1 / 34

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์. เมนูหลัก. เกร็ดความรู้. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง. แนะนำบทเรียน. เข้าสู่เนื้อหา. คำชี้แจง. พัฒนาความคิด. พินิจแบบทดสอบ. คำถามท้ายบท. บรรณานุกรม. กลับหน้าหลัก. คำชี้แจง.

minor
Download Presentation

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ เมนูหลัก เกร็ดความรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แนะนำบทเรียน เข้าสู่เนื้อหา คำชี้แจง พัฒนาความคิด พินิจแบบทดสอบ คำถามท้ายบท บรรณานุกรม กลับหน้าหลัก

  2. คำชี้แจง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ จากตำนาน เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนสามารถศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้แต่ละขั้นตอนบนเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งสามารถแจ้งผลการเรียนให้นักเรียนทราบทันที ดังนั้นนักเรียนจึงควรปฏิบัติตามคำสั่งที่ปรากฏในโปรแกรมอย่างเคร่งครัด

  3. เกร็ดความรู้ ตำนาน ๑. ตำนานหมายถึง เรื่องเล่าสืบทอดกันมาช้านาน มีเนื้อหาเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ หรือวีรกรรมของบรรพชน อันเป็นที่มาของวัตถุหรือสถานที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ในจังหวัดแพร่ เช่นตำนานวัดพระหลวง ๒. ตำนาน" คือ เรื่องเล่าขานที่มีมานานแล้ว ดังนั้นตำนานจึงเปรียบได้กับเครื่องมือ ที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในอดีต หน้าต่อไป

  4. เกร็ดความรู้ ๓.ตำนาน คือ เรื่องที่แสดงกิจการอันมีมานานแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบๆกันมาตำนานเหล่านี้จะเขียนลงบนใบลานหรือเรียกว่า คัมภีร์ใบลานและ สมุดข่อย หรือเรียกว่า คัมภีร์สมุดข่อย ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคมต่างๆในแถบสุวรรณภูมิ ทำให้คนไทยในปัจจุบันสามารถสืบสาวเรื่องราวอารยะธรรม ที่เกี่ยวกับสภาพสังคมศิลปวัฒนธรรม และศาสนาของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ได้นอกจากตำนานแล้ว ศิลาจารึกก็เป็นงานเขียนที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้บนแผ่นหินทำให้คนไทยและทั่วโลกสามารถรับรู้เรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดีด้วย เช่นศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง กลับเมนู

  5. ณ บ้านป่าสักหลวง ราษฎรมีความเป็นอยู่สงบร่มเย็น มาช้านานชาวประชาอยู่ดีกินดี ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ โดยมีเจ้าผู้ครองนคร ชื่อพระยาลิ้นก่าน ผังเมืองจะวางตัวไปทางทิศตะวันตก - ทิศตะวันออกมีพระธาตุแจ้โหว้เป็นที่สักการะ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดดอยทางทิศวันตก ( คุเวียงโบราณยังมีเหลือให้เห็นอยู่ที่ บ้านปาง ต.คือเวียง อ.ดอกคำใต้ ) ที่มา ฝาผนังอุโบสถวัดบุญเกิด อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา หน้าต่อไป

  6. อยู่มาวันหนึ่ง มีช้างป่าตกมัน อาละวาดอยู่บ้านป่าสักหลวง ซึ่งเป็น ช้างที่มีตัวใหญ่ถึง 12 ศอก มีกำลังมหาศาล ผิวหนังสีดำก่ำ มีงาสีเขียว ชาวบ้านเรียกว่า ช้างปู้ก่ำงาเขียว ช้างตกมันอาละวาดไล่ฆ่าผู้คนล้มตายกันเป็นอันมาก ทำลายบ้านเรือนเสียหายพังยับ ชาวบ้านไม่มีที่อยู่อาศัย ช้างปู้ก่ำงาเขียวเป็นช้างพลายหรือช้างพลัง หน้าต่อไป

  7. คนทั้งหลายก็กลัวช้างปู้ก่ำงาเขียวนั้น เขาจึงพากันไปกราบไหว้พระยาลิ้นก่าน ว่าจะกระทำฉันใดพระยาลิ้นก่านก็บอกหื้อ คนทั้งหลายตกแต่งเครื่องบูชาแล้วพากันไปสักการบูชาพระธาตุแจ้โหว้ผู้คนทั้งหลายก็มาสมาทานศีล๕ ศีล๘แล้วโอกาสอารานาเอาปารมี อานุภาพแห่งพระธาตุเจ้าและ เทวบุตรเทวดาช่วย ป้องกันภัยต่างต่าง ๆ หน้าต่อไป

  8. คนตั้งหลายก็แตกตื่น ต่างก็กลัวช้างตัวนี้ อันมาก และที่อยู่อาศัยก็ถูกทำลาย จึงหอบลูกจูงหลานหนีตายกันเข้าไปอยู่ที่บ้านสักหลวงซึ่งเป็นเมืองที่ พระยาลิ้นก่านปกครองอยู่ และตั้งอยู่บนเชิงเขา หน้าต่อไป

  9. พระยาลิ้นก่าน สั่งให้เล่าเสนาอำมาตย์เป่าประกาศ เกณฑ์ชายฉกรรจ์ตั้งหลายขุดคูรอบเมืองเอาไว้กันช้างเข้ามาอาละวาดทั้งกลางวัน กลางคืนอย่างรีบ ฟั่งฟ้าวห้าวหาญ เปลี่ยนเวรกันขุดโดยไม่หยุดหย่อน จนจอบเสียมถูกนิ้วมือนิ้วติ๋นปุดขาดกระเดนไปคนละทิศละทาง ผู้คนร้องครวญคราง ใช้เวลาขุดคูเวียง เพียง 7 วันได้สำเร็จทั้งหลายจึงใส่ชื่อนามของพระยาลิ้นก่านว่า“พระญาเวียงห้าว ” ห้าว มีความหมายว่าอย่างไร หน้าต่อไป

  10. ขณะนั้นเป็นเดชะบุญของพระยาลิ้นก่านขณะนั้นเป็นเดชะบุญของพระยาลิ้นก่าน และไพร่ฟ้าข้ามนตรีทั้งหลายที่ไปไหว้พระธาตุแจ้โหว้สมาทานศีล๕ศีล๘ก็ดลบัลดาลให้ลูกสาวเมืองนันทบุรี (เมืองน่านปัจจุบันนี้)ให้มีใจใคร่นั่งสาด(เสื่อ) งาช้างปู้จ้างก่ำงาเขียวอันว่าพญามีความรักลูกเป็นอันมากจึงตีฆ้องกล่าวว่า  “คนใดอาสาไปเอางาช้างปู้ก่ำงาเขียวมาได้พระองค์จักประทานเงินปันคำร้อย”  สาด มีความหมายว่าอย่างไร หน้าต่อไป

  11. การเป่าประกาศได้ยินถึงหูนายพรายคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เก่งกล้าเวทมนตร์คาถา เป็นอันมาก จึงเข้าเฝ้า และอาสาจะไปฆ่าช้างปู้ก่ำงาเขียว และตัดงามาถวาย เจ้าเมืองนันทบุรีนายพรานได้เดินทางเข้าป่ามาถึงแม่น้ำยมจึงร่ายเวทย์มนต์ดำน้ำเข้ารูน้ำ ( ตาน้ำ ) จนทะลุถึงหนองหล่มได้ ตาน้ำ คือ ทางน้ำใต้ดินที่ไหลไม่ขาดสาย หน้าต่อไป

  12. ช้างปู้ก่ำงาเขียวก็ไม่สามารถเข้าไปในเมืองได้ จึงเหนื่อยอ่อน ได้นอนอยู่ริมหนองน้ำแห่งหนึ่ง ต่อมามีชื่อเรียกว่า  “หนองหล่ม” ตราบจนทุกวันนี้(ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้คือบ้านหนองหล่ม ) ขณะที่ช้างกำลังลงเล่นน้ำ ตัวมันถลำเข้าไปในรูน้ำ ติดอยู่หลายวัน พยายามตะเกียกตะกายออกจากหนองหล่มมาได้ แต่ช้างก็ไม่ไปไหน หากินอยู่รอบๆหนองนั้น เสียงของมันได้ยินถึงหูของนายพราน นายพรายจึงย่องเข้ามาซุ่มยิง แต่ก็ไม่ตาย แทงก็ไม่เข้า หน้าต่อไป นายพรานจึงไปปรึกษาอาจารย์ที่เคยร่ำเรียนมา เมื่อทราบคำตอบจึงกลับมา และใช้หอกแทงท้องทะลุขึ้นบน ทำให้ช้างปู้ก่ำงาเขียวสิ้นชีวิต นายพรานจึงตัดเอางาไปถวายเจ้าเมืองน่าน(พญานันทบุรี) และให้คนผู้ที่ฉลาดจักสานงาช้างเป็นสาด  (เสื่อ)  เอาให้ลูกสาวขอนหนึ่งอีกขอน (ข้าง)  ก็ยังมีงาช้างดำปรากฏในพิพิธภัณฑ์เมืองน่านจนทุกวันนี้

  13. เมื่อช้างปู้กำงาเขียวตายแล้ว เกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดครื้ม มีฝนตกพายุคะนองอย่างหนักนานถึง 7 วัน 7 คืน ทำให้น้ำป่าไหลท่วมพัดเอาซากช้าง ไหลลงไปในห้วย ชาวบ้านเรียกว่า “ห้วยดินแดง” หน้าต่อไป

  14. ซากของช้างปู่ก่ำงาเขียว น้ำพัดไหลตามลำนำห้วยดินแดง ต่อมาชาวบ้าน เรียกว่า ร่องช้าง ซากของช้างได้ไหลไปขวางทางน้ำอยู่กลางหนอง ต่อมาจึงเรียกว่า หนองขวาง ลำน้ำร่องช้างไหลผ่านตำบลใดบ้าง หน้าต่อไป

  15. ชิ้นส่วนที่เป็นหัว ได้ไหลไปตามน้ำไปติดค้างอยู่ ร่องน้ำแห่งหนึ่ง ต่อมาชาวบ้านเรียกว่าโทกหัวช้าง ( ปัจจุบันอยู่ในเขต ต. ป่าซาง ) หน้าต่อไป

  16. ซากของช้างปู้ก่ำงาเขียว ได้เน่าเปื่อย แยกออกเป็นชิ้นๆ ชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ไหลไปตามกระแสน้ำ ซึ่งซากของช้างเหลือ อยู่เพียง 3 ขา ไหลไปตกค้างที่บวกแห่ง หนึ่ง ต่อมาชาวบ้านเรียก บวก 3 ขา หน้าต่อไป

  17. ส่วนไตของช้าง ภาษาภาคเหนือเรียกว่า หมากแกว หมากแกวได้ ไหลไป ตามลำน้ำไปติดอยู่กลางร่องน้ำแห่งหนึ่ง ต่อมาเรียกว่า ร่องหมากแกว ปัจจุบันอยู่ใน เขต ต.ดงสุวรรณ หน้าต่อไป

  18. ซากของช้างได้ไหลตามห้วยดินแดง น้ำไหลบ่าถล่มทลายพัดเอาทุกสิ่งทุก อย่างไหลตามน้ำไป ชาวบ้านเรียกว่า หนองถุ ปัจจุบัน ลำน้ำร่องช้าง ไหลลงสู่แม่น้ำ อิงตรงบ้านหนองลาว เขตกิ่งภูกามยาว น้ำก็ไหลลงสู่แม่น้ำโขงเป็นลำดับต่อไป กลับเมนู

  19. พัฒนาความคิด ความรู้ความจำ ขั้นตอนการอ่านคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ วิธีคิดประเมินค่า กลับเมนู

  20. พัฒนาความคิด การพัฒนาด้านความรู้ ความจำ หมายถึง การพยายามที่จะจำและนึกถึงเกี่ยวกับข้อเท็จจริง คำจำกัดความคำนิยาม คำศัพท์กฎ ทฤษฎี ของเรื่องราว และเหตุการณ์ต่างๆ หน้าต่อไป

  21. พัฒนาความคิด การพัฒนาด้านความเข้าใจ หมายถึง การนำความรู้ ความจำที่มีอยู่มาแปลความตีความขยายความแล้วอธิบายอ้างอิงด้วยสำนวนภาษา ของตนเองได้ หน้าต่อไป

  22. พัฒนาความคิด การพัฒนาด้านการนำไปใช้ หมายถึง การนำความรู้ความ เข้าใจในเรื่องมาประยุกต์เรียบเรียงข้อมูลเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาเหตุการณ์ สถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตประจำวัน หน้าต่อไป

  23. พัฒนาความคิด การคิดวิเคราะห์ หมายถึงการจำแนก แยกแยะ พิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง แล้วทำความเข้าใจต่อไปว่า แต่ละส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร หลักการวิเคราะห์ก็อาจคำนึงถึง ก. สภาพตามธรรมชาติ ข. การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หน้าต่อไป

  24. พัฒนาความคิด การสังเคราะห์ หมายถึงการรวมส่วนต่างๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม จนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำหรับจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป หน้าต่อไป

  25. พัฒนาความคิด วิธีคิดประเมินค่า หมายถึงการใช้ดุลพินิจพิจารณา แล้วตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจเป็นวัตถุ ผลงาน การกระทำ หรือกิจกรรมก็ได้ ก่อนที่จะประเมินค่า จำเป็นต้องมีเกณฑ์ หรือหาเกณฑ์ไว้ก่อน เพื่อจะได้นำเกณฑ์นั้นมาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ประเมินว่าอยู่ในขั้นใด กลับเมนู

  26. บรรณานุกรม วัดบุญเกิด. อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ศรีบรรดร ถิรธมโม, พระมหา. นิทานพื้นบ้านเมืองพะเยา. พะเยา.: โรงพิมพ์กอบคำ การพิมพ์ , 2547 http://www.huso.buu.ac.th/sociology/boondoem/legend/introduction.html http://gotoknow.org/blog/boyfriend/131338 http://www.sheetram.com/an113.asp กลับเมนู

  27. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่๓อ่านตำนาน ที่กำหนดให้แล้วสามารถวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความคิดเห็น ประเมินค่าจากการใช้แหล่งเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสารสนเทศ แผนภาพความคิด และกระบวนการคิดวิเคราะห์ได้โดยการเล่าเรื่อง ย่อเรื่อง และตอบคำถามจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. แสดงความคิดเห็นจากเนื้อเรื่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ ๒. ตอบคำถามเชิงคิดวิเคราะห์จากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ ๓. อ่านตำนานที่กำหนดให้แล้วสามารถวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ และประเมินค่าสิ่งที่ได้อ่าน เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กลับเมนู

  28. แนะนำบทเรียน องค์ประกอบ มี 5 ส่วนให้นักเรียนศึกษาบทเรียนตามลำดับดังนี้ ๑ . เกร็ดความรู้ ๒ เข้าสู่เนื้อหา ๓. คำถามท้ายบท ๔. พัฒนาความคิด ๕. พินิจแบบทดสอบ กลับเมนู

  29. หนองหล่ม บ้านปิน บ้านถ้ำ บุญเกิด สว่างอารมณ์ กลับเมนู

  30. เสื่อ มีไว้สำหรับปูรองนั่ง นอน กลับเมนู

  31. ช้างพลาย ประมวลรูปงานวันสักการะเจ้าพ่อคำปวน และสืบสานตำนานร่องช้าง กลับเมนู

  32. ทำอย่างรีบเร่ง จนทำให้งานสำเร็จ กลับเมนู

  33. คำถามท้ายบท คำถามท้ายบท มีคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ตำนานร่องช้าง โดยศึกษาขั้นตอนของการอ่านคิดวิเคราะห์ จำนวน ๑๐ ข้อ ให้นักเรียนพิจารณาคำถามแล้วคลิกที่ตัวเลือกหน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเมื่อเสร็จเรียบร้อยครบ ๑๐ ข้อแล้วจะมีการแสดงผลให้ทราบทันที กลับ

  34. พินิจแบบทดสอบ ในพิจารณาแบบทดสอบ จะมีแบบทดสอบที่เกี่ยวกับการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ขั้นตอนการคิดวิเคราะห์มาพิจารณา จำนวน ๑๐ ข้อ ให้นักเรียนพิจารณาคำถามแล้วคลิกที่ตัวเลือกหน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เมื่อเสร็จเรียบร้อยครบ ๑๐ ข้อ แล้วจะมีการแสดงผลให้ทราบทันที กลับ

More Related