1 / 46

ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่

ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่. รายละเอียด. ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนในปัจจุบัน ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ โครงสร้างชั้นงาน (Grading Structure) สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง (Competency) มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Job Specification) ระบบค่าตอบแทน ภาคผนวก.

myra-greer
Download Presentation

ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่

  2. รายละเอียด... • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนในปัจจุบัน • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ • โครงสร้างชั้นงาน(Grading Structure) • สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง(Competency) • มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง(Job Specification) • ระบบค่าตอบแทน • ภาคผนวก

  3. โครงสร้างตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน ... • ระบบจำแนกตำแหน่ง (Position Classification System) นำมาใช้ในการบริหารงานบุคคลแทน ระบบชั้นยศเดิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 • จัดโครงสร้างทุกตำแหน่งตามระดับมาตรฐานกลาง (Common Level) เป็น 11 ระดับ ระดับ 11 ปลัดกระทรวง / ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 10 อธิบดี / รองปลัดกระทรวง / ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 9 รองอธิบดี / ผอ.สำนัก / ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 8 ผอ.กอง หัวหน้ากลุ่มงาน ระดับ 7 หัวหน้าฝ่าย /งาน ระดับ 3-5 หรือ 6 ระดับ 2-4 หรือ 5 ระดับปฏิบัติการ ระดับ 1-3 หรือ 4

  4. โครงสร้างตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน ... • ได้ปรับปรุงแก้ไขสาระสำคัญบางส่วนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 39 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี 3 ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่ง ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง • ภายใต้แนวคิดการจำแนกตำแหน่งตามความชำนาญเฉพาะทาง (Specialization) และกำหนด ระดับตำแหน่งตามความยากและคุณภาพของงาน

  5. ปัญหาระบบจำแนกตำแหน่งในปัจจุบัน ... • มาตรฐานกลางไม่ยืดหยุ่นต่อการบริหาร กำลังคน (Single Scale) • จำแนกความแตกต่างของค่างานได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการเลื่อนไหล (Grade Creeping) ของตำแหน่งที่ไม่สมเหตุผล • ความต้องการก้าวหน้า & คำขอกำหนดตำแหน่ง เป็นระดับสูงขึ้น • มีสายงานจำนวนมาก (441 สายงาน) • เน้นคุณวุฒิทางการศึกษามากกว่า ขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน • เจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ นำไปปรับใช้แบบไม่สมดุลย์ Position Classification System

  6. ปัญหาค่าตอบแทนข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน ... • มีบัญชีอัตราเงินเดือนเพียงบัญชีเดียวสำหรับทุก กลุ่มงาน • ค่าตอบแทนภาครัฐต่ำกว่าอัตราการจ้างงานใน ภาคเอกชนที่รับผิดชอบงานในระดับเดียวกัน • การจ่ายค่าตอบแทนไม่สะท้อนกับผลการปฏิบัติงาน • ไม่จูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถ “คนดี คนเก่ง” อยู่ในระบบราชการ • เป็นภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในอนาคตสูง

  7. รายละเอียด... • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนในปัจจุบัน • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ • โครงสร้างชั้นงาน(Grading Structure) • สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง(Competency) • มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง(Job Specification) • ระบบค่าตอบแทน • ภาคผนวก

  8. หลักการในการออกแบบระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่หลักการในการออกแบบระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ หลักผลงาน (Performance ) หลักสมรรถนะ (Competency) หลักคุณธรรม (Merit) กระจายความรับผิดชอบ ในการบริหารทรัพยากรบุคคล

  9. แนวคิดหลักในการออกแบบระบบ ... คนที่มีคุณภาพ ใน งานที่เหมาะสม กับ ความรู้/ทักษะ/สมรรถนะที่ต้องการ และ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

  10. รายละเอียด... • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนในปัจจุบัน • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ • โครงสร้างชั้นงาน(Grading Structure) • สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง(Competency) • มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง(Job Specification) • ระบบค่าตอบแทน • ภาคผนวก

  11. เปรียบเทียบโครงสร้างชั้นงานและประเภทตำแหน่ง ... เดิม ใหม่ ระดับ 11 ทรงคุณวุฒิ ระดับ 10 เชี่ยวชาญ ทักษะพิเศษ ระดับ 9 ชำนาญการพิเศษ ระดับอาวุโส ระดับ 8 ชำนาญงาน ระดับสูง ระดับสูง ชำนาญการ ระดับ 7 ระดับต้น ระดับต้น ปฏิบัติงาน ปฏิบัติการ วิชาการ อำนวยการ บริหาร ทั่วไป ระดับ 3-5 หรือ 6 ระดับ 2-4 หรือ 5 ระดับ 1-3 หรือ 4 • จำแนกกลุ่มตำแหน่งเป็น 4 ประเภท อิสระจากกัน • แต่ละกลุ่มมี 2-5 ระดับ แตกต่างกันตามค่างาน • และโครงสร้างการทำงานในองค์กร • มีบัญชีเงินเดือนพื้นฐานแยกแต่ละกลุ่ม • กำหนดชื่อเรียกระดับตำแหน่งแทนตัวเลข • จำแนกเป็น 11 ระดับ สำหรับทุกตำแหน่ง • มีบัญชีเงินเดือนเดียว

  12. คำอธิบายประเภทและระดับตำแหน่งที่ปรับปรุงใหม่ ... ประเภทบริหาร ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร จำแนกระดับตามลำดับความสำคัญของตำแหน่งเป็น 2 ระดับ - ระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดีหรือเทียบเท่า - ระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งรองอธิบดีหรือเทียบเท่า ประเภทอำนวยการ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด จำแนกระดับตำแหน่งตามความรับผิดชอบเป็น 2 ระดับ - ระดับสูง เทียบเท่าตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนัก (ระดับ 9 บส.) - ระดับต้น เทียบเท่าตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง (ระดับ 8 บก.)

  13. คำอธิบายประเภทและระดับตำแหน่งที่ปรับปรุงใหม่ ... ประเภทวิชาการ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จปริญญาทางวิชาการตามที่ ก.พ. กำหนดปฏิบัติงานในหน้าที่ ของตำแหน่งนั้น มี 5 ระดับ - ระดับทรงคุณวุฒิ เทียบเท่าตำแหน่ง ระดับ 10-11 - ระดับเชี่ยวชาญ เทียบเท่าตำแหน่ง ระดับ 9 - ระดับชำนาญการพิเศษ เทียบเท่าตำแหน่ง ระดับ 8 - ระดับชำนาญการ เทียบเท่าตำแหน่ง ระดับ 6-7 - ระดับปฏิบัติการ เทียบเท่าตำแหน่ง ระดับ 3-5 ประเภททั่วไป ตำแหน่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ.กำหนดให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น และไม่ใช่ตำแหน่งประเภทอำนวยการและประเภทบริหาร เป็นตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน งานปฏิบัติการของส่วนราชการ งานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะ - ระดับทักษะพิเศษ เทียบเท่าตำแหน่งระดับ 8 ขึ้นไป - ระดับอาวุโส เทียบเท่าตำแหน่งระดับ 7 - ระดับชำนาญงาน เทียบเท่าตำแหน่งระดับ 5-6 - ระดับปฏิบัติงาน เทียบเท่าตำแหน่งระดับ 1-4

  14. ระดับทักษะพิเศษ ระดับต้น ระดับสูง ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ระดับสูง ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ ระดับต้น ระดับปฏิบัติการ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ ฿ แบบแผนความก้าวหน้าในอาชีพ ... ประเภทบริหาร • อายุงาน • บรรลุ KPIs 3 ปีติดต่อกัน • ความรู้/ทักษะที่ต้องการ • สมรรถนะที่ต้องการ • วุฒิการศึกษาปริญญาตรี • อายุงาน • ความรู้/ทักษะที่ต้องการ • สมรรถนะที่ต้องการ ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป • อายุงาน • ความรู้/ทักษะที่ต้องการ • สมรรถนะที่ต้องการ ประเภทอำนวยการ

  15. การเลื่อนระดับตำแหน่ง ... เลื่อนระดับภายในกลุ่มประเภทตำแหน่งเดียวกัน (ตัวอย่าง) เกณฑ์การเลื่อนระดับ • ระดับหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของผู้ปฏิบัติงานถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งเป้าหมาย • ระดับความรู้ที่จำเป็นในงานของตำแหน่งเป้าหมาย • ระดับทักษะที่จำเป็นในงานของตำแหน่งเป้าหมาย ได้แก่ • - การใช้คอมพิวเตอร์ • - การใช้ภาษาอังกฤษ • - การคำนวณ • - การบริหารจัดการฐานข้อมูล • ระดับสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็นในงานของตำแหน่งเป้าหมาย • ประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเป้าหมาย ทรงคุณวุฒิ เชี่ยวชาญ ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ ระดับปฏิบัติการ ประเภทวิชาการ

  16. รายละเอียด... • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนในปัจจุบัน • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ • โครงสร้างชั้นงาน(Grading Structure) • สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง(Competency) • มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง(Job Specification) • ระบบค่าตอบแทน • ภาคผนวก

  17. ที่มาของสมรรถนะ..... ข้อมูลความรู้ที่บุคคลมีในสาขาต่างๆ องค์ความรู้ และ ทักษะต่างๆ ความเชี่ยวชาญ ชำนาญพิเศษในด้านต่างๆ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์และคุณค่า ของตน บทบาทที่บุคคลแสดงออกต่อผู้อื่น บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social Role) ภาพลักษณ์ภายใน (Self-Image) อุปนิสัย (Traits) แรงผลักดันเบื้องลึก (Motives) จินตนาการ แนวโน้มวิธีคิด วิธีปฏิบัติตนอันเป็นไปโดยธรรมชาติของบุคคล ความเคยชิน พฤติกรรมซ้ำๆในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง

  18. สมรรถนะ 1 สมรรถนะ 2 ผลงาน สมรรถนะ 3 สมรรถนะ 4 สมรรถนะ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของบุคคล สมรรถนะ และผลงาน คุณลักษณะของบุคคล องค์ความรู้ และ ทักษะต่างๆ พฤติกรรม บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social Role) ภาพลักษณ์ภายใน (Self-Image) อุปนิสัย (Traits) แรงผลักดันเบื้องลึก (Motives)

  19. การจัดกลุ่มงาน (JOB FAMILY) ... กระทรวง คำจำกัดความ การจัดกลุ่มงาน คือ การจัดกลุ่มของบทบาทงานต่างๆที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันเข้าไว้ด้วยกัน โดยพิจารณาจากลักษณะงาน วัตถุประสงค์ของงาน ตลอดจนผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นเกณฑ์ ประโยชน์ • เป็นพื้นฐานในการทบทวนระดับงานของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบหลักและอำนาจตัดสินใจให้ ชัดเจนในแต่ละระดับ • เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาค่าตอบแทนสำหรับระดับงานต่างๆ ซึ่งมีขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบหลักต่างกัน • เป็นกรอบในการกำหนดคุณสมบัติเชิงพฤติกรรมที่จำเป็น ประจำกลุ่มงานต่างๆ (Competency) แรงงาน สาธารณสุข การคลัง 1 : งานนโยบายและวางแผน 2 : งานบริหาร กลุ่มงาน 3 : งานบังคับใช้กฎหมาย 4: งานบริการประชาชน 5: งานสื่อสารและส่งเสริมการศึกษา จัดจำแนกกลุ่มงานโดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงานภาครัฐเป็นหลัก (เช่น การกำหนดนโยบาย การตรากฎหมาย) สำหรับคุณวุฒิ และสายอาชีพของข้าราชการไม่ใช่ปัจจัย ในการจัดกลุ่มงาน

  20. แนวทางการจัดกลุ่มงาน (JOB FAMILY) ... แนวทางการจัดกลุ่มงานใหม่สำหรับระบบราชการพลเรือนไทย จำเป็นต้องคำนึงถึงทิศทางการบริหารราชการไทยในอนาคตที่มุ่งเน้นการบริการภาครัฐ และมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก กรอบแนวคิดในการจัดกลุ่มงานจึงเริ่มจากการพิจารณา 1. กลุ่มลูกค้าผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2. กรอบผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ที่งานในภาคราชการพลเรือนจะต้องปฏิบัติให้บรรลุผลเพื่อสนับสนุนให้ภารกิจโดยรวมของภาครัฐบรรลุผล กลุ่มงาน(Job Families) กรอบผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ทางด้าน ... (Areas of Output/Outcome) งานค้นคว้าวิจัย (Research) งานบริหารองค์ความรู้สำคัญในภาครัฐ(Public Sector Knowledge Management) (Advisory) งานให้คำปรึกษา งานนโยบายและวางแผน (Policy & Planning) ลูกค้าภายในภาครัฐ งานผู้บริหารระดับสูง (Senior Executives) งานบริหารระบบและทรัพยากรภาครัฐ(Public Sector Systems & Resources Management) งานการปกครอง (Public Governance) งานสนับสนุนงานหลักทางเทคนิคเฉพาะด้าน (Support: Technical) งานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) (Support: General) งานสนับสนุนงานหลักทั่วไป งานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(International Relations) งานออกแบบเพื่อการพัฒนา (Developmental Design) ลูกค้าผู้รับบริการ/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย งานข่าวกรองและสืบสวน (Intelligence & Investigation) งานสาธารณสุข (Public Health) งานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) งานบริการประชาชนด้านสุขภาพ และสวัสดิภาพ (Service: Caring) งานบริการภาครัฐเพื่อประชาชน(Public Services) งานบริการทางเทคนิคเฉพาะด้าน (Service: Technical) งานเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาชน และงานพัฒนามวลชน(Public Understanding & Cooperation) งานสื่อสารและเผยแพร่ (Public Communications & Promotion) ลูกค้าภายนอกภาครัฐ (Public Education & Development) งานส่งเสริมการศึกษา งานเอกสารราชการและทะเบียน (Registration) งานสวัสดิภาพและความปลอดภัยเพื่อประชาชน (Public Safety & Security) งานบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) งานบริการทางศิลปวัฒนธรรม (Service: Cultural) งานอนุรักษ์มรดกแห่งชาต (Conservation) งานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (Conservation: Natural Resources & Environment)

  21. โครงสร้าง Competency Model สำหรับข้าราชการพลเรือน ... โครงสร้างสมรรถนะสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) Core Competencies หรือ สมรรถนะหลัก และ 2) Functional Competencies (สมรรถนะประจำกลุ่มงาน) สมรรถนะประจำกลุ่ม คือ สมรรถนะที่กำหนดเฉพาะ สำหรับกลุ่มงานเพื่อสนับสนุนส่งเสริม ให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ ได้ดียิ่งขี้น สมรรถนะประจำกลุ่มงาน 1 สมรรถนะประจำกลุ่มงาน 2 สมรรถนะประจำกลุ่มงาน 3 สมรรถนะหลัก 1 สมรรถนะหลัก 2 สมรรถนะหลัก คือ สมรรถนะเชิงพฤติกรรมที่กำหนด เป็นคุณลักษณะร่วมของข้าราชการพลเรือนทั้งระบบ เพื่อเป็นการหล่อหลอมค่านิยมและ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมกัน สมรรถนะหลัก 3 สมรรถนะหลัก 4 สมรรถนะหลัก 5

  22. ตัวอย่าง สมรรถนะสำหรับกลุ่มงานออกแบบพัฒนา (Developmental Design)... สมรรถนะ ประจำกลุ่มงาน 3 ด้าน อาทิ... วิศวกร, วิศวกรสำรวจ, สถาปนิก, วิศวกรโยธา ฯลฯ การมองภาพรวม (Conceptual Thinking) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) บริการที่ดี (Service Mind) สมรรถนะหลัก ของข้าราชการ 5 ด้าน การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise) จริยธรรม (Integrity) ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork) (คำอธิบายสมรรถนะและแบบประเมินสมรรถนะในเอกสารแนบ)

  23. ต้นแบบสมรรถนะ (Competency Model) จำแนกตามกลุ่มงาน ...

  24. รายละเอียด... • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนในปัจจุบัน • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ • โครงสร้างชั้นงาน(Grading Structure) • สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง(Competency) • มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง(Job Specification) • ระบบค่าตอบแทน • ภาคผนวก

  25. ทักษะ/ความรู้Skills/Knowledge (ปัจจัยนำเข้า) Competencies (พฤติกรรม/ ขั้นตอน) หน้าที่รับผิดชอบหลัก Accountabilities (ผลสัมฤทธิ์) มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Job Specification) ... ความหมาย เป็นแบบบรรยายลักษณะงานแบบย่อที่ระบุลักษณะงาน โดยสังเขป เน้นการมุ่งผลสัมฤทธิ์ประจำตำแหน่ง โดยมีรายละเอียดประกอบด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบ หลัก และคุณวุฒิที่จำเป็น ได้แก่ ระดับความรู้ ทักษะ และสมรรถนะประจำตำแหน่ง ระดับความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ลักษณะพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมต่อตำแหน่งและจะช่วย ส่งเสริมผลงาน วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าตำแหน่งงานในระบบ ราชการพลเรือนแต่ละตำแหน่งมีขอบเขตภารกิจหน้าที่ รับผิดชอบเฉพาะตำแหน่งอย่างไร ตลอดจนมีเกณฑ์ คุณวุฒิ คุณสมบัติอย่างไร และผู้ดำรงตำแหน่งควรจะ ประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะเหมาะสมสำหรับ ตำแหน่งและบรรลุผลสัมฤทธิ์ของตำแหน่งได้ดียิ่งขึ้น ขอบเขตผลลัพธ์หลักของงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำให้สำเร็จจึงจะถือว่าสามารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์ของตำแหน่งงานในระดับที่ได้มาตรฐาน

  26. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Job Specification) ... ตัวอย่าง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Job Specification) หรือมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ปรับปรุงใหม่ ระบุสาระสำคัญของตำแหน่งซึ่งแยกเป็น 3 ส่วน สายงาน : นักวิชาการ .. ตำแหน่ง: ชั้นงาน (Level) : กลุ่มงาน : 1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ด้านปฏิบัติการ / งานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ก. 2. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ข. ระบุหน้างานและรายละเอียดของหน้าที่รับผิดชอบหลัก ของชั้นงานในแต่ละสายงานอย่างชัดเจน ด้านวางแผน 1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ค. 2. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ง. ระบุวัตถุประสงค์ของแต่ละภาระหน้าที่อย่างชัดเจน โดยกำหนดผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์เป้าหมายของภาระหน้าที่นั้น ด้านการประสานงาน 1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก จ. 2. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ฉ. ด้านการบริการ 1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ช. 2. หน้าที่รับผิดชอบหลัก ซ. ระบุความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นในงาน ของชั้นงานในแต่ละสายงานอย่างชัดเจน 2. ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นในงาน 3. สมรรถนะที่จำเป็นในงาน • สมรรถนะหลัก ระบุสมรรถนะที่จำเป็นในงานของชั้นงานในแต่ละสายงานอย่างชัดเจน • สมรรถนะประจำกลุ่มงาน

  27. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง : หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ... Operations/Expertise - การปฏิบัติงาน และการพัฒนาในเชิงวิชาการเฉพาะด้าน ที่มีลักษณะยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น ตามประสบการณ์ และ ความชำนาญ ที่จำเป็นในระดับงานต่างๆ Planning - การวางแผนปฏิบัติงาน ในขอบเขตความรับผิดชอบที่กว้าง เป็นระบบ และมุ่งเน้นกลยุทธ์มากขึ้นตามระดับชั้นงาน นักวิชาการ…/นัก…และสายงานประเภทวิชาชีพ Communication and Cooperation - การประสานงานเพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานทางวิชาการในขอบเขตที่ครอบคลุมและมีผลกระทบมากขึ้นตามระดับชั้นงาน Service - การให้คำปรึกษา การแนะนำ การอบรม การถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ให้กับบุคคล/หน่วยงานภายใน ภายนอก และต่างประเทศ

  28. ชื่อตำแหน่ง วิศวกรสำรวจ 3 หน้าที่และความรับผิดชอบ ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานวิศวกรรมสำรวจ ภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยใกล้ชิด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะงานที่ปฏิบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นต้นปฏิบัติงานที่ยากพอสมควรเกี่ยวกับวิศวกรรมสำรวจ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น งานสำรวจภูมิประทศที่ต้องใช้ความละเอียดมาก วางโครงข่ายสามเหลี่ยมและวงรอบการรังวัดทางดาราศาสตร์ ทางจีโอดีซี่ การวัดระยะด้วยเครื่องวัดระยะอีเลคโทรนิค การวางโครงสร้างแผนที่แบบต่างๆ การติดตามผลงานและการคำนวณตรวจสอบตามหลักวิชาการสำรวจแผนที่ เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมกับที่ปรับปรุงใหม่ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 1. ได้รับปริญญาตรี โท หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางวิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน หรือทางอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ ความรู้ความสามารถที่ต้องการ 1. มีความรู้ในวิชาการวิศวกรรมสำรวจอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่ 2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ 3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย 4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่ 5. มีความสามารถในการศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิม

  29. เปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมกับที่ปรับปรุงใหม่เปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมกับที่ปรับปรุงใหม่ 2. วุฒิการศึกษา ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นในงาน 2.1 วุฒิการศึกษาที่จำเป็นในงาน 2.1.1 ได้รับปริญญาตรี โทหรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่านี้ ทางวิศวกรรมสาขาสำรวจ โยธา ชลประทาน หรือสาขาอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ 2.1.2 ความรู้ความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในงาน ระดับที่ 2 2.1.3 ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบราชการในระดับที่ 2 2.2 ทักษะที่จำเป็นในงาน 2.2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับที่ 3 2.2.2 ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ระดับที่ 2 2.2.3 ทักษะการบริหารข้อมูลและจัดการ ระดับที่ 2 2.3 ประสบการณ์ที่จำเป็นในงาน 2.3.1 ระดับแรกเข้าไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน 3. สมรรถนะที่จำเป็นในงาน 3.1.1 สมรรถนะหลัก : การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับที่ 1/ จริยธรรม ระดับที่ 1/ บริการที่ดี ระดับที่ 2/ ความร่วมแรงร่วมใจ ระดับ 1/ การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ระดับที่ 1 3.1.2 สมรรถนะประจำกลุ่มงาน : การมองภาพองค์รวม ระดับที่ 1/ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ระดับที่ 1/ การสืบเสาะหาข้อมูล ระดับที่ 1 มาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ สายงาน วิศวกรสำรวจ ตำแหน่ง วิศวกรสำรวจ ระดับ ปฏิบัติการ กลุ่มงาน ออกแบบเพื่อการพัฒนา 1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก 1.1 ด้านปฏิบัติการ/งานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Operation/Expertise) 1.1.1 สำรวจภูมิประเทศและวางโครงสร้างแผนที่โดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางนโยบายและแผนพัฒนาพื้นที่ต่างๆ หรือประกอบการปฏิบัติงานอื่นๆตามภารกิจของหน่วยงาน 1.1.2 รวบรวมสถิติข้อมูลการสำรวจ และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการสำรวจ 1.2 ด้านวางแผน (Planning) 1.2.1 วางระบบและแผนการปฏิบัติงานของกลุ่ม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 1.3 ด้านการประสานงาน (Communication and Cooperation) 1.3.1 ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการและเอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานวิศวกรรมสำรวจ 1.4 ด้านการบริการ (Service) 1.4.1ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมสำรวจที่ตนมีความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆที่เป็นประโยชน์

  30. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง : ความรู้ที่จำเป็นในแต่ละระดับ ... ความรู้ที่จำเป็นในงาน ระดับวุฒิการศึกษาและความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในงาน ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบราชการ ทักษะความรู้ในเรื่องกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ระดับที่ 7 • มีความรู้ในระดับที่ 6 และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เป็นที่ปรึกษาอาวุโสให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ในระดับสูง • มีความรู้ในระดับที่ 5 และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เนื่องจากมีประสบการณ์และความรู้ที่ลึกซึ้งและกว้างขวาง เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานอื่นๆได้ ระดับที่ 6 10 - 20 ปีในงานที่เกี่ยวข้อง • มีความรู้ในระดับที่ 4 และมีประสบการณ์กว้างขวางในสาย อาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ระดับที่ 5 มีทักษะระดับที่ 4 และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย สามารถแนะนำ ให้คำปรึกษา วิเคราะห์หาเหตุผลและทางแก้ไขในประเด็นหรือปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ • มีความรู้ในระดับที่ 3 และมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับลักษณะงาน หลักการ แนวคิด ทฤษฎีของงานในสายอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ มีทักษะระดับที่ 3 และเข้าใจ กฎหมายหรือระเบียบอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกฎหมายหรือระเบียบในงานและสามารถนำมาใช้แนะนำหรือให้คำปรึกษาในภาพรวมหากเกิดประเด็นปัญหา ระดับที่ 4 มีทักษะในระดับที่ 2 และสามารถนำไปประยุกต์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน อุดช่องโหว่ในกฏหมาย หรือตอบคำถามข้อสงสัยในงานที่ปฏิบัติอยู่ให้หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ระดับที่ 3 • มีความรู้ในระดับ 2 และมีความเข้าใจและในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีของงานในสายอาชีพที่ปฏิบัติอยู่อีกทั้งสามารถให้คำแนะนำแก่เพื่อนร่วมงานได้ • สายงานเปิด ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ศึกษามาในการปฏิบัติหน้าที่ได้(สำหรับสายงานปิด โปรดดูวุฒิการศึกษาประจำสายงานได้จาก ตารางวุฒิการศึกษาประจำสายงานปิด) ระดับที่ 2 เข้าใจกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งและทราบว่าจะหาคำตอบจากที่ใดเมื่อมีข้อสงสัยในงานที่ปฏิบัติอยู่ • สายงานเปิด วุฒิการศึกษาระดับ…..หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ (สำหรับสายงานปิด โปรดดูวุฒิการศึกษาประจำสายงานได้จาก ตารางวุฒิการศึกษาประจำสายงานปิด) ระดับที่ 1 เข้าใจกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานประจำวันที่ปฏิบัติอยู่

  31. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง : ทักษะที่จำเป็นในแต่ละระดับ ... ทักษะการบริหารจัดการฐานข้อมูล ทักษะในการบริการจัดการฐานข้อมูลตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในงาน ทักษะการคำนวณ ทักษะในการทำความเข้าใจและคิดคำนวณข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ทักษะการใช้ภาษา ทักษะในการนำภาษาอังกฤษมาใช้ในงาน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีทักษะระดับที่ 4 สามารถระบุ แก้ไขข้อผิดพลาดในข้อมูลได้ เข้าใจข้อมูลต่างๆ ในภาพรวมและสามารถนำข้อมูลทางสถิติ ตัวเลขต่างๆ มาเชื่อมโยงเพื่ออธิบายชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจได้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้งใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา สามารถประยุกต์ใช้โวหารทุกรูปแบบได้อย่างคล่องแคล่วและสละสลวยถูกต้อง อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญศัพท์เฉพาะด้านในสาขาวิชาของตนอย่างลึกซึ้ง มีทักษะในระดับที่ 4 และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เชี่ยวชาญในโปรแกรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางหรือสามารถเขียน โปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบการปฏิบัติงานได้ ระดับที่ 5 มีทักษะระดับที่ 3 และสามารถออกแบบ เลือกใช้ หรือประยุกต์วิธีการในการจัดทำแบบจำลองต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีทักษะระดับที่ 3 และเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างถูกต้องทั้งในหลักไวยากรณ์และความเหมาะสมในเชิงเนื้อหา มีทักษะระดับที่ 3 และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ และตัวเลขที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง ระดับที่ 4 มีทักษะในระดับที่ 3 และมีความเชี่ยวชาญในโปรแกรมที่ใช้ หรือสามารถซ่อม หรือปรับปรุงโปรแกรมเพื่อนำมาพัฒนาระบบการปฏิบัติงานได้ มีทักษะระดับที่ 2 และสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานได้โดยถูกหลักไวยากรณ์ ระดับที่ 3 มีทักษะระดับที่ 2 และสามารถใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว มีทักษะระดับที่ 2 และสามารถใช้สูตรคณิตศาสตร์และเครื่องมือต่างๆ ในการคำนวณตัวเลขที่ซับซ้อนได้ มีทักษะระดับที่ 2 และสามารถพยากรณ์ หรือสร้างแบบจำลอง (model) เพื่อพยากรณ์หรือตีความโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ มีทักษะระดับที่ 1และสามารถทำความเข้าใจข้อมูลตัวเลขได้อย่างถูกต้อง สามารถพูด เขียน อ่านและฟังภาษาอังกฤษและทำความเข้าใจสาระสำคัญของเนื้อหาต่างๆได้ มีทักษะในระดับที่ 1 และสามารถวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ระดับที่ 2 มีทักษะระดับที่ 1 และสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานได้ สามารถบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่คู่มือการใช้ระบุไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และแสดงผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่นกราฟ รายงาน ได้ สามารถพูด เขียน ฟัง และอ่านภาษาอังกฤษ ในระดับเบื้องต้นและสื่อสารให้เข้าใจได้ สามารถคำนวณพื้นฐานได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และถูกต้อง ระดับที่ 1

  32. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง : สมรรถนะของตำแหน่ง ... สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำกลุ่มงาน เอกสารสรุปลักษณะงานจะประกอบด้วยสมรรถนะหลักของข้าราชการพลเรือนและสมรรถนะประจำกลุ่มงานแต่ละกลุ่ม ซึ่ง ลำดับความยากง่ายของสมรรถนะแต่ละตัวจะแปรผันตามระดับ ชั้นงาน

  33. ตัวอย่างการกำหนดระดับ ความรู้ /ทักษะ /สมรรถนะในสายงานวิชาการป่าไม้ ระดับสมรรถนะ ระดับทักษะ ระดับความรู้ ตำแหน่งสายงาน วิศวกรรมสำรวจ ประสบ- การณ์(ปี) สมรรถนะหลัก ประจำกลุ่มงาน ความรู้ ในงาน กฎ ระเบียบ คอม พิวเตอร์ จัดการ ข้อมูล ภาษา อังกฤษ การศีกษา คำนวณ 2 2 1 1 1 2 2 2 1 2 1 1 ระดับต้น ไม่มี 2 1 ไม่ต่ำกว่า ป.ตรี หรือ เทียบเท่า 3 3 3 2 2 2 2 2 2 2 ชำนาญการ 3 3 > 5 ปี 2 2 ชำนาญการพิเศษ > 10 ปี 4 3 3 3 4 4 3 4 3 3 3 3 3 3 > 12 ปี เชี่ยวชาญ 5 4 4 4 5 5 4 4 4 3 4 5 4 4

  34. ระบบจำแนกตำแหน่งมีความไม่ชัดเจนมีหลายสายงานทำงานซ้ำซ้อนกัน และบางสายงานที่มีหน้าที่หลากหลาย มีการรวบระดับงานที่มีผลสัมฤทธิ์ของงานใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน กำหนดหน้าที่รับผิดชอบหลักที่ชัดเจนขึ้นในแต่ละระดับทำให้ข้าราชการรู้ว่าควรปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองอย่างไรจึงจะบรรลุผลสัมฤทธิ์ที่องค์กรคาดหวังและเป็นประโยชน์สูงสุดกับองค์กร เปรียบเทียบระหว่างระบบเดิมและระบบใหม่ ระบบเดิม ระบบใหม่ • เส้นทางก้าวหน้ามีความยืดหยุ่นและอาจข้ามสายงานได้จึงเปิดโอกาสให้สะสมความรู้และเปิดโลกทัศน์ใหม่ได้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม • เส้นทางก้าวหน้าของราชการขึ้นอยู่กับทักษะ ความรู้และ competency และมีความยืดหยุ่นสูงจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการพัฒนาตนเองเนื่องจากมีความชัดเจนว่าควรพัฒนาตนเองเช่นไรและอย่างไรจึงเหมาะสมกับสิ่งที่องค์กรคาดหวัง • เส้นทางก้าวหน้าของราชการส่วนใหญ่ก้าวหน้าอยู่ในสายงานของตน การสั่งสมความรู้จึงจำกัดเฉพาะในสายงานของตน • การโอนย้ายในสายงานเดียวกันแต่ลักษณะงานต่างกันออกไปสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ประเมินและพิจารณาถึงศักยภาพของผู้ดำรงตำแหน่ง • การโอนย้ายระหว่างสายงานสามารถกระทำได้แต่ต้องผ่านการพิจารณาความรู้ ทักษะ และ competencies เพื่อให้มั่นใจว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงาน

  35. รายละเอียด... • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนในปัจจุบัน • ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ • โครงสร้างชั้นงาน(Grading Structure) • สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง(Competency) • มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง(Job Specification) • ระบบค่าตอบแทน • ภาคผนวก

  36. องค์ประกอบหลักในการกำหนดระบบค่าตอบแทนองค์ประกอบหลักในการกำหนดระบบค่าตอบแทน ขนาด “น้ำหนัก” ของตำแหน่งงาน สภาวะในตลาดแรงงาน ฿ ศักยภาพและนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนขององค์กร ผลงานของบุคลากรแต่ละคน

  37. ระบบค่าตอบแทนใหม่: ปรับเปลี่ยนทั้งด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการเพื่อให้เกิด High Performance Civil Service อนาคต ปัจจุบัน มีบัญชีหลากหลายแยกตามประเภทตำแหน่ง บัญชีเดียวใช้กับทุกประเภทตำแหน่งไม่ยืดหยุ่นและไม่สนับสนุนการทำงานรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นผลงานและพัฒนาความรู้ โครงสร้าง เน้นความสำคัญของผลงาน (Performance) และความรู้/ทักษะ/พฤติกรรมCompetency) องค์ประกอบ เงินเดือนพื้นฐานมีสัดส่วนสูง ห่างจากเอกชนมาก จึงไม่สามารถดึงดูดและรักษาผู้มีศักยภาพสูงไว้ได้ ระดับ เทียบเคียงได้กับตลาด การบริหารจัดการของส่วนราชการ เพิ่มความคล่องตัว ไม่คล่องตัว

  38. เงินเดือนพื้นฐาน โครงสร้างระบบค่าตอบแทนใหม่ข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก Total Pay เชื่อมโยงผลสัมฤทธิ์ระหว่างหน่วยงานกับบุคคล ช่วยสร้างความมั่นคงในการทำงาน สะท้อนขนาดงาน ผลงาน (Performance) และ สมรรถนะ (Competency) ตำแหน่งงานที่มีลักษณะพิเศษ + + + 1 2 3 4 สวัสดิการ เงินเพิ่ม Bonus รายปี +

  39. โครงสร้างค่าตอบแทนจะสอดคล้องกับระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ ... อำนวยการ บริหาร ทั่วไป วิชาการ เงินเพิ่มตำแหน่งงานที่มีลักษณะพิเศษ เงินประจำตำแหน่ง สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นๆ เงินเพิ่มตามผลงานประจำปี เงินเดือนพื้นฐาน

  40. บทบาทการกำหนดค่าตอบแทนในอนาคตบทบาทการกำหนดค่าตอบแทนในอนาคต กำหนดนโยบายด้านค่าตอบแทนในภาพรวมและอัตรา ค่าตอบแทนของตำแหน่งระดับสูง ครอบคลุมข้าราชการ และพนักงานของรัฐอื่น ๆ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ กงช ก.พ. จะกำหนดบัญชีเงินเดือนที่หลากหลายตาม ลักษณะงาน โดยอิงกับอัตราตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ บัญชีเงินเดือนในอนาคตจะเป็นแบบช่วงเงินเดือน เพื่อให้กรมมีความคล่องตัวในการบริหารเงินเดือน ให้สอดคล้องกับบุคคลมากขึ้น ก.พ. กระทรวง/กรม บริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ โดยบริหารค่าตอบแทน ของข้าราชการรายบุคคลในหน่วยงานภายในวงเงิน ที่ได้รับจัดสรร

  41. ตัวอย่างบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญตัวอย่างบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ

  42. บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง 16,650 25,180 37,350 54,730 ขั้นต่ำ 5,200 7,610 12,120 15,700 ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ทักษะพิเศษ ตัวอย่าง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป

  43. บาท บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง 20,340 32,980 44,860 54,730 58,910 ขั้นต่ำ 8,870 13,110 19,290 23,670 27,600 ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ ตัวอย่าง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ

  44. บาท บาท ขั้นสูง 46,280 54,730 ขั้นต่ำ 21,260 26,140 ระดับ ต้น สูง ตัวอย่าง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

  45. บาท บาท ขั้นสูง 58,910 60,870 ขั้นต่ำ 44,590 49,160 ระดับ ต้น สูง ตัวอย่าง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทบริหาร

  46. ตัวอย่าง

More Related