1 / 55

แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556 ในลักษณะ บูรณา การเชิงพื้นที่

แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556 ในลักษณะ บูรณา การเชิงพื้นที่. สุริยา จันทร กระจ่าง สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สศช. ที่มาของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จว. และ กลุ่มจว.

mea
Download Presentation

แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556 ในลักษณะ บูรณา การเชิงพื้นที่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556ในลักษณะบูรณาการเชิงพื้นที่ สุริยา จันทรกระจ่าง สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สศช.

  2. ที่มาของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จว.และ กลุ่มจว. พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการบริหารราชการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดและการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ก.น.จ. อ.ก.น.จ. กบจ. / กบก.

  3. ขั้นตอนการของบประมาณประจำปีของ จว.และ กลุ่มจว. รัฐสภา (อนุมัติ) ส.ง.ป. (ร่างงบประมาณ) ก.น.จ. (เห็นชอบ) อ.ก.น.จ. (กลั่นกรอง) กบจ./กบก. (เห็นชอบ)

  4. พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ปี 2551 “แผนพัฒนาจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัดในอนาคต “แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของกลุ่มจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดในอนาคต “แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนาจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุถึงโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการในจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดำเนินการโดยจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน “แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุถึงโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการในกลุ่มจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดำเนินการโดยจังหวัด กลุ่มจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน

  5. พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ปี 2551 มาตรา ๖ การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ (๑) การบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แล้วแต่กรณี (๒) การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (๓) การกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ (๔) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๕) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ (๖) การบริหารงบประมาณจังหวัดให้เป็นไปตามวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ ก.น.จ. กำหนดตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ

  6. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ • ให้นำนโยบายของรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค รวมถึงยุทธศาสตร์รายสาขา เช่น ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม แนวทางการพัฒนาการเกษตร เป็นต้น ตลอดจนผลการศึกษาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด • มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วนโดยคำนึงความพร้อมของทุกภาคส่วน โดยให้พิจารณาความพร้อมของส่วนราชการต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการบูรณาการแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่กำหนดไว้ และความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินโครงการพัฒนาร่วมระหว่างจังหวัด/กลุ่มจังหวัดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโครงการพัฒนาร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดและกลุ่มจังหวัดโดยสมัครใจ ตลอดจนความพร้อมของภาคเอกชนของแต่ละพื้นที่ในการสนับสนุนหรือร่วมลงทุนกับภาครัฐในการจัดโครงการ/กิจกรรม เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

  7. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ) • รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องมีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด โดยให้ใช้กระบวนการประชาคมชุมชน เพื่อพิจารณาปัญหาและความต้องการของประชาชนรวมทั้งนำข้อมูลตามแผนชุมชนมาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วย • ให้ความสำคัญกับกลุ่มจังหวัด จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องให้ความสำคัญในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้มากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาและกระจายความเจริญเติบโตระหว่างจังหวัด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในแต่ละพื้นที่ของแต่ละจังหวัด

  8. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)ขอบเขตของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ขอบเขตของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด • แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเป็นแผนที่มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัดและนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัด ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัด • แผนพัฒนาจังหวัดเป็นแผนที่มุ่งการพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและอาชีพ ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัด

  9. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ) แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ความสอดคล้องเชื่อมโยง กับนโยบายของรัฐบาลแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค รวมถึงยุทธศาสตร์รายสาขารวมทั้งความสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ • คุณภาพของแผน ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่มีคุณภาพ จะต้องผ่านกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย และแผนดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจน ความเป็นเหตุเป็นผลของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่สอดคล้อง เชื่อมโยงตั้งแต่วิสัยทัศน์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ จนถึงแผนงาน/โครงการ (Logical Framework) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  10. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ) แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • มีการกำหนดประเด็นปัญหาและโอกาสการพัฒนาชัดเจนทั้งในเชิงของขนาด และพื้นที่ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและโอกาสการพัฒนานั้นๆ • มีวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นถึงการแก้ปัญหา และการใช้โอกาสในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด • มีประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผน โดยในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์จะต้องมีการหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อยืนยันประเด็นยุทธศาสตร์นั้น ๆ และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน • มีการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นยุทธศาสตร์ • มีแผนงาน /โครงการ ตอบสนองกับแนวทางพัฒนานั้นๆ และมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ

  11. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด รวมทั้งกรอบของแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • กำหนดโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และแสดงให้เห็นถึงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละโครงการชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และสนับสนุนกัน เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวนำไปใช้ประกอบการจัดทำคำของบประมาณหรือจัดงบประมาณมาสนับสนุนและดำเนินกิจการโดยกำหนดว่า • โครงการใดที่ดำเนินการโดยกลุ่มจังหวัด/จังหวัด • โครงการใดที่ดำเนินการโดยกระทรวง กรม • โครงการใดที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • โครงการใดที่ดำเนินการโดยภาคธุรกิจเอกชนหรือร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน • โครงการใดที่ดำเนินการโดยชุมชน

  12. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • โครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จะต้องอยู่ในแนวทางดังนี้ • เป็นโครงการที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ความจำเป็นของโครงการ ต้องเป็นโครงการที่ช่วยพัฒนา (เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด) หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และหากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหาย

  13. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • โครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จะต้องอยู่ในแนวทางดังนี้ (ต่อ) • ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโครงการ ต้องมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ • ด้านเทคนิค (วิธีการหรือรูปแบบที่ใช้ในการดำเนินการ) • ด้านกายภาพ (ความพร้อมของพื้นที่ดำเนินงาน บุคลากร การบริหารความเสี่ยง และการบริหารจัดการ) • ด้านงบประมาณ (ความสมเหตุสมผลของวงเงินกับประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ) ด้านระยะเวลาที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบในการดำเนินโครงการ • ความคุ้มค่า ผลลัพธ์หรือประโยชน์ของโครงการที่คาดว่าจะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง อาทิ จำนวนประชากร จำนวนเกษตรกร พื้นที่เพาะปลูก รายได้ ฯลฯ โดยเฉพาะในส่วนของผลประโยชน์ที่กระทบในส่วนของประชาชนในพื้นที่

  14. ลักษณะโครงการที่จะนำมาเป็นคำของบประมาณของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้ และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาสินค้า OTOP • การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ • การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ • การพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร จังหวัด กลุ่มจังหวัด

  15. ลักษณะโครงการที่จะนำมาเป็นคำของบประมาณของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • การฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน • การยกระดับคุณภาพชีวิต • ความมั่นคง • การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่พิเศษ อาทิ กลุ่มการค้าชายแดน กลุ่มธุรกิจและสินค้าฮาลาล • การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ชุมชน • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัด กลุ่มจังหวัด

  16. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ลักษณะโครงการจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด • พื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเห็นชอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ • ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทางที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่างแท้จริง • การฝึกอบรม ดูงาน • เป็นการขุดลอกคูคลอง • เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณีของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด

  17. มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ลักษณะโครงการจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ต่อ) • มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ยกเว้นการฝึกอบรมด้านอาชีพ และการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา • เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย (ควรมีการบูรณาการภารกิจหรือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโครงการเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล เช่น กรณีที่เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำหรือสร้างทาง ควรจัดทำเป็นชุดโครงการ เช่น “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำหรือทางเพื่อ...” โดยรวมกิจกรรมและพื้นที่ดำเนินการในการพัฒนาแหล่งน้ำ/ทาง มารวมไว้ในโครงการเดียวกัน ไม่ควรขอเป็น ๑) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ/ทางหมู่บ้านโคกหมากมาย ตำบลหนองเหล็ก หรือ ๒) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ/ทางบ้านยางน้อย ตำบลยางน้อย เป็นต้น) • เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของหน่วยงานราชการต่างๆ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่แล้วเว้นแต่เป็นโครงการที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง

  18. พิจารณาโดย อ.ก.น.จ.

  19. ข้อสังเกตแผนพัฒนาจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัด • ขาดการวิเคราะห์ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม ) • นำเสนอข้อมูลเพียงปีเดียว ไม่เห็นแนวโน้มของศักยภาพหรือสภาพปัญหา • ไม่มีการเปรียบเทียบข้อมูลกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มหรือของภาคหรือของประเทศ • การนำเสนอเป็นการอธิบายข้อมูลมากกว่าเหตุผล • การวิเคราะห์ SWOT • ยังไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ หรือคลาดเคลื่อน ทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยเฉพาะการแยกแยะปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก • ขาดการวิเคราะห์เชื่องโยง ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส • การกำหนดบทบาทของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในอนาคต • ไม่ได้กำหนดบทบาทของจังหวัด • การกำหนดวิสัยทัศน์ • มีลักษณะเป็นคำขวัญ หรือเป็นเพียงภาพปัจจุบัน • ไม่เชื่อมโยงกับบทบาทที่กำหนด • ใช้ภาพปัจจุบัน ไม่มีลักษณะเชิงรุก หรือไม่มีความท้าทาย (แต่ต้องเป็นไปได้)

  20. ข้อสังเกตแผนพัฒนาจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ต่อ) • การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ • ไม่เชื่อมโยงกับบทบาท และวิสัยทัศน์ • การกำหนดตัวชี้วัด • มีลักษณะเป็นนามธรรม วัดค่าเชิงปริมาณไม่ได้ • เน้นกระบวนการ มากกว่า output หรือ outcome • ไม่มีค่าฐาน (benchmark) ของตัวชี้วัด • บัญชีชุดโครงการ • ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ • ขาดความต่อเนื่องในระยะปานกลางหรือระยะยาว • ไม่แสดงภาพการบูรณาการระหว่างภาคีการพัฒนา (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน เอกชน)

  21. สรุปความเห็น อ.ก.น.จ. คณะที่ 5ในการประชุมพิจารณาคุณภาพแผนและกลั่นกรองโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 • แผนพัฒนาจังหวัดยังไม่ครอบคลุมทุกมิติ • ขาดการบูรณาการโครงการระหว่างภาคส่วนต่างๆ • โครงการมีลักษณะเป็นกิจกรรมย่อยๆ มารวมกัน • โครงการส่วนใหญ่เป็นการสร้าง/ซ่อมแซมถนน ขุดลอก คูคลอง การฝึกอบรม ยังไม่สามารถบ่งบอกถึงความสำเร็จของการพัฒนา • ขาดการอธิบายเหตุผลและความจำเป็น พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน • แนวทางการบริหารจัดการเมื่อโครงการแล้วเสร็จ

  22. คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์

  23. คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์

  24. คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)

  25. คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)

  26. คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)

  27. คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)

  28. การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีต้องเริ่มจากการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีต้องเริ่มจากการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด

  29. แนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 1) ปรับแนวคิดในการจัดทำแผน/โครงการของจังหวัด • การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดมุ่งเน้น การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม และรักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม • มุ่งเน้นให้แผนงาน/โครงการบังเกิดผลอย่างยั่งยืนในระยะยาว ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะสั้น • ให้ความสำคัญกับสังคมส่วนรวมหรือคนส่วนใหญ่ มากกว่าส่วนบุคคลหรือเฉพาะบางกลุ่ม • ถ้าเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ควรเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาแก้ไข หรือปัญหาที่ต้องการความมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง หรือเป็นปัญหาเร่งด่วนกระทบคนส่วนใหญ่และไม่มีแหล่งช่วยเหลืออื่นๆ

  30. แนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • ปรับแนวคิดการจัดทำแผน/โครงการของจังหวัด (ต่อ) • ผลักดันการดำเนินงานของทุกฝ่าย (ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ประชาชน ธุรกิจเอกชน) ตามบทบาทหน้าที่ ความถนัด ความรับผิดชอบ และศักยภาพ • ส่งเสริม/ผลักดันให้เอกชน/ประชาชน เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการพัฒนา รัฐเป็นผู้สนับสนุน • ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดอยู่เสมอ • ควรทบทวนแผนพัฒนา จว. /กลุ่ม จว. และบัญชีโครงการ หากจำเป็นต้องปรับปรุงควรเป็นความเห็นร่วมกันของทุกภาคส่วน • สร้างความรู้ความเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และแนวทางการพัฒนาจังหวัดให้แก่ภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นด้านการลงทุนในพื้นที่

  31. แนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • เน้นการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย • ยึดหลักความคุ้มค่า ของเวลา กำลังคน และงบประมาณที่มีอย่างจำกัด • สร้างความสอดคล้องความเชื่อมโยงหรือสนับสนุนกัน ระหว่างแผนจังหวัด และกลุ่มจังหวัด และแผนงานของส่วนราชการและท้องถิ่น 2) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการจัดทำแผน • พัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร เชิงลึกที่จำเป็นในการวางแผน • พัฒนางานศึกษาวิจัยสนับสนุนการจัดทำแผนจังหวัด • พัฒนาเวทีประชาคม กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในระดับพื้นที่ (ชุมชน / ท้องถิ่น / อำเภอ / จังหวัด / กลุ่มจังหวัด) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือการระดมสมอง • พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ / ยุทธศาสตร์

  32. สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดสาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัด • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้ครบถ้วนทุกมิติ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง • แสดงข้อมูลให้เป็นอนุกรม และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ในระยะปานกลาง 4 - 5 ปี หรือระยะยาว (10 -15 ปี) หรือตามรอบแผนพัฒนา โดยมีฐานข้อมูลรองรับอย่างเป็นระบบ หรือเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลอื่นๆ ของจังหวัด เช่น GPP, แรงงาน, การศึกษา, สุขภาพ • การวิเคราะห์ SWOT • วิเคราะห์SWOTให้ชัดเจน ทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค สามารถใช้เครื่องมือเสริม เช่น BCG model • วิเคราะห์เชื่อมโยง ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส • การกำหนดบทบาทของจังหวัด • กำหนดบทบาทของจังหวัดให้ชัดเจน และสอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัด (กำหนดได้มากกว่า 1 ด้าน แต่ไม่ควรมากเกินไปจนขาดจุดเน้น)

  33. สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด(ต่อ)สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด(ต่อ) • การกำหนดวิสัยทัศน์ • ควรเป็นภาพในอนาคตของจังหวัดที่ประชาคมต้องการ มีความท้าทาย (แต่ต้องเป็นไปได้) • การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ • ต้องเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วิสัยทัศน์ และบทบาทของจังหวัด • ควรเชื่อมโยงกับแผนชาติ แผนภาค และแผนกลุ่มจังหวัดและแผนรายสาขา • การกำหนดตัวชี้วัด • มีลักษณะเป็นตัวเลขเชิงประจักษ์ วัดค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยแสดงค่าฐานและทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา • สามารถตอบสนองวิสัยทัศน์ และประเด็นยุทธศาสตร์ • มีการกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด • ควรเป็นผลผลิต (output) หรือผลลัพท์ (outcome) มากกว่า ผลสำเร็จของกิจกรรม (process)

  34. สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด (ต่อ) • บัญชีชุดโครงการ • มีความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์/กลยุทธในการพัฒนาจังหวัด • มีความต่อเนื่องในระยะปานกลางหรือระยะยาว • มีการบูรณาการระหว่างภาคีการพัฒนา (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน เอกชน) • จัดลำดับความสำคัญของโครงการ ตามความจำเป็นหรือความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา

  35. ความเชื่อมโยงของแผน

  36. ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้ครบทุกมิติ (เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง (เพิ่มเติมตามข้อเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ) • พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ • ปรับแนวทางการจัดทำโครงการในลักษณะห่วงโซ่คุณค่า (value chain) • บูรณาการแผนงานโครงการระหว่างภาคีการพัฒนาให้มากขึ้น โดยยึดหลัก AFP • พิจารณาความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/ แผนพัฒนาภาค / แผนรายสาขา

  37. ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้ครบทุกมิติ (เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง (เพิ่มเติมตามข้อเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ) • ให้ความสำคัญของการวิเคราะห์เชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละประเด็นปัญหา และศักยภาพของจังหวัด (ภาค /กลุ่มจังหวัด / จังหวัด / พื้นที่เฉพาะจุด) • มีข้อมูลแสดงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม (เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง) ตามช่วงเวลาแผนพัฒนาฯ (5 ปี) ที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดได้ สามารถเปรียบเทียบในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และในระดับภาค • การนำเสนอผลการวิเคราะห์ควรชี้ประเด็นขีดความสามารถ ปัญหาหรือข้อจำกัด หรือสิ่งที่ต้องแก้ไข • Swotและสรุปผลวิเคราะห์โดยเชื่อมโยงศักยภาพ (s)และโอกาส (o)

  38. หนองคาย เลย นครพนม อุดรธานี สกลนคร หนองบัวลำภู แหล่งท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ ขอนแก่น มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • 2. พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ • ด้านเศรษฐกิจ : สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก้ปัญหาความเดือดร้อน (เน้นเสริมสร้างผู้ประกอบการทุกสาขาอาชีพ) 1. โอกาสจากความร่วมมือของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และกรอบความร่วมมือ อิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS) โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนว EWEC 2. นโยบายด้านการเกษตร เช่น เกษตรอินทรีย์ พืชพลังงาน ยางพารา เป็นต้น 3. ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และอื่นๆ • 4. ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไหมแพรวา และ อื่นๆ 5. ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่อนุรักษ์ ไม้ผล ยางพารา พืชผัก เมล็ดพันธุ์ ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน อุตสาหกรรมหลักของภาค พื้นที่อนุรักษ์/แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน แหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอม ปศุสัตว์/ยางพารา/ไม้ยืนต้น พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่อนุรักษ์ ทางหลวง เส้นทางรถไฟ

  39. ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 2. พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ (ต่อ) • ด้านสังคม : สร้างสังคมอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหา 1. ปัญหาโอกาสทางการศึกษาของประชาชน 2. ปัญหาสุขภาวะ 3. ปัญหาผู้ด้อยโอกาส ปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาเด็กและเยาวชน 4. ปัญหาด้านแรงงาน 5. เมือง/ชุมชนน่าอยู่

  40. ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 2. พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ (ต่อ) • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การอนุรักษ์ ดูแล รักษา ฟื้นฟูเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา 1. ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ 2. แหล่งน้ำ 3. น้ำเสีย 4. ขยะ 5. ฝุ่นละออง และอากาศเสีย 6. มลพิษอื่นๆ • ด้านความมั่นคง (เพิ่มเติมตามข้อเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ) : เน้นการมีส่วนร่วมโดยชุมชนและท้องถิ่น 1. ยาเสพติด 2. ความสมานฉันท์ 3. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. การปกป้องสถาบันฯ ฯลฯ

  41. ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 3. ปรับแนวทางการจัดทำโครงการในลักษณะห่วงโซ่คุณค่า (value chain) • มิติเศรษฐกิจ • มิติสังคม • มิติสิ่งแวดล้อม 4. เน้นการบูรณาการโครงการระหว่างภาคีการพัฒนา (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม) โดยยึดหลัก AFP 5. เตรียมการปรับแผนจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

  42. ข้อเสนอการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556 • ให้ความสำคัญกับ มติ ก.น.จ. - โครงการที่ไม่ควรดำเนินการ ได้แก่ การก่อสร้างถนน ซ่อมถนน ขุดลอกคูคลอง ฝึกอบรม หากจำเป็นต้องดำเนินการต้องระบุเหตุผลที่ชัดเจน หรือให้เป็นเพียงกิจกรรมสนับสนุนโครงการ หรือเพื่อแก้ไขอุปสรรคของโครงการเท่านั้น - การบริหารจัดการหลังเสร็จสิ้นโครงการ หากเป็นโครงการก่อสร้างหรือจัดซื้อครุภัณฑ์ จะต้องมีหนังสือข้อตกลงของหน่วยงานที่จะรับช่วงดูแลรักษาต่อไป • เน้นการบูรณาการโครงการระหว่างภาคส่วนต่างๆ • ปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการให้สะท้อนผลการกำเนินงานและเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ • การเสนอวงเงินควรยึดหลักเกณฑ์ของสำนักงบประมาณ โดยมีการแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่าย และใช้ราคาต่อหน่วยที่สอดคล้องกับอัตรากลาง

  43. แนวทางการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแนวทางการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ตารางที่ 1 : โครงสร้างกสิกรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • ภาคเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งผลิตพืชหลักของประเทศ แต่ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ โดยพืชหลักของภาคได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และยางพารา ได้ผลผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.8 5.3 8.2 และ 4.3 ตามลำดับ โดยภาคเกษตร ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีการขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยกสิกรรมขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 3.7 ต่อปี ปศุสัตว์เฉลี่ย ร้อยละ 9.4 และประมง เฉลี่ยร้อยละ 0.4 ต่อปี

  44. แนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดความสำเร็จแนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดความสำเร็จ ตัวอย่าง 1. ควรตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันในแต่ละระดับ 2. ควรเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ ที่นับหน่วยได้ 3. ให้ความสำคัญของตัวชี้วัดตามลำดับ - ผลลัพท์(outcome) - ผลผลิต (output) - ขั้นตอนการดำเนินงาน (process) 4. ควรมีข้อมูลค่าฐาน (benmark) ของตัวชี้วัดย้อนหลังก่อนที่จะมีโครงการ 5. กำหนดค่าที่เป็นไปได้จากค่าฐาน เป้าหมายรวม ตัวชี้วัดรวม GPPรวม เป้าหมายยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ มูลค่าเพิ่มการผลิตข้าว เป้าหมายโครงการ ตัวชี้วัดโครงการ ผลผลิตต่อไร่ของข้าวหอมมะลิ ย. การยกระดับการผลิตภาคเกษตร / โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการปลูกข้าวหอมมะลิ

  45. แนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการ/ยุทธศาสตร์แนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการ/ยุทธศาสตร์ ตารางที่ 2 : ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายโครงการ

  46. การรวมกลุ่ม (Cluster) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม มีระบบตลาด ที่ได้รับพัฒนาให้ มีประสิทธิภาพ มีการประยุกต์ใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในการ ประกอบอาชีพ มีกลไก การบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มมูลค่า มีการวิจัย และพัฒนาการผลิต ให้มีคุณภาพ มีสินค้าที่ได้รับรอง มาตรฐานจากหน่วยงานสากล ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการสร้างคุณค่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวคิดการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) การวิเคราะห์แผนงานโครงการต้องพิจารณาทุกขั้นตอนสำคัญตลอดกระบวนการ (ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ) เพื่อออกแบบแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (ตามกระบวนการส่งมอบคุณค่า) ที่มีลักษณะบูรณาการ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างแท้จริง

  47. การวางแผนห่วงโซ่การผลิต (ผ้าไหม)

  48. ตัวอย่างเบื้องต้น การบูรณาการโครงการ โดยยึดหลัก AFP(Area Function Participation)

More Related