1 / 18

IC 3901

IC 3901. การวิจัยเพื่อพัฒนาทางคอมพิวเตอร์1. "RESEARCH FOR COMPUTER DEVELOPMENT1". คำอธิบายรายวิชา.

Download Presentation

IC 3901

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. IC 3901 การวิจัยเพื่อพัฒนาทางคอมพิวเตอร์1 "RESEARCH FOR COMPUTER DEVELOPMENT1"

  2. คำอธิบายรายวิชา ศึกษางานวิจัย วิธีการทำวิจัย การกำหนดหัวข้อ การกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย การวางแผนการวิจัย การเขียนโครงร่างการวิจัย การสร้างแบบงานวิจัย การสร้างและใช้เครื่องมือ การลำดับขั้นตอนในการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การสรุปผลการวิจัย

  3. ผู้สอน อ.อัญชณา อุประกูล ห้องพัก 4156

  4. การประเมิน • คะแนนการเข้าเรียน + ส่งงานที่มอบหมาย 30 คะแนน • การนำเสนอหัวข้อและรายงาน 60 คะแนน • คะแนนการสอบ final 10 คะแนน TOTAL = 100 คะแนน

  5. เกณฑ์การประเมิน(ตัดเกรด)เกณฑ์การประเมิน(ตัดเกรด)

  6. การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อแสวงหาคำตอบสำหรับปัญหาหรือคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้หรือเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ข้อดีของการวิจัย คือ สามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง (ถ้าได้มีการนำไปใช้) ข้อเสียของการวิจัย คือ ต้องใช้เวลา และทรัพยากรต่างๆ มาก ต้องมีความรุ้และยึดระเบียบวิธีวิจัยอย่างเคร่งครัด

  7. ขั้นตอนการวิจัยโดยทั่วไปขั้นตอนการวิจัยโดยทั่วไป การกำหนดปัญหา / หัวข้อวิจัย การสุ่มหรือเลือกกลุ่มตัวอย่าง support การค้นคว้าและทบทวนเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดตัวแปรและสมมุติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกแบบการวิจัย สรุปผล และเขียนรายงาน

  8. การกำหนดปัญหา การวิจัยที่ดีควรจะต้องเริ่มต้นด้วยด้วยปัญหาหรือคำถามเสมอ เพราะการกำหนดปัญหาหรือคำถามเป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้เกิดกระบวนการในขั้นต่อๆไป และการวางแผนในแต่ละขั้นตอนนั้นขึ้นกับคำถามในการวิจัย ตัวอย่างเช่น ในการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรพบว่าในการให้อาหารถ้ามีการให้อาหารกุ้งในเวลากลางคืนด้วยจะทำให้กุ้งมีการเติบโตดีและได้ผลผลิตเร็วกว่าการให้อาหารแต่ตอนกลางวัน แต่ปัญหาที่พบคือในการให้อาหารในตอนกลางคืนเกษตรกรไม่สามารถออกมาให้อาหารกุ้งได้เนื่องจากในการให้อาหารต้องให้เป็นเวลา และเกษตรกรมีความเหนื่อยล้าเพราะในตอนกลางคืนเป็นเวลาที่ต้องพักผ่อน ดังนั้นหัวข้อวิจัยนี้คือ การสร้างเครื่องให้อาหารกุ้ง

  9. การเลี้ยงกุ้ง ปัญหา ; ให้อาหารกุ้งเพียงกลางวันต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 1 เดือนจึงจะได้ผลผลิตดี การแก้ ; ถ้าให้อาหารกุ้งทั้งกลางคืนกุ้งก็จะใช้เวลาในการเลี้ยงน้อยลง (ประมาณครึ่งเดือน) BUT; ไม่สามารถให้กลางคืนได้เพราะเหนื่อย THEREFORE ; สร้างเครื่องให้อาหารกุ้ง(ตั้งเวลาได้)

  10. การมองวิทยุแล้วนึกถึงปัญหาการมองวิทยุแล้วนึกถึงปัญหา พัฒนารูปแบบ การใช้งานการพกพา ความสะดวกสะบาย ประโยชน์ใช้สอย

  11. ตัวอย่างการมองปัญหาในการซักผ้าตัวอย่างการมองปัญหาในการซักผ้า คนซักผ้าลำบาก สร้างเครื่องซักผ้า

  12. สรุปลำดับขั้นตอนในการกำหนดหัวข้อสรุปลำดับขั้นตอนในการกำหนดหัวข้อ ขั้นตอนที่ 1ยกปัญหาในกลุ่มปัญหาทั้งหมดเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อ ขั้นตอนที่ 2สังเกตการณ์การเกิดปัญหาของปัญหาที่เลือกเป็นหัวข้อในขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 3ตรวจสอบปัญหา เพื่อทำให้สามารถสร้างความคิดสำหรับการแก้ปัญหาในอนาคต ขั้นตอนที่ 4หากพบว่าข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่เหมาะสมในการเป็นหัวข้อของการวิจัย กลับไปในขั้นตอนที่ 1 เพื่อกำหนดหัวข้อใหม่ หากค้นพบรูปแบบการเกิดปัญหาในขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบนั้นไปคิดหาข้อคิดในการแก้ไขต่อไป

  13. สำหรับการวิจัยทั่วไป ขั้นตอนการเลือกปัญหาหรือหัวข้อวิจัยถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากว่าจะเป็นตัวกำหนดขั้นตอนอื่นๆ นั่นคือ ถ้าเลือกปัญหาหรือหัวข้อวิจัยไม่ดีแล้ว แม้จะดำเนินการวิจัยในขั้นตอนอื่นๆ ได้ดีหรือสมบูรณ์ถูกต้องเพียงใดก็ยากที่จะทำให้งานวิจัยเรื่องนั้นๆ มีคุณค่าได้ (แก้ปัญหาไม่ถูกจุด) การเลือกนวัตกรรม เช่นเดียวกับการเลือกปัญหาวิจัย หรือดำเนินการอื่นๆ ที่ควรพิจารณาโดยยึดหลัก 1.ความรู้ 2.ความสามารถ 3.ความถนัด 4.ความสนใจของผู้ทำ รวมทั้งผู้รับ

  14. ลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสมลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสม 1.สร้างและใช้งานได้ง่ายหรือไม่ 2.ประหยัดในการสร้างหรือไม่ 3.ดูแลรักษาง่ายหรือไม่ 4.คุ้มค่าหรือไม่ 5.เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้ใช้มีความเหมาะสมหรือไม่ 6.เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับนวัตกรรมตัวอื่นๆ มีความเป็นไปได้หรือเหมาะสมกว่ากันอย่างไร

  15. การค้นคว้าหาเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้องการค้นคว้าหาเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.ในการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องเอกสารที่ค้นคว้าต้องมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำหรือเนื้อหา หลักการ ทฤษฎี เป็นต้นที่ใช้ในการวิจัย 2.ต้องค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีที่ไม่มีเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็ใช้เอกสารที่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเราบ้างไม่มากก็น้อย 3.เอกสารที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรเป็นเอกสารที่ทันสมัยไม่ควรเกิน 10 ปี (กรณีที่จะใช้เอกสารเก่ากว่านี้ได้ต้องมีข้อยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆเช่นไม่มีผู้แต่งใหม่) นั่นคือเอกสารต้องมีความทันสมัย 4.ถ้าหากเป็นเอกสารหรือฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาประวัติ ความมีชื่อเสียงของผู้แต่งหรือผู้เกี่ยวข้อง บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ ฯลฯด้วย (ต้องมีความเป็นมาตรฐาน)

  16. 5.เอกสารที่ค้นนั้นที่มาของเอกสารควรมีความน่าเชื่อถือ เช่นวารสารทางวิชาการ งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ตำรา เทคโนโลยีสารสนเทศ (ฐานข้อมูลจากห้องสมุดอัตโนมัติ หรือฐานข้อมูลจากซีดีรอม หรือจากอินเตอร์เน็ต)และจากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญหรืผู้มีประสบการณ์ เป็นต้น โดยเอกสารที่ค้นคว้าควรให้ครอบคลุมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 6.กรณีที่เป็นเรื่องสากลทั่วไป ควรค้นคว้าทั้งจากในประเทศและต่างประเทศอย่าละเลยเอกสารจากต่างประเทศ เพราะข้อจำกัดทางภาษาเนื่องจากเอกสารจากต่างประเทศมักจะมีหลากหลาย และมาตรฐานสูง

  17. กรณีที่มีการค้นคว้าจากเอกสารเก่า และเอกสารนั้นยังไม่ได้มีการวิจัยต่อ ควรระบุดังนี้ วิจัย หลักการ (2532 ) กล่าวว่า …………………………………………………………………………………………………………………………………ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีผู้ศึกษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด หรือ วิจัย หลักการ (2532 ) กล่าวว่า …………………………………………………………………………………………………………………………………ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจนถึงปัจจุบัน

  18. การบ้าน • ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 2-3 คน ลองหาปัญหาที่สนใจ • 2. วันที่ 13 ตุลาคม แจ้งชื่อสมาชิกในกลุ่มในชั้นเรียน • 3. วันที่ 20 ตุลาคม แจ้งชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมกับหัวข้อปัญหาวิจัยในชั้นเรียน

More Related