1 / 21

การค้าบริการ/การลงทุน/การเคลื่อนที่ของบุคคล

การค้าบริการ/การลงทุน/การเคลื่อนที่ของบุคคล. “โอกาสและการขจัดอุปสรรค” นายวีรชัย พลาศรัย ผู้อำนวยการสำนักงานเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น. เจรจาบนพื้นฐานของความเข้าใจและมิตรภาพ.

morley
Download Presentation

การค้าบริการ/การลงทุน/การเคลื่อนที่ของบุคคล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การค้าบริการ/การลงทุน/การเคลื่อนที่ของบุคคลการค้าบริการ/การลงทุน/การเคลื่อนที่ของบุคคล “โอกาสและการขจัดอุปสรรค” นายวีรชัย พลาศรัย ผู้อำนวยการสำนักงานเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น

  2. เจรจาบนพื้นฐานของความเข้าใจและมิตรภาพเจรจาบนพื้นฐานของความเข้าใจและมิตรภาพ • มุ่งที่จะให้อีกฝ่ายผูกพันการเปิดเสรี แม้ในทางปฏิบัติอาจเปิดอยู่แล้ว แต่การผูกพันมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้ “ถอยหลัง” ไม่ได้ (เป็นการสละดุลพินิจ) • การผูกพัน อาจ ต่ำกว่า เท่ากับ หรือสูงกว่า กฎหมายปัจจุบัน • ฝ่ายไทยมีนโยบายเจรจาให้ญี่ปุ่นผูกพันระดับเท่ากฎหมายให้ มากที่สุด เพราะญี่ปุ่นค่อนข้างพร้อม แต่ของไทยเองมุ่งผูกพัน ต่ำกว่ากฎหมาย แม้กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องจะเปิดโอกาสให้ผูกพันสูงกว่าได้ (พ.ร.บ. 2542 มาตรา 10) เพราะไทยยังต้องการ เวลาปรับตัว

  3. คำนึงถึงความแตกต่างในระดับการพัฒนาคำนึงถึงความแตกต่างในระดับการพัฒนา • ข้อผูกพันของทั้งสองฝ่ายจึงไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกันในทุกกรณี • ภาคบริการ 1. ญี่ปุ่น: ผูกพัน “standstill” (ผูกพันข้อจำกัดทั้งหมดที่มีอยู่ตามกฎหมายปัจจุบัน) ใน 105 สาขา/สาขาย่อย ไทย: ยังไม่ผูกพัน “standstill” ในสาขาใดๆ ทั้งสิ้นในขณะนี้ • ญี่ปุ่น: ผูกพันในสาขาบริการเพิ่มจากที่ WTO 65 สาขาย่อย / ปรับปรุงอีก 65 สาขาย่อย ไทย: ผูกพันเพิ่มจากที่ WTO เพียง 14 สาขาย่อย • ภาคลงทุนที่ไม่ใช่บริการ ญี่ปุ่น: ผูกพันเปิดเสรีให้ไทยเกือบทุกสาขาในการลงทุนที่ไม่ใช่บริการ ไทย: ผูกพันเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเพียงสาขาเดียว คือภาคผลิตรถยนต์ และน้อยกว่า 50% • ข้อห้ามกำหนดเงื่อนไขการลงทุน ญี่ปุ่น: ผูกพันข้อห้าม 11 ประการสำหรับการลงทุนในทุกภาค (รวมบริการ) ไทย: ผูกพันเท่าพันธกรณีของไทยภายใต้ WTO คือมีข้อห้ามเฉพาะ ในภาคที่ไม่ใช่บริการ 4 ประการ

  4. กรอบการเปิดเสรีไทย-ญี่ปุ่นกรอบการเปิดเสรีไทย-ญี่ปุ่น • ใช้แนวทาง Positive List ในการเขียนข้อผูกพันการเปิดเสรี พูดง่ายๆ คือ “ทุกอย่างปิดหมด ยกเว้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเปิดอะไรบ้าง” (สาขา/มาตรการ) • สามารถเจรจาแก้ไขข้อผูกพัน “ถอยหลัง” ได้แต่ต้องชดเชยตามแนวทางของ คตล. GATS • ไม่ใช้กลไกระงับข้อพิพาทรัฐ-เอกชนในเรื่องการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน และกิจกรรมการลงทุนที่เป็น “pre-establishment” • จะเริ่มเจรจามาตรการปกป้องฉุกเฉิน (Emergency Safeguard Measures) 6 เดือนหลัง คตล. มีผลใช้บังคับ

  5. ขอบเขตของการเปิดเสรี “การลงทุน”เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรี “การค้าบริการ” อย่างไร การผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ หมวด 1 หมวด 3 การลงทุน การค้าบริการ หมวด 2 หมวด 4

  6. โอกาสและอุปสรรคที่ขจัดไปแล้ว :ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/ลงทุนของไทย สาขาบริการ • ไทยรับที่จะผูกพันเปิดเสรีให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาจัดตั้งกิจการ/ให้บริการ เพิ่มเติมจากที่ผูกพันไว้ที่ WTO ในสาขาบริการทั้งหมด 14 สาขาย่อย (โดยบางสาขาย่อยมีเงื่อนไขต่างๆ ระบุไว้ด้วย) ดังนี้ - บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการทั่วไป (100%) - บริการที่ปรึกษาการตลาด (49%) - บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านบุคคล (49%) - บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านผลิต (49%)

  7. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของไทย (2) - บริการจัดการโครงการยกเว้นด้านการก่อสร้าง (49%) • บริการที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ (51%) - บริการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ผลิตในไทยและขายส่งเองโดยบริษัทญี่ปุ่นที่ให้บริการซ่อมบำรุงและขายส่งนั้น หรือบริษัทในเครือที่ยี่ห้อเดียวกัน และที่ผลิตในญี่ปุ่นโดยบริษัทในเครือที่ยี่ห้อเดียวกัน (60%) - บริการขายส่งและขายปลีกสินค้าที่ผลิตในไทยโดยบริษัทญี่ปุ่นที่ให้บริการ ขายส่ง/ขายปลีกนั้น หรือบริษัทในเครือที่ยี่ห้อเดียวกัน และรถยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่นโดยบริษัทในเครือที่ยี่ห้อเดียวกัน (75%)

  8. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของไทย (3) - บริการโรงแรม 5 ดาว (60%) - ร้านอาหาร (60%) - สาขาโฆษณา (50%) - บริการท่าเรือมารีน่า (49%) - บริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวข้อง (<50%) - บริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา (<50%)

  9. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของไทย (4) การลงทุนที่ไม่ใช่ภาคบริการ • ไทยรับที่จะผูกพันเฉพาะในภาคการผลิตรถยนต์ให้บริษัท/ คนญี่ปุ่นถือหุ้นได้น้อยกว่า 50% ในบริษัทที่จดทะเบียนในไทยและมีอัตราส่วนหนี้ : ทุน เท่ากับ 3 : 1 หรือน้อยกว่า โดยบริษัทดังกล่าวจะไม่ต้องขอรับการอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจ

  10. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของญี่ปุ่นข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของญี่ปุ่น สาขาบริการ • ญี่ปุ่นรับที่จะผูกพันเปิดเสรีให้บริษัทไทยเข้าไปจัดตั้งกิจการ/ให้บริการ และ/หรือให้คนไทยทำงาน/ให้บริการในญี่ปุ่นได้ เพิ่มเติมจากที่ผูกพันไว้ที่ WTO ในบริการ 65 สาขาย่อย และปรับปรุงข้อผูกพันที่ WTO อีกประมาณ 65 สาขาย่อย สรุปที่สำคัญ ดังนี้ • บริการโฆษณา - บริการโรงแรม - บริการร้านอาหาร - บริการจัดเลี้ยง - บริการจัดการประชุม - บริการออกแบบพิเศษ - บริการทัวร์และไกด์ - บริการจัดทำ mailing list และจัดส่ง • บริการสปา - บริการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ

  11. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของญี่ปุ่น (2) • บริการจัดหางาน - บริการก่อสร้าง • บริการที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม - บริการวิศวกรรมโยธา - บริการสถาปนิกบางประเภท - บริการบันเทิง • บริการอสังหาริมทรัพย์ - บริการบัญชีบางประเภท • บริการสัตวแพทย์ - บริการด้านดูแลคนป่วย/คนสูงอายุ • บริการให้เช่าเรือ เครื่องบิน และเครื่องจักร - บริการสอนรำไทย/ มวยไทย/ ดนตรีไทย/ อาหารไทย

  12. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของญี่ปุ่น (3) - บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการ - บริการรักษาความปลอดภัย • บริการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ - บริการหีบห่อ • บริการทำความสะอาดตึก - บริการทำซ้ำ • บริการพิมพ์และพิมพ์โฆษณา - บริการล่ามและแปล • บริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา - บริการการค้าส่ง-ค้าปลีก (มีข้อยกเว้นเล็กน้อย) - บริการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า และเครื่องหนัง

  13. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของญี่ปุ่น (4) - บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ป่าไม้ เหมืองแร่ และล่าสัตว์ - บริการซ่อมบำรุงอุปกรณ์การขนส่งทางถนน (อู่ซ่อมรถ) - บริการที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ • นอกจากนี้ ญี่ปุ่นรับที่จะผูกพันให้คนญี่ปุ่นที่ป่วยมารับการรักษาพยาบาลในไทยได้ โดยเบิกจ่ายเงินกองทุนของรัฐได้เท่ากับการรักษาในญี่ปุ่นตามกฎหมายญี่ปุ่น คือ ร้อยละ 70 • ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอผูกพันรายสาขาที่ดีที่สุดที่ญี่ปุ่นเคยให้แก่ประเทศใดๆ จนบัดนี้

  14. ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ/การลงทุนของญี่ปุ่น (5) การลงทุนที่ไม่ใช่ภาคบริการ ญี่ปุ่นรับที่จะผูกพันเปิดเสรีให้บริษัทไทย/คนไทยเขาไปลงทุน ในทุกสาขาโดยมีข้อยกเว้นที่สำคัญ อาทิ - อุตสาหกรรมผลิตยา - อุตสาหกรรมอวกาศและยานอวกาศ - อุตสาหกรรมผลิตนํ้ามัน อุตสาหกรรมพลังงาน - อุตสาหกรรมการกระจายเสียง และการทำเหมืองแร่ การประมง การเกษตร ป่าไม้ และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

  15. การเคลื่อนที่ของบุคคล - ข้อผูกพันของไทย • การตรวจลงตราและการอนุญาตให้อยู่จะเป็นไปตามกฎหมายไทย ที่เกี่ยวข้อง (โดยเฉพาะ พ.ร.บ. คนเข้าเมือง 2522 และ พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521) • รับจะหารือกับญี่ปุ่นต่อไปเกี่ยวกับเงื่อนไขของการออกและต่อใบอนุญาตทำงานในไทยเรื่องเงื่อนไขด้านจำนวนพนักงานต่างด้าวสูงสุดต่อบริษัท และปริมาณการนำเข้าเงินตราต่างประเทศต่ำสุด โดยจะหารือให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีหลังจาก JTEPA มีผลบังคับใช้

  16. การเคลื่อนที่ของบุคคล – ข้อผูกพันของไทย (2) • รับจะหารือกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับเงื่อนไขการอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยเรื่องอัตราการว่าจ้างคนไทยต่อคนต่างด้าวในแต่ละบริษัท โดยจะหารือให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปีหลังจาก JTEPA มีผลบังคับใช้ • ไทยจะอนุญาตให้คนญี่ปุ่นใช้บริการ One Stop Service Centre เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับการตรวจ ลงตราและใบอนุญาตทำงานพร้อมกันได้ ดังนี้

  17. การเคลื่อนที่ของบุคคล – ข้อผูกพันของไทย (3) - สำหรับพนักงานบริษัทในเครือของญี่ปุ่นที่มาทำงานในสาขาของบริษัทในเมืองไทย ซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในไทยเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท - สำหรับผู้ให้บริการสัญชาติญี่ปุ่นที่เป็นลูกจ้างของบริษัทในไทยที่มีเงินทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท - สำหรับนักลงทุนญี่ปุ่น ที่นำเงินมาลงทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท

  18. การเคลื่อนที่ของบุคคล – ข้อผูกพันของญี่ปุ่น • การตรวจลงตราและการอนุญาตให้อยู่จะเป็นไปตามกฎหมายญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้อง • โดยทั่วไป คนไทยที่จบปริญญาตรีจะเข้าไปทำงาน/ให้บริการในสาขาที่ญี่ปุ่นเปิดได้ และญี่ปุ่นรับที่จะเทียบปริญญาตรีไทยให้เท่ากับปริญญาตรีญี่ปุ่นโดยจะพิจารณาเป็นรายกรณี • สำหรับอาชีพพ่อครัวแม่ครัวไทย พนักงานสปา และคนดูแลผู้สูงอายุ ไม่ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่พ่อครัวแม่ครัวต้องผ่านการศึกษาอบรมที่รัฐบาลรับรอง และผ่านการทำงาน รวมเวลาเรียนและทำงาน 5 ปีขึ้นไป

  19. การเคลื่อนที่ของบุคคล – ข้อผูกพันของญี่ปุ่น (2) • สำหรับพนักงานสปา คนดูแลผู้สูงอายุ และคนสอนศิลปวัฒนธรรมไทย นั้น ทั้งสองฝ่ายยังต้องเจรจากันในรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป • สำหรับบางสาขา เช่น ช่างตัดเสื้อ ช่างซ่อมรถ ไม่ต้องจบปริญญาตรีแต่เข้าไปให้บริการได้ครั้งละ 3 เดือนและห้ามติดต่อลูกค้าโดยตรง

  20. การขจัดอุปสรรคในอนาคตการขจัดอุปสรรคในอนาคต • จะมีการทบทวนข้อผูกพันเพื่อขยายขอบเขตและเพิ่มระดับการเปิดเสรี โดยครั้งแรกจะมีขึ้นภายใน 5 ปีหลังจากที่ JTEPA มีผลบังคับใช้ ยกเว้น บริการค้าส่ง-ค้าปลีก บริการซ่อมบำรุงและบริการเช่าจะทบทวนภายใน 3 ปีหลังจากที่ JTEPA มีผลบังคับใช้ • จะมีกลไกร่วมเพื่อพิจารณารับรองคุณวุฒิร่วมกันของปริญญา/ประกาศนียบัตรทางวิชาชีพ ซึ่งน่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้คนไทยไปทำงานในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในอนาคต • การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) ในอนาคต จะไม่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ต้องขอจึงจะพิจารณา

  21. หากมีคำถาม/ข้อสงสัย โปรดติดต่อ สำนักงานเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 02-643-5000 ต่อ 2625 www.mfa.go.th/jtepa

More Related