1 / 45

การจัดการดำเนินงาน (Operations Management)

MJU. การจัดการดำเนินงาน (Operations Management). ภาพรวมของการจัดการดำเนินงาน บทที่ 3 การจัดการคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ. การจัดการคุณภาพ. ความหมายของ “ คุณภาพ ” ตาม Edward W. Deming

maura
Download Presentation

การจัดการดำเนินงาน (Operations Management)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. MJU. การจัดการดำเนินงาน(Operations Management) ภาพรวมของการจัดการดำเนินงาน บทที่ 3 การจัดการคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ

  2. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ การจัดการคุณภาพ • ความหมายของ “คุณภาพ” ตาม Edward W. Deming “คุณภาพ หมายถึง คุณภาพของสินค้า / บริการจะต้องสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต” ลูกค้าจะเป็นผู้ประเมินคุณภาพของสินค้า/บริการ โดยเปรียบเทียบว่า สินค้า/บริการที่ลูกค้าได้จ่ายเงินซื้อไปนั้น สามารถตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้มากน้อยเพียงใด ถ้าลูกค้ารู้สึกว่าสินค้า/บริการที่ได้รับ ตรงหรือมากกว่า สิ่งที่คาดหวังจะถือว่าสินค้า/บริการนั้นมีคุณภาพ

  3. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ ลักษณะคุณภาพของสินค้า • การออกแบบ (Design) สินค้าได้รับการออกแบบมาตรงกับความต้องการของลูกค้ามากน้อยเพียงใด • การผลิตตามข้อกำหนด (Conformance) เปรียบเทียบสินค้าที่ผลิตได้จริงกับข้อกำหนดของสินค้า (specifications) • คุณสมบัติในการปฏิบัติงาน (Performance) สินค้ามีความเหมาะสมกับการใช้งานพื้นฐานได้มากน้อยเพียงใด • คุณสมบัติพิเศษ (Features) สินค้าสามารถใช้งานด้านอื่นๆ ได้นอกเหนือจากการใช้งานพื้นฐาน

  4. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ ลักษณะคุณภาพของสินค้า • ความเชื่อถือได้ (Reliability) สินค้าสามารถใช้งานได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด • ความสามารถในการให้บริการ (Serviceability) หมายถึง การให้บริการหลังการขายที่สะดวกรวดเร็ว • ความปลอดภัย (Safety) สินค้าไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ลูกค้า • ความรู้สึกของลูกค้า (Aesthetics) ลักษณะของสินค้าที่ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกทางประสาทสัมผัส • การรับรู้ด้านอื่นๆ ของลูกค้า (Other Perceptions) เช่น Brand name

  5. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ ต้นทุนคุณภาพ ต้นทุนผิดพลาดที่พบภายในกิจการ ต้นทุนผิดพลาดที่พบภายนอกกิจการ ต้นทุนในการป้องกัน ต้นทุนในการประเมินผล ต้นทุนที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือมีของเสียจากการผลิต หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด เช่น ค่าอบรม ค่า R&D ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ระหว่างการผลิต และก่อนส่งให้ลูกค้า กิจการตรวจพบความผิดพลาดก่อนส่งมอบสินค้า/บริการให้ลูกค้า ทำให้ต้อง reject สินค้าทั้งหมด กิจการตรวจไม่พบความผิดพลาดก่อนส่งมอบสินค้า/บริการให้ลูกค้า แต่ลูกค้าได้พบความผิดพลาดนั้น ทำให้ต้องคืนสินค้า หรือฟ้องร้อง ต้นทุนของความผิดพลาด ต้นทุนในการควบคุมคุณภาพ หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว ต้นทุนคุณภาพทั้งหมด

  6. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ แนวคิดด้านการจัดการคุณภาพ • วงจรเด็มมิง (Deming Cycly) หรือ วงจร PDCA PLAN DO ACTION CHECK

  7. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ แนวคิดด้านการจัดการคุณภาพ • การจัดการคุณภาพเชิงรวม (Total Quality Management – TQM) เน้นการปรับปรุงคุณภาพทุกหน้าที่งาน และบุคลากรทุกระดับในองค์กร โดย TQM เชื่อว่า “พนักงานทุกคนในองค์กรมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในการปรับปรุงคุณภาพขององค์กรอย่างต่อเนื่อง”

  8. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ องค์ประกอบของ TQM • ความพึงพอใจของลูกค้า ลูกค้าจะเปรียบเทียบคุณภาพของสินค้า/บริการ แล้วตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด • การมีส่วนร่วมของพนักงาน • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • ความสัมพันธ์กับ supplier • การเทียบเคียงคู่แข่งขัน • การใช้หน้าที่เชิงคุณภาพ โดยเน้นการนำความต้องการของลูกค้ามาแปลงเป็นข้อกำหนดในการผลิต ให้สินค้า/บริการนั้นมีคุณสมบัติตามที่ลูกค้าต้องการ

  9. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ • เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยที่สุด

  10. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ • 1. เอกสารการตรวจสอบ (Check Sheet) • 2. การวิเคราะห์พาเรโต (Parato Analysis) • 3. ผังการไหล (Flowchart) • 4. ฮิสโตแกรม (Histogram) • 5. แผนภูมิการกระจาย (Scatter Diagram) • 6. แผนภาพเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) • 7. ผังควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (Statistical Process Control Chart)

  11. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ เอกสารการตรวจสอบ (Check Sheet) • บันทึกจำนวนและประเภทของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำไปจัดทำรายงานและวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพ | | | | | | | | | | | | | | | | | |

  12. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ สรุปเอกสารตรวจสอบ (Check Sheet) • คือ แบบฟอร์มที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้มีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียด ตรงตามวัตถุประสงค์ และถูกต้องโดยผู้ปฏิบัติงาน • การเก็บข้อมูลใดๆ ต้องทำตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ • จากการที่พนักงานแต่ละคนจะมีวิธีการเก็บข้อมูลที่ต่างกัน การใช้เอกสารตรวจสอบจึงเป็นแบบฟอร์มมาตรฐานที่ทำให้พนักงานทำงานตรงกัน และตรงตามวัตถุประสงค์ • ข้อมูลที่ได้ต้องง่ายและรวดเร็วต่อการนำมาใช้งาน และการวิเคราะห์

  13. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์พาเรโต ตัวอย่าง : การแจกแจงความถี่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพ • แจกแจงความถี่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพ

  14. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ แผนภูมิพาเรโต • เขียนกราฟโดยให้สาเหตุปัญหาที่พบมากที่สุดอยู่ด้านซ้ายสุด เรียงลำดับไปจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ร้อยละ สาเหตุของปัญหา • แก้ไขสาเหตุที่พบมากที่สุดก่อน แล้วจึงแก้ไขสาเหตุที่พบรองลงมาตามลำดับ

  15. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ สรุปการวิเคราะห์พาเรโต • คือ ผังหรือแผนภูมิ หรือกราฟแท่ง ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า หรือขนาด หรือความถี่ในการตรวจพบปัญหา กับลักษณะควบคุมที่มีการจำแนกประเภทออกจากกัน และเขียนต่อกันโดยเรียงลำดับความสำคัญ • เป็นเครื่องมือในการศึกษาว่า มีปัญหาใดบ้างที่เกิดขึ้น และแต่ละปัญหามีปริมาณมากน้อยเพียงใด ควรจะแก้ปัญหาใดก่อนหลัง • เป็นขบวนการที่ไม่สิ้นสุด มีการทำจนกระทั่งข้อบกพร่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณภาพอีกต่อไป

  16. การตรวจสอบรถยนต์ที่จมน้ำการตรวจสอบรถยนต์ที่จมน้ำ ให้เขียนแผนภูมิพาเรโต 5 นาที

  17. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ ผังการไหล (Flowchart) • แสดงถึงขั้นตอนการทำงาน โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆแทนกิจกรรมย่อย ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์กระบวนการผลิตและปัญหาคุณภาพที่เกิดขึ้นว่าอยู่ในขั้นตอนใด 1 2 3 4 5 6 8 7

  18. ฮิสโตแกรม (Histogram) เป็นแผนภูมิแสดงความถี่ของสิ่งที่เกิดขึ้นจากชุดข้อมูลที่ได้ทำการตรวจวัดหรือเก็บรวบรวม (ควร > 30) ในคราวเดียวกัน โดยแสดงเป็นกราฟแท่งมีแนวโน้มสู่ศูนย์กลางที่เป็นค่าสูงสุด แล้วกระจายลดหลั่นกันไปตามลำดับ สามารถใช้เพื่อดูการกระจายข้อมูล หรือ การเปรียบเทียบข้อมูลกับช่วง หรือมาตรฐานที่กำหนด

  19. ฮิสโตแกรม (Histogram) ฮิสโตแกรมนี้อาจจะนำไปใช้เปรียบเทียบกับช่วงเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยยอมรับที่ X = ± 3 SD หรือ ± 6 SD ความถี่ น้ำหนัก 1 2 3 4 5 6 7 8 9

  20. ฮิสโตแกรม (Histogram) ความถี่ น้ำหนัก LSL = 15 X = 17 USL = 19

  21. ฮิสโตแกรม (Histogram) ความถี่ น้ำหนัก LSL = 15 X = 18 USL = 19

  22. ฮิสโตแกรม (Histogram) ความถี่ น้ำหนัก LSL = 15 X = 17 USL = 19

  23. ฮิสโตแกรม

  24. แผนภาพสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) คือ แผนภาพที่แสดงสาเหตุ (Cause) และผล (Effect) เป็นแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของคุณภาพกับสาเหตุของมัน โดยการดึงเอาสาเหตุที่มีผลต่อคุณภาพที่เป็นไปได้ทั้งหมดออกมาเรียบเรียง แผนภาพสาเหตุและผลมีชื่อเรียกอื่น อีกคือ แผนภาพก้างปลา (Fish – Bone Diagram) หรือแผนภาพของอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) • แผนภาพแสดงถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหา • ส่วนหัว ระบุปัญหาที่ต้องการศึกษา • ส่วนก้างปลา ระบุสาเหตุของปัญหา

  25. แผนภาพสาเหตุและผล (แผนภูมิก้างปลา) สาเหตุหลัก สาเหตุหลัก สาเหตุรอง สาเหตุรอง สาเหตุรอง สาเหตุย่อย สาเหตุย่อย ปัญหา สาเหตุรอง สาเหตุรอง สาเหตุย่อย สาเหตุย่อย สาเหตุหลัก สาเหตุหลัก ใช้การถามคำถาม(ระดมสมองโดยการประชุม หรือการเขียน) เพื่อหาคำตอบ จะได้ก้างต่อเนื่อง

  26. ตัวอย่างแผนภาพสาเหตุและผล(แผนภูมิก้างปลา)ตัวอย่างแผนภาพสาเหตุและผล(แผนภูมิก้างปลา)

  27. ประโยชน์ของแผนภาพสาเหตุและผลประโยชน์ของแผนภาพสาเหตุและผล • ทำให้เห็นปัญหาอย่างเป็นระบบ และทราบสาเหตุของผลที่เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ได้นั้นจะละเอียดลึกซึ้งและมีขั้นตอนตามเหตุตามผล ซึ่งสะดวกที่จะนำสาเหตุนั้น ๆ ไปพิจารณาแก้ไข • เป็นเครื่องมือซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ในการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้มากมาย ช่วยชี้นำหรือช่วยในการอภิปราย รวบรวมประเด็นในการอภิปรายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  28. ให้ทำการวิเคราะห์ถึง “ปัญหาการทำงานเสร็จไม่ทันตามเวลาที่กำหนดในวันนี้” ด้วยแผนภาพก้างปลาด้วย 2 สาเหตุหลัก และแต่ละสาเหตุหลักมีสาเหตุรองไม่น้อยกว่า 1 สาเหตุ10 นาทีส่งค่ะ

  29. 1. ระยะระดมความคิด 2. ระยะวิเคราะห์ความคิด 3. ระยะสรุปความคิด การระดมสมองแบบใช้การประชุม แบ่งเป็น 3 ระยะ - อิสระ/ตอบคำถาม/ห้ามวิจารณ์/เน้นปริมาณ/และเขียน - ตัดซ้ำซ้อน/ตัดคลุมเครือ/เขียนใหม่/จัดหมวดหมู่ - สรุปเป็นเรื่องราว/เข้าใจตรงกัน

  30. การระดมสมองแบบใช้การเขียนการระดมสมองแบบใช้การเขียน • ป้องกันการเกิดความขัดแย้ง • ประธานกลุ่มดำเนินการและบอกกติกา อธิบายหัวข้อเรื่องให้ชัดเจน • แจกกระดาษให้ทุกคนเขียนความคิดของตัวเอง 5 -10 นาที • การสรุปผล • เอากระดาษมารวมกัน • ขจัดข้อความที่เขียนไม่ครบถ้วน • จัดกลุ่มและกำหนดหัวข้อใหญ่ และ ย่อย

  31. แผนภาพการกระจาย • กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์กันและเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพ • แผนภาพการกระจาย คือ แผนภาพที่แสดงถึงลักษณะความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวว่ามีลักษณะความสัมพันธ์เป็นอย่างไร ผลของตัวแปรตัวหนึ่งมีผลกับตัวแปรอีกตัวหนึ่งอย่างไรและใช้ประโยชน์เพื่อการวิเคราะห์ทำนาย

  32. ตัวอย่างแผนภาพการกระจายตัวอย่างแผนภาพการกระจาย Y Y X X b) Negative Correlation อุณหภูมิสูง เสื้อกันหนาวขายได้น้อย Y X a) Positive Correlation อุณหภูมิสูง พัดลมขายได้มาก c) Non Correlation อุณหภูมิ กับ ยอดขายวิทยุ

  33. แผนภาพการกระจาย (Scatter Diagram) ตัวอย่างของแผนภาพการกระจาย ได้แก่  แผนภาพการกระจายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายของพัดลม ไฟฟ้า เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของแต่ละเดือน ซึ่งพบว่ายอดขายพัดลมไฟฟ้าจะขายได้มากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น  ความเร็วในการตัดกับอายุการใช้งานของ Tool  จำนวนครั้งในการหยุดของเครื่องจักรกับอายุการใช้งาน

  34. เกิดความผิดปกติ (Assignable cause) เส้นขอบเขตควบคุมบน (UCL) เส้นปกติ (CL) เส้นขอบเขตควบคุมล่าง (LCL) แผนภูมิควบคุม (Control Chart) คือ แผนภูมิเพื่อการควบคุมกระบวนการ เป็นวิธีการตรวจสอบกระบวนการว่ายังอยู่ในการควบคุม มีจุดที่อยู่นอกเส้นควบคุม หรือมีแนวโน้มการกระจายตัวที่ไม่เป็นธรรมชาติอันจะนำไปสู่การเกิดสิ่งผิดปกติ หรือไม่ จากตัวอย่างจะเห็นว่าถ้ามีจุดที่เห็นออกนอกเส้นประ (เส้นควบคุม) ก็แสดงว่ามีเหตุการณ์บางอย่างนอกเหนือการควบคุมเกิดขึ้นแล้ว

  35. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ ผังควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ • ผังแสดงผลการตรวจสอบคุณภาพว่า อยู่ในช่วงของการควบคุมหรือไม่ ถ้าพบว่าการดำเนินงานไม่อยู่ในช่วงของการควบคุม จึงจะทำการวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขต่อไป จำนวนของเสีย UCL CL LCL ครั้งที่สุ่มตัวอย่างตรวจสอบคุณภาพ

  36. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ ผังควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ จำนวนของเสีย เกิดแนวโน้มที่ผิดปกติ UCL CL LCL ครั้งที่สุ่มตัวอย่างตรวจสอบคุณภาพ

  37. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ • 1. ฮิสโตแกรม (Histogram) สุ่มตัวอย่าง นำมาแสดงความถี่ของชุดข้อมูล เพื่อดูการกระจายของข้อมูล และเปรียบเทียบข้อมูลกับช่วงการยอมรับที่กำหนด • 2. ผังควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (Statistical Process Control Chart) เปรียบเทียบข้อมูลว่าอยู่ในช่วงของการควบคุมหรือไม่ • 3. ผังการไหล (Flowchart) ปัญหาเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของกระบวนการผลิต

  38. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ • 4. เอกสารการตรวจสอบ (Check Sheet) บันทึกประเภทและจำนวนความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป (ดูจากจำนวนครั้งความผิดพลาด) • 5. การวิเคราะห์พาเรโต (Parato Analysis) ปัญหาใดเกิดขึ้น มีปริมาณเท่าใด ควรแก้ปัญหาใดก่อน (ดูจากร้อยละความผิดพลาด) • 6. แผนภาพเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) หาสาเหตุของปัญหา หลังจากทำพาเรโตแล้ว • 7. แผนภูมิการกระจาย (Scatter Diagram) แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล(สาเหตุ+ปัญหา หรือ ปัญหา1+ปัญหา2 ) เพื่อนำไปทำนาย

  39. การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (SQC) • การสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ • การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ

  40. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (Statistical Quality Control – SQC) 1. การสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ (Acceptance Sampling) สุ่มตัวอย่าง หาสินค้าเสีย < เกณฑ์ เทียบ เกณฑ์ สินค้าผลิตแล้ว ยอมรับ > เกณฑ์ ไม่ยอมรับ Ex. ตัวอย่างสินค้า 100 ชิ้น ยอมรับสินค้าเสีย 2% พบสินค้าเสีย 2 ชิ้น จะยอมรับหรือไม่ยอมรับสินค้าทั้งหมด

  41. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ ความผิดพลาดของการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ • การปฏิเสธสินค้ากลุ่มที่ดี (Type I Error : Reject Good Lot) ทำให้เป็นความเสี่ยงของผู้ผลิต • ยอมรับของเสียที่ ≤ 2 ถ้าการผลิตจริงมีของเสีย 5 • ในการสุ่มตัวอย่างพบของเสีย 3 สินค้าจะ......... • การยอมรับสินค้ากลุ่มที่เสีย (Type II Error : Accept Bad Lot) ทำให้เกิดความเสี่ยงของผู้บริโภค • ในการสุ่มตัวอย่างพบของเสีย 1 สินค้าจะ........

  42. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ 2. การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (Statistical Process Control)-SPC เป็นการสุ่มตัวอย่างงานระหว่างทำ (Work in Process) จากกระบวนการผลิตที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยใช้เครื่องมือทางสถิติต่างๆ เพื่อผลลัพธ์ในการคงสภาพของกระบวนการ และลดความแปรปรวนของกระบวนการ และเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการผลิตกำลังผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน อยู่ในช่วง ช่วงการ ควบคุม ผลิตต่อ สุ่มตัวอย่างงานระหว่างทำ (Work in Process) ไม่อยู่ในช่วง หยุดผลิต

  43. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ มีความผันแปรเกิดขึ้น 2 ประเภทคือ 1. ความผันแปรที่จำเป็น (Necessary Variation) เป็นการผลิตที่มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเล็กน้อยตามธรรมชาติของ กระบวนการผลิต เช่น น้ำหนักบรรจุในถุงจริง 0.999 – 1.001กก. น้ำหนักระบุหน้าถุง 1 กก. สามารถลดได้โดยการปรับกระบวนการ ผลิตใหม่หรือเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่

  44. MJU. การจัดการ/ควบคุมคุณภาพ การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ มีความผันแปรเกิดขึ้น 2 ประเภทคือ 2. ความผันแปรที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Variation) เป็นการผลิตที่สามารถหาสาเหตุและกำจัดได้ เช่น แรงดัน เครื่องจักร วัสดุไม่มีคุณภาพ อากาศร้อน ผู้ควบคุมงาน ขาดประสบการณ์ เมื่อมีความผันแปรนี้เกิดขึ้น ต้องหยุดการผลิตแล้วแก้ไข ให้เหลือเฉพาะความผันแปรที่จำเป็นเพื่อให้กระบวนการ ผลิตอยู่ในช่วงของการควบคุมตามเดิม แล้วจึงผลิตต่อ

More Related