1 / 85

ศาสนาเปรียบเทียบ

ศาสนาเปรียบเทียบ. ครูนัทธ พงศ์ เพชรส่งศรี กลุ่มสาระสังคมศึกษา. ศาสนาหลัก.

makara
Download Presentation

ศาสนาเปรียบเทียบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศาสนาเปรียบเทียบ ครูนัทธพงศ์ เพชรส่งศรี กลุ่มสาระสังคมศึกษา

  2. ศาสนาหลัก ศาสนาที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นศาสนาใหญ่ ๆ ของโลก ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนายูดาย ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาสิกข์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีศาสนิกชนจำนวนมากที่สุด และมีการนับถือปฏิบัติในส่วนต่าง ๆ ของโลกไม่เพียงแต่บริเวณที่เป็นจุดกำเนิดเท่านั้น ในเนื้อหานี้จะให้รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับศาสนาเหล่านี้เรียงตามลำดับเวลาแห่งการกำเนิดศาสนาเหล่านั้น

  3. ปฏิทินเวลาของศาสนา ในช่วงปี ค.ศ. 1582 เริ่มมีการใช้ปฏิทินแบบใหม่ในบางประเทศทางตะวันตกที่นับถือศาสนาคริสต์โดยองค์สันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 ปฏิทินใหม่ได้รับการยอมรับและใช้กันทั่วโลก ทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจลากรปกครองประเทศ รวมทั้งใช้ในคริสตจักรด้วย อย่างไรก็ตาม ศาสนาอื่นก็ใช้ปฏิทินแบบอื่นในการปฏิบัติศาสนกิจและการกำหนดวันสำคัญทางศาสนา ปฏิทินเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นแบบจันทรคติ โดยอิงกับระยะเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ดังนั้นจึงมีความแตกต่างกับปฏิทินแบบแรก เพราะปฏิทินแบบจันทรคติมีผลทำให้วันเวลาของวันสำคัญทางศาสนาไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัวทุกปี ในขณะที่ปฏิทินแบบแรกนั้นเป็นแบบสุริยคติโดยอิงกับระยะเวลาการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น วันสำคัญทางศาสนาคริสต์จึงตรงกันทุกปี ยกเว้นวัน อีสเตอร์เท่านั้นที่คิดแบบจันทรคติ

  4. วันเวลาในศาสนาและการใช้คำย่อวันเวลาในศาสนาและการใช้คำย่อ การนับวันเวลาช่วง BCE เป็นการนับเวลาย้อนหลังนับจากปีที่ 0 ดั้งนั้น ศตวรรษที่ 6 BCE จึงหมายถึงช่วงระหว่างปีที่ 599 ถึงปีที่ 500 และศตวรรษที่ 6 CE จึงหมายถึงช่วงระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 599 ถ้าเห็นวันเวลาที่ไม่มีคำว่า BCE หรือ CE ตามหลัง ขอให้เข้าใจว่าหมายถึง CE ซึ่งจะใส่ในกรณีที่อาจจะมีความสับสนได้ว่าเป็น BCE หรือ CE ช่วงเวลาที่เรียกว่ายุคกลาง จะนับจากปีที่ 1,000 ถึงปีที่ 1,500 CE ในบางครั้งอาจใช้คำย่อว่า c แทนคำว่าประมาณ ย่อมาจากคำว่า circa นักประวัติศาสตร์บางท่านใช้คำนี้ในกรณีที่การกำหนดวันเวลาในประวัติศาสตร์ยุคแรกของศาสนาไม่แน่ชัด

  5. วันเวลาในศาสนาและการใช้คำย่อวันเวลาในศาสนาและการใช้คำย่อ เราอาจเคยชินกับการกำหนดคำย่อในภาษาอังกฤษ เช่น BC และ AD คำว่า BC มาจากคำว่า Before Christ หรือ ก่อนคริสตกาล และ AD มาจากคำว่า Anno Domini หรือหลังพระเยซูประสูติ คำเหล่านี้ใช้เฉพาะในศาสนาคริสต์ ดังนั้น ในเนื้อหานี้จึงใช้คำว่า BCE (Before the Common Era = ก่อนยุคทั่วไป) แทนคำว่า BC และ CE (Common Era = ยุคทั่วไป) แทนคำว่า AD ซึ่งใช้ได้กับทุกศาสนา

  6. ความหมายของศาสนา ความหมายในภาษาไทย คำว่า “ศาสนา” แปลมาจากคำว่า สาสนํ ในภาษาบาลี, ศาสนํ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง “คำสั่งสอน” คำสั่งสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้น เป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงสุดของคนเท่านั้น ของสัตว์ไม่มี ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นสมบัติของคนถ้าคนไม่มีศาสนาก็เท่ากับไม่มีสมบัติของคนความหมายในภาษาอังกฤษ คำว่า “ศาสนา” ในภาษาไทย ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “religion” คำอังกฤษคำนี้มีผู้สันนิษฐานว่า มาจากภาษาลาติน “religio” และคำนี้ในภาษาลาติน ก็สันนิษฐานอีกว่ามาจาก 2 คำ คือ “relegere” ซึ่งแปลว่า “การปฏิบัติต่อ หรือการเกี่ยวข้องกับความระมัดระวัง” อย่างหนึ่ง, จากคำว่า “religare” ซึ่งแปลว่า “ผูกพัน”

  7. ศาสนาคืออะไร 1. คำสั่ง(บังคับให้ทำ) 2. คำสอน (แนะนำชักชวนให้ทำ) 3. คำสั่งสอน 4. ความเชื่อในอำนาจที่มองไม่เห็นด้วยตาบางอย่าง 5. หลักศีลธรรม 6. จุดหมายสูงสุดแห่งชีวิต 7. พิธีกรรมทางศาสนา

  8. มูลเหตุของการเกิดของศาสนามูลเหตุของการเกิดของศาสนา 1. เกิดจากความไม่รู้ ( อวิชชา ) 2. เกิดจากความกลัว 3. เกิดจากความจงรักภักดี 4. เกิดจากความอยากรู้เหตุผล ( ปัญญา ) 5. เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ 6. เกิดจากลัทธิการเมือง

  9. 1. เกิดจากความไม่รู้ ( อวิชชา ) ความไม่รู้ ได้แก่ ความไม่รู้เหตุรู้ผล เริ่มแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ทางดาราศาสตร์ ไม่รู้ชีววิทยา และไม่รู้จักธรรมชาติอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อมีความไม่รู้เหตุผลก็เกิดความกลัวในพลังทางธรรมชาติ ต้องการความช่วยเหลือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือตน จึงมีการส ร้ างขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อบูชาเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถช่วยให้มนุษย์มีความอยู่รอดไม่มีภัยต่อๆ ไป

  10. 2. เกิดจากความกลัว มนุษย์ จะอยู่ในโลกได้ต้องมีหน้าที่ คือ การต่อสู้กับธรรมชาติ และสู้สัตว์ร้ายนานาชนิด และโดยเฉพาะกับมนุษย์ด้วยกันเอง ยามใดที่เราสามารถเอาชนะธรรมชาติหรือคนได้ ความเกรงกลัวธรรมชาติ สัตว์ร้าย หรือมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ถ้าไม่สามารถต่อสู้ได้ มนุษย์จะเกิดความกลัวต่อสิ่งเหล่านั้น และในยามนั้นเอง ที่มนุษย์ต้องพากันกราบไหว้บูชา และแสดงความจงรักภักดี ทำพิธีสังเวยเซ่นไหว้ต่อธรรมชาติดังกล่าว ด้วยความหวังหรืออ้อนวอนขอให้สำเร็จตามความปรารถนาอันเป็นผลตอบแทนขึ้นมา เป็นความสุข ความปลอดภัย และอยู่ได้ในโลก

  11. 3. เกิดจากความจงรักภักดี เกิดจากความจงรักภักดี ความ จงรักภักดีเป็นศรัทธาครั้งแรกที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยยอมเชื่อว่า เป็นกำลังก่อให้เกิดความสำเร็จได้ทุกเมื่อ ในกลุ่มศาสนาที่นับถือพระเจ้า (ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม) มุ่งเอาความภักดีต่อพระเจ้าเป็นหลักใหญ่ในศาสนา ในกลุ่มชาวอารยันมี ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) มีคำสอนถึงภักติมรรค คือ ทางแห่งความภักดี อันจะยังบุคคลให้ถึงโมกษะ คือหลุดพ้นได้ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับว่าศรัทธา หรือความเชื่อ ความเลื่อมใสเท่านั้นที่จะพาข้ามโอฆสงสารได้ เมื่อเป็นดังนี้แสดงว่ามนุษย์ยอมตนให้อยู่ใต้อำนาจของธรรมชาติเหนือตน อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองซึ่งเรียกว่าเทพเจ้า หรือพระเจ้า อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดตามมาคือมนุษย์ยอมให้เครื่อง ซ่น สังเวยแก่ธรรมชาตินั้นๆ ด้วย ลักษณะนี้จึงเท่ากับมนุษย์เสียความเป็นใหญ่ในตน ยอมอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่ตนคิดว่ามีอำนาจเหนือตน

  12. 4. เกิดจากความอยากรู้เหตุผล ( ปัญญา ) ศรัทธา อันเกิดจากปัญญาคือมูลเหตุให้เกิดศาสนาอีกทางหนึ่ง แต่ศาสนาประเภทนี้มักเป็นฝ่ายอเทวนิยม คือไม่สอนเรื่องเทพเจ้าสร้างโลก ไม่ถือเทพเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนา หากแต่ถือความรู้ประจักษ์จริงเป็น สำคัญ เช่น พระพุทธศาสนา ความเน้นหนักของพระพุทธศาสนา คือ ญาณ หรือปัญญาชั้นสูงสุดที่ทำให้รู้แจ้งประจักษ์ความจริง และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

  13. 5. เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ ศาสนาหรือลัทธิที่เกิดจากความสำคัญของบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุก แห่งหน ที่มีเรื่องราว หรือความสำคัญของบุคคลที่อยู่ ณ ที่นั้น ความสำคัญของบุคคลที่เป็นเหตุเริ่มต้นของศาสนา หรือลัทธิ โดยมากมักมีเหตุเริ่มต้นโดยความบริสุทธิ์จากจิตใจของมนุษย์ ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครวางหลัก อีกทั้งเมื่อใครนับถือความสำคัญของบุคคลผู้ใดก็จะพากันกราบไหว้ และเคารพบูชา

  14. 6. เกิดจากลัทธิการเมือง ลัทธิ การเมืองอันเป็นมูลเหตุของศาสนาเป็นเรื่องสมัยใหม่ อันสืบเนื่องจากการที่ลัทธิการเมืองเฟื่องฟูขึ้นมา และลัทธิการเมืองนั้นได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อคน บ างกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มคนยากจน ซึ่งคนเหล่านั้นก็ได้ละทิ้งศาสนาเดิมที่ตนเองนับถืออยู่ แ ล้ วหันมานับถือลัทธิการเมืองดังกล่าวเป็นศาสนาประจำสังคม หรือชาตินิยมลัทธิการเมือง เป็นต้นว่า ลัทธินาซี ลัทธิฟาสซิสม์ และลัทธิคอมมิวนิสต์

  15. ประเภทของศาสนา ประเภทศาสนา มีวิธีการจัดแบ่งที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ได้แก่ 1. แบ่งประเภทตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า 2. แบ่งประเภทตามการที่มีผู้นับถืออยู่หรือไม่ 3. แบ่งประเภทตามการมีผู้นับถือเฉพาะชาติหรือหลายชาติ 4. แบ่งตามชื่อศาสนา

  16. 1. แบ่งประเภทตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า 1.1 เทวนิยม (Theism) นับถือพระเจ้า เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ สร้างโลกและสรรพสิ่งต่าง ๆ แบ่งเป็น ก . เอกเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ศาสนาสิข ศาสนาเต๋า ศาสนายูดาหรือยิว ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ข . พหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือพระเจ้าหลายองค์ และอาจผสมผสานกับการบูชาธรรมชาติ (Nature worship) ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาขง จื๊อ ศาสนาชินโต

  17. 1. แบ่งประเภทตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า 1.2 อเทวนิยม (Atheism) เป็นศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า คือไม่เชื่อหรือไม่สอนให้เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลกได้แก่ ศาสนาพุทธ และ เชนหรือนิครนถ์

  18. 2. แบ่งประเภทตามการที่มีผู้นับถืออยู่หรือไม่ 2.1 ศาสนาที่ตายไปแล้ว (Dead Religions) หมายถึง ศาสนาที่มีผู้นับถือในอดีตกาล แต่ในปัจจุบันไม่มีผู้นับถือ มี 12 ศาสนา ได้แก่ 1. ศาสนาของพวกกรีกโบราณ 2. ศาสนาของพวกติวตันโบราณ 3. ศาสนาของพวกโรมันโบราณ 4. ศาสนาของพวกสแกนดิเนเวียนโบราณ 5. ศาสนาของพวกเปรูโบราณ 6. ศาสนาของพวกเม็กซิกันโบราณ 7. ศาสนาของพวกอียิปต์โบราณ 8. ศาสนาของพวกบาบิโลเนียน 9. ศาสนาของพวกฟินิเชียน 10. ศาสนามนีกี 11. ศาสนามิถรา 12. ศาสนาของพวกฮิทไท

  19. 2. แบ่งประเภทตามการที่มีผู้นับถืออยู่หรือไม่ 2.2 ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living Religions) หมายถึง ศาสนาที่ยังมีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบัน มี 11 ศาสนา ได้แก่ 1. ศาสนาคริสต์ 2. ศาสนาอิสลาม 3. ศาสนาพุทธ 4. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู 5. ศาสนาโซโรอัสเตอร์ 6. ศาสนาเชน 7. ศาสนาซิกข์ 8. ศาสนาเต๋า 9. ศาสนาขงจื้อ 10. ศาสนาชินโต 11. ศาสนายิว

  20.  3. แบ่งประเภทตามการมีผู้นับถือเฉพาะชาติหรือหลายชาติ 3.1 ศาสนาของชาติ (National Religions) ได้แก่ ศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น และมีผู้นับถือภายในประเทศนั้น หรือชนชาตินั้น ได้แก่ 1 . ศาสนาชินโต มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติญี่ปุ่น 2. ศาสนาขงจื๊อ มีผู้นับถือเฉพาะชาวจีน 3. ศาสนาเต๋า มีผู้นับถือเฉพาะชาวจีน 4. ศาสนาศาสนาเชน มีผู้นับถือเฉพาะชาวอินเดีย 5. ศาสนาซิกข์ มีผู้นับถือเฉพาะชาวอินเดีย 6. ศาสนาหราหมณ์-ฮินดู มีผู้นับถือเฉพาะชาวอินเดีย 7. ศาสนายิวหรือยูดา มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติยิว 8. ศาสนาโซโร อั สเตอร์ เกิดในเปอร์เชียแต่ยังมีผู้นับถือประมาณ 1 แสนคนในอินเดีย

  21.  3. แบ่งประเภทตามการมีผู้นับถือเฉพาะชาติหรือหลายชาติ 3.2 ศาสนาของโลก (Universal Religions) คือ ศาสนาสากล คือ ศาสนาที่เกิดในแห่งหนึ่ง แต่มีผู้นับถืออีกหลายแห่งในประเทศอื่น ได้แก่ 1. ศาสนาคริสต์ 2. ศาสนาอิสลามหรือมหมัด 3. ศาสนาพุทธ

  22.  4. แบ่งตามชื่อศาสนา 4.1 ชื่อตามผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ตั้งชื่อตามท่านขงจื๊อ หรือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ตั้งชื่อตามท่านศาสดา โซโรอัสเตอร์ 4.2 ชื่อตามนามเกียรติยศของผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ คำว่าพุทธะ แปลว่า ท่านผู้รู้ ทั้ง ๆ ที่นามแท้จริงของพระพุทธเจ้าคือ สิทธัตถะ โคตมะ หรือศาสนาเชน คำว่า เชน มาจากคำว่า ชินะ แปลว่าผู้ชนะ ทั้งที่ชื่อจริงของผู้ตั้งศาสนาคือ วรฺธมานะ ศาสนาคริสต์ คำว่า คริสต์หรือ ไครสต์ ( Christ ) แปลว่าผู้ได้รับอภิเษก

  23.  4. แบ่งตามชื่อศาสนา 4.3 ชื่อตามหลักคำสอนในศาสนา ได้แก่ ศาสนาเต๋า คำว่า " เต๋า " แปลว่า ทาง (The Way) หรือทิพยมรรคา (The Divine Way) ศาสนาชินโต คำว่า " ชินโต " แปลว่า ทางแห่งเทพทั้งหลาย (The Way of the Gods) ศาสนาอิสลาม คือศาสนามหมัดนั่นเอง แต่นิยมเรียกว่าอิสลาม คำว่า อิสลาม แปลว่า ยอมจำนน หรือยอมอ่อนน้อม (ต่อพระเป็นเจ้า) ศาสนาสิข แปลว่า ศาสนาของสาวก ( The religion of “the Disciples” )

  24. องค์ประกอบของศาสนา   การพิจารณาว่าสิ่งใดจัดเป็นศาสนาหรือไม่นั้น โดยปกติจะพิจารณาจากองค์ประกอบของศาสนา คือ ระบบความเชื่อถือ หรือหลักคำสอนใดก็ตามที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ กับนับได้ว่าเป็นศาสนา ศาสดา คือผู้ตั้งศาสนา หรือผู้สอนดั้งเดิม คัมภีร์ศาสนา คือ ข้อความที่ท่องจำกันไว้ได้แล้ว ได้จดจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หลักคำสอน หรือ หลักธรรม รวมอยู่ในข้อนี้

  25. องค์ประกอบของศาสนา นักบวช คือผู้สืบต่อศาสนา หรือผู้แทนเป็นทางการของศาสนานั้นๆ ซึ่งมีข้อกำหนดคุณสมบัติไว้ต่างๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา วัด หรือ ศาสนสถาน คือที่ตั้งทางศาสนา หรือ ปูชนียสถาน คือสถานที่เคารพทางศาสนา เครื่องหมาย หรือสิ่งแทน , พิธีกรรม รวมทั้ง ปูชนียวัตถุ คือสิ่งที่พึงเคารพบูชา       แต่ละศาสนาไม่ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบครบหมดทุกข้อ แต่ การมีองค์ประกอบน้อยเกินไป ทำให้นักการศาสนา ไม่นิยมจัดว่าเป็นศาสนา แต่จัดเป็นเพียงลัทธิ หรือความเชื่อถือเท่านั้น

  26. ความสำคัญของศาสนา 1. ศาสนาทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนาล้วนมุ่งหวังให้ศาสนิกชนของตนเป็นคนดี และเมื่อศาสนิกชนเป็นคนดีแล้วสังคมก็ย่อมจะปราศจากความเดือดร้อน 2. ศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมจรรยา และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และหากบุคคลในสังคม 3. ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพราะศาสนิกชนสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามแบบอย่างของพระศาสดา หรือปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา 4. ศาสนาจะช่วยให้มนุษย์ทราบว่าสิ่งใดดีชั่ว ถูกผิด ตามมาตรฐานของศาสนานั้น ๆ และทราบถึงผลแห่งการกระทำนั้น ๆ เช่น คำสอนเรื่องหลักกรมในพระพุทธศาสนา ว่าทำดีได้ดี หรือทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

  27. ความสำคัญของศาสนา 5. ศาสนาเป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการ และถ่ายทอดวิทยาการ เนื่องจากจะเป็นแหล่งความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ และถ่ายทอดศาสตร์เหล่านั้นไปสู่มนุษย์ในสังคม ความรู้ทางการแพทย์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การช่าง การดนตรี และหัตถกรรม เป็นต้น 6. ศาสนาเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงในการปกครองประเทศ เช่น พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดมั่นและดำเนินนโยบายในการปกครองประเทศด้วยหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ 7. ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เมื่อ ปุถุชนเกิดความทุกข์ร้อนใจ กล่าวคือ เมื่อคนเราเกิดความทุกข์กายและใจก็ย่อมจะหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาคือการนำหลักธรรมทางศาสนาที่คนเคารพนับถือมา เป็นที่พึ่งทางใจ และนำหลักธรรมมาใช้เป็นแนวทางใน การแก้ไขปัญหา

  28. คำสั่งสอนที่ได้ชื่อว่าศาสนาคำสั่งสอนที่ได้ชื่อว่าศาสนา 1. เป็นคำสั่งสอนที่ประกอบด้วยความเชื่อถือ 2. เป็นคำสั่งสอนที่ว่าด้วยศีลธรรม จรรยา พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติตาม 3. เป็นคำสั่งสอนที่มีผู้ตั้งหรือผู้เป็นศาสดา รู้ได้ด้วยประวัติศาสตร์ 4. เป็นคำสั่งสอนที่มีผู้รับสืบทอดศาสนา หรือสาวก 5. เป็นคำสั่งสอนที่กวดขันในความจงรักภักดี นับถือศาสนานี้แล้วจะไปนับถือศาสนาอื่นอีกไม่ได้ 6. เป็นคำสั่งสอนที่กวดขันในความจงรักภักดี นับถือศาสนานี้แล้วจะไปนับถือศาสนาอื่นอีกไม่ได้ 7. เป็นคำสั่งสอนที่มีผู้นับถือ ( ศาสนิก ) มากพอสมควร

  29. ผลกระทบของศาสนา ศาสนาถือได้ว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อความเป็นไปของวัฒนธรรมของโลกในหลาย ๆ ที่ ศาสนายิ่งทวีความสำคัญในยุคนี้ ในประเทศอินเดีย ศาสนามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้คน ชาวฮินดูมักจะหยุดแวะขณะเดินทางเพื่อทำความเคารพบูชาเทวรูปตามถนนหนทาง

  30. ผลกระทบของศาสนา แม้แต่ในสังคมตะวันตกที่ประชาชนไม่ได้ผูกพันกับศาสนาใด ๆ ศาสนาก็ยังมีอิทธิพลไม่มากก็น้อย ตัวอย่างเช่น วันหยุดราชการส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเทศกาลของศาสนาคริสต์ และบางคนจะแสดงอาการไม่เห็นด้วยถ้าเห็นร้านค้าเปิดกิจการในวันอาทิตย์เพราะถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง แม้วันคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลในศาสนาคริสต์ก็ตาม แต่คนยุคนี้ก็เฉลิมฉลองงานนี้เหมือนกับว่าเป็นเทศกาลปกติ

  31. ผลกระทบของศาสนา 1. ศาสนาและรัฐ 2. อำนาจ 3. นักปฏิรูป 4. สงคราม 5. การข่มเหงอันเนื่องจากศาสนา 6. ลัทธิการแบ่งแยก 7. สตรี 8. การศึกษา 9. ศิลปะ 10. บทเพลงและการร่ายรำ 11. สถาปัตยกรรม 12. การเผยแพร่ศาสนา 13. นิกายและลัทธิ

  32. 1. ศาสนาและรัฐ ในอดีต สังคมไทยทั่วไปมีการจัดระเบียบตามครรลองของศาสนา คำว่าชนชั้นอำนาจ แปลความหมายได้ว่าการจัดแบ่งระดับของคนตามอำนาจจากสวรรค์ เช่น ในยุโรป ทั้งกษัตริย์และราชินีเป็นที่ยอมรับว่ามีอำนาจปกครองประเทศตาม “สิทธิของสวรรค์” เป็นผู้แทนพระเจ้าบนโลกในญี่ปุ่นถือกันว่าจักรพรรดิสืบเชื้อสายมาจากเทพธิดาพระอาทิตย์ชื่ออะมาเทราสุเป็นที่เคารพบูชาเรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ. 1946 เทพธิดาพระอาทิตย์ อะมาเทราสุ

  33. ในบางประเทศ เช่น อิหร่าน มีผู้นำศาสนาปกครองประเทศ และหลายประเทศที่มีศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านกฎหมายและการศึกษา เช่น อังกฤษมีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ และการประชุมนักเรียนในโรงเรียนของรัฐจะต้องมีช่วงเวลาประกอบพิธีกรรมด้วย ขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่มีศาสนาประจำชาติและไม่มีการเรียนวิชาศาสนาในโรงเรียนของรัฐ การประชุมนักเรียนในประเทศอังกฤษ

  34. 2. อำนาจ ในบางครั้งผู้นำศาสนาก็จะใช้อำนาจในทางที่ผิดเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เช่นเดียวกับผู้นำอื่น ๆ ถ้าผู้นำกล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้แทนจากเทพเจ้า ผู้คนก็มักจะเกิดความกลัวไม่กล้าท้าทายใด ๆ บางครั้งก็จะขู่ให้หวาดกลัวและเชื่อฟังเมื่อมีการกล่าวถึงชีวิตหลังความตาย อย่างเช่น ศาสนาคริสต์ในยุคกลางผู้นำศาสนาได้ฉวยประโยชน์จากความเชื่อของผู้คนโดยกล่าวว่า พวกเขาจะถูกพิพากษาลงโทษด้วยการถูกไฟนรกเผาชั่วกัลป์

  35. ในศาสนาคริสต์และอิสลาม วิญญาณชั่วหรือซาตานถือเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลที่ชั่วร้ายซึ่งคอยดึงคนให้ออกห่างจากทางสู่พระเจ้า (ผู้คนจะส่วนหน้ากากปีศาจในงานเทศกาลคริสเตียน ประเทศเม็กซิโก)

  36. 3. นักปฏิรูป ขณะที่มีการใช้อำนาจศาสนาในทางที่ผิด ยังมีความเคลื่อนไหวจากบุคคลต่าง ๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศาสนาในการพยายามปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มหาตมะ คานธี ได้รณรงค์ต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวผิวดำและคนยากจน และเพื่อนำประเทศอินเดียให้พ้นจากการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ โดยยึดหลักความเชื่อในศาสนาฮินดูอย่างเคร่งครัด คือมีเป้าหมายให้ได้รับชัยชนะโดยปราศจากความรุนแรง มหาตมะ คานธี

  37. มีงานสังคมสงเคราะห์จำนวนมากที่จัดขึ้นโดยกลุ่มคนที่นับถือศาสนาต่าง ๆ เพราะพวกเขารู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก องค์กรสาธารณประโยชน์ที่มีจุดเริ่มต้นจากความเชื่อทางศาสนา เช่น ออกซ์แฟมเป็นองค์กรในศาสนาคริสต์ หรือ มุสลิมเอด เป็นต้น องค์การทางศาสนาเหล่านี้มักได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่หวงห้ามสำหรับคนทั่วไป เช่น ในเขตสงคราม ในศาสนาอิสลามมีข้อบัญญัติไว้ว่าทุกคนต้องช่วยเหลือคนยากจนโดยบริจาคเงินส่วนหนึ่งให้ทุกปี เครื่องหมายขององค์กรมุสลิมเอด ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เคราะห์ร้ายจากความยากจนสงคราหรือภัยธรรมชาติ

  38. 4. สงคราม ผู้ปกครองประเทศมักชักจูงประชาชนให้ทำสงครามโดยอ้างความเชื่อทางศาสนาซึ่งเบื้องหลังอาจจะมีความละโมบในอำนาจทางการเมืองเพื่อตนเอง ตัวอย่างที่สะท้อนความจริงข้อนี้ ได้แก่ สงครามครูเสดในช่วงระหว่างปลายศตวรรษที่ 11 ถึงปลายศตวรรษที่ 13 ชาวยุโรปที่นับถือศาสนาคริสต์ได้พากันยกพลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยึดดินแดนปาเลสไตน์คืน (ปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล) ซึ่งเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นสถานที่ประสูติของพระเยซู แม้การยกพลครั้งนี้จะเรียกว่าการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ก็ตาม แต่ก็เป็นการทำสงครามจริง ๆ โดยการรุกรานชาวมุสลิมเชื้อสายเตอร์กซึ่งปกครองอยู่เหนือดินแดนในขณะนั้น

  39. บางศาสนาก็สอนว่า ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะสร้างความชอบธรรมในการทำสงคราม และศาสนิกชนก็ไม่ควรจับอาวุธเข้าห้ำหั่นกัน ความเชื่อในทำนองนี้เป็นการเน้นในเรื่องการสร้างความสงบในสังคม ศาสนาเชนมีคำสอนลักษณะนี้รวมทั้งบางนิกายในศาสนาพุทธและฮินดู รวมทั้งกลุ่มต่าง ๆ ในศาสนาคริสต์ เช่น กลุ่มเควกเกอร์ และกลุ่มพยานพระยะโฮวาห์ เป็นต้น ชาวคริสต์ (ด้านซ้าย) และชาวมุสลิม (ด้านขวา) กำลังต่อสู้กันในระหว่างสงครามครูเสด

  40. 5. การข่มเหงอันเนื่องจากศาสนา ศาสนาใดที่มีจำนวนศาสนิกชนน้อยและไม่ค่อยมีอิทธิพลในสังคม มักจะถูกคนส่วนใหญ่ในสังคม มักจะถูกคนส่วนใหญ่ในสังคมข่มเหงและเย้ยหยันต่อความเชื่อนั้น ทั้งที่ยังไม่เข้าใจความจริงในศาสนานั้น รวมทั้งพยายามจะทำให้คนที่นับถือศาสนานั้นต้องตกเป็นแพะรับบาปต่อความผิดพลาดต่าง ๆ ในสังคม ทัศนคติแบบนี้เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจปกครองนิยมชมชอบ เพราะช่วยเลี่ยงการถูกประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดของตนได้ ที่สำคัญก็คือ อคติทางศาสนามักมีส่วนเกี่ยวพันกับลัทธิเหยียดสีผิวด้วย

  41. อย่างเช่นชาวยิวที่กระจัดกระจายไปทั่วยุโรปในยุคกลางนั้น กลับกลายเป็นเหยื่อของความอคติในสังคม พวกเขาถูกทารุณข่มเหงเรื่อยมาจนถึงการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ที่โหดร้ายที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวชาวรัสเซียที่เป็นชาวยิวถูกขับไล่ออกจากบ้านเกิดในศตวรรษที่ 19

  42. 6. ลัทธิการแบ่งแยก ศาสนิกชนบางกลุ่มนั้นต้องการอยู่แยกจากคนอื่นเท่าที่เป็นไปได้เพื่อรักษาไว้ซึ่งจารีตประเพณีของตนที่อาจมีสาเหตุมาจากกฎข้อบังคับ การดำเนินชีวิตบางประการที่มีรากฐานมาจากข้อบัญญัติทางศาสนา หรือความรู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะการถูกข่มเหงในสังคมก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น ชาวอามิช เป็นกลุ่มคริสต์ศาสนิกชน ที่มีถิ่นพำนักในทวีปอเมริกาเหนือ ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายภายใต้กฎเกณฑ์อันเข้มงวด ชุมชนนี้แยกตัวออกจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง และปฏิเสธการใช้วิทยาการสมัยใหม่ทั้งหลาย เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย

  43. ศาสนาส่วนใหญ่มักมุ่งแยกการดำเนินชีวิตบางด้านออกจากสังคมภายนอก เช่น ต้องการให้คนในศาสนาแต่งงานกันเอง ชาวอามิชปฏิเสธที่จะใช้รถยนต์

  44. 7. สตรี บทบาทของสตรีในศาสนาต่าง ๆ ยังเป็นข้อถกเถียงในทุกวันนี้ ในอดีตหลาย ๆ ศาสนาไม่ให้การยอมรับ ซ้ำยังกีดกันสตรีออกจากการปฏิบัติทางศาสนา ที่เป็นเช่นนี้เพราะในช่วงที่ศาสนาต่าง ๆ ก่อกำเนิดขึ้น พระเจ้ามักจะเข้าใจว่าเป็นเพศชาย โดยเฉพาะตามความเชื่อในศาสนายูดาย คริสต์ และอิสลาม

  45. สังคมยุคนั้นก็ไม่ยอมรับสถานภาพของสตรีอยู่แล้ว ในปัจจุบันแม้หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมยังคงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะเชื่อกันว่าธรรมเนียมปฏิบัติบางอย่างได้รับการกำหนดจากพระเจ้า เช่น ประเทศซาอุดีอาระเบีย ถือว่าเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ได้ออกกฎห้ามสตรีขับรถ ซึ่งความเป็นจริงแล้วบัญญัติศาสนามิได้มีกฎข้อห้ามเช่นนี้ เพราะว่าในช่วงที่มีการบันทึกข้อบัญญัตินั้นยังไม่ได้มีการคิดประดิษฐ์รถยนต์ขึ้นมา

  46. 8. การศึกษา เกือบทุก ๆ ศาสนามักให้ความสำคัญในการให้การศึกษาแก่ศาสนิกชน และถือว่าเป็นภาระหน้าที่ต้องส่งเสริมการเรียนรู้ในสังคม ในอดีตนั้นประชาชนได้รับการสอนให้อ่านออกเขียนได้โดยผู้นำศาสนา เพื่อจะได้ศึกษาข้อบัญญัติศาสนาได้ เด็กชาวมุสลิมกำลังศึกษาคัมภีร์ในประทศมอริเตเนียในแอฟริกาตะวันตก

  47. บางครั้งความรู้บางอย่างอาจทำให้ผู้คนสูญเสียความศรัทธาในศาสนาได้ เช่นในศตวรรษที่ 17 กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนได้สนับสนุนการค้นพบที่ว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์บรรดาผู้มีอำนาจทางศาสนาคริสต์ในยุคนั้นจึงบีบบังคับให้เขาปฏิเสธคำพูดเหล่านั้นมิฉะนั้นจะถูกลงโทษ เพราะกลัวว่าถ้าหากประชาชนรู้ว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลดังที่กล่าวในคัมภีร์ไบเบิลจะทำให้สูญเสียความศรัทธาได้ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล

  48. 9. ศิลปะ ความเชื่อในศาสนาเป็นสิ่งที่เข้าใจยากและเป็นนามธรรม ผู้คนจึงพยามผลักดันความเชื่อ ความรู้สึกส่วนตัว และแรงบันดาลใจออกมาในรูปของงานศิลปะ ในปัจจุบันมีงานศิลปะหลายชิ้นที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ผลิตขึ้นมาเพื่อส่งเสริมความเชื่อทางศาสนา โดยผู้ผลิตงานมักได้รับเงินค่าจ้างจากผู้นำศาสนา อย่างไรก็ตามก่อนที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาจนสามารถอ่านหนังสืออกนั้น ทั้งภาพวาดและงานประติมากรรมต่างก็เป็นวิถีทางในการสอนหลักความเชื่อในศาสนาทั้งสิ้น ภาพเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติ

  49. 10. บทเพลงและการร่ายรำ หลาย ๆ ศาสนามีคำสอนว่า การแสดงความสักการบูชาที่ดีที่สุด คือการที่ให้คนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ สิ่งนี้จึงนำไปสู่การประพันธ์และบรรเลงเพลง รวมทั้งการร่ายรำต่าง ๆ ทางศาสนา พระชาวธิเบตเป่าแตรในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง

  50. เพลงมีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศให้ผู้คนได้รู้สึกและแสดงออกไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกนับถือหรือความปีติ ทั้งบทเพลงและการร่ายรำช่วยเล่าเรื่องราว และนำเข้าสู่การบำเพ็ญสมาธิโดยใช้เสียงหรือการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะซ้ำไปซ้ำมา อย่างไรก็ตาม ในบางศาสนาก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้เพลงและการร่ายรำเพราะคิดว่าความรู้สึกที่สุขสบายแบบนั้นเป็นการดึงจิตใจให้ออกห่างจากสภาพทางจิตวิญญาณ การร่ายรำในศาสนาฮินดูเป็นการบอกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับเทพเจ้าผู้ร่ายรำจะแสดงท่าทางต่าง ๆ เรียกว่ามุดราสเพื่อสื่อความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

More Related