1 / 14

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง

mayten
Download Presentation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง เศษส่วนทุกจำนวน สามารถเขียนอยู่ในรูปทศนิยมซ้ำได้ และทศนิยมซ้ำทุกจำนวน ก็สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้เช่นกัน ส่วนจำนวนจริงสามารถจำแนกเป็นจำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรรกยะ จำนวนจริง จำนวนตรรรกยะ และจำนวนอตรรกยะ มีความเกี่ยวข้องกัน การยกกำลังกับการหารากของจำนวนจริงก็มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการหารากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง อาจใช้การแยกตัวประกอบเข้ามาช่วยในการหาได้วิธีหนึ่ง และอาจหาได้โดยการประมาณค่า ซึ่งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้ โดยต้องตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

  2. การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมซ้ำ และการเขียนทศนิยมซ้ำในรูปเศษส่วน เศษส่วนทุกจำนวน สามารถเขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมซ้ำได้ และทศนิยมซ้ำทุกจำนวน ก็สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้เช่นกัน • การเปลี่ยนทศนิยมซ้ำศูนย์เป็นเศษส่วน โดยเขียนตัวเลขทศนิยมเป็นเศษ และสำหรับตัวส่วนเป็นเลขยกกำลังฐาน 10 ถ้าเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง ตัวส่วนเป็น 101 ทศนิยม 2 ตำแหน่ง ตัวส่วนเป็น 102 แต่สำหรับทศนิยมที่ไม่ได้ซ้ำศูนย์

  3. จำนวนจริง จำนวนอตรรกยะ จำนวนตรรกยะ จำนวนเต็ม เศษส่วนที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม จำนวนเต็มลบ ศูนย์ จำนวนเต็มบวก • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของระบบจำนวนจริง

  4. จำนวนจริง สามารถจำแนกออกได้เป็นจำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ หากเข้าใจความหมายของจำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะแล้ว จะสามารถยกตัวอย่างได้ถูกต้อง ขั้นตอนการเปลี่ยนทศนิยมซ้ำเป็นเศษส่วน ดังนี้ • กำหนดให้ N แทนทศนิยมทั้งหมด • คูณ N ด้วย 10 ยกกำลังเท่ากับจำนวนตำแหน่งทศนิยมทั้งหมด • คูณ N ด้วย 10 ยกกำลังเท่ากับจำนวนตำแหน่งทศนิยมที่ไม่ซ้ำ • นำสมการใน ข้อ 2) ลบด้วยสมการใน ข้อ 3) • หาค่า N • จำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนและตัวส่วนเป็นจำนวนเต็ม โดยที่ตัวส่วนไม่เป็นศูนย์ เรียกว่า จำนวนตรรกยะ สรุปเกี่ยวกับ การเปลี่ยนทศนิยมซ้ำ ดังนี้ 1) เศษส่วนสามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปทศนิยมซ้ำได้ 2) ทศนิยมซ้ำสามารถเขียนเป็นเศษส่วนได้ 3) จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่เขียนแทนได้ด้วยทศนิยมซ้ำ 4) จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่เขียนแทนได้ด้วยทศนิยมซ้ำหรือเศษส่วน เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มที่

  5. เรื่อง รากที่สองและการหารากที่สองของจำนวนจริง ถ้า a2 = b เมื่อ a แทนจำนวนจริงใดๆ และ b แทนจำนวนจริงซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับ 0 เรียก a ว่า รากที่สองของ b นั่นคือ รากที่สองของจำนวนจริงบวกใดๆ คือ กำลังสองของจำนวนจริงจำนวนหนึ่ง ซึ่งเท่ากับจำนวนจริงบวกนั้น ซึ่งค่ารากที่สองของจำนวนจริงบวกอาจเป็นจำนวนตรรกยะหรือจำนวนอตรรกยะได้ การหารากที่สองของจำนวนจริง อาจใช้วิธีการแยกตัวประกอบ ใช้วิธีการประมาณค่า และเปิดตาราง

  6. x 1 1 วิธีการหาความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เมื่อทราบความยาว ของด้านประกอบมุมฉากที่มีความยาวด้านละ 1 หน่วย ดังนี้ จากรูป จะได้ เราใช้ • แทนจำนวนที่ยกกำลังสองแล้วได้ 2 • ดังนั้น ว่า รากที่สองที่เป็นบวกของ 2 เรียก

  7. สรุปเกี่ยวกับรากที่สองได้ดังนี้สรุปเกี่ยวกับรากที่สองได้ดังนี้ 1) ถ้าให้ a แทนจำนวนจริงบวกใดๆ หรือศูนย์ รากที่สองของ a คือ จำนวนจริงที่ยกกำลัง สองแล้วได้ a 2) ถ้า a เป็นจำนวนจริงบวก แล้วรากที่สองของ a จะมีสองจำนวน คือ รากที่สองที่เป็นบวกซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ และรากที่สองที่เป็นลบ ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ - 3) ถ้า รากที่สองของ a คือ 0

  8. ตัวอย่าง จงหารากที่สองของ 49 วิธีทำ รากที่สองของ 49 เขียนแทนด้วย และ- เนื่องจาก = 9 และ ดังนั้น รากที่สองของ 49 คือ 9 และ -9

  9. สรุปเกี่ยวกับ วิธีการหารากที่สองของจำนวนจริงสำหรับจำนวนเต็มบวกจนสรุปได้ดังนี้ 1) ถ้าสามารถหาจำนวนเต็มจำนวนหนึ่งที่ยกกำลังสองแล้วเท่ากับจำนวนเต็มบวกที่กำหนดให้ รากที่สองของจำนวนนั้น จะเป็นจำนวนตรรกยะที่เป็นจำนวนเต็ม 2) ถ้าไม่สามารถหาจำนวนเต็มบวกที่ยกกำลังสองแล้วเท่ากับจำนวนเต็มบวกที่กำหนดให้รากที่สองของจำนวนนั้นจะเป็นจำนวนอตรรกยะ 3) ถ้าสามารถหาจำนวนตรรกยะที่ยกกำลังสองแล้วเท่ากับจำนวนตรรกยะบวกที่กำหนดให้ รากที่สองของจำนวนนั้นเป็นจำนวนตรรกยะ แต่ถ้าไม่สามารถหาจำนวนตรรกยะที่ยกกำลังสองแล้วเท่ากับจำนวนตรรกยะบวกที่กำหนดให้ รากที่สองของจำนวนนั้นจะเป็นจำนวนอตรรกยะ สรุป การหารากที่สองของจำนวนจริงว่า ถ้าสามารถหาจำนวนตรรกยะที่ยกกำลังสอง แล้วเท่ากับจำนวนตรรกยะบวกที่กำหนดให้ รากที่สองของจำนวนนั้นจะเป็นจำนวนตรรกยะ แต่ถ้าไม่สามารถหาจำนวนตรรกยะที่ยกกำลังสองแล้วเท่ากับจำนวนตรรกยะบวกที่กำหนดให้ รากที่สองของจำนวนนั้นจะเป็นจำนวนอตรรกยะ

  10. ตัวอย่างที่ 1 จงหารากที่สองของ 400 วิธีทำ เนื่องจาก การหารากที่สองโดยการแยกตัวประกอบ และ ดังนั้น รากที่สองของ 400 คือ 20 และ -20

  11. ตัวอย่างที่ 2 จงหา วิธีทำ เนื่องจาก ดังนั้น

  12. เรื่อง รากที่สามและการหารากที่สามของจำนวนจริง ถ้า a3 = b เมื่อ a และ b แทนจำนวนจริงใดๆ เรียก a ว่ารากที่สามของ b นั่นคือ รากที่สามของจำนวนจริงใดๆ คือ กำลังสามของจำนวนจริงจำนวนหนึ่ง ซึ่งเท่ากับจำนวนจริงนั้น ซึ่งค่ารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ อาจเป็นจำนวนตรรกยะหรือจำนวนอตรรกยะได้ การหารากที่สามของจำนวนจริงอาจใช้วิธีแยกตัวประกอบ ใช้วิธีการประมาณค่า และเปิดตาราง การหารากที่สองของศูนย์และจำนวนจริงบวกใดๆ คือ การหาจำนวนจริงที่ยกกำลังสองแล้วได้จำนวนจริงนั้น ในทำนองเดียวกัน การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ก็คือ การหาจำนวนจริงที่ยกกำลังสามแล้วได้จำนวนจริงนั้นการใช้สัญลักษณ์ของรากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ว่าใช้ แทนรากที่สาม

  13. ตัวอย่างที่ 1 จงหารากที่สามของ 64 วิธีทำ เนื่องจาก ดังนั้น รากที่สามของ 64 คือ 4

  14. ตัวอย่างที่ 2 จงหารากที่สามของ วิธีทำ เนื่องจาก นั่นคือ รากที่สามของ คือ ดังนั้น

More Related