1 / 105

กลุ่มโรคติดต่อ นำโดยแมลง

กลุ่มโรคติดต่อ นำโดยแมลง. อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. อาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออก. หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค. ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ. 1. ไข้สูงลอย 2-7 วัน อาจสูง 40-41 C บางรายอาจชักได้

marrim
Download Presentation

กลุ่มโรคติดต่อ นำโดยแมลง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลงกลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลง อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์

  2. อาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออกอาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออก หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ 1.ไข้สูงลอย 2-7 วัน อาจสูง 40-41 C บางรายอาจชักได้ 2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง พบบ่อยที่สุดคือที่ผิวหนังอาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน 3. มีตับโต กดเจ็บ 4. มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลว/ภาวะช็อกหากว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาช็อกอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

  3. การตรวจทูนิเกต์ (การวัดความดัน และรัดแขนไว้ 5นาที) = 5 นาที Systolic + Diastolic 2 การตรวจคัดกรองเพื่อการวินิจฉัย

  4. การตรวจทูนิเกต์ให้ผลบวก  10จุด/ ตารางนิ้ว ความถูกต้อง 63%

  5. รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ? การวินิจฉัยอาศัยอาการทางคลินิกร่วมกับผลการตรวจทางโลหิตวิทยา 1. ไข้สูงเฉียบพลัน และสูงลอย 2 - 7 วัน 2. อาการเลือดออกอย่างน้อย tourniquet test ให้ผลบวกร่วมกับ อาการเลือดออกอื่น 3. ปริมาณเกล็ดเลือด 100,000 เซลล์ / ลบ.มม. หรือนับจำนวน เกล็ดเลือดใน 10 oil field ค่าเฉลี่ย 3 per oil fied 4. ความเข็มข้นของเม็ดเลือดแดง (Hct) เพิ่มขึ้น เท่ากับหรือ มากกว่า 20 % เมื่อเทียบกับHctเดิม การส่งตัวอย่างน้ำเหลือง (Serology) เพื่อตรวจยืนยันโรคไข้เลือดออก ควรส่งเมื่อผู้ป่วยมีอาการรวมทั้งผลการตรวจโลหิตวิทยาไม่ชัดเจน หรือผู้ป่วยมีอาการลักษณะแปลกออกไป (Unusual manifestation) เช่น อาการทางสมอง ทางตับ

  6. การดูแลรักษาผู้ป่วย มีหลักปฏิบัติดังนี้ 1. ในระยะไข้สูงให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกร็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรจะใช้การเช็ดตัวช่วยลดไข้ด้วย 2. ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำ และเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือ สารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนให้ดื่มครั้งละน้อยๆ และดื่มบ่อยๆ 3. จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา

  7. Convalescent rash

  8. ขณะนี้ยัง ไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออก และวัคซีนป้องกันกำลังอยู่ในระหว่างศึกษาทดลอง การรักษาโรคนี้เป็นแบบการรักษาตามอาการและประคับประคอง

  9. ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก ยุงลายเป็นแมลงจำพวกหนึ่ง ในประเทศไทยมียุงลายมากกว่า 100 ชนิด แต่ที่เป็นพาหะ นำโรคไข้เลือดออกมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะหลัก และยุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นพาหะรอง ในวงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วยระยะต่างๆ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ระยะตัวอ่อน (ลูกน้ำ)ระยะดักแด้หรือตัวกลางวัย (ตัวโม่ง), และ ระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง) ทั้ง 4 ระยะมีความแตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และการดำรงชีวิต

  10. ระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง) 1. ลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว อก ท้องมีเกล็ดสีดำสลับขาวตามลำตัว 2. มีขา 3 คู่ อยู่ที่ส่วนอก ขามีสีดำสลับขาวเป็นปล้อง 3. มีปีก 1 คู่ อยู่บริเวณอก ปีบางใส 4. มีปากยาวเป็นแบบแทงดูด 5,เส้นหนวด ของยุงตัวผู้ยาวเป็นพู่ขนนก แต่ของยุงตัวเมียจะสั้นกว่าเป็นแบบเส้นด้าย หนวดจึงใช้แยกเพศของยุงได้

  11. ระยะไข่ ไข่ยุงลายมีลักษณะรี คล้ายกระสวย เมื่อวางออกมาใหม่ๆจะมีสีขาวนวล ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำสนิทภายใน 24 ชั่วโมง ระยะลูกน้ำ ไม่มีขา ส่วนอกมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัว ส่วนท้องยาวเรียวประกอบด้วยปล้อง 10 ปล้อง มีท่อหายใจ บนปล้องที่ 8 ใช้ในการหายใจ ท่อหายใจของยุงลายสั้นกว่าท่อหายใจของยุงรำคาญ และมีกลุ่มขน 1 กลุ่มอยู่บนท่อหายใจนั้น ระยะตัวโม่ง ไม่มีขา รูปร่างคล้ายเครื่องหมายจุลภาค (,) มีอวัยวะใช้ในการหายใจ 1 คู่อยู่บนส่วน cephalothorax (ส่วนหัวรวมกับส่วนอก)

  12. ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) บริเวณระยางค์ปากปกคลุมด้วยเกล็ดสีขาว ที่บริเวณอกจะมีหนามแหลม ที่ส่วนอกบริเวณกึ่งกลางหลังจะมีขนแข็ง และมีเกล็ดสีขาวเรียงตัวกัน ยุงลายสวน (Aedes albopictus) มีเกล็ดสีดำที่ระยางค์ปาก ส่วนอกไม่มีหนามแหลม ด้านหลังของส่วนอกมีแถบสีขาวพาด อยู่ตรงกลาง

  13. ภาพ : สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

  14. การป้องกันควบคุมโรค การกำจัดทางกายภาพ การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ยุงมีการขยายพันธุ์ การปิดฝาภาชนะให้มิดชิด ใช้กับดักลูกน้ำ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ขัดผิวภายในของภาชนะและถ่ายเทน้ำทุก 7 วัน (แต่ห้ามเทน้ำในแหล่งน้ำ หรือท่อระบายน้ำ เพราะไข่ และลูกน้ำจะเจริญเติบได้ดีในแหล่งนั้นๆ) วิธีทางกายภาพเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ทำยากที่สุด เพราะประชาชนไม่ค่อยนิยม

  15. การควบคุมยุงโดยทางชีวะการควบคุมยุงโดยทางชีวะ • ด้วยการใช้สิ่งที่มีชีวิตกำจัดลูกน้ำ เช่น ปลากินลูกน้ำ แบคทีเรีย (BTI) ดักแด้ของแมลงปอ ลูกน้ำยุงยักษ์ เป็นต้น แต่มักจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

  16. การใช้สารเคมีในการควบคุมการใช้สารเคมีในการควบคุม • สารเทมีฟอส (Temephos) หรือปัจจุบันเรียกว่า สารเคมีกำจัดลูกน้ำ หรือที่รู้จักกันในชื่อทรายอะเบท สารเคมีชนิดนี้กำจัดลูกน้ำได้ดีสามารถออกฤทธิ์ได้นานกว่า 3 เดือน ทรายอะเบทไม่ทำลายตัวโม่ง แต่ถ้าเกิดเป็นยุงแล้วจะมีอายุไม่ยืน

  17. การใช้สารเคมีในการควบคุม(2)การใช้สารเคมีในการควบคุม(2) 1.การพ่นหมอกควัน วิธีนี้ได้ผลในการกำจัดตัวแก่น้อยจะต้องพ่นบ่อยครั้ง ทุก 2-3 วัน และต้องปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดขณะพ่น 2.การพ่นฝอยละออง (ULV) เป็นวิธีการกำจัดตัวแก่ได้ดีที่สุด แต่ขึ้นอยู่กับยาฆ่าแมลงด้วย การพ่นหมอกควัน หรือพ่น ULV จะต้องพ่นในบ้าน จะเป็นเวลาใดก็ได้ที่ประชาชนยอมรับ เพราะยุงลายบ้านอาศัยอยู่ในบ้านเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าจะพ่นด้วยเครื่องพ่นขนาดใหญ่ที่ติดตั้งบนรถบรรทุก จะต้องพ่นในขณะที่ลมไม่แรง และเวลาเช้าหรือเย็น เท่านั้น

  18. การป้องกันส่วนบุคคล -ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว กางเกงขายาว และควรใช้สีอ่อนๆ -การใช้สารไล่ยุง ที่ขายตามท้องตลาดมีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดขด แผ่น ครีม หรือน้ำ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ที่แตกต่างกันไป -นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง

  19. แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ยุงลายจะวางไข่ตามภาชนะขังน้ำที่มีน้ำนิ่งและใส น้ำนั้นอาจจะสะอาดหรือไม่ก็ได้ น้ำฝนมักเป็นน้ำที่ยุงลายชอบวางไข่มากที่สุด

  20. การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้น เมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออกควรจะบอกคนในบ้าน หรือข้างบ้านว่ามีไข้เลือดออกด้วย และแจ้ง สาธารณสุขให้มาฉีดยา หมอกควันเพื่อฆ่ายุงรวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัว ป้องกันการถูก ยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบ จัดการ และทำลายแหล่ง    นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของ สมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้  

  21. ไข้ปวดข้อยุงลายChikungunya สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th

  22. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) • ชื่อโรคชิคุนกุนยา เป็น ภาษา Makonde (ภาษาถิ่นในแอฟริกา) • “ that which bends up” แปลว่า เจ็บจนตัวโก่งงอ • ระบาดครั้งแรกในประเทศแทนซาเนียในปี 2496 • พบการระบาดครั้งแรกในไทย พ.ศ.2501

  23. สถานการณ์โรคในต่างประเทศสถานการณ์โรคในต่างประเทศ เกิดการระบาดใหญ่ของโรคไข้ปวดข้อยุงลายที่หมู่เกาะทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ในปีพ.ศ.2548 – 2549 และกระจายไปยังประเทศอื่น ๆ และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เกิดการระบาดของโรคในทวีปเอเชีย ดังนี้ • ประเทศอินเดีย พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,427,683 ราย • ประเทศศรีลังกา มีรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 37,667 ราย • ประเทศมาเลเซีย พบผู้ป่วย 1,975 ราย • ประเทศอินโดนีเซีย มีรายงานผู้ป่วย 15,207 ราย • ประเทศสิงคโปร์ มีรายงานผู้ป่วย 10 ราย

  24. Chikungunya Infection ในประเทศไทย • พ.ศ. 2501 ระบาดครั้งแรก ตรวจพบที่กรุงเทพมหานคร • พ.ศ. 2519 จังหวัดปราจีนบุรี • พ.ศ. 2531 จังหวัดสุรินทร์ • พ.ศ. 2534 จังหวัดขอนแก่น (96) • พ.ศ. 2536 จังหวัดเลย และจังหวัดพะเยา • พ.ศ. 2538 จังหวัดนครศรีธรรมราช (576) และจังหวัดหนองคาย(331) • พ.ศ. 2551 จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี การระบาดในปี 2505-2538 เป็นเชื้อไวรัสใน Asian strain (AFRIMS)

  25. สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายในประเทศไทย (ข้อมูลตั้งแต่1ม.ค.53 - 27 เม.ย.53) • จำนวนผู้ป่วย 851 ราย • พบผู้ป่วยใน 25 จังหวัด จำแนกเป็น • ภาคใต้ 13 จังหวัด • ภาคกลาง 7 จังหวัด • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด • ภาคเหนือ 2 จังหวัด • อัตราป่วย 1.34 ต่อประชากรแสนคน • ไม่พบผู้เสียชีวิต จังหวัดที่มีอัตราป่วยมากที่สุด : พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี ที่มา : สำนักระบาดวิทยา

  26. จำนวนผู้ป่วยสะสมโรคไข้ชิคุนกุนยา(ข้อมูล ณ 27 เมษายน 2553 ที่มา : สำนักระบาดวิทยา)

  27. สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็นRNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae มียุงลาย Aedes aegypti, Ae.albopictus เป็นพาหะนำโรค ที่มา:สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

  28. วิธีการติดต่อ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะแพร่เชื้อ ได้แก่ยุงลายAedes aegypti(ยุงลายบ้าน)และยุงลายAedes albopictus (ยุงลายสวน) เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อ ทำให้คนที่ถูกกัดเกิดอาการของโรคได้

  29. ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 3 - 12 วัน แต่ที่พบบ่อยคือ 2 - 4 วัน ระยะติดต่อของโรค ประมาณ 4 - 7 วันผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการ จึงต้องระวังอย่าให้ผู้ป่วยถูกยุงกัด โดยเฉพาะในช่วง 4 - 7 วันหลังเริ่มแสดงอาการ

  30. อาการของผู้ป่วย มีไข้สูงร่วมกับอาการ ดังนี้  • ปวดข้อ หรือ ข้อบวม หรือ ข้ออักเสบ (Arthralgia or Joint swelling or Arthritis)         • มีผื่น (Maculopapular rash)         • ปวดกล้ามเนื้อ (Myalgia)         • ปวดศีรษะ (Headache)         • ปวดกระบอกตา ( Peri-orbital pain) • และอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เป็นต้น

  31. การรักษา • ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) • การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่น ให้ยาลดอาการไข้ ลดอาการปวดข้อ เช็ดตัวลดไข้และพักผ่อนให้เพียงพอ - ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์ - โรคนี้ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงถึงชีวิตจะหายได้เอง

  32. กลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรค • ประชาชนที่เดินทางเคลื่อนย้ายเข้า/ออก ในพื้นที่ระบาด • ทหาร / ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดที่มีการระบาดต่อเนื่อง • นักศึกษา โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และนักศึกษาพยาบาลที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดที่มีการระบาด • ประชาชนที่ใช้แรงงาน (รับจ้างกรีดยาง)

  33. มาตรการป้องกันโรค • ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการกำจัดหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดต้องดูแลเป็นพิเศษ • สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

  34. มาตรการเมื่อเกิดการระบาดมาตรการเมื่อเกิดการระบาด • สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้าน โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ร่วมกันตามความเหมาะสม • ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงแบบพ่นหมอกควันหรือพ่นฝอยละออง เพื่อช่วยลดความชุกชุมของยุงโดยต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย • แนะนำประชาชนให้ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด • บ้านที่มีผู้ป่วยโรคชิกุนกุนยา ต้องให้ผู้ป่วยนอนในมุ้งเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายไปกัดและแพร่เชื้อได้ ซึ่งเชื้อโรคนี้จะแพร่ขณะที่มีไข้สูง (ในระยะ 2-3 วันหลังเริ่มป่วย)

  35. คำแนะนำสำหรับประชาชน • ผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อ หรือออกผื่นให้รีบไปพบแพทย์ • ผู้ป่วยในระยะ 1 สัปดาห์ หลังมีไข้ ควรป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยูงกัด • ผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วย อาจมีโอกาสติดเชื้อ ควรเฝ้าระวังตนเอง 2 สัปดาห์ • หากเข้าไปทำงานในสวน ควรสวมเสื้อผ้าแขนยาวให้มิดชิดและทายากันยุง • นอนในมุ้ง หรือห้องที่กรุด้วยมุ้งลวด จุดยากันยุง • ประชากรทุกครัวเรือนต้องทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุก 7 วัน • ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมโรค

  36. คำแนะนำอาสาสมัครสาธารณสุขคำแนะนำอาสาสมัครสาธารณสุข • เฝ้าระวังประชาชนในหมู่บ้านหรือพื้นที่ที่รับผิดชอบ หากพบผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อ หรือออกผื่นให้รีบพาไปพบแพทย์ และรายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็ว • สำรวจและร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในบ้านและนอกบ้านผู้ป่วยและบ้านเรือนใกล้เคียงและต่อเนื่องถึงพื้นที่สวน ในรัศมี 400 เมตร • ให้คำแนะนำและขอความร่วมมือประชาชนในการป้องกันยุงกัด

  37. คำแนะนำสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคำแนะนำสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบสถานการณ์ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชน • ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม • ออกข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้มีการดูแล กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายในชุมชน อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง • สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค การควบคุมยุงลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลาย

  38. คำแนะนำในสถานศึกษา • ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทุก 7 วัน • ให้ความรู้และคำแนะนำกับนักเรียนเกี่ยวกับ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย วงจรชีวิตของยุง การแพร่เชื้อ และวิธีการป้องกัน • หากพบนักเรียน นักศึกษาที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อหรือผื่น ให้รีบพาไปพบแพทย์

  39. ไข้มาลาเรีย (Malaria)

  40. เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค • เกิดจากสัตว์เซลเดียว Class Sporozoa Genus Plasmodium มี 4 Species • Plasmodium falciparum • Plasmodium vivax • Plasmodium malariae • Plasmodium ovale

  41. อาการ • ระยะฟักตัวของโรคในคน (Incubation period)โดยปกติประมาณ 10 – 14 วัน • แตกต่างกันตามชนิดเชื้อ • P. falciparumประมาณ 8 - 12 วัน • P. Vivax ประมาณ 10 - 15 วัน • P. Malariaeประมาณ 30 – 40 วัน • P. Ovaleประมาณ 10 – 15 วัน

  42. อาการ • หลังสิ้นสุดระยะฟักตัวจะเริ่มมีอาการป่วย • มีอาการนำคล้ายไข้หวัด • มีไข้ต่ำๆ • ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ • คลื่นไส้ อาเจียน • เบื่ออาหาร

  43. อาการ • อาการไข้มาลาเรียที่เด่นชัดแบ่งเป็น 3 ระยะ • ระยะหนาว (Cold stage) • ระยะร้อน (Hot stage) • ระยะเหงื่อออก (Sweating stage)

  44. อาการ • ระยะหนาว (Cold stage) • หนาวขนลุก ฟันกระทบกัน เกร็ง อุณหภูมิสูงขึ้น • ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตเพิ่ม ผิวหนังเย็นซีด • คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะมากและบ่อย • กินเวลาประมาณ 15 – 60 นาที

  45. อาการ • ระยะร้อน (Hot stage) • อุณหภูมิสูงขึ้น 39 – 40 องศาเซลเซียส • ร้อน ลมหายใจร้อน หน้าแดง ผิวหนังแดงและแห้ง • ปวดศีรษะ อาเจียน กระหายน้ำ กระสับกระส่าย • ปวดศีรษะลึกเข้าไปในกระบอกตา • กินเวลาประมาณ 2 – 6 ชั่วโมง

  46. อาการ • ระยะเหงื่อออก (Sweating stage) • เหงื่อออกมากบริเวณขมับก่อน • เหงื่อออกชุ่มร่างกายเปียกโชกเสื้อผ้า • อุณหภูมิ ลดลงอย่างรวดเร็ว • ชีพจร ความดันโลหิต ลดลงเป็นปกติ • อ่อนเพลีย หลับ เข้าสู่ระยะพัก • กินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง pratueang /vbd_dpcr8

  47. อาการวิทยามาลาเรีย • ระยะพักคือระยะไม่มีอาการจับไข้ • ผู้ป่วยรู้สึกสบายดี • กินเวลา 1 – 2 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดเชื้อ • ระยะพักเท่ากับรอบของการแบ่งตัวของเชื้อ pratueang /vbd_dpcr8

More Related