1 / 22

ชื่อโครงการวิจัย : การจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า

ชื่อโครงการวิจัย : การจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า. Management Community Environment for Health for All. วัตถุประสงค์. กระตุ้นชุมชน ให้มีเข้าใจถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ และ สรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของตน โดย :-

Download Presentation

ชื่อโครงการวิจัย : การจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชื่อโครงการวิจัย : การจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า Management Community Environment for Health for All

  2. วัตถุประสงค์ กระตุ้นชุมชน ให้มีเข้าใจถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ และ สรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของตนโดย:- • ชุมชน(รวมหน่วยงานรัฐ)ในพื้นที่รู้วิธีจัดการขยะของเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด • ชุมชนมีส่วนร่วมกับเทศบาลตำบลศาลายา ในการจัดการขยะ • ชุมชนรู้วิธีพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่สุขภาพ และเข้มแข็ง ของคนในชุมชน • ชุมชนสร้างคู่มือ “จัดการสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะมูลฝอย และน้ำเสียในครัวเรือน”

  3. หลักการและเหตุผล เขตเทศบาลตำบลศาลายา • พื้นที่รวม 13.5 ตารางกิโลเมตร / หรือ 8,437.5 ไร่ • พุทธมณฑล 2,500 ไร่ (30 %) • มหาวิทยาลัยมหิดล 1,239 ไร่ (15 %) • ถนนและพื้นที่ส่วนอื่นๆ 4,698. ไร่ (55 %) • ที่ตั้ง สถานศึกษา / หน่วยราชการส่วนขยาย/ พุทธสถาน/ สถานท่องเที่ยว • ประชากร เป็นประชากรแฝง (ตามทะเบียน ~ 8,974 คน)

  4. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ • มีผู้เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงถึง 116.69 ต่อแสนประชากร(ไม่ผ่านเกณฑ์) • ขยะมูลฝอย 20-25 ตัน/วัน (ม.มหิดล ~ 4 ตัน/วัน) • เกิดแหล่งน้ำเสีย และน้ำคู-คลองเกิดเน่าเสีย • เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

  5. ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน 1. ปัญหาความหนาแน่นของประชากรและการขยายตัวของชุมชน 2. ปัญหา ขยะ (ที่ย่อยสลายได้ ขยะทั่วไป ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และ ขยะอันตราย) 3. ปัญหาด้านน้ำ (มลภาวะทางน้ำ น้ำท่วม ขาดน้ำบริโภค) 4. ปัญหามลภาวะทางอากาศ 5. ปัญหาการจราจรติดขัด 6. ปัญหาความเสี่ยงต่อการเกิดวินาศภัย 7. ปัญหาความสวยงามของเมือง

  6. ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ทางตรงและอ้อม 1. กองขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค และแพร่เชื้อโรคอย่างดี 2. กองขยะมูลฝอย เป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ 3. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ทำให้พื้นสกปรกขาดความสวยงาม และสกัดกั้นการไหลของน้ำ 4. น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำ 5. ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ

  7. แหล่งขยะมูลฝอยชุมชน • ชุมชน : สถาบันการศึกษา สถานที่ราชการ ตลาดสด สถานที่ท่องเที่ยว ย่านธุรกิจการค้า ที่พักอาศัย และโรงพยาบาล ในชุมชน • การเกษตร จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และจากการเพาะปลูก • ขยะมูลฝอยอุตสาหกรรม

  8. แหล่งกำเนิดน้ำเสีย • น้ำเสียจากชุมชน เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของประชาชนในชุมชน จาก • ตลาดสด ร้านอาหาร • อาคารบ้านเรือน • สถาบันการศึกษา สถานที่ราชการ โรงแรม โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ • ร้านค้าพาณิชย์กรรม • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม • น้ำเสียจากการเกษตร

  9. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการเกิดขยะ-น้ำเสียปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการเกิดขยะ-น้ำเสีย - ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ - ฤดูกาล: เปิดภาคการศึกษา ฤดูกาลท่องเที่ยว ฤดูผลไม้เป็นต้น - อุปนิสัยของประชาชนในชุมชน - ความหนาแน่นของประชากรและลักษณะชุมชน - สภาวะทางเศรษฐกิจ - การบริการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย - สภาพการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ - กฎหมายข้อบังคับ - ความร่วมมือของประชาชน

  10. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงานกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงาน • กลุ่มบุคคลและองค์กรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ เขตเทศบาลตำบลศาลายา คือ • หมู่ที่ 3 • หมู่ที่ 4 บางส่วน • พื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 6

  11. ระเบียบวิธีการวิจัย กลุ่มนักวิจัย • ชุมชน 12 ชุมชน พื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 5, หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 4 บางส่วน และ หมู่ที่ 3 • ส่วนราชการ/สถานศึกษา /องค์กรการกุศล 19 หน่วยงาน • สถานประกอบการ: ร้านอาหาร / ตลาดสด / หอพัก • นักเรียน/ นักศึกษา(อยู่ภายใต้ รร.)

  12. การดำเนินการและรวบรวมข้อมูลการดำเนินการและรวบรวมข้อมูล 1. การประชุมนักวิจัย • เพื่อค้นหาปัญหา (ขยะ น้ำเสีย) • อบรมให้องค์ความรู้ • เลือกวิธีการแก้ปัญหา (ผลิตน้ำชีวภาพ) 2. แบบสอบถาม • แบบสอบถามชุมชน • แบบสอบถามส่วนบุคคล • แบบสอบถามผู้ประกอบการ

  13. การดำเนินการ 1. การบรรยายและแสดงสาธิต • เชิญ กฟผ. บรรยาย ชีววิถี…การพัฒนาที่ยังยืนเพื่อ ศก. พอเพียง • น้ำเสีย + ลดขยะสด : ผลิตน้ำสกัดชีวภาพ 44 จุด • สร้างมูลค่าวัสดุเหลือใช้ : อบรมงาน ชีวศิลป 2 ครั้ง 2. สร้างกิจกรรมต่อเนื่อง:นักวิจัยทุกภาคส่วนร่วมกับเทศบาลจัดกิจกรรมเทน้ำสกัดชีวภาพ 8,000 ลิตร คลองน้ำไหล-คูน้ำใสเพื่อพ่อหลวง ในวโรกาสเฉลิมพระชนน์มายุครบ 80 พรรษา (23 พย. 2550) 2 พื้นที่

  14. ผลงานการวิจัย 1. ชุมชนเรียนรู้ การจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยน้ำสกัดชีวภาพในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และบำบัดน้ำเสีย ตัดวงจรชีวิตยุงและแมลงวัน ฯ และเป็นปุ๋ย 2. แปรเศษกระดาษเป็นงานชีวศิลป์ 3. กลุ่มยุวชนกลับว้สดุเหลือใช้ 4. กลุ่มนักเรียนสาธิตการผลิตน้ำสกัดชีวภาพ

  15. การใช้ประโยชน์ 1. งานชีวศิลป์ จากกระดาษป่นของโรงพิมพ์ 2. คู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน 3. นำน้ำสกัดชีวภาพไปใช้บำบัดน้ำทิ้งในอุตสาหกรรมผลิตอาหารประเภทข้าวเกียบ

  16. การสนับสนุน 1. เทศบาล • ถัง • กากน้ำตาล • ฯลฯ 2. กฟผ. • เอกสารชีววิถี…การพัฒนาที่ยังยืน • EM 50 ลิตร • กากน้ำตาล 2 ถัง (50 กก.) • ศูนย์เรียนรู้ ชีววิถี…การพัฒนาที่ยังยืน 3. ศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล

  17. ความคืบหน้าเมื่อเทียบกับแผนงานความคืบหน้าเมื่อเทียบกับแผนงาน 1. 2. 3.

  18. ปัญหาอุปสรรค์ 1. นักวิจัยตัวแทนบางหน่วยงาน มีความร่วมมือแต่ไม่มีภารหน้าที่ ทางสิ่งแวดล้อม 2. เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร มีผลต่อภารหน้าที่ของนักวิจัย 3. สมาชิกชุมชนส่วนหนึ่ง(ใหญ่) อาศัยชั่วคราว (ที่เช่า / ห้องเช่า) 4. ขาดทักษะในการประสานงานกับผู้บริหาร

  19. การประเมินผลและการติดตามโครงการ • ความร่วมมือจาก ปชช. ในการจัดการขยะในครัวเรือน และหน่วยงานที่ผลิตขยะ และมีการนำผลผลิตไปใช้จัดการสิ่งแวดล้อม ในชุมชน • ขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลศาลายาลดลง • สิ่งแวดล้อมดีขึ้น น้ำเสียในคูน้ำ และในคลองลดลง ( ทดสอบค่า pH ของน้ำ) • ยุงลดน้อยลง • แมลงวันลดน้อยลง • อัตราคนไข้เลือดออกลดลง • ต้นไม้ที่ใช้ผลิตผลจากการจัดการขยะ เจริญงอกงามดี • แต่ละชุมชนอาจเกิดรายได้จากการขจัดขยะ ฯลฯ

  20. การมีส่วนร่วม • การมีส่วนร่วม หมายถึง การปลดปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากการเป็นผู้รับผลจากการพัฒนา และให้กลายเป็นผู้กระทำในกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการเข้าสู่ภาวะทันสมัย อย่างไรก็ตามได้มีผู้ให้ความหมายคำว่า การมีส่วนร่วม ที่หลากหลาย และมีความแตกต่างกันไปตามความเข้าใจและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

  21. ตารางที่ 1 แสดงปริมาณออกซิเจนในน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ ในเขตเทศบาลตำบลศาลายา ปี พ.ศ. 2547 - 2548

  22. ตารางที่ 2 แสดงปริมาณออกซิเจนในน้ำในคลองจากแม่น้ำท่าจีน ในเขตเทศบาลตำบลศาลายา ปี พ.ศ. 2549 – 2550 (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2550)

More Related