1 / 13

วัสดุแผ่นดูดซับเสียง

วัสดุแผ่นดูดซับเสียง. Jagkhapong Indee 51711356. วัสดุแผ่นดูดซับเสียง.

mauve
Download Presentation

วัสดุแผ่นดูดซับเสียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัสดุแผ่นดูดซับเสียง Jagkhapong Indee 51711356

  2. วัสดุแผ่นดูดซับเสียง วัสดุแผ่นดูดซับเสียง ถึงแม้จะเป็นวัสดุที่ไม่ใช่โครงสร้างหลักของอาคาร แต่ปัจจุบัน นับได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะไม่เพียงแต่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงซึ่งจะทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยหมดปัญหาเรื่องของเสียงแล้ว วัสดุดูดซับเสียงบางรุ่นยังมีความสวยงามควบคู่กันด้วย

  3. วัสดุดูดซับเสียง วัสดุซับเสียง คือ วัสดุดูดซับเสียงโดยการเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานจลน์โดยการหักเหหรือการกระจายภายใน โดยปกติแล้ว ในทุกๆวัสดุไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต ไม้ หรือเหล็ก มีคุณสมบัติในการซับเสียงในตัวเองอยู่แล้ว ขึ้นอยุ่กับว่า จะมากหรือน้อยเท่านั้น หรืออาจจะขึ้นอยุ่กับความถี่ของเสียงซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัสดุแต่ละประเภทอีกว่า จะสามารถดูดซับได้ดีในช่วงความถี่ไหน แต่ทั้งนี้ วัสดุพื้นฐานดังกล่าวอาจไม่เพียงพอสำหรับอาคาร หรือห้องบางประเภทที่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับเสียง ดังนั้นวัสดุดูดซับเสียงจึงเป็นอีกหนึ่งวัสดุสำคัญที่จะสามารถลดการเกิดปัญหาในเรื่องของเสียงได้

  4. หน้าที่และการนำไปใช้ ลักษณะการใช้งานที่วัสดุแผ่นกันเสียงถูกนำไปใช้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. ใช้เพื่อลดเสียงสะท้อนภายในห้องที่เกิดจากผนังผิวเรียบ ซึ่งส่วนใหญ่ ลักษณะแบบนี้จะถูกใช้ในห้องดูหนัง / ฟังเพลง / ห้องประชุม ฯลฯ 2. ใช้เพื่อลดเสียงรบกวนทั้ง จากภายในสู่ภายนอก และจากภายนอกสู่ภายใน ของตัวอาคารห้องห้องต่างๆ

  5. การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อนการใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน การใช้งานในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สำหรับห้องที่ต้องการควบคุมคุณภาพของเสียงเป็นพิเศษ หรือใช้สำหรับห้องที่ไม่ต้องการให้เกิดเสียงสะท้อน เช่น ห้องฟังเพลง / ดูหนัง / ห้องอัด รวมไปถึงห้องซ้อมดนตรี ซึ่งลักษณะการสะท้อนส่วนใหญ่จะเกิดกับช่วงเสียงที่มีความถี่ที่ต่ำ เช่น เสียงเบส เป็นต้น

  6. การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน วัสดุที่สามารถใช้ในการควบคุมเสียงสะท้อนโดยวิธีการซับหรือดูดกลืนเสียงจะได้แก่วัสดุที่มีลักษณะมวลเนื้อที่อ่อนนิ่ม เช่นโฟม ฟองน้ำ ผ้า พรม ฯลฯ ส่วนวัสดุที่สามารถใช้ควบคุมเสียงสะท้อนโดยวิธีการเกลี่ยกระจายเสียงให้สะท้อนออกไปในมุมกว้างจะได้แก่วัสดุผิวเรียบแข็งแต่มีลักษณะเป็นร่องซี่เช่น ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางแผ่นเสียงหรือซีดี ฯลฯ

  7. การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน การใช้งานฟองน้ำดูดซับเสียงในการลดเสียงสะท้อน การใช้งานฟองน้ำซับเสียงโดยทั่วๆ ไปนั้นจะนิยมติดเข้ากับผนังของห้องโดยตรง ซึ่งก็ให้ผลการใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง ตัวอย่างวัสดุแก้ไขปัญหาเสียงจากคลื่นความถี่ต่ำ

  8. การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน การใช้งานฟองน้ำดูดซับเสียงในการลดเสียงสะท้อน ทั้งนี้ก็มีวิธีที่สามารถจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฟองน้ำซับเสียงได้ ทั้งสัดส่วนการดูดซับเสียงและย่านความถี่ซับเสียงที่กว้างขึ้นด้วยการจัดตัวแผ่นฟองน้ำให้อยู่ห่างจากผนังห้องออกมา ซึ่งวิธีการที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ ก็คือการทำกรอบโฟม (Foam Frame) ให้กับฟองน้ำแต่ละแผ่น โดยกรอบโฟมนี้เมื่อนำไปติดกับแผ่นฟองน้ำก็จะทำให้แผ่นฟองน้ำคงตัวไม่ยุบหรือแอ่นงอเมื่อนำไปติดกับผนังห้อง

  9. การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน เทคนิคเพิ่มเติม ในสตูดิโอระดับมืออาชีพหลายๆ แห่งจะใช้วิธีลดปัญหาเสียงสะท้อนตั้งแต่การออกแบบแปลนและลักษณะของห้อง โดยนอกจากจะคำนวณสัดส่วนของห้องให้ได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว ก็มักจะจัดให้ผนังห้องมีลักษณะเหมือนกับปากแตรบานออกทางด้านจุดนั่งฟัง(Trapagon)ซึ่งเป็นการลดแนวคู่ขนานของผนังห้อง เพื่อช่วยเบี่ยงเบนหรือเปลี่ยนทิศทางไม่ให้เสียงสะท้อนแรกวิ่งมาที่จุดนั่งฟังโดยตรงทันที ซึ่งจะทำให้ได้ “พื้นที่ปลอดเสียงสะท้อนแรก” หรือ Reflection Free Zone (RFZ) และยังช่วยลดปัญหา Slap-Echo (Flutter-Echo) ซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอกับผนังคู่ขนานในทุกๆ ห้อง

  10. การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน ลักษณะของวัสดุแผ่นกันสำหรับที่จะนำมาใช้สำหรับ กันเสียงนั้นมีอยู่หลายลักษณะแตกต่างกัน เช่น วัสดุที่นำมาผลิต(พลาสติก,โฟม) / ลักษณะผิวหน้าของวัสดุ เป็นต้น ซึ่งก็ไม่สามารถจำแนกอย่างแน่นอนได้ ทั้งนี้ขึ้นกันการออกแบบของผู้ผลิตหลายๆราย แต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือ การกระจายคลื่นเสียงและลดกำลังของคลื่นเสียง ดังนั้น จะอธิบายโดยการยกตัวอย่างวัสดุสำหรับกันเสียง และวิธีการใช้ให้เหมาะสมกันงาน

  11. การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน วัสดุที่มีผิวหน้าเป็นเส้นขัดกันนี้มีความหน้าประมาณ 2 นิ้ว ส่วนใหญ่มักพบเห็นได้ตาม ห้องงานระบบ / โรงงาน / โรงพิมพ์ / สนามยิงปืน ซึ่งสามารถกันเสียงจากเครื่องจักรได้ถึง 70-100%

  12. การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน Acoustic Fabrics มีลักษณะเป็นแผ่นมีหลายสี ซึ่งนอกจากจะสามารถกันเสียง ยังสามารถใช้แทนวอลล์เปเปอร์ได้ สามารถกันเสียงในระดับเสียงพูดได้ดี นิยมใช้ในห้องประชุม / ออฟฟิศ / ห้องพิพากษาคดี

  13. การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน Sound Curtains & Blanketsพื้นผิวลักษณะคล้ายผ้าใบ ทำจากไฟเบอร์กลาสและไวนิล มักจะใช้กันเสียงจากคอมเพลสเซอร์ / ปั้ม / ใช้เป็นแผงกันเสียงบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง

More Related