1 / 10

การยืมเงินของส่วนราชการ

การยืมเงินของส่วนราชการ. 1.ประเภทเงินยืม การยืมเงินของส่วนราชการ จะยืมได้จากเงิน 3 ประเภท คือ 1. เงินงบประมาณรายจ่าย การให้ยืมเงินงบประมาณรายจ่ายจะทำได้เท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในราชการโดยใช้งบประมาณของปีปัจจุบัน

Download Presentation

การยืมเงินของส่วนราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การยืมเงินของส่วนราชการการยืมเงินของส่วนราชการ 1.ประเภทเงินยืม การยืมเงินของส่วนราชการ จะยืมได้จากเงิน 3 ประเภท คือ 1. เงินงบประมาณรายจ่าย การให้ยืมเงินงบประมาณรายจ่ายจะทำได้เท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในราชการโดยใช้งบประมาณของปีปัจจุบัน 2. เงินทดรองราชการ เป็นเงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองจ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับของกระทรวงการคลัง 3. เงินนอกงบประมาณ การให้ยืมเงินนอกงบประมาณจะทำได้เฉพาะเมื่อนำไปจ่ายดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของเงินนอกงบประมาณประเภทนั้น เท่านั้น

  2. 2. ประเภทรายจ่ายที่สามารถยืมเงินได้ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเพื่อจ่ายให้บุคคลใดยืมเพื่อปฏิบัติราชการ กระทำได้เฉพาะงบรายจ่าย รายการดังต่อไปนี้ • รายการค่าจ้างชั่วคราว สำหรับค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ • รายการค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ • รายการค่าสาธารณูปโภค เฉพาะค่าไปรษณีย์โทรเลข • งบกลาง เฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร หรือเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครอบชีพชั่วคราวสำหรับลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ • เงินงบอื่น ๆ ที่จ่ายในลักษณะเดียวกันกับ 1.1 1.2 หรือ 1.3

  3. เงินทดรองราชการเพื่อจ่ายให้บุคคลใดยืมเพื่อปฏิบัติราชการ ให้ยืมทดรองใช้จ่ายเฉพาะตามงบประมาณรายจ่าย ดังต่อไปนี้ 2.1 งบบุคลากรเฉพาะค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ แต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวัน หรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง 2.2 งบดำเนินงาน ยกเว้นค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา 2.3 งบกลางเฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร และเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 2.4 งบอื่นที่จ่ายในลักษณะเช่นเดียวกับ 2.1 หรือ 2.2

  4. 3. ประเภทสัญญาการยืมเงิน การยืมเงินของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ หรือที่ปรึกษาของกรมฯ เพื่อปฏิบัติราชการ หรือทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่าย ผู้ยืมจะต้องทำสัญญาการยืมเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. สัญญาการยืมเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดและที่กรมชลประทานได้ ขออนุมัติกระทรวงการคลังเพิ่มเติมข้อความด้านหลังของสัญญาตามหนังสือที3836/2506 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2506 (ดูตัวอย่างตามคำสั่งกรมที่ 189/2550 ที่แนบ) แบบของสัญญาการยืมเงินนี้ ใช้สำหรับการยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน การเดินทางไปราชการหรือเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ รวมทั้งการยืมเงินราชการเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างชั่วคราว

  5. 2. สัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ(ดูตัวอย่างตามคำสั่งกรมที่ 189/2550) แบบของสัญญานี้ใช้สำหรับการปฏิบัติราชการและมีรายการค่าใช้จ่าย ดังนี้ • ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ประชุม จัดงานนิทรรศการ • ค่ารับรองชาวต่างประเทศ

  6. 4. ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำสัญญาการยืมเงิน ขั้นที่ 1 ให้ผู้ยืมจัดทำสัญญาการยืมเงินตามแบบที่กำหนดจำนวน 2 ฉบับ มีข้อความตรงกัน ยื่นต่อผู้อำนวยการกองการเงินและบัญชี ขั้นที่ 2 ให้ผู้ยืมแนบเอกสารประกอบสัญญาการยืมเงิน เพื่อแสดงว่าเป็นการยืมเงินไปเพื่อปฏิบัติราชการจริง ซึ่งเอกสารประกอบสัญญาการยืมเงินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการยืมเงินสำหรับปฏิบัติราชการหรือทดรองใช้จ่าย ขั้นที่ 3 ให้เจ้าหน้าที่การเงินเป็นผู้กำหนดระยะเวลาที่จะส่งใช้ในสัญญาการยืมเงิน ดังนี้ - กรณีเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน หรือการเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ หรือกรณีเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมให้ส่งต่อส่วนราชการที่จ่ายเงินให้ยืมโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือธนาณัติแล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน

  7. - กรณีเดินทางไปราชการอื่น รวมทั้งการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้ส่งต่อส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสิบวันนับจากวันกลับมาถึง - การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการนอกจากตาม (1) หรือ (2) ให้ส่งต่อส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสิบวันนับจากวันได้รับเงิน การกำหนดระยะเวลาที่จะส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเงินยืมแต่ละประเภทเป็นผู้กำหนดระยะเวลา ขั้นที่ 4 ให้เสนอผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หรือผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาและรับรองจำนวนเงินที่ขอยืม และแต่งตั้งกรรมการรับเงินยืม (ถ้าต้องมี)

  8. 5. หลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งกรรมการรับเงินยืม 1. การเดินไปราชการเป็นหมู่คณะที่มีจำนวนเงินยืมเกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่เกิน 2 คน 2. การจัดฝึกอบรมสำหรับโครงการที่มีเงินยืมแต่ละครั้งเกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่เกิน 2 คน 3. การปฏิบัติราชการอื่น ที่มีวงเงินยืมเกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่น้อยกว่า 2 คน 6. ให้ผู้ยืมเงินส่งสัญญาการยืมเงินต่อกองการเงินและบัญชีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงเลขที่ใบยืมและตรวจสอบเพื่อป้องกันการยืมเงินซ้ำ

  9. 7. การจ่ายเงินและการลงนามรับเงินในสัญญาการยืมเงิน 1. ผู้ยืมที่ประสงค์รับเงินยืมเป็นเงินสด ให้ผู้ยืมและกรรมการรับเงินยืม(ถ้ามี) ลงจำนวนเงินที่จะขอรับในสัญญาการยืมเงิน ลงลายมือชื่อ สำหรับผู้ยืมให้ลงเลขที่บัตรประจำตัว วันเดือนปีที่รับเงิน เจ้าหน้าที่การเงินจะจ่ายเงินให้พร้อมทั้งคืนคู่ฉบับสัญญาการยืมเงินให้ผู้ยืม 1 ฉบับ 2. ผู้ยืมที่ประสงค์จะรับเงินผ่านธนาคาร ให้ผู้ยืมและกรรมการรับเงินยืม(ถ้ามี) ลงลายมือชื่อในดวงตรา “โปรดจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้า” พร้อมกรอกรายละเอียดการนำเงินเข้าธนาคาร พร้อมลงวันที่นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารและให้ผู้ยืมรับคู่ฉบับสัญญาการยืมเงินได้ที่เจ้าหน้าที่การเงินในภายหลัง

  10. 8. การส่งใช้เงินยืม ส่งใช้เงินยืมตามกำหนดเวลา - การนำใบสำคัญคู่จ่ายส่งใช้ ผู้ยืมได้ใช้จ่ายเงินไปเท่าใดก็ให้ทำใบสำคัญคู่จ่ายเท่านั้น มีการให้รหัส GFMIS ของงานที่ทำ และจัดทำใบนำส่งใบสำคัญ พร้อมคู่ฉบับสัญญาการยืมเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินบันทึกหมายเหตุการส่งใช้เงินยืม - การนำเงินสดเหลือจ่ายส่งใช้ ถ้าจ่ายเงินไม่หมด ผู้ยืมต้องนำเงินสดมาส่งคืน โดยให้จัดทำใบนำส่ง และนำเงินสดส่งเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ยืมเก็บไว้เป็นหลักฐาน 9. การส่งใช้เงินยืมเกินกำหนดเวลา สัญญาการยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วแต่ผู้ยืมยังมิได้ดำเนินการส่งใช้ เจ้าหน้าที่การเงินต้องมีการติดตามทวงถาม โดยทำเป็นหนังสือเสนอผ่านสำนัก/กองเจ้าสังกัดโดยตรง

More Related