1 / 8

โครโมโซม มีรูปแบบต่างๆกันออกไป ตามตำแหน่งของ เซน โตร เมีย

neil-mercer
Download Presentation

โครโมโซม มีรูปแบบต่างๆกันออกไป ตามตำแหน่งของ เซน โตร เมีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครโมโซม (chromosome)จากทฤษฎีโครโมโซมในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของซัตตัน และการค้นพบ DNA ว่าเป็นสารพันธุกรรม รวมทั้งกระบวนการทางวิทยาเซลล์ (Cytology) ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า DNA เป็นองค์ประกอบของโครโมโซม และจีน คือส่วนหนึ่งของ DNA ที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม จึงมีการศึกษาโครโมโซมและ DNA โดยละเอียด ได้ความรู้ดังนี้

  2. รูปร่าง ลักษณะและจำนวนโครโมโซม เมื่อยังไม่มีการแบ่งเซลล์ โครโมโซมจะมีลักษณะเป็นเส้นเล็กยาว ขดพันกัน อยู่ภายในนิวเคลียส เรียกว่า โครมาทิน (chromatin) เมื่อมีการแบ่งเซลล์ โครโมโซมจะมีการจำลองตัวเองเป็นเส้นคู่ที่เหมือนกันทุกประการ (homologous chromosome) ในระยะอินเทอร์เฟส (interphase) แล้วจึงหดสั้นและหนาขึ้นในระยะเมทาเฟส (metaphase) และสามารถย้อมติดด้วยสี อะซีโตคาร์มีน (acetocarmine)

  3. เซนโตรเมียร์ (centromere) โครโมโซม มีรูปแบบต่างๆกันออกไป ตามตำแหน่งของ เซนโตรเมีย

  4. สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน แต่เมื่อศึกษาลักษณะของโครโมโซมพบว่า มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน

  5. ส่วนประกอบของโครโมโซม โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต มีสัดส่วนระหว่าง DNAและโปรตีน โดยมี DNA1 ใน 3 และมีโปรตีน 2 ใน 3 ซึ่งได้แก่ โปรตีน ฮีสโตน (histone) และโปรตีนนอนฮีสโตน (non-histone) เช่น อาร์เอ็นเอพอลีเมอเรส(RNApolymerase) ในปี พ.ศ. 2427 นักวิทยาศาสตร์พบว่า ฮีสโตนเป็นโปรตีนที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น กรดอะมิโนที่มีประจุบวก (basic amino acid) เช่น ไลซีนและอาร์จีนีน ทำให้มีสมบัติในการเกาะจับกับสาย DNA ซึ่งมีประจุลบได้เป็นอย่างดี และทำให้เกิดการสร้างสมดุล ของประจุของโครมาทินด้วย สาย DNA พันรอบกลุ่มโปรตีนฮีสโตน เรียกโครงสร้างนี้ว่า นิวคลีโอโซม (nucleosome) โดยมีฮีสโตนอีกชนิดหนึ่ง เชื่อมระหว่างนิวคลีโอโซม ในเซลล์โพรคาริโอต พวกแบคทีเรีย E.coliมีจำนวนโครโมโซมเพียงชุดเดียวเป็นรูปวงแหวนอยู่ในไซโตพลาสซึม ประกอบด้วย DNA1 โมเลกุล และไม่มีฮีสโตนเป็นองค์ประกอบ

  6. สารพันธุกรรมทั้งหมดของโครโมโซม 1 ชุด ของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ เรียกว่า จีโนม (genome) ซึ่งขนาดของจีโนมและจำนวนจีนโดยประมาณในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ดังนี้

  7. การศึกษาโครโมโซมของคนมีการเลือกเซลล์ชนิดต่างๆ เพื่อการศึกษาและวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนี้* เซลล์ไขกระดูก : เพื่อตรวจโครโมโซมในคนที่เป็นมะเร็งในเซลล์เม็ดเลือดขาว* ลิมโฟไซต์ (เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง) : เพื่อศึกษาลักษณะและขนาดจำนวนของโครโมโซมและนำไปจัดเรียนเป็นคู่ เรียกว่า คาริโอไทป์ (karyotype) * เซลล์ของฟีตัส (ตัวอ่อนของคนที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป) จากน้ำคร่ำ : เพื่อศึกษาความผิดปกติทางพันธุกรรม* เซลล์จากรก : เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติหรือโรคบางอย่างของฟีตัส

  8. ความหมายของจีโนมในแบต่างๆ แต่เดิมจีโนมหมายถึง ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ใช้กับไวรัสหรือเซลล์โพคาริโอต (นิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้ม) ส่วนในเซลล์ยูคาริโอต (นิวเคลียสมีเยื่อหุ้ม) จีโนมหมายถึง ข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์แฮพลอยด์ (ครึ่งหนึ่งจำนวนโครโมโซมทั้งหมด) แต่ในปัจจุบัน จีโนม หมายถึง สารพันธุกรรมหรือกรดนิวคลีอิก ทั้งหมดภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะประกอบด้วยจีโนมในนิวเคลียส ในไมโทคอนเดรีย และในคลอโรพลาส

More Related