีพ คือเป็นข้าราชการของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยมิได้มีอาชีพอื่นใด • พนักงานฝ่ายกงสุลกิตติมศักดิ์ • เป็นพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่มีสัญชาติรัฐผู้รับ และปฏิบัติการงานอยู่รัฐผู้รับโยเฉพาะตามเมืองท่า บุคคลประเภทนี้จะได้รับการทาบทามเป็นกงสุลโดยไม่ได้หวังผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าจ้าง แต่ย่อมได้รับเกียรติอันจะเป็นผลประโยชน์ต่อการงานของตน สถานที่ทำการกงสุล • สถานกงสุลใหญ่ • สถานกงสุล • สถานกงสุลรอง • สำนักตัวแทนกงสุล

  18. หน้าที่ของกงสุล • คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และคนชาติรัฐผู้ส่ง • สืบเสาะด้วยวิธีการอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะทางเศรษฐกิจ พาณิชย์ วัฒนธรรม และวิทยาการของรัฐผู้รับ เพื่อรายงานรัฐผู้ส่ง • เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการระหว่างรัฐผู้รับ และรัฐผู้ส่ง • ควบคุมดูแล และตรวจตราตามกฎหมายของรัฐผู้ส่งเกี่ยวกับเรือสัญชาติรัฐผู้ส่ง และอากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐผู้ส่ง กับให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่เรือ อากาศยาน และลูกเรือ ประทับตราเอกสารของเรือ สืบสวนเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางภายในขอบเขตของกฎหมายไม่ให้เสื่อมเสียอำนาจรัฐผู้ส่ง • ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆที่ได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่ง

  19. การแต่งตั้งและการสิ้นสุดตำแหน่งหน้าที่กงสุลการแต่งตั้งและการสิ้นสุดตำแหน่งหน้าที่กงสุล • การแต่งตั้ง • การเลือกกงสุลอยู่ในดุลยพินิจของรัฐผู้ส่ง • ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐผู้รับ • ออกเอกสารสัญญาบัตรแต่งตั้งเพื่อรับรองตำแหน่ง แต่อาจจะตกลงด้วยวาจาได้ • รัฐผู้รับอาจจะยินยอมหรือปฏิเสธก็ได้ ถ้ารัฐผู้รับยอมรับจะออกอนุมัติบัตรให้ถือว่าบุคคลนั้นมีฐานะเป็นกงสุล • การยุติหน้าที่กงสุล • เมื่อรัฐผู้ส่งได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้รับว่าหน้าที่กงสุลยุติแล้ว • เมื่อมีการเพิกถอนอนุมัติบัตร • เมื่อรัฐผู้รับได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้ส่งว่ารัฐผู้รับได้เลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นกงสุล หรือบุคคลในคณะกงสุลแล้ว

  20. เอกสิทธิและความคุ้มกันทางกงสุลเอกสิทธิและความคุ้มกันทางกงสุล

  21. เอกสิทธิและความคุ้มกันเกี่ยวกับสถานกงสุลเอกสิทธิและความคุ้มกันเกี่ยวกับสถานกงสุล • ความละเมิดมิได้ในสถานที่กงสุล • ความละเมิดมิได้ของบรรณสารและเอกสารทางกงสุล • การยกเว้นการเก็บภาษีอากรสถานที่กงสุล • เสรีภาพในการสื่อสาร เอกสิทธิและความคุ้มกันเกี่ยวกับบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล • ความละเมิดมิได้ส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ไม่ถูกกักขังระหว่างพิจารณาคดี เวนแต่อาชญากรรมร้ายแรง และตามคำวินิจฉัยของศาล • ความคุ้มกันจากการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่ใช้กับการดำเนินคดีทางแพ่ง • เอกสิทธิเกี่ยวกับภาษีอากรและภาษีศุลกากร ไม่รวมภาษีทางอ้อม • การสละเอกสิทธิและความคุ้มกัน รัฐผู้ส่งอาจสละความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ได้โดยแจ้งไปยังรัฐผู้รับเป็นลายลักษณ์อักษร

More Related