1 / 113

พยานบุคคล

พยานบุคคล. 11. 11.1 ความหมายของพยานบุคคล (Witness). หมายถึง บุคคลที่มาให้ถ้อยคำต่อศาลและเบิกความเล่าเรื่องด้วยวาจา เพื่อที่ศาลจะได้บันทึกถ้อยคำของพยานผู้นั้นไว้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี ข้อสังเกตเกี่ยวกับถ้อยคำ พยาน = พยานบุคคล = witness พยานหลักฐาน = Evidence.

Download Presentation

พยานบุคคล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พยานบุคคล 11

  2. 11.1 ความหมายของพยานบุคคล (Witness) หมายถึง บุคคลที่มาให้ถ้อยคำต่อศาลและเบิกความเล่าเรื่องด้วยวาจา เพื่อที่ศาลจะได้บันทึกถ้อยคำของพยานผู้นั้นไว้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี ข้อสังเกตเกี่ยวกับถ้อยคำ พยาน = พยานบุคคล = witness พยานหลักฐาน = Evidence

  3. การแบ่งประเภทของพยานบุคคลการแบ่งประเภทของพยานบุคคล (1) ประจักษ์พยาน/พยานโดยตรง VS. พยานแวดล้อมกรณี / พยานเหตุผล (2) พยานบุคคลธรรมดาทั่วไป VS.พยานผู้เชี่ยวชาญ (3) ประจักษ์พยาน VS. พยานบอกเล่า พยานบุคคลประเภทใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากัน 

  4. ฎ.5462/2539พยานแวดล้อมกรณี คือพยานเหตุผลที่จะทำให้ศาลเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่หรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการใช้เหตุผลอนุมานเอาอีกต่อหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังคำของ ส. เจ้าของบ้านอันเป็นสถานที่ที่มีการเรียกเงิน และเป็นผู้แนะนำผู้กล่าวหาให้หาผู้ถูกกล่าวเป็นทนายความให้ กับคำของ ท. เพื่อนบ้านของผู้กล่าวหา ซึ่งผู้กล่าวหายืมเงิน 40,000 บาท เพื่อนำไปให้ผู้ถูกกล่าวจึงมารู้เห็นเหตุการณ์ อันเป็นพยานแวดล้อมที่มีรายละเอียดประกอบ ชอบด้วยเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่ จึงไม่ขัดต่อวิธีพิจารณาความ

  5. 11.2 ความสามารถในการเป็นพยานบุคคล (ป.วิ.พ มาตรา 95) ป.วิ.พ มาตรา 95 วรรคแรก บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น  (1) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ (2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น

  6. ป.วิ.พ มาตรา 95 วรรคสอง “ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคำเบิกความของบุคคลใดเพราะเห็นว่าบุคคลนั้นจะเป็นพยานหรือให้การดังกล่าวข้างต้นไม่ได้และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไปให้ศาลจดรายงานระบุนามพยานเหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้นให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน”

  7. กรณีไม่รู้ภาษาไทย เบิกความผ่านล่าม กรณีเป็นคนหูหนวก หรือ เป็นใบ้ หรือทั้งหูหนวกและเป็นใบ้ ป.วิ.พ มาตรา 96 ฎ.81/2531 คำเบิกความของพยานที่หูหนวกและเป็นใบ้ ให้ถือว่าเป็นคำเบิกความของพยานบุคคลส่วนวิธีถามหรือตอบนั้นอาจจะกระทำโดยวิธีเขียนหนังสือ หรือ โดยวิธีอื่นที่สมควรได้ ตาม ป.วิ.พ มาตรา 96

  8. กรณีเป็นคนวิกลจริต ฎ.1199/2526 ผู้เสียหายอายุ 16 ปี เป็นคนปัญญาอ่อน พูดเรื่องยากๆ ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่เบิกความต่อศาลได้เรื่องได้ราว ดังนี้รับฟังได้

  9. กรณีเป็นผู้เยาว์ ฎ.167/2540 แม้โจทก์ผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 8 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวแต่เมื่อเบิกความถึงเหตุการณ์ที่จำเลยกระทำอนาจารได้เป็นขั้นตอนตามลำดับตรงไปตรงมา ปราศจากการปรุงแต่งตามประสาเด็กที่ไร้เดียงสา ทั้งเรื่องราวหลังเกิดเหตุยังสอดคล้องเชื่อมโยงกันดีกับพยานอื่น ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง

  10. กรณีพยานบุคคลที่เป็นญาติกันกรณีพยานบุคคลที่เป็นญาติกัน ฎ.1351/2539ไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำเบิกความของพยานบุคคลที่เป็นญาติกันหากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชอบด้วยเหตุผลพอให้รับฟังได้ว่าเป็นความจริง ศาลก็มีอำนาจรับฟังคำเบิกความของพยานดังกล่าวนั้นได้

  11. 11.3 ป.วิ.พ. มาตรา 95/1 กับพัฒนาการ ของกฎหมายเรื่องพยานบอกเล่า เดิมแม้ ป.วิ.พ มาตรา 95 (2) จะมิได้กล่าวถึงคำว่า “พยานบอกเล่า” ไว้เลย แต่ ศาลฎีกาก็มักจะวินิจฉัยว่า ป.วิ.พ มาตรา 95 (2) เป็นเรื่องของการห้ามรับฟังพยานบอกเล่า และมีคำพิพากษาศาลฎีกาจำนวนไม่น้อยที่วินิจฉัยว่าคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าที่ศาลใช้ดุลพินิจรับฟังได้ แต่มีน้ำหนักน้อย ทั้งๆ ที่มาตรา 95(2) เป็นเรื่องความสามารถของพยานบุคคล จึงมีปัญหาว่าสถานะของคำให้การชั้นสอบสวนนั้นเป็นพยานเอกสารหรือพยานบอกเล่ากันแน่

  12. พยานบอกเล่าปัจจุบัน ป.วิ.พ. มาตรา 95/1 และ ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 บัญญัติความหมายของพยานบอกเล่าและการรับฟังพยานบอกเล่าไว้ชัดเจน “มาตรา 95/1 ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า

  13. ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็นอันเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด ให้นำความในมาตรา 95 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม”

  14. ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 “ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลหรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาล หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่า ศาลเห็นว่าพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรง มาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงานระบุนาม หรือชนิดและลักษณะของพยานบอกเล่า เหตุผลที่ไม่ยอมรับ และข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน”

  15. ความหมายของพยานบอกเล่า • เขียนไว้เหมือนกันทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาในปวิพ.มาตรา 95/1 และปวิอ. มาตรา 226/3 • องค์ประกอบ • 1.เป็นข้อความซี่งเป็นการบอกเล่าของบุคคลที่ • 1.1 พยานคนอื่นนำมาเบิกความต่อศาล หรือ • 1.2 บันทึกไว้ในเอกสาร/วัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐาน • 2. นำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น

  16. ข้อความซึ่งเป็นคำบอกเล่า • - จะต้องเป็นข้อความที่สื่อความหมายโดยคน • - จะต้องไม่ใช่ข้อความของบุคคลที่กำลังเบิกความต่อศาล • - หากข้อความนั้นบันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใด เอกสาร หรือวัตถุนั้นจะต้องมีการเสนอเป็นพยานหลักฐาน • - การเสนอคำบอกเล่าเป็นการเพื่อพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำบอกเล่า • ไม่ใช่การพิสูจน์ว่าได้มีการพูดข้อความซึ่งเป็นคำบอกเล่านั้น

  17. ตัวอย่างปัญหาว่าเป็นพยานบอกเล่าหรือไม่ • 1.พยานเบิกความว่าตามวันเวลาเกิดเหตุได้ยินเสียงสุนัขข้างบ้านเห่า เชื่อว่าจำเลยซึ่งอยู่บ้านข้างๆกลับมาถึงบ้าน • 2. บันทึกจดแจ้งในสูติบัตรเรื่องข้อมูลการเกิดของเด็กหญิงนก • 3. พยานเบิกความว่าไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพบจำเลยกำลังใช้โทรศัพท์มือถือได้ยินเสียงจำเลยเรียกอีกฝ่ายว่าคุณแม่ • 4.ในคดีหมิ่นประมาท พยานเบิกความว่า ได้ยินจำเลยพูดว่า นายก.เป็นนักการเมืองที่กินทุกอย่างแม้กระทั่งถนนหนทาง

  18. ตัวอย่าง(ต่อ) • 5. พยานเบิกความว่า สถานที่เกิดเหตุอยู่ชั้น 5 โดยพยานขึ้นลิฟท์มา เมื่อลิฟท์จอดแล้ว ลิฟท์ส่งเสียงว่าถึงชั้น 5 แล้ว พยานจึงเดินออก • 6. โจทก์อ้างส่งพริ้นท์เอ้าท์ จากเครื่อง เอทีเอ็ม แสดงรายการที่จำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ถอนเงิน • 7. พยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุรถชนกัน ได้ยินเสียงผู้เสียหายหวีดร้องและตะโกนว่า ฉันตายแน่ ไอ้คนขับระยำ • 8. บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนที่ผู้ต้องหาให้การว่า จำเลยที่2 บอกพยานว่า ซื้อยาเสพติดมาจากจำเลยที่ 3

  19. หลักเกณฑ์การรับฟังพยานบอกเล่าหลักเกณฑ์การรับฟังพยานบอกเล่า • ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าโดยมีข้อยกเว้น 2 ประการคือ • 1. เหตุเพราะความน่าเชื่อถือ คือ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมนั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ • 2. เหตุจำเป็น คือ มีเหตุจำเป็นอันเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น

  20. ปัญหาการตีความข้อยกเว้น • ตามปวิพ.มาตรา 95/1 และปวิอ. มาตรา 226/3 บัญญัติข้อยกเว้นไว้ 2ประการโดยถือว่า เข้าข้อยกเว้นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้เพราะตัวบทใช้คำว่า หรือ • ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ผ่านมาก่อนมีการแก้ไขกฎหมายต่างรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนในฐานะข้อยกเว้นของพยานบอกเล่า แม้หลังมีการแก้ไขกฎหมายให้ชัดเจนแล้ว ก็ยังปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาจำนวนมากที่รับฟังพยานบอกเล่า แต่ส่วนใหญ่ไม่ให้เหตุผลไว้

  21. แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกา 2 เรื่องที่เป็นปัญหา คือ ฎ.925/2552 และฎ.4112/2552 ซึ่งไม่รับฟังคำให้การชั้นสอบสวนในฐานะพยานบอกเล่า ฎีกาทั้งสองมีหมายเหตุและข้อวิจารณ์จากอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน • อาจารย์มีความเห็นว่าหากศาลจะไม่รับฟังคำให้การชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่า ศาลควรให้เหตุผลที่ชัดเจนว่าไม่เข้าข้อยกเว้นทั้ง (1) และ (2) เพราะเหตุใด

  22. สถานะของคำให้การชั้นสอบสวน • คำให้การชั้นสอบสวนแม้จะเป็นพยานบอกเล่า แต่เป็นพยานชนิดที่เกิดจากกระบวนการสอบสวนซึ่งเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตามปวิอ. ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดวิธีการที่เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติ หากปฏิบัติไม่ถูกต้องก็เข้าข่ายที่จะห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามมาตรา 134/4 วรรคท้าย หรือมาตรา 226/1 อบ่างแน่นอน • ดังนั้นคำให้การชั้นสอบสวนที่เจ้าพนักงานปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่างแล้ว ก็น่าที่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา226/3(1) • ส่วนน้ำหนักจะเชื่อถือได้เพียงใดเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาต่อไป

  23. การชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่าการชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า ในคดีแพ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 104 วรรคสอง กำหนดว่า “การชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่าว่าจะมีน้ำหนักให้น่าเชื่อเพียงใด ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงสภาพ ลักษณะ และแหล่งที่มาของพยานบอกเล่านั้น”

  24. ในคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 บัญญัติว่า “ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า ... ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน พยานหลักฐานประกอบตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย”

  25. สรุป หลักกฎหมายเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่าที่แก้ไขใหม่ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาจึงเป็นการยืนยันหลักตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ผ่านมา

  26. 11.4 การอ้างตนเองและคู่ความเป็นพยาน ป.วิ.พ มาตรา 97 ป.วิ.อ มาตรา 232, 233 ≠ • อ้างคู่ความฝ่ายอื่นได้ • อ้างตนเองได้ 1. ห้ามโจทก์อ้างจำเลย 2. จำเลยอ้างตนเองได้

  27. 11.4.1. การอ้างตนเองและคู่ความเป็นพยานในคดีแพ่ง ป.วิ.พ มาตรา 97 “คู่ความฝ่ายหนึ่ง จะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตน หรือ จะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้” ข้อพิจารณาและข้อสังเกต 1. การอ้างตนเองเป็นพยานต้องระบุตนเองในบัญชีระบุพยาน ตาม ป.วิ.พ มาตรา 88 ด้วย จะอ้างว่าตนเป็นคู่ความจึงไม่ต้องยื่นบัญชีระบุตนเองเป็นพยานไม่ได้ (ฎ.3130/2523)

  28. 2. ป.วิ.พ.มาตรา 97 บัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความในการอ้างคู่ความฝ่ายอื่นเป็นพยานของตน หรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้ โจทก์จะอ้างตัวจำเลยเบิกความเป็นพยานฝ่ายโจทก์ และจะนำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร แม้จะมิได้เข้าเบิกความเป็นพยานก่อนพยานอื่น ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (ฎ.301/2538)

  29. 3. การอ้างบุคคลเป็นพยานในคดีแพ่งไม่ค่อยจะมีข้อจำกัด แต่การอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานนั้น แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ทำได้ แต่ในทางปฏิบัติมักไม่ค่อยทำกันเพราะอาจถามค้านคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามก็ไม่มีกฎหมายบังคับว่าคู่ความในคดีแพ่งจะต้องเบิกความเป็นพยาน (ฎ.869/2509) 4. พยานของอีกฝ่ายหนึ่งอาจถูกอ้างเป็นพยานเป็นพยานร่วมกันด้วยก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 91 5. อ้างผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นเป็นพยานได้หรือไม่?

  30. 11.4.2 การอ้างตนเองและคู่ความเป็นพยานในคดีอาญา มาตรา 232 “ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน” มาตรา 233 “จำเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยานได้ ในกรณีที่จำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน ศาลจะให้เข้าสืบก่อนพยานอื่นฝ่ายจำเลยก็ได้ ถ้าคำเบิกความของจำเลยนั้นปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น จำเลยอื่นนั้นซักค้านได้ ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้”

  31. ข้อพิจารณาและข้อสังเกตข้อพิจารณาและข้อสังเกต 1. ในคดีอาญาหน้าที่ในการพิสูจน์ความผิดเป็นของโจทก์ 2. ป.วิ.อ มาตรา 232 ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน แต่ไม่ห้ามจำเลยเบิกความในฐานะพยาน เพราะจำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ แต่ในคดีที่มีจำเลยหลายคน จำเลยคนหนึ่งอาจเบิกความซัดทอด หรือ เป็นผลร้ายต่อจำเลยคนอื่น เช่นนี้ จำเลยอื่นย่อมมีสิทธิซักค้านได้ ตาม ป.วิ.อ มาตรา 233

  32. 3. “จำเลย” ในที่นี้ หมายถึง ผู้ที่ถูกโจทก์ฟ้องในคดีนั้น ถ้าไม่ใช่จำเลยในคดีเดียวกันไม่ต้องห้าม (ฎ.1164/2547) ส่วนผู้ที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยแต่มิได้มีฐานะเป็นจำเลยในขณะเบิกความ เช่น - โจทก์ยังไม่ได้ฟ้อง โจทก์กันไว้เป็นพยาน (ฎ.1769/2509, ฎ.2001/2514, ฎ.1835/2532) - โจทก์ฟ้องแล้วถอนฟ้อง (ฎ.227/2513, ฎ.9300/2539) เหล่านี้ โจทก์ย่อมอ้างเป็นพยานได้ ไม่ต้องห้ามตาม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 232

  33. 4. พยานซัดทอดศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง เพราะพยานซัดทอดเพียงอย่างเดียว ไม่อาจรับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้ ต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นประกอบเช่น ฎ.401/2496, ฎ.1885/2523, ฎ.153/2528, ฎ.1287/2531, ฎ.1835/2532, ฎ.3154/2533 และ ฎ1014/2540 ซึ่งหลักการชั่งน้ำหนักคำพยานซัดทอดตามมาตรา 227/1 เดินตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเหล่านี้

  34. 5. การที่ศาลเอาคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยมาประกอบการวินิจฉัย ถือไม่ได้ว่าเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน (ฎ.35/2532, ฎ.623/2535) และถือว่าคำให้การในชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าที่ต้องมีการชั่งน้ำหนักตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ด้วย

  35. 6. พยานหลักฐานจำเลยรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ เดิม ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาถือว่าพยานหลักฐานที่จะใช้ลงโทษจำเลยต้องเป็นพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น (ฎ.209/2490, ฎ.853/2532 (ประชุมใหญ่)) แต่ ตามมาตรา 233 วรรคสองที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า “ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้” จึงถือว่ามาตรา 233 วรรคสองมีผลเปลี่ยนแปลงหลักตาม ฎ. 853/2532 (ประชุมใหญ่) แล้ว

  36. 11.5 สถานที่ในการสืบพยาน หลัก จะสืบพยานในศาลที่มีการพิจารณาคดีนั้น แต่ • ก็อาจมีการสืบพยานในสถานที่อื่นได้ ได้แก่ • (1) การส่งประเด็นในคดีแพ่ง • การส่งประเด็นในคดีอาญา • การเดินเผชิญสืบ • การสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ

  37. 11.5.1 การส่งประเด็นในคดีแพ่ง  ใช้ในกรณีที่พยานหลักฐานไม่อยู่ในอำนาจของศาลนั้น คดีแพ่ง  ป.วิ.พ มาตรา 102 - ศาลที่ส่งประเด็นและศาลที่รับประเด็นจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น - คำว่า “แยกประเด็นไปสืบ” คือ ? - คำว่า “นัดฟังประเด็นกลับ” คือ ?

  38. ข้อพิจารณาและข้อสังเกตเรื่องการส่งประเด็นไปสืบข้อพิจารณาและข้อสังเกตเรื่องการส่งประเด็นไปสืบ 1. กรณีที่ศาลได้สั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นแล้วก็อาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ (ฎ.2607/2526 ) ฎ.2607/2526 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 6 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 10 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วต่อมาได้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและสั่งให้ตัวจำเลยมาเบิกความที่ศาลแทนการส่งประเด็นนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ว่าสมควรจะให้สืบพยานหลักฐานใดในศาลหรือนอกศาลตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐาน หรือ จะให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนก็ได้หากศาลเห็นเป็นการจำเป็นดังมีบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 102ดังนั้น เมื่อศาลเห็นว่ายังไม่จำเป็นที่จะให้ส่งประเด็นไปสืบจำเลย ก็ชอบจะไม่อนุญาตได้ แม้ศาลจะสั่งอนุญาตแล้วก็เพิกถอนได้

  39. 2. ดุลพินิจในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการส่งประเด็นไปสืบเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎ.2292-2293/2530 ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ขอส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มภาคภูมิ และศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการส่งประเด็นและการกำหนดค่าเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

  40. 3. การที่ศาลที่รับประเด็นส่งประเด็นไปสืบพยานประเด็นที่ศาลอื่น เนื่องจากพยานย้ายที่อยู่ คู่ความที่ส่งประเด็นไม่จำต้องแก้บัญชีพยานอีก ฎ.2078/2542 บัญชีระบุพยานโจทก์อ้าง พ.เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขอส่งประเด็นไปสืบ พ.ที่ศาลแพ่ง ทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่น ขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วยทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 102 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก

  41. 4. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 102 ผู้พิพากษาที่ได้รับมอบหมาย หรือ ศาลที่ได้รับการแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดี หมายถึง มีอำนาจที่จะสืบพยานหลักฐานตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ไม่มีอำนาจสั่งบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมที่คู่ความยื่นขอระบุเพิ่มเติมต่อศาลนั้นได้

  42. 11.5.2 การส่งประเด็นไปสืบในคดีอาญา (ป.วิ.อ. มาตรา 230) “มาตรา 230เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร ศาลอาจเดินเผชิญสืบพยานหลักฐาน หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาสืบที่ศาลนั้น และการสืบพยานหลักฐาน โดยวิธีอื่นไม่สามารถกระทำได้ ศาลมีอำนาจส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิม รวมทั้งมีอำนาจส่งประเด็นต่อไปยังศาลอื่นได้

  43. ภายใต้บังคับมาตรา 172 และมาตรา 172 ทวิ ให้ส่งสำนวนหรือสำเนาฟ้อง สำเนาคำให้การ และเอกสารหรือของกลางเท่าที่จำเป็นให้แก่ศาลที่รับประเด็นเพื่อสืบพยานหลักฐาน หากจำเลยต้องขังอยู่ในระหว่างพิจารณา ให้ผู้คุมขังส่งตัวจำเลยไปยังศาลที่รับประเด็น แต่ถ้าจำเลยในกรณีตามมาตรา 172 ทวิ ไม่ติดใจไปฟังการพิจารณาจะยื่นคำถามพยานหรือคำแถลงขอให้ตรวจพยานหลักฐานก็ได้ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานไปตามนั้น เมื่อสืบพยานหลักฐานตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งถ้อยคำสำนวนพร้อมทั้งเอกสารหรือของกลางคืนศาลเดิม”

  44. ข้อพิจารณาเรื่องการส่งประเด็นไปสืบข้อพิจารณาเรื่องการส่งประเด็นไปสืบ ในคดีอาญา 1. กรณีที่จำเลยขอตามไปฟังการพิจารณา ศาลไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ยอมให้จำเลยตามประเด็นไปได้เพราะคดีอาญาการพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าจำเลยและให้โอกาสจำเลยซักค้านพยานโจทก์ด้วย (ฎ. 377–378/2516) แต่ถ้าจำเลยแถลงว่าจะไม่ตามประเด็นไป ศาลที่รับประเด็นย่อมพิจารณาคดีไปได้ ไม่ถือว่าเป็นการสืบพยานลับหลังจำเลย (ฎ.1066/2526)

  45. 2. ผู้พิพากษาที่นั่งสืบประเด็นที่ศาลอื่นไม่มีอำนาจทำความเห็นแย้งให้อุทธรณ์ / ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และ มาตรา 221 (ฎ.3420/2538) 3. มาตรา 230 ที่แก้ไขใหม่ผู้พิพากษาต้องไปเดินเผชิญสืบเองจะมอบให้จ่าศาลไปเดินเผชิญสืบ แทนไม่ได้ (ต่างจากมาตรา 230 เดิมที่ให้จ่าศาลเดินเผชิญสืบแทนได้)

  46. 11.5.3 การเดินเผชิญสืบ คือ การที่ศาลไปสืบพยานนอกสถานที่ การเดินเผชิญสืบในคดีแพ่ง อาจจะเนื่องมาจาก 1) คำร้องของคู่ความหรือตามที่ศาลเห็นสมควรตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐาน (ป.วิ.พ. มาตรา 102) หรือ 2) ลักษณะของพยาน เช่น พยานเป็นวัตถุหรืออาคารสถานที่ไม่อาจนำมาศาลได้ (ป.วิ.พ. มาตรา 128) หรือ 3) เพราะความจำเป็นเนื่องจากพยานบุคคลที่ถูกอ้างเจ็บป่วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 108 และกรณีเป็นพระภิกษุตามมาตรา 106/1 (2) ด้วย การเดินเผชิญสืบในคดีอาญา (ตามป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่แก้ไขใหม่) ผู้พิพากษาต้องไปเดินเผชิญสืบเองจะมอบให้จ่าศาลไปเดินเผชิญสืบแทนไม่ได้อีกต่อไป

  47. ข้อสังเกต 1) คดีแพ่งผู้พิพากษาจะต้องไปเดินเผชิญสืบ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 103/1 “มาตรา 103/1 ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน และศาลเห็นเป็นการจำเป็นและสมควร ศาลอาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่นซึ่งคู่ความเห็นชอบให้ทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะต้องกระทำนอกศาลแทนได้ ให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้นำความในมาตรา 103 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

  48. 2. การเดินเผชิญสืบ หรือ การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นเป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาคดีเมื่อเห็นเป็นการจำเป็น (ฎ.3996/2514, ฎ.4549/2540) 3. วันที่มีการเดินเผชิญสืบถือได้ว่าเป็นการสืบพยานในคดี 4. การเดินเผชิญสืบในคดีแพ่ง คู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการตามกฎหมาย ส่วนในคดีอาญาไม่มีการเสียค่าธรรมเนียม

  49. 2. การเดินเผชิญสืบ หรือ การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นเป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาคดีเมื่อเห็นเป็นการจำเป็น (ฎ.3996/2514, ฎ.4549/2540) 3. วันที่มีการเดินเผชิญสืบถือได้ว่าเป็นการสืบพยานในคดี (ฎ. 3872/2535) 4. การเดินเผชิญสืบในคดีแพ่ง คู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการตามกฎหมาย ส่วนในคดีอาญาไม่มีการเสียค่าธรรมเนียม

  50. 11.5.4 การสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ การสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพเป็นบทบัญญัติของกฎหมายใหม่ที่เปิดโอกาสให้มีการสืบพยานบุคคลนอกศาลเพิ่มขึ้นอีกนอกจากการเดินเผชิญสืบและการส่งประเด็นไปสืบ ดังนี้ (ก) คดีแพ่ง (ป.วิ.พ. มาตรา 120/4) (ข) คดีอาญา (ป.วิ.อ. มาตรา 230/1)

More Related