1 / 8

รายงานเรื่อง จริยธรรม คุณธรรมและธรรมมาภิบาลกับทหาร

รายงานเรื่อง จริยธรรม คุณธรรมและธรรมมาภิบาลกับทหาร. นำเสนอโดย น.ส.มัชฌิเมษ์ นุชนนทรีย์ M.2 4934406062. จริยธรรมในวิชาชีพทหาร.

masao
Download Presentation

รายงานเรื่อง จริยธรรม คุณธรรมและธรรมมาภิบาลกับทหาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานเรื่อง จริยธรรม คุณธรรมและธรรมมาภิบาลกับทหาร นำเสนอโดย น.ส.มัชฌิเมษ์ นุชนนทรีย์ M.2 4934406062

  2. จริยธรรมในวิชาชีพทหารจริยธรรมในวิชาชีพทหาร ทหารเป็นสถาบันที่มีเกียรติ ทหารได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติในอันที่จะรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับประชาชน และรักษาความเป็นเอกราชของชาติให้คงอยู่ตลอดไปได้ ทหารเป็นผู้กล้าหาญที่พร้อมจะสละชีพเพื่อปกป้องประเทศชาติเป็นคนแรก สำหรับประเทศไทยนั้น จากอดีตอันยาวนานถึงปัจจุบันทหารมีส่วนสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ

  3. ภาพลักษณ์ของทหารไทย • เป็นสถาบันที่มีหน้าที่สำคัญในการเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การที่จะธำรงรักษาความเป็นทหารที่ดีจำเป็นต้องให้การอบรมปลูกฝังระเบียบวินัย กฎระเบียบ ค่านิยม อุดมการณ์ของทหารให้แน่นแฟ้น เพื่อให้ทหารอยู่ในกรอบที่ดี มีศีลธรรมจรรยา และเป็นทหารหาญของชาติโดยสมภาคภูมิ • ทหารคือกองกำลังที่ติดอาวุธร้ายแรง และมีขีดความสามารถในการทำลายชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าหากปราศจากศีลธรรมจรรยา ความยั้งคิดและความสำนึกในหน้าที่ ทหารก็อาจทำอันตรายสังคมได้ง่าย การสั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องกระทำต่อทหารตั้งแต่วันแรกและต่อเนื่องไปโดยตลอด

  4. จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพทหารไทยจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพทหารไทย • ก. ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นผลสำเร็จ ต้องมีความเพียรในกิจราชการที่ตนกระทำนั้น โดยมีความกล้า ไม่ท้อถอยกลัวเกรงต่อความยากลำบาก • ข. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ดำเนินไปตาม ทำนองคลองธรรมและกฎข้อบังคับ ทั้งปวง อันเป็นระเบียบแบบแผนของราชการโดยเคร่งรัดทุกเมื่อ • ค. ต้องเป็นผู้ที่ มีความซื่อตรง ต่อหน้าที่ราชการที่ตนทำ คือ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลุแก่อำนาจอคติ ไม่ใช้หน้าที่และอำนาจทางราชการเป็นเครื่องหาประโยชน์ส่วนตัว • ฆ. ต้องเป็นผู้มี ความสวามิภักดิ์ คือ มีความจงรักภักดีและกตัญญูกตเวทีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยอมสละประโยชน์สุขส่วนตัว มอบกายถวายชีวิตเพื่อประโยชน์สุขแด่องค์พระประมุขแห่งชาติ

  5. ง. ต้องประพฤติตน เป็นผู้ดี คือ ตั้งตนไว้ชอบ • จ. ต้อง แสวงหาวิชาความรู้ให้กว้างขวางอยู่เสมอ • ฉ. ต้องฝึกฝนอบรมตน ให้มีความรู้ความสามารถ มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์ • ช. ต้องเป็นผู้ หนักแน่น อดทน ต่อความทุกข์ ความขัดข้องและอดทนต่อความแค้นเคืองเจ็บใจทั้งปวง • ซ. เป็นผู้ตั้งอยู่ในความ ไม่ประมาท คือ เป็นผู้ไม่เลินเล่อ สะเพร่า มักง่าย พลั้งเผลอในการประพฤติตัวและประกอบกิจการ

  6. ปัญหาทางจริยธรรมในวิชาชีพทหารปัญหาทางจริยธรรมในวิชาชีพทหาร • ทหารต้องเผชิญกับความขัดกันทางสถานภาพและบทบาท คือ ทหารอาจมีสถานภาพและบทบาทหลากหลายในเวลาเดียวกัน เช่น แพทย์ทหารจะต้องปฎิบัติตามจรรยาบรรณแพทย์และวินัยจรรยาบรรณทหาร ซึ่งมีความยุ่งยากว่าจะยึดข้อใดเป็นหลักในสนามรบ จะเลือกรักษาผู้ป่วยที่เป็นเชลยศึกก่อนทหารฝ่ายตนเองหรือไม่ • ทหารต้องเผชิญกับจริยธรรม จรรยาบรรณ ที่ขัดแย้งกัน คือ ทหารต้องป้องกันประเทศ รักษาอธิปไตย แต่ทหารก็รุกรานแทรกซึมประเทศอื่นๆ สนับสนุนผู้ก่อการร้าย เพราะเกรงว่าประเทศนั้นจะรุกรานประเทศตนก่อน ทหารหลายประเทศเข้ายึดอำนาจ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ทหารต้องต่อสู่เอาชนะศัตรู แต่ในขณะเดียวกัน ทหารต้องไม่ใช้วิธีการโหดร้ายเอาชนะศัตรู เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงจริยธรรมที่ขัดแย้งกันในตัวเอง

  7. ปัญหาทางจริยธรรมในวิชาชีพทหาร (ต่อ) • ทหารต้องเผชิญกับการขัดกันระหว่างจริยธรรมทหารกับมโนธรรม คือ วินัยและจรรยาบรรณเรียกร้องและฝึกฝนให้ทหารต้องปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องซักถาม เพียงแต่ทวนคำสั่งให้ถูกต้อง แต่ถ้าคำสั่งขัดกับศีลธรรม มโนธรรมเล่าทหารควรทำอย่างไร • ทหารต้องเผชิญกับการขัดแย้งระหว่างจริยธรรม จรรยาบรรณกับค่านิยมและระบบความเชื่อของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทหารก็มาจากประชาชนและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

  8. หลักธรรมมาภิบาล[Good government] • การควบคุมกฎหมาย (Rule of Law): หมายถึงศาลสถิตยุติธรรม กฎหมาย และกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย มีความน่าเชื่อถือ เที่ยงธรรม ส่งเสริมในเรื่องของ สิทธิมนุษยธรรม • การบริหารงานสาธารณะ (Public Sector Management): หมายถึงการบริหารงานเป็นไปอย่าง ถูกต้อง ตรงไปตรงมา มีความยุติธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบ • การควบคุมการฉ้อราษฎร์บังหลวง (Controlling Corruption) : หมายถึงรัฐบาลจะต้องมีกระบวนการที่สามารถควบคุมและจำกัดไม่ให้การฉ้อราษฎร์บังหลวง เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย  • ลดค่าใช้จ่ายในกิจการทหาร (Reducing Excessive Military Expenditure): นอกเพราะรัฐบาลของรัฐใดก็ตาม ทุ่มเทงบประมาณในกิจการในสัดส่วนที่สูง ย่อมจะมีแนวโน้มที่นำพารัฐของตนเองเข้าสู่ความขัดแย้งได้ง่าย

More Related