1 / 65

การบรรยายในหัวข้อ

การบรรยายในหัวข้อ. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ. โดย ชรินทร์ หาญสืบสาย. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ. นโยบายการค้าเสรี ( Free Trade Policy) นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน ( Protective Policy). นโยบายการค้าเสรี ( Free Trade Policy). นโยบายการค้าเสรี คือ นโยบายการค้าที่ส่งเสริมการค้า

mendel
Download Presentation

การบรรยายในหัวข้อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยายในหัวข้อ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดย ชรินทร์ หาญสืบสาย

  2. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน (Protective Policy)

  3. นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) นโยบายการค้าเสรี คือ นโยบายการค้าที่ส่งเสริมการค้า ระหว่างกัน โดยรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมาก • ส่งเสริมการแบ่งงานกันทำ เลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ชำนาญ • ไม่มีการเก็บภาษีเพื่อคุ้มกัน แต่เก็บเพื่อเป็นรายได้รัฐเท่านั้น • ไม่มีการให้สิทธิพิเศษ หรือไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศ • ต่างๆ

  4. นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน (Protective Policy) ประเทศที่ใช้นโยบายนี้จะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อกีดกันการนำเข้า ได้แก่ • การตั้งกำแพงภาษี เก็บภาษีในอัตราสูง เพื่อคุ้มครอง อุตสาหกรรมในประเทศ • ควบคุมปริมาณนำเข้า ส่งออก • มีการอุดหนุนการส่งออก

  5. ทำไมต้องใช้นโยบายคุ้มกัน • ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ • ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ • ป้องกันการทุ่มตลาดจากประเทศอื่น • แก้ปัญหาการขาดดุลการค้า

  6. รูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • Free Trade Areaภาษีในกลุ่มเป็น 0 (เขตการค้าเสรี) • Customs Unionภาษีในกลุ่มเป็น 0 + • (สหภาพศุลกากร) ภาษีนอกกลุ่มอัตราเดียวกัน • Common Marketภาษีในกลุ่มเป็น 0 + • (ตลาดร่วม) ภาษีนอกกลุ่มอัตราเดียวกัน + • เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตโดยเสรี • Economic Unionประสานนโยบายเศรษฐกิจการเงิน • (สหภาพเศรษฐกิจ) การคลังเป็นหนึ่งเดียว • Total Economic Unionมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ (สหภาพเศรษฐกิจแบบสมบูรณ์) เข้มข้นมากที่สุด

  7. ประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • ขยายการค้า • ดึงดูดการลงทุน • กระตุ้นการแข่งขัน และพัฒนาเทคโนโลยี • ช่วยในการปรับตัวของผู้ประกอบการ • สร้างอำนาจต่อรองในเวทีพหุภาคี • ลดอำนาจต่อรองของประเทศใหญ่

  8. กระแสการรวมกลุ่มและเปิดเสรีกระแสการรวมกลุ่มและเปิดเสรี • ความล้มเหลวในการเจรจาพหุภาคี • ประเทศใหญ่ๆ จึงผลักดันระดับทวิภาคี • ประเทศเล็กๆ ต้องรวมกลุ่มกันคานอำนาจ • หลายประเทศใช้เขตการค้าเสรีเป็นยุทธวิธีในการสร้างพันธมิตร • ประเทศที่มีเศรษฐกิจเปิดเสรีเต็มที่จะ active เช่น สิงคโปร์ ชิลี • ผลักดันให้ประเทศอื่นต้องจับคู่เปิดเสรีบ้าง มิฉะนั้นจะถูกกีดกัน • กลายเป็นกระแส เป็น Mood of Regional Cooperation

  9. 2 ช่วงสำคัญของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ • ทศวรรษ 1950s-1960s • ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) • อาเซียน • ทศวรรษ 1980sเป็นต้นมา • ประชาคมยุโรป(European Community) • สหภาพยุโรป (European Union: EU) • อาฟต้า (AFTA) • นาฟต้า (NAFTA)

  10. กลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญ • เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) • ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) • สหภาพยุโรป (EU) • ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA)

  11. เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) วัตถุประสงค์ • ขยายปริมาณการค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียน • ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ • เพิ่มอำนาจการต่อรอง

  12. หลักการ ประเทศสมาชิกจะลดภาษีศุลกากรลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ภายในเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม2536 และต้องยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณ ทันทีที่สินค้านั้นได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรจากประเทศสมาชิกอื่น แล้วยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่นๆ ภายในเวลา 5 ปีหลังจากนั้น

  13. การเร่งรัดการเปิดเสรีสินค้าและบริการ 11 สาขา • การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนต.ค. 2546 ณ เกาะบาหลี ตกลงเปิดเสรีสินค้าและบริการในอาเซียนภายในปี 2010 ประกอบด้วย สาขายานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การท่องเที่ยว และการบิน โดยแบ่งกันรับผิดชอบ สาขาที่ไทยรับผิดชอบ คือ การบินและการท่องเที่ยว

  14. การเร่งรัดการเปิดเสรีสินค้าและบริการ 11 สาขา(ต่อ) การบินคาดว่าไทยและสิงคโปร์ จะสามารถลงนามในความ ตกลงเปิดน่านฟ้าเสรี เที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า (Cargo Open Skies Agreement) การท่องเที่ยวASEAN ได้ดำเนินโครงการ Visit ASEAN Campaign(VAC) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของอาเซียน และให้อาเซียนเป็น “Single Destination” สำหรับสาขาอื่นยังไม่มีความคืบหน้า

  15. การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • อาเซียนมีเป้าหมายจะยกระดับเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2020 โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ รวมทั้งเงินทุน ได้ อย่างเสรี

  16. เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์อาฟต้าเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์อาฟต้า เป็นสินค้าที่มีการผลิตในอาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งประเทศ รวมกันแล้วคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 40% ของมูลค่าสินค้าและเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีลดภาษีของทั้งประเทศผู้ส่งออกและนำเข้า

  17. วิเคราะห์ผลจากการเข้าเป็นสมาชิกของอาฟต้าวิเคราะห์ผลจากการเข้าเป็นสมาชิกของอาฟต้า ผลดี การเพิ่มอำนาจต่อรองทางการค้า การค้าของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการส่งออก สินค้าออกส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกสูงขึ้น อัตราภาษีที่ลดลงทำให้สินค้าเข้ามีราคาถูกลง ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาถูกลง ไทยจะเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

  18. วิเคราะห์ผลจากการเข้าเป็นสมาชิกของอาฟต้า(ต่อ)วิเคราะห์ผลจากการเข้าเป็นสมาชิกของอาฟต้า(ต่อ) ผลเสีย การลดภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการลดภาษีในอาฟต้าอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปที่มีการลดภาษีในอาฟต้าแล้ว แต่เป็นสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าจากนอกอาเซียน

  19. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(APEC)ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(APEC) วัตถุประสงค์ พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก เพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกให้การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก

  20. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(APEC)ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(APEC) หลักการของความร่วมมือ เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจ การดำเนินการยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก คำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคม และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก

  21. กลไก/แผนงานเปิดเสรีที่สำคัญกลไก/แผนงานเปิดเสรีที่สำคัญ ปฏิญญาโบกอร์ ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินการเปิดเสรีให้แล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2010 และประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2020 รับรองหลักการด้านการลงทุนที่ไม่ผูกพันของเอเปค (APEC Non-binding Investment Principles)

  22. กลไก/แผนงานเปิดเสรีที่สำคัญ (ต่อ) แผนปฏิบัติการโอซาก้า กำหนดหลักการทั่วไปและกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนตามปฏิญญาโบกอร์ แผนปฏิบัติการรายประเทศ (IAPs) เพื่อเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนโดยความสมัครใจและความพร้อมของตน

  23. กลไก/แผนงานเปิดเสรีที่สำคัญ (ต่อ) แผนปฏิบัติการร่วมกันของสมาชิก (CAPs) จัดทำฐานข้อมูลภาษีศุลกากรของสมาชิกเอเปค ปรับมาตรฐานสินค้าของสมาชิกเอเปกให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ การเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาตามความสมัครใจภายใต้กรอบเอเปค Early Voluntary Sectoral Liberalization (EVSL)

  24. เสริมสร้างอำนาจการต่อรองของไทยให้มากขึ้นเสริมสร้างอำนาจการต่อรองของไทยให้มากขึ้น วิเคราะห์ผลจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของเอเปค ผลดี ขยายการส่งออกของไทย มีความร่วมมือระหว่างกัน ลดอุปสรรคทางด้านการค้า และขยายการค้า ผู้บริโภคสามารถมีทางเลือกมากขึ้น จะช่วยยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนของไทย

  25. วิเคราะห์ผลจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของเอเปค (ต่อ) ผลเสีย บางอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถแข่งขันได้ต้องเลิกกิจการไป ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่รอด อาจมีค่าใช้จ่าย และผลกระทบต่างๆ ทางสังคม

  26. ผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปค และการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงซานติอาโก ประเทศชิลี • ในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน และการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงซานติอาโก ประเทศชิลี สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้ (1)การเจรจาการค้ารอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก (2) เรื่องเขตการค้าเสรีRTAs/FTAs

  27. (3) การอำนวยความสะดวกทางการค้า (4) ความมั่นคงด้านพลังงาน (5) โครงการนำร่องสำหรับสมาชิกที่มีความพร้อม (6) ข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC) (7) การต่อต้านการก่อการร้าย (8) การปฏิรูปโครงสร้าง (9) เรื่องอื่นๆ ได้แก่ ความปลอดภัยด้านอาหารและ Life Sciences Innovation Strategic Plan

  28. สหภาพยุโรป ( European Union : EU) ความเป็นมา เริ่มก่อตั้งเป็น European Economic Community (EEC) เมื่อปี 2501 ปัจจุบันมีสมาชิกรวม25 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก กรีซ สเปน โปรตุเกสออสเตรีย สวีเดน ฟินแลนด์ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สโลวัก และ สโลวีเนีย

  29. วัตถุประสงค์ของการรวมตัวกันวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน 1) รวมกันเป็นตลาดเดียว เพื่อขจัดอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้า และเพื่อให้เคลื่อนย้ายทรัพยากร สินค้า ประชากร และเงินทุนได้อย่างเสรี 2) เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แข็งแกร่งภายในภูมิภาค เพื่อการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ 3) เป็นสหภาพการเงิน(European Monetary Union) ใช้เงินยูโร(Euro Currency) เพียงสกุลเดียว

  30. สนธิสัญญา Maastricht Treaty และการเป็นสหภาพยุโรป(European Union) สนธิสัญญามาสทริชท์ มีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน พ.ย. 1993 และประชาคมยุโรป (European Community)ได้กลายเป็นสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วย 1) สหภาพการเงินยุโรป (European Monetary Union : EMU) 2) สหภาพเศรษฐกิจยุโรป (European EconomicUnion) 3) สหภาพการเมืองยุโรป (European Political Union)

  31. การขยายสมาชิกภาพ (Enlargement) • ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา EU มีการขยายสมาชิกภาพมาโดยตลอด • ยุโรปเริ่มมีการรวมกลุ่มกันในยุคแรกตั้งแต่ปี 1951 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีการขยายสมาชิกภาพรวม 5 ครั้ง • ครั้งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2004 ได้รับสมาชิกใหม่อีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สโลวัค และสโลวาเนีย รวมเป็น 25 ประเทศ นับว่าเป็นการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เริ่มต่อตั้งมา

  32. วิเคราะห์ผลที่มีต่อการส่งออกของไทยวิเคราะห์ผลที่มีต่อการส่งออกของไทย ผลดี เป็นโอกาสที่จะขยายการผลิตและการส่งออกให้ได้มากกว่าเดิม สะดวกแก่ผู้ส่งออกไทยที่จะส่งสินค้าเข้าไปในตลาด ช่วยให้ผู้ประกอบการของไทยมีทางเลือกในการใช้สกุลเงินเพิ่มขึ้น

  33. วิเคราะห์ผลที่มีต่อการส่งออกของไทย (ต่อ) ผลเสีย มาตรฐานสินค้าของยุโรปมีความเข้มงวดมากขึ้น อาจทำให้สินค้าไทยส่งเข้าไปได้ยากขึ้น สหภาพยุโรปจะค้าขายระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อสินค้าไทยบางชนิด

  34. ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(North American Free Trade Agreement : NAFTA) • ปัจจุบันมีสมาชิก 3 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก • สหรัฐอเมริกามีเจตจำนงที่จะผลักดันการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทวีปอเมริกา (Free Trade Area of the Americas:FTAA) ภายใน 10 ปี โดยจะมีจำนวนสมาชิกรวม 34 ประเทศ

  35. วัตถุประสงค์ • ขจัดอุปสรรคทางการค้าและบริการ โดยลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเหลือ 0% ภายใน 15 ปี • 2) ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม ขยายโอกาสการลงทุน • 3) คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา • 4) จัดตั้งกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้า

  36. สาระสำคัญ 1) การเข้าสู่ตลาด(Market Access) - ลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี 2) แหล่งกำเนิดสินค้า(Rule of Origin) - สินค้าที่อยู่ในข่ายต้องมีสัดส่วนมาจากสมาชิกอย่างน้อย 50% 3) การค้าบริการ(Trade in Services) - กำหนดหลักการการเปิดเสรี โดยใช้หลักการ MFN และ NT 4) การลงทุน - กำหนดให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

  37. สาระสำคัญ (ต่อ) 5) ทรัพย์สินทางปัญญา - ปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา 6) สินค้าเกษตร - ลดการปกป้องโดยการขจัดโควตา 7) กลไกยุติข้อพิพาททางการค้า - กำหนดกลไกและกระบวนการ

  38. ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยหลายชนิด อาจส่งผลให้การลงทุนต่างประเทศในไทยลดลง วิเคราะห์ผลของข้อตกลง NAFTA ที่มีต่อไทย

  39. นโยบายของไทยเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรีนโยบายของไทยเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี • กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดให้ การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA)เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างพันธมิตรทางการค้า เพิ่มโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุน รวมทั้งใช้ประเทศคู่เจรจาเป็นประตูการค้า

  40. สถานะความคืบหน้า การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ

  41. อาเซียน - จีน • ผู้นำอาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามในFramework Agreement on Comprehensive Economic Cooperationในระหว่างการประชุมASEAN-China Summitเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ณ ประเทศกัมพูชา • มีการลดภาษีสินค้ากลุ่มแรกภายใต้ Early Harvest Programmeในพิกัด 01-08 ได้แก่สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ ปลาและอาหารทะเล นมและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ ผักและผลไม้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 และภาษีจะลดลงเหลือ 0% ภายในปี 2549

  42. อาเซียน – จีน (ต่อ) • การลดภาษีสินค้าแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ - สินค้าปกติ (Normal list)เริ่มลดภาษีสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 จนเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2553 สินค้าใน list นี้มีได้ไม่เกิน 150 รายการที่จะยืดเวลาการลดภาษีร้อยละ 0 ออกไป ถึงปี 2555 - สินค้าอ่อนไหว (Sensitive list) เริ่มลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 20 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 0-5% ภายในปี 2561 สินค้าใน list นี้มีได้ไม่เกิน 400 รายการ และไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้า - สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly sensitive list) จะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 50 ของอัตราเดิม ในปี 2558 สินค้าใน listนี้มีได้ไม่เกิน 100 รายการ

  43. ไทย - จีน • ลงนามในความตกลงเร่งลดภาษีผักและผลไม้ เมื่อ 18 มิถุนายน 2546 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน • สาระสำคัญครอบคลุมการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการให้เหลือ 0% ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2546 • ไทยยังประสบกับมาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษีต่างๆ ของจีน เช่น ระเบียบขั้นตอนในการนำเข้าผักผลไม้, มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย และ ยังคงมีการเก็บภาษีภายในของจีน

  44. ไทย – จีน (ต่อ) • มีการจัดทำพิธีสารข้อกำหนดทางเทคนิคการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีน และจีนมาไทย ผลไม้จากไทยไปจีน ครอบคลุมสินค้า 5 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ และมังคุด ผลไม้จากจีนมาไทย ครอบคลุมสินค้า 5 ชนิด ได้แก่ แอปเปิ้ล แพร์ พืชสกุลส้ม (ส้ม ส้มโอ ส้มแทงเจอรีน มะนาว) องุ่น และ พุทรา

  45. ไทย - อินเดีย • ลงนามในกรอบความตกลงเมื่อ 9 ต.ค. 46 ณ ทำเนียบรัฐบาล • สาระสำคัญครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า (เหลือ 0% ภายใน 2553) การค้าบริการ (ให้เสร็จสิ้นภายใน มกราคม2549) และการลงทุน นอกจากนี้ ยังได้ตกลงแนวทางการเจรจา เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน รวมถึงการลด/ ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barrier) • ตกลงให้มีการลดภาษีบางส่วนทันที(Early Harvest)โดยทยอยลดปีละ 50% 75% และ 100% ตั้งแต่ 1 มี.ค. 47ถึง 1 มี.ค. 49 ครอบคลุมสินค้ารวม82 รายการ

  46. ไทย - บาห์เรน • ลงนามในกรอบความตกลงและมีผลบังคับใช้เมื่อ 29 ธ.ค. 45โดยจัดทำรายการลดภาษีในเบื้องต้น(Early Harvest)626 รายการโดยมีอัตราภาษีที่ 0% และ 3% (Early Harvestยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากบาห์เรนอยู่ระหว่างขั้นตอนขอความเห็นชอบจากรัฐสภา) • สำหรับรายการสินค้าที่เหลืออีกประมาณ 5,000 รายการ โดยเสนอให้มีการจัดกลุ่มสินค้าเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งอัตราภาษีจะลดเหลือ 0% ภายในปี 2548 2550 และ 2553 ตามลำดับ

  47. ไทย – เปรู • ลงนามในกรอบความตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เมื่อ 17 ต.ค. 2546 เริ่มเจรจาต้นปี 2547 และคาดว่าจะเสร็จภายในปี 2548 ทั้งนี้เขตการค้าเสรีไทย-เปรูจะมีผลสมบูรณ์ในปี 2558 • การเจรจาครั้งที่ 6 ได้มีขึ้นที่กรุงลิมา วันที่ 16-18 ส.ค. 2548 - โดยทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันที่จะนำสินค้าที่ทั้ง 2 ฝ่าย เสนอจะลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีและสินค้าที่จะลดภาษีเป็นศูนย์ภายใน 5 ปี ของแต่ละฝ่ายมาอยู่ใน Early Harvest

  48. ไทย – เปรู (ต่อ) - สินค้าที่ฝ่ายไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีทันที เช่น รถปิคอัพ พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น -สินค้าที่เปรูจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีของไทยในสินค้า สินแร่ต่างๆ (สังกะสี ดีบุก ทองแดง) รัตนชาติ ปลาหมึก เป็นต้น - เรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้ของสินค้า บริการและการลงทุน จะเจรจาต่อในภายหลัง - นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องที่เปรูห้ามนำเข้าข้าวไทย ซึ่งเปรูยินยอมตามข้อเสนอของไทย ให้ใช้มาตรฐานสากลเป็นเกณฑ์ในการรมควันข้าว

  49. ไทย - ออสเตรเลีย • ลงนามในความตกลงแล้วเมื่อ 5 ก.ค. 47 ณ กรุงแคนเบอร์รา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2548 • ออสเตรเลียลดภาษีเหลือ 0% ประมาณ 83%ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือจะทยอยลดเหลือ 0% ภายในปี 2553 และ 2558 • ส่วนไทยลดเหลือ 0% ประมาณ 49% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือลดเหลือ 0% ภายใน 10, 15 และ 20 ปี โดยมีมาตรการ Special Safeguard สำหรับสินค้าบางรายการ • ไทยสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจบริการต่าง ๆ ได้

  50. ไทย - ญี่ปุ่น • นายกไทย-ญี่ปุ่นร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิด(JTEPA) เมื่อ11-12 ธันวาคม 2546 ณ กรุงโตเกียว • มีการประชุมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2548ซึ่งได้ข้อยุติในเรื่องต่างๆ ในประเด็นหลักๆ แล้ว ดังนี้ (1) เหล็ก : เหล็กรีดร้อนที่ไม่ผลิตในไทย ยกเลิกภาษีทันที เหล็กอื่นๆ ทุกรายการ ยกเลิกภาษีภายใน 11 ปี (2) ชิ้นส่วนยานยนต์ :ในรายการที่ไม่อ่อนไหว ยกเลิกภาษีภายในปี 2554 ส่วนรายการอ่อนไหวยกเลิกในปี 2556

More Related