1 / 39

คุณแม่ทำงาน จะให้นมแม่ได้อย่างไร ?

คุณแม่ทำงาน จะให้นมแม่ได้อย่างไร ?. คุณแม่ทำงาน กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ภาระหน้าที่ : - - งานที่ทำงาน - งานบ้าน - การ เลี้ยงลูก - การ ให้นมแม่. ส่วนใหญ่การวางแผนและตัดสินใจเลี้ยงลูก เมื่อต้องไปทำงาน มักเริ่มตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์.

manton
Download Presentation

คุณแม่ทำงาน จะให้นมแม่ได้อย่างไร ?

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คุณแม่ทำงาน จะให้นมแม่ได้อย่างไร ?

  2. คุณแม่ทำงาน กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภาระหน้าที่ : - - งานที่ทำงาน - งานบ้าน - การเลี้ยงลูก - การให้นมแม่ ส่วนใหญ่การวางแผนและตัดสินใจเลี้ยงลูก เมื่อต้องไปทำงาน มักเริ่มตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์

  3. สิ่งที่ทำให้แม่ตัดสินใจไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (1) 1.ความกังวลเรื่องการหาคนเลี้ยงลูกที่ไว้ใจได้ 2. เข้าใจว่าการทำงานจะสร้างรายได้แก่ครอบครัวมากกว่าการเลี้ยงลูก 3. ไม่สามารถประเมินผลดี - ผลเสียระหว่างการให้นมแม่และการออกทำงานนอกบ้าน 4.มีปัญหาด้านการเงิน 5.ไม่ทราบว่าสามารถบีบนมเก็บได้

  4. สิ่งที่ทำให้แม่ตัดสินใจไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (2) 6. รู้สึกว่าการให้นมแม่เป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา 7. เกรงว่าน้ำนมจะไหลเลอะเทอะ เสียบุคลิก 8. ขาดการสนับสนุนจากคนในครอบครัว 9. ย่า / ยาย อยากได้หลานไปเลี้ยง 10. เกรงว่าการเลี้ยงลูกจะทำให้เสียโอกาสและไม่มีเวลาเข้า ร่วมสังคมกับคนอื่น 11. เกรงว่าทรวดทรงจะเสีย

  5. ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาของการให้นมลูก (1) • การให้นมผสมร่วมระหว่างให้นมแม่ โอกาสเกิด nipple confusion สูง โดยเฉพาะถ้าให้ก่อน 4 wk • ระยะเวลาที่แม่ได้ลาพักคลอด แม่ที่ไปทำงานก่อน 2 เดือนจะมีปัญหามากกว่า • จำนวนชั่วโมงต่อวันที่แม่ต้องทำงาน ถ้าทำงาน < 20 ชม. / สัปดาห์ จะให้นมแม่ได้นานกว่า • ตำแหน่ง ลักษณะงานของแม่ professional จะให้นมแม่ได้นานกว่า technical / sales ลักษณะงานที่ยืดหยุ่นกว่าจะทำได้ดีกว่า

  6. ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาของการให้นมลูก (2) • ระยะทางระหว่างบ้านและที่ทำงาน ถ้าที่ทำงานใกล้บ้านมากกว่า สามารถให้ feeding on demand ได้มากกว่า • การบีบนมเก็บ แม่ที่บีบน้ำนมเก็บเวลาไม่อยู่บ้าน จะให้นมได้นานกว่า • ถ้าให้นมผสมร่วม หรือลดการให้ลูกดูดนมเหลือ 1-2 มื้อ/วัน จะหยุดให้นมเร็วกว่า • การสนับสนุนจากคนในครอบครัวและที่ทำงาน

  7. หนูอยากอยู่กับแม่ อย่าส่งหนูไปอยู่กับยายเลยนะคะ

  8. ระยะเวลาลาพักหลังคลอดของแม่ระยะเวลาลาพักหลังคลอดของแม่ ผู้ที่ทำงานราชการ หรือ ทำงานเอกชนตามบริษัทจะได้หยุดงานต่างกัน • แม่ที่เป็นข้าราชการมีสิทธิหยุดงานหลังคลอดโดยได้รับเงินเดือนเต็ม 90 วัน และยังมีสิทธิลาต่อโดยไม่รับเงินเดือนได้อีก 150 วัน รวมแล้วแม่มีสิทธิ์ลาเพื่อให้สิ่งที่ดีกับลูกถึง 240 วันหรือ 8 เดือน • แม่ที่ทำงานเป็นลูกจ้างนั้น ตามกฎหมายแรงงานมีสิทธิหยุดงานลาคลอดโดยได้รับเงินเดือนเต็ม 3 เดือน โดยได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง 45 วัน และจากสำนักงานประกันสังคม 45 วัน

  9. สิ่งที่แม่ควรรู้เพื่อการตัดสินใจ (1) • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะทำให้ลูกฉลาดและพัฒนาการดีกว่า ยิ่งกินได้นานโดยไม่มีนมผงร่วมด้วย จะยิ่งดีกว่า • ทำให้แม่ - ลูกรู้สึกใกล้ชิดกันแม้จะอยู่ห่างกัน • นมแม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อแก่ลูก ลูกไม่ป่วยบ่อย แม่จะลางานน้อยลง มีรายได้มากขึ้น

  10. สิ่งที่แม่ควรรู้เพื่อการตัดสินใจ (2) • นมแม่ช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ • นมแม่ มีสารอาหารครบถ้วน มีคุณค่าทางอาหารที่ดีกว่า • ค่าใช้จ่ายในระยะยาวของการใช้นมผสม • ภาระการบีบนมจะลดลงเมื่อลูกเริ่มอาหารเสริม

  11. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีต่อนายจ้างอย่างไรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีต่อนายจ้างอย่างไร • แม่จะลาหยุดน้อยกว่า สร้างผลผลิตได้มากขึ้น • ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษา (กรณีที่เบิกได้ ) จะลดลง • สร้างความพึงพอใจต่อลูกจ้าง ให้มีความศรัทธา และซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง • ลูกจ้างเปลี่ยนงานน้อยลง • สร้างภาพพจน์ที่ดีต่อนายจ้าง ( ด้านมนุษยธรรม ) • แม่ที่มั่นใจจะกลับไปทำงานเร็วขึ้น

  12. การเตรียมตัวก่อนไปทำงานการเตรียมตัวก่อนไปทำงาน

  13. การเตรียมตัวขณะลาคลอดการเตรียมตัวขณะลาคลอด 1. ให้ลูกกินนมแม่ได้ดีและบ่อยๆ โดยเฉพาะ 2 เดือนแรก หลังคลอด เพื่อเพิ่มการสร้างน้ำนม 2. ไม่ให้นมผสม / ดูดจุกนมเพื่อหวังให้ลูกชิน 3. ฝึกบีบนมให้คล่องตั้งแต่ต้น 4. เมื่อให้นมแม่ได้ดีแล้ว เริ่มเก็บนมบีบในตู้แช่แข็ง (เก็บล่วงหน้า 2 สัปดาห์-3 เดือน ขึ้นกับชนิดตู้เย็นที่มี) 5. ฝึกคนเลี้ยงให้ cup feeding เป็น

  14. วางแผนการให้นมลูกเมื่อต้องไปทำงาน (1) 1. ลาหยุดให้ได้นาน ( ถ้าทำได้ ) 2. ขอทำงานเป็นห้วงเวลา ( ถ้าทำได้ ) 3. พาลูกไปที่ทำงานด้วย ( ถ้าทำได้ ) 4. ถ้ามีห้องเลี้ยงเด็กในที่ทำงาน ให้นมลูกช่วงพักหรือ เวลาเที่ยง 5. ให้คนพาลูกไปหาในที่ทำงาน ( ถ้าทำได้ )

  15. วางแผนการให้นมลูกเมื่อต้องไปทำงาน (2) 6. หาที่รับเลี้ยงเด็กใกล้ที่ทำงาน 7. บีบนมเก็บในที่ทำงาน เก็บไว้วันรุ่งขึ้น 8. ให้กินนมบีบในวันทำงาน ดูดนมแม่ในวันหยุด 9. ให้ลูกดูดนมมากและบ่อยกลางคืน กินน้อยช่วงกลางวัน 10. ถ้าบีบนมเก็บที่ที่ทำงานไม่ได้ ให้บีบทิ้ง

  16. วางแผนการให้นมลูกเมื่อต้องไปทำงาน (3) 11. ถ้าบีบนมเก็บที่ที่ทำงานไม่ได้เลย ให้บีบแต่ที่บ้าน โดยบีบหลังจากลูกกินอิ่ม หรือขณะลูกดูดนม โดยบีบอีกข้างหนึ่งเก็บไว้ 12. ถ้าทำไม่ได้ ให้ลูกดูดนมมากที่สุดเท่าที่ทำได้ 13. หาวิธีอะไรก็ได้ที่เหมาะกับคุณและครอบครัว 14. จัดให้มีคนช่วยเหลือทำงานบ้าน (คุณพ่อ***)

  17. เมื่อไปทำงานนอกบ้าน 1. ให้ลูกดูดนมแม่ทันทีที่แม่ตื่นนอน 2. ก่อนไปทำงานให้ลูกดูดอีกครั้งหรือบีบนมเก็บ 3. เมื่ออยู่ที่ทำงาน บีบนมเก็บอย่างน้อยทุก 3 ชั่วโมง (ถ้ามีเวลาน้อย อาจใช้สูตร 5-15-5 เวลาสาย & บ่าย บีบนมนาน 5 นาที เพื่อป้องกันนมคัด ช่วงพักกลางวัน บีบนาน15-20 นาทีเพื่อเก็บ ) เมื่อลูกโตขึ้น อาจลดเหลือ 2 ครั้ง/วัน --> 1ครั้ง/วัน 4. ช่วงที่แม่ไม่อยู่ ให้คนเลี้ยงป้อนนมบีบด้วยแก้ว 5. กลางคืน หรือขณะอยู่บ้าน ให้ลูกดูดนมแม่ตลอด

  18. การเตรียมตัวก่อนบีบน้ำนมการเตรียมตัวก่อนบีบน้ำนม • หาบริเวณที่สงบ เป็นส่วนตัว • ทำใจให้สบาย ไม่เป็นกังวล • ล้างมือให้สะอาด • นั่งในท่าสบาย ๆ • นึกถึงลูก หรืออาจนำรูปของลูกขึ้นมาดู เพื่อการกระตุ้นน้ำนม • ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง นวดคลึงเต้านมเบาๆ

  19. การบีบ และเก็บน้ำนม (1) 1. บีบน้ำนมทิ้ง 3 ครั้ง 2. บีบนมเก็บในภาชนะสะอาด มีฝาปิดมิดชิด อาจเป็นแก้ว หรือพลาสติกแข็งซึ่งสามารถต้มในน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้ ไม่ควรใช้ภาชนะโลหะ เนื่องจาก Wbc จะเกาะ ทำให้ได้ ภูมิต้านทานจากน้ำนมลดลง 3. แบ่งเก็บในปริมาณที่ลูกต้องการแต่ละมื้อ

  20. การบีบ และเก็บน้ำนม (2) 4. ปิดภาชนะให้มิดชิด บันทึกวันที่ เวลาที่เก็บไว้ข้างภาชนะ แช่ตู้เย็นทันที ในบริเวณที่เย็นที่สุด อย่าเก็บที่ประตูตู้เย็น เนื่องจากความเย็นจะไม่คงที่ 5. นมที่ยังไม่ใช้ใน 2 วัน ควรเก็บในช่องแช่แข็ง 6. นมที่ละลายหลังแช่แข็งแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก 7. การเก็บในที่ทำงาน ถ้าไม่มีตู้เย็น ให้เก็บในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา 8. เมื่อจะนำกลับบ้าน ต้องแช่ในกระติกน้ำแข็ง

  21. วิธีบีบน้ำนมเก็บ (1) 1. การบีบจะใช้มือข้างไหนก็ได้ ที่แม่ถนัด 2. วางนิ้วหัวแม่มือไว้ที่ด้านบน ของเต้านม และนิ้วชี้ด้านตรงข้าม บริเวณขอบนอกของลานนม ห่าง จากฐานหัวนมประมาณ 3 ซม ไม่วางนิ้วที่หัวนมจะทำให้น้ำนม ไม่ไหล เพราะไปกดท่อรูเปิด

  22. วิธีบีบน้ำนมเก็บ (2) 3. กดนิ้วมือทั้งสองเข้าหน้าอกให้เต้านมบุ๋ม บีบนิ้วเข้าหากัน น้ำนมจะพุ่งออกมา นำ ขวดแก้ว หรือ ถ้วยรองรับน้ำนม เมื่อ น้ำนมไหล ให้ผ่อนนิ้วได้ 4. กด บีบ คลาย เป็นจังหวะ ~1- 2 วินาที / ครั้ง น้ำนมจะไหลพุ่ง บีบเป็นจังหวะจน น้ำนมน้อยลงจึงค่อยๆเลื่อนนิ้วทั้งสอง ไปรอบๆลานนม แต่ละเต้าใช้เวลา ~15 นาที น้ำนมจะเริ่มไหลช้าลง ให้ย้าย ไปที่เต้านมอีกข้าหนึ่ง 5. ให้บีบนมสลับไปมาทั้งสองเต้า เต้าละ ~ 15 นาที จนครบ 30 นาที

  23. วิธีบีบน้ำนมเก็บ (3)

  24. การเก็บน้ำนมที่บีบ นมแม่ อุณหภูมิห้อง ตู้เย็น ช่องแช่แข็ง • นมที่บีบเก็บใหม่ๆ 1 hr.* 1 - 2 d. 2 wk.( ตู้เย็นประตูเดียว ) ในภาชนะที่ปิด (4 - 6 hr.? ) 3 mo. ( ตู้เย็น 2 ประตู ) 6 - 12 mo.( < -19๐ C ) • นมที่ละลายหลังแช่แข็ง < / = 4 hr. 24 hr. ไม่ควรแช่แข็งอีก แต่ยังไม่ได้อุ่นหรือใช้ ( เช่นสำหรับมื้อต่อไป ) • ละลายนอกตู้เย็น ชั่วเวลากิน 1 มื้อ 4 hr. ไม่ควรแช่แข็งอีก +/- ในน้ำอุ่น • นมที่ได้กินบ้างแล้ว ชั่วเวลากิน 1 มื้อ ทิ้ง ทิ้ง (* Wellstart )

  25. การเก็บน้ำนมในกรณีที่ไม่มีตู้เย็นการเก็บน้ำนมในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น • ทันทีหลังแม่ตื่นนอนให้ลูกนมแม่ก่อน 1 มื้อ • กะเวลาก่อนออกเดินทางไปทำงานนอกบ้าน ½ ชม.ให้แม่บีบนมแม่เก็บใส่ขวดแก้วมีฝาปิดมิดชิด ตั้งไว้ในที่เย็นที่สุดในบ้าน หรือใส่ในกระติกน้ำแข็ง เพือเก็บไว้ให้ลูกได้ดื่มกิน 1-2 มื้อ • แม่ที่ฝึกบีบนมแม่อย่างดีจะสามารถบีบนมหลังลูกดูดอิ่มแล้ว 400-500 ซีซี หรือ ประมาณ 2 ถ้วย

  26. การประมาณจำนวนนมต่อมื้อการประมาณจำนวนนมต่อมื้อ • ปกติ เด็กจะกินนม 150 ซีซี / น้ำหนัก 1 กก / วัน • ถ้าเด็กหนัก 6 กก กินนมทุก 2- 3 ชม = กินวันละ 10 มื้อ • จำนวนนมที่จะกินนมทั้งหมด 150x6=900 ซีซี • ถ้าเด็กกิน10 มื้อ = กินนมมื้อละ 90 ซีซี • ฉะนั้นควรเตรียมนมเพื่อป้อนให้เด็ก ประมาณ 90-100 ซีซี จะได้ไม่เหลือนมต้องทิ้งไปถ้าเด็กดื่มไม่หมด

  27. การนำน้ำนมที่เก็บไว้มาใช้การนำน้ำนมที่เก็บไว้มาใช้ • นมในชั้นใต้ช่องแช่แข็ง ใช้นมใหม่ที่สุดก่อน เมื่อจะใช้ ให้วางไว้นอกตู้เย็นเพื่อให้หายเย็น ถ้ารีบ ให้แช่น้ำอุ่น ( ไม่อุ่นบนเตา หรือเข้าไมโครเวฟ เพราะจะสูญเสียภูมิต้านทานในน้ำนมแม่ ) • นมในช่องแช่แข็ง ใช้นมเก่าก่อน เมื่อจะใช้ ให้ย้ายลงมาไว้ที่ชั้นใต้ช่องแช่แข็งให้ละลายก่อน • นมที่กินไม่หมด ให้เททิ้ง ไม่เก็บไว้กินต่อ จึงควรเก็บน้ำนมลงในขวดเท่าที่ลูกต้องการกินในแต่ละมื้อ

  28. การ ป้องกันไม่ให้น้ำนมลดลง • ควรให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ดูดอย่างถูกวิธี หรือบีบน้ำนมออกทุก 3-4 ชั่วโมง อย่าปล่อยให้น้ำนมค้างไว้ในเต้าเกิน 3 ชั่วโมง

  29. ทำความสะอาดง่าย รู้สึกสบาย ขณะใช้ ใช้ง่าย ประสิทธิภาพดี ปั๊มนมออก ได้มากโดยใช้เวลาน้อย ค่าใช้จ่ายอื่นไม่สูง :ไม่กินไฟ, แบตเตอรี่ มีเอกสารแนะนำวิธีใช้ที่ ชัดเจน เข้าใจง่าย มีอาหลั่ย กรณีชำรุดบางส่วน ไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งชุด ชนิดปั๊มได้ครั้งละ 2 ข้าง จะสะดวกกว่า ( แต่ราคาแพงกว่า ) ข้อมูลจากผู้ที่เคยใช้ไม่มีปัญหา กรณีต้องการใช้เครื่องปั๊มนม ในการเลือกซื้อควรพิจารณาคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  30. อุปกรณ์ปั๊มนม

  31. การฝึกเด็กที่ไม่กินนมขวดการฝึกเด็กที่ไม่กินนมขวด • ใช้ในกรณีที่เด็กดูดนมแม่ได้เก่งแล้ว ( หลังจาก 1 เดือน ) • ใช้ในกรณีที่ผู้เลี้ยงฝึก cup feeding ไม่ได้ 1. ให้ผู้อื่นป้อนแทนแม่ 2. แม่ต้องไม่ปรากฏตัวขณะป้อนนม 3. ให้อยู่ในบรรยากาศสงบ อาจนั่งเก้าอี้โยก เปิดเพลงเบาๆ 4. อุ้มเด็กในท่าเดียวกับที่แม่อุ้มให้นม 5. ใช้จุกนมที่นิ่ม ควรใช้ขวดขนาดเล็กก่อนในช่วงที่เริ่มให้นมขวด 6. ควรใช้นมแม่ที่บีบเก็บไว้ โดยช่วงแรกควรใช้นมแม่ที่อุ่นก่อนเพื่อไม่ให้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง

  32. นายจ้างจะช่วยสนับสนุนได้อย่างไรนายจ้างจะช่วยสนับสนุนได้อย่างไร • จัดให้มี • - Day Care • - Breastfeeding Corner • - ตู้เย็นเก็บน้ำนม + ที่ปั๊ม • - Breastfeeding break ให้แม่มีเวลาบีบนมเก็บ

  33. สิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยเหลือแม่ได้สิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยเหลือแม่ได้ • ANC : - อธิบายให้แม่ + ญาติ เข้าใจถึงทางเลือก - counseling และร่วมวางแผนกับแม่ แนะนำการใช้ support bra • LR : Early suckling เพื่อเพิ่ม milk supply • PP : - สอนท่าให้นม ป้องกัน complication เพื่อให้แม่มีความรู้สึกที่ดีและมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - counseling และทบทวนการวางแผนกับแม่ - สอนการบีบนม การเก็บ การนำนมที่แช่เก็บไว้มาใช้ ฝึกทักษะ - สอนแม่ และผู้ที่จะช่วยเลี้ยงให้ cup feeding เป็น

  34. ขอบคุณครับ

  35. References :- 1. “ เมื่อแม่ไปทำงาน ลูกกินนมแม่ได้ ” สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย 2547 2. “ แม่ไปทำงาน หนูก็กินนมแม่ได้ ” คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศิริราช 3. “ คุณแม่ทำงาน จะเลี้ยงลูกอย่างไรดี ” โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 4. Lawrence RA, Lawrence RM. Breasfeeding. A guide for the medical profession.5th ed. St.Louis: Mosby, 1999. 5. Mohrbacher N, Stock J. Employment and breastfeeding. In :The breastfeeding answer book. Revised edition. Illinois :La Leche League International,1997: 195-219.

  36. References :- 6. Newman J, Pitman T. Breastfeeding and mother-baby separation. In:The ultimate breastfeeding book of answers.1st ed.California : Prima Publishing,2000:395-406. 7. Riordan J, Auerbach G. Maternal employment and breastfeeding. In : Breastfeeding and human lactation. Boston: Jones and Bartlett Publishers,1993:401-17. 8. Noble S and the ALSPAC Study Team. Maternal employment and the initiation of breastfeeding. Acta Paediar 2001;90:423-8. 9. Williamson MT, Murti P. Effects of storage, time, temperature, and composition of containers on biologic components of human milk. J Hum Lact 1996;12(1):31-5.

More Related