1 / 37

887110 Introduction to Discrete Structures

887110 Introduction to Discrete Structures. ความสัมพันธ์ (Relations). คู่อันดับ. คู่อันดับประกอบด้วยสมาชิก 2 ตัว เขียนแทนในรูป ( a,b ) โดยที่ a เป็นสมาชิกตัวหน้า และ b เป็นสมาชิกตัวหลัง ลำดับของคู่อันดับมีความสำคัญ

maj
Download Presentation

887110 Introduction to Discrete Structures

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 887110 Introduction to Discrete Structures ความสัมพันธ์ (Relations)

  2. คู่อันดับ • คู่อันดับประกอบด้วยสมาชิก 2 ตัว เขียนแทนในรูป (a,b) • โดยที่ a เป็นสมาชิกตัวหน้า • และ b เป็นสมาชิกตัวหลัง • ลำดับของคู่อันดับมีความสำคัญ • การสลับที่กันระหว่างสมาชิกทั้ง 2 ของคู่อันดับ อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไป • สมบัติของคู่อันดับ • (a , b) = (b, a) ก็ต่อเมื่อ a = b • ถ้า (a , b) = (c , d) แล้วจะได้ว่า a = c และ b = d • ถ้า (a , b)  (c , d) แล้วจะได้ว่า a  c หรือ b  d

  3. ผลคูณคาร์ทีเชียน • นิยาม ผลคูณคาร์ทีเชียนของเซต A และ เซต B คือ เซตใหม่ที่มีสมาชิกเป็นคู่อันดับ (x, y) อันเกิดจากการการจับคู่ทุกกรณีที่เป็นไปได้ จากสมาชิก xของเซต A และสมาชิก y ของเซต B • ผลคูณคาร์ทีเชียนของเซต A กับ เซต B เขียนเป็นสัญลักษณ์คือ A x B (อ่านว่า “A cross B”) • สามารถเขียนเป็นภาษาคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้ A x B = { (x , y) | x  A ^ y  B}

  4. ตัวอย่าง โจทย์ กำหนดให้ A = {a, b, c} และ B = {m, n} จงหา A x B และ B x A วิธีทำจากโจทย์สามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ จากแผนภาพ เซต A จับคู่ทุกกรณีกับเซต B ได้ผลลัพธ์ ดังนี้ A x B = {(a, m) , (a, n) , (b, m) , (b, n) , (c, m) , (c, n)} B x A = {(m, a) , (m, b) , (m, c) , (n, a) , (n, b) , (n, c)} B x A A x B a b c m n m n a b c A B B A

  5. สมบัติของผลคูณคาร์ทีเชียนสมบัติของผลคูณคาร์ทีเชียน • กำหนด A , B และ C เป็นเซตใดๆ แล้ว • A x B ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ B x A • A x B = B x A ก็ต่อเมื่อ A = B หรือ A =  หรือ B =  • A x  =  x A =  • A x ( B  C) = (A x B)  (A x C) (A  B) x C = (A x C)  ( B x C) • A x (B  C) = (A x B)  (A x C) (A  B) x C = (A x C)  ( B x C)

  6. สมบัติของผลคูณคาร์ทีเชียน (ต่อ) • กำหนด A , B และ C เป็นเซตใดๆ แล้ว • A x (B - C) = (A x B) - (A x C) (A - B) x C = (A x C) - ( B x C) • ถ้า A  B แล้ว A x C  B x C • ถ้า A และ B เป็นเซตจำกัดแล้ว n(A x B) = n(A) . n(B) n(B x A) = n(B) . n(A) n(A x B) = n(B x A) • ถ้า A เป็นเซตอนันต์ และ B เป็นเซตจำกัด ซึ่ง B   แล้ว A x B เป็นเซตอนันต์

  7. ความสัมพันธ์ (Relation)

  8. ความสัมพันธ์ทวิภาค (Binary Relations) • ความสัมพันธ์ที่เราพบเห็นทั่วไป เช่น เป็นพ่อของ เป็นแม่ของ มากกว่า น้อยกว่า เป็นสมาชิกของ เป็นสับเซตของ ล้วนแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สิ่ง เราจะเรียกว่า ความสัมพันธ์ทวิภาค • นิยาม กำหนด A และ B เป็นเซตใดๆแล้ว R เป็นความสัมพันธ์จากเซต A ไปเซต B ก็ต่อเมื่อ R เป็นสับเซตของ A x B เขียนแทนด้วย R  A x B

  9. ตัวอย่าง ตัวอย่างกำหนดให้ A = {a, b} และ B = {c} จงแสดงความสัมพันธ์จาก A ไป B วิธีทำจากข้อกำหนดที่ว่า r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r  A x B หมายความว่า เซตอะไรที่เป็นสับเซตของ A x B ถือเป็นความสัมพันธ์ทั้งสิ้น ดังนั้น เราสามารถเขียนความสัมพันธ์จาก A ไป B แบบแจกแจงได้ ดังนี้ r1 =  เพราะ  เป็นสับเซตของทุกเซต ดังนั้น  A x B แน่ๆ r2 = {(a , c)} r3 = {b , c} r4 = { {a,b} , {a,c} } = A x B ข้อสังเกต จำนวนความสัมพันธ์ทั้งหมดที่เกิดจาก A x B = 2 n(A x B) = 2 n(A) x n(B)

  10. สัญลักษณ์ในเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคสัญลักษณ์ในเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาค • ถ้า R  A x B เรียกว่า R เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B • ถ้า (a,b)  R จะหมายถึง a สัมพันธ์กับ b ด้วยความสัมพันธ์ R สามารถเขียนแทนด้วย aRb • ถ้า (a,b)  R จะหมายถึง a ไม่สัมพันธ์กับ b ด้วยความสัมพันธ์ R สามารถเขียนแทนด้วย aRb

  11. ส่วนเติมเต็มของความสัมพันธ์ (Complementary Relations) • ส่วนเติมเต็มของความสัมพันธ์ แทนด้วยสัญลักษณ์ หรือ R • นิยามของ เป็น ดังนี้ = {(a,b) | (a,b)  R} = (A x B) – R • ตัวอย่าง กำหนดให้ A = {1,2,3} และ R = {(1,1) , (2,2) , (3,3) , (1,2) , (1,3) , (2,3) จงหาส่วนเติมเต็มของ R วิธีทำ A x B = {(1,1),(1,2),(1,3),(2,1),(2,2),(2,3),(3,1),(3,2),(3,3)} ดังนั้น = {(2,1) , (3,1) , (3,2)}

  12. อินเวอร์สของความสัมพันธ์ (Inverse Relations) • ให้ Rเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B อินเวอร์ส (Inverse) ของ Rเขียนแทนด้วย R-1 • R-1 คือ ความสัมพันธ์จาก B ไป A • R-1 จะมีสมาชิกเป็นคู่อันดับ (y , x) โดยที่ (x , y)  R • R-1เขียนเป็นภาษาคณิตศาสตร์ได้เป็น R-1 = {(y , x) | (x , y)  R}

  13. ตัวอย่าง • ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ R= {(1,2) , (3,4) , (5,6) } จงหาอินเวอร์ของความสัมพันธ์นี้ วิธีทำR-1= {(2,1) , (4,3) , (6,5)} • ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ R= {(x,y)  R x R | y = } จงหาR-1 วิธีทำในส่วนเงื่อนไขให้เปลี่ยน x เป็น y เปลี่ยน y เป็น x จะได้ R-1 = {(x,y)  R x R | x = } R-1 = {(x,y)  R x R | x2 = y – 3, x  0 } ดังนั้น R-1 = {(x,y)  R x R | y = x2 + 3}

  14. การแทนความสัมพันธ์

  15. การแทนความสัมพันธ์ นอกเหนือจากการแทนความสัมพันธ์ระหว่างเซต 2 เซตด้วยเซตของคู่อันดับแล้ว เรายังสามารถแทนความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ ดังนี้ • แทนด้วยกราฟระบุทิศทาง (directed graph) • แทนด้วยเมทริกซ์ (matrix)

  16. การแทนความสัมพันธ์ด้วยกราฟระบุทิศทาง(directed graph) • จะใช้การลากเส้นความสัมพันธ์จากสมาชิกของเซตหนึ่งไปยังสมาชิกของอีกเซตหนึ่ง • ใช้ลูกศรเป็นตัวกำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ • ตัวอย่าง กำหนดเซต A = {1,2,3,4} และ R = {(1,1) , (1,2) ,(1,3) ,(1,4)} 1 3 4 2

  17. การแทนความสัมพันธ์ด้วยเมทริกซ์(matrix)การแทนความสัมพันธ์ด้วยเมทริกซ์(matrix) • กำหนดให้เซต A = {a1,a2,a3,…am} และ B = {b1,b2,b3,…,bn} เราสามารถแทนความสัมพันธ์ R ระหว่าง 2 เซตนี้ด้วยเมทริกซ์เชิงตรรก (logical matrix) ขนาดm x nเมื่อ mคือ จำนวนสมาชิกของเซต A และn คือ จำนวนสมาชิกของเซต B • โดยแต่ละตำแหน่งของ matrix (Mij) จะถูกแทนด้วย 0 ถ้า (ai,bj)  R และแทนด้วย 1 ถ้า (ai,bj)  R

  18. ตัวอย่าง • กำหนดเซต A = {1,2,3,4} และ R = {(1,1) , (1,2) ,(1,3) ,(1,4)}สามารถแทนความสัมพันธ์ด้วยเมทริกซ์ ดังนี้ 1 2 3 4 1 2 3 4 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

  19. ความสัมพันธ์บนเซต

  20. ความสัมพันธ์เอกลักษณ์ (identity relation) • ความสัมพันธ์จากเซต A ไปยังตัวมันเองเรียกว่า ความสัมพันธ์บนเซต A • ความสัมพันธ์เอกลักษณ์ (identity relation) IAบนเซต A แสดง ดังนี้ IA = {(a,a) | a  A} • ตัวอย่าง กำหนดให้ A = {1,2,3,4} จงหาคู่อันดับในความสัมพันธ์ R = {(a,b) | a < b} วิธีทำ จะได้ว่า R = {(1,2),(1,3),(1,4),(2,3),(2,4),(3,4)}

  21. ความสัมพันธ์สะท้อน (reflexive) • ความสัมพันธ์บนเซต A ใดๆ จะมีคุณสมบัติสะท้อน (reflexive) ก็ต่อเมื่อ ทุก x  A , xRx • ตัวอย่าง กำหนด A = {1,2,3,4} ให้พิจารณาว่าความสัมพันธ์ต่อไปนี้เป็น reflexive หรือไม่ • R = {(1,1),(2,2),(2,3),(3,3),(4,4)} เป็น • R = {(1,1),(2,2),(3,3)} ไม่เป็น เพราะไม่มี (4,4) • ความสัมพันธ์บนเซต A เป็นความสัมพันธ์ไม่สะท้อน (irreflexive) ถ้า (a,a)  R สำหรับ a ทุกตัวที่เป็นสมาชิกของ A

  22. ความสัมพันธ์สะท้อน (reflexive) ต่อ • ถ้า R เป็นความสัมพันธ์สะท้อน • จุดทุกจุดในกราฟระบุทิศทางของ R จะมีลูกศรวนเข้าหาตัว • สมาชิกในแนวทะแยงมุมของเมทริกซ์ของ R จะมีค่าเป็น 1 ทั้งหมด 1 2 3 4 1 2 3 4 1 0 00 0 1 0 0 0 0 1 0 0 0 0 1 .1 .3 .4 .2

  23. ความสัมพันธ์สมมาตร (Symmetric) • ความสัมพันธ์บนเซต A ใดๆ จะมีคุณสมบัติสมมาตร (symmetric) ก็ต่อเมื่อ ทุก x,y A ถ้าxRyแล้ว yRx (หรือ R = R-1 ) • ตัวอย่าง กำหนด A = {1,2,3,4} ให้พิจารณาว่าความสัมพันธ์ต่อไปนี้เป็น symmetric หรือไม่ • R = {(1,1),(1,2),(2,1),(3,3),(4,4)} เป็น • R = {(1,3),(3,2),(2,1)} ไม่เป็น

  24. ความสัมพันธ์สมมาตร (Symmetric) ต่อ • ถ้า R เป็นความสัมพันธ์สมมาตรระหว่าง 2 เซตใดๆ • กราฟระบุทิศทางของ R จะมีลูกศรเชื่อมระหว่างคู่อันดับนั้น 2 ทิศทาง • เมทริกซ์ของ R จะมีสมมาตรเทียบกับแนวทะแยงมุม 1 2 3 4 1 2 3 4 0 1 00 10 1 0 0 1 0 1 0 0 1 0 .1 .3 .4 .2

  25. ความสัมพันธ์ปฏิสมมาตร (Antisymmetric) • ความสัมพันธ์บนเซต A ใดๆ จะมีคุณสมบัติปฏิสมมาตร (symmetric) ก็ต่อเมื่อ ab , ถ้า (a,b)R แล้ว (b,a)  R • หมายความว่า ทุกๆคู่ที่ a กับ b ไม่เท่ากัน ถ้า (a,b) เป็นสมาชิกของ R แล้ว (b,a) ต้องไม่เป็นสมาชิกของ R • ตัวอย่าง กำหนด A = {1,2,3,4} R ที่มีคุณสมบัติปฏิสมมาตร เช่น • R = {(1,1)} เพราะความสัมพันธ์นี้ไม่มี a ที่ไม่เท่ากับ b นับว่าเป็นได้เลย • R = {(1,3),(3,2),(2,1)} มี 3 คู่อันดับที่ a  b โดยแต่ละคู่อันดับ (a,b) ไม่มี (b,a)

  26. ความสัมพันธ์ไม่สมมาตร (asymmetric) • ความสัมพันธ์บนเซต A ใดๆ จะมีคุณสมบัติไม่สมมาตร (symmetric) ก็ต่อเมื่อ a,b  A , ถ้า (a,b)R แล้ว (b,a)  R • หมายความว่า ทุกๆคู่ (a,b) ที่เป็นสมาชิกของ R จะต้องไม่มีคู่อันดับ (b,a) ที่เป็นสมาชิกของ R • ตัวอย่าง กำหนด A = {1,2,3,4} R ใดบ้างที่มีคุณสมบัติไม่สมมาตร • R = {(1,3),(3,2),(2,1)} มี • R = {(4,4), (3,3) ,(1,4)} ไม่มี เพราะมี 2 คู่ที่ไม่ใช่ คือ (4,4) และ (3,3)

  27. ความสัมพันธ์ถ่ายทอด (transitive) • ความสัมพันธ์บนเซต A ใดๆ จะมีคุณสมบัติถ่ายทอด (transitive) ก็ต่อเมื่อทุก x,y,z A , ถ้า xRyและ yRzแล้ว xRz • ตัวอย่าง กำหนด A = {1,2,3,4} ให้พิจารณาว่า R ต่อไปนี้มีคุณสมบัติถ่ายทอดหรือไม่ • R = {(1,1) ,(1,2) ,(2,2) ,(2,1), (3,3)} เป็น • R = {(1,3) ,(3,2) ,(2,1)} ไม่เป็น ด้วยเหตุผลที่ว่า • มี (1,3) , (3,2) แต่ไม่มี (1,2) • มี (3,2) , (2,1) แต่ไม่มี (3,1)

  28. ความสัมพันธ์ถ่ายทอด (transitive) ต่อ • ความสัมพันธ์ถ่ายทอดไม่สามารถสังเกตจากกราฟระบุทิศทางหรือเมทริกซ์ได้ง่ายนัก • ตัวอย่างกราฟระบุทิศทางของความสัมพันธ์ถ่ายทอดแสดงได้ ดังนี้ .1 .3 .1 .3 .1 .3 .4 .2 .4 .2 .4 .2

  29. ความสัมพันธ์สมมูล(Equivalence Relation)

  30. ความสัมพันธ์สมมูล (Equivalence Relations) • ถ้าความสัมพันธ์ R มีคุณสมบัติสะท้อน(reflexive) สมมาตร(symmetric) และ ถ่ายทอด(transitive) เราจะกล่าวว่า R เป็นความสัมพันธ์สมมูล • ตัวอย่างกำหนด A = {1,2,3,4} และ R = {(1,1),(2,2),(3,3),(4,4),(1,2),(2,1)} จงตรวจสอบว่า R เป็นความสัมพันธ์สมมูลหรือไม่ วิธีทำ เราต้องทำการตรวจสอบคุณสมบัติทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ - reflexive มี เพราะ (1,1) , (2,2) ,(3,3) , (4,4) - symmetric มี เพราะ (1,2) , (2,1) - transitive มี เพราะ มี (1,2) , (2,1) แล้ว (1,1) , และ (2,1) , (1,2) แล้ว (2,2) ดังนั้น R เป็นความสัมพันธ์สมมูล

  31. ชั้นสมมูล (Equivalence Classes) • ถ้า R เป็นความสัมพันธ์สมมูลบนเซต A แล้ว ชั้นสมมูลของ R คือ เซตที่ประกอบไปด้วยทุกๆสมาชิก xA โดยที่ x สัมพันธ์กับ a ด้วยความสัมพันธ์ R • เขียนแทนด้วย [a] = {xA | x R a} หรือ x  A , x [a] <-> x R a

  32. ชั้นสมมูล (Equivalence Classes) ต่อ • ตัวอย่าง กำหนดให้ A = {0,1,2,3,4} และกำหนดความสัมพันธ์ R บนเซต A ดังนี้ R = {(0,0),(0,4),(1,1),(1,3),(2,2),(4,0),(3,3),(3,1),(4,4)} จงหาชั้นสมมูลของ R • วิธีทำ [0] = {x  A | xR0} = {0,4} (มีคู่อันดับ (0,0) , (4,0)) [1] = {x  A | xR1} = {1,3} (มีคู่อันดับ (1,1) , (3,1)) [2] = {x  A | xR2} = {2} (มีคู่อันดับ (2,2)) [3] = {x  A | xR3} = {1,3} (มีคู่อันดับ (1,3) , (3,3)) [4] = {x  A | xR4} = {0,4} (มีคู่อันดับ (0,4) , (4,4)) นั่นคือ [0] = [4] และ [1] = [3]

  33. ผลแบ่งกั้น (Partition) • ผลแบ่งกั้นของเซต S คือกลุ่มของเซตย่อย ที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ • ไม่ใช่เซตว่าง • แต่ละเซตย่อยมีสมาชิกต่างกัน • เมื่อนำเซตย่อยทั้งมารวมกัน (Union) จะเท่ากับเซต S • กำหนด S = {1,2,3} ผลแบ่งกั้นแต่ละแบบเป็นการแบ่งเซต S ออกเป็นส่วนย่อย (สับเซต) ดังภาพ 2 2 1 1 3 3

  34. ตัวอย่าง • กำหนดให้ S = {1,2,3} จงหาผลแบ่งกั้นทั้งหมดของ S วิธีทำ ผลแบ่งกั้นทั้งหมดของ S มีดังนี้ แบ่ง 1 ส่วน s1 = {{1,2,3}} แบ่ง 2 ส่วน s2 = {{1,2} , {3}} , s3 = {{1,3} , {2}} , s4 = {{1} , {2,3}} แบ่ง 3 ส่วน s5 = {{1} , {2} , {3}}

  35. ความสัมพันธ์ประกอบ (Composite Relation) • เป็นผลของการสร้างความสัมพันธ์ใหม่จากความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิม • กำหนดให้ A,B,C เป็นเซต R  A x B และ Q  B x C แล้ว Q  R เป็นความสัมพันธ์ประกอบจาก A ไป C • Q  R = {(x,z) | x  A, zCและมี y  B ซึ่ง xRyและ yRz} • เราอาจมองความสัมพันธ์ประกอบ Q  Rว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของเซต A และ C โดยมีสมาชิกของเซต B เป็นตัวเชื่อมระหว่างกลาง

  36. ตัวอย่าง • กำหนดให้ A = {1,2,3} , B = {1,2,3,4} และ C = {1,2} โดย R = {(1,1),(1,3),(2,1),(3,4)} และ Q = {(1,1),(3,1),(3,2)} จงหา Q  R วิธีทำ เราอาจใช้การวาดกราฟระบุทิศทาง เพื่อช่วยดูเส้นความสัมพันธ์ 1. .1 1. 2. .2 2. .1 3. .3 3. .2 .4 4. จากแผนภาพจะได้ว่า Q  R= {(1,1),(1,2),(2,1)}

  37. มีคำถามไหมค่ะ

More Related