1 / 29

อาจารย์ธนา วุฒิ นิล มณี และ รศ. ดร.มนตชัย เทียนทอง

nike
Download Presentation

อาจารย์ธนา วุฒิ นิล มณี และ รศ. ดร.มนตชัย เทียนทอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรอบแนวคิดรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยจัดกลุ่มผู้เรียนตามการเรียนรู้รูปแบบวีเออาร์เคในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่งและประเมินผลแบบรูบริคA conceptual framework of Project-based Learning Model using VARK Learning Style Groupings on Ubiquitous Learning Environment and using Rubric for Evaluation อาจารย์ธนาวุฒิ นิลมณีและรศ.ดร.มนตชัย เทียนทอง ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

  2. หัวข้อนำเสนอ • ที่มาและความสำคัญของการวิจัย • งานวิจัยที่เกี่ยวของ • วิธีดำเนินการวิจัย • ผลการวิจัย • สรุปผลการวิจัย

  3. ระบบการศึกษาในประเทศไทยได้มีการกําหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 • ในมาตรา 22 ให้มีการเน้นการจัดการศึกษาโดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ • ในมาตรา 24 วรรคที่ 5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ 1.ที่มาและความสำคัญของการวิจัย

  4. จากการสำรวจสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในรายวิชา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นรายวิชาในสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ พบว่า ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนการสอนโดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการบรรยายประกอบกับการลงมือปฏิบัติจริงตามใบสั่งงานที่มีอยู่แต่ภายในห้องเรียน ซึ่งยังขาดกระบวนการที่จะทำให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในการประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนมา การเรียนการสอนยังขาดการสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมให้กับผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนใช้เวลาในการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือนอกเวลาเรียนน้อยมากและยังไม่สามารถแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนได้ 1. ที่มาและความสำคัญของการวิจัย

  5. ดังนั้นผู้วิจัยจะคิดจะนําเอาคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่ง (Ubiquitous Learning) มาผสมผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในวิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นรายวิชาในสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งในการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ก็จะนําเทคนิคการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PjBL) โดยเทคนิคของ LAC โดยมีการจัดกลุ่มของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค VARK Learning Style ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อจัดประเภทของผู้เรียนตามรูปแบบทางการเรียนรู้ที่ต่างกัน ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้พัฒนาประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้ความเชื่อที่ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีรูปแบบและความสามารถทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกันแต่สามารถทำงานร่วมกันได้ และใช้รูบริค (Rubric) มาเป็นเครื่องมือติดตามประเมินผล 1. ที่มาและความสำคัญของการวิจัย

  6. ทิศนา แขมมณี [4] ได้กล่าวว่า การจัดสภาพการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนเลือกทำโครงงานตามความสนใจ ร่วมกันวางแผนในการศึกษาค้นคว้า ลงมือปฏิบัติตามแผนจนได้ข้อค้นพบใหม่แล้วเขียนรายงานและนำเสนอผลงานต่อสาธารณชน 2. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

  7. มนต์ชัย เทียนทอง [6] ได้กล่าวถึง Project Based Learning (PjBL) โดยเทคนิคของ LAC ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอนดังนี้ 1) แยกแยะปัญหา รายการหรือสาระ 2) วินิจฉัยเบื้องต้น 3) วางแผนและกำหนดงานที่จะต้องทำ 4) ค้นคว้าหัวเรื่อง 5) ร่างและพัฒนาผลงาน 6) นำเสนอผลงาน 7) ประเมินผล ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการลงมือคิดและปฏิบัติในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 2. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

  8. Luyi Li, etc. [8] ได้นำเสนอแนวคิดจะนําเอาคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่ง(Ubiquitous Learning) 2. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

  9. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ [9] ได้บัญญัติศัพท์ที่เรียกว่า “การศึกษาแบบภควันตภาพ”หรือ “ภควันตวิทยา” ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติที่มาจาก Ubiquitous Education หรือ Ubiquitous Learning เป็นศัพท์ใหม่ที่บัญญัติขึ้นมาในช่วงของการพัฒนาการเรียนโดยใช้สื่อแท็บเล็ต (Tablet) โดยนิยามความหมายไว้ดังนี้ คำว่า ภควันต์ แปลว่า มีภาคหรือมีส่วนย่อย มาจากคำว่า ภค แปลว่า ภาค ส่วน สำหรับ วนต แปลว่า มี เมื่อรวมกันแล้วแปลว่า มีภาค • ในทางโลกวัตถุด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คำว่า ภควันต ตรงกับคำว่า Broadcast หรือ Ubiquitous (Existing Everywhere) หมายถึง การแพร่กระจายและการทำให้ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง สามารถที่จะรับฟัง รับชม และรับรู้ได้ทุกเวลา เรียกรวมกันว่า ภควันตภาพ ซึ่งสรุปแล้วศาสตร์ที่ว่าด้วยการแพร่กระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารหรือสภาวะต่างๆ เรียกว่า ภควันตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Ubiquitologyหรือ Pakawantology ( อ่าน ภะ-คะ-วัน-โต-โล-ยี ) 2. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

  10. NielFleming [5] ไดนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรูที่ชื่อวา VARK ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อจัดประเภทของผูเรียนตามรูปแบบทางการเรียนรูที่ตางกัน โดยได้แบ่งรูปแบบการเรียนรูออกเปน 4 ประเภท คือ 1) ผู้เรียนที่สนใจสิ่งที่มองเห็น (Visual: V) 2) ผูเรียนที่ชอบการพูดคุย (Aural: A) 3) ผู้เรียนที่นิยมการอ่าน (Read/Write: R) และ 4) ผู้เรียนที่ชอบการลงมือกระทำ (Kinesthetic: K) ซึ่งรูปแบบการเรียนรูจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ใชพัฒนาประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ใหดียิ่งขึ้น ดังนั้นความสำคัญเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรูของผูเรียนเพื่อที่ผูเรียนจะไดเรียนรูไดอยางมีประสิทธิภาพ 2. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

  11. Andrade [6]ได้นำเสนอ เป็นเครื่องมือติดตามประเมินผล ที่มีชื่อว่า รูบริค (Rubric) การเรียนรู้จากโครงงานซึ่งควบคู่กับวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม 2. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

  12. James Ballanca, etc.[7] Richard Du Four, etc.[8] ได้กล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดสำหรับสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความท้าทาย ให้กับผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำไปสู่ความรู้และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 2. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

  13. การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยออกเปน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาบทความ เอกสาร และงานวิจัยที่เกียวของ 2. ร่างกรอบแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู 3. กำหนดกลุมผูเชี่ยวชาญ 4. สรางแบบสอบถามประเมินความเหมาะสม 5. เก็บรวบรวมขอมูลจากผูเชี่ยวชาญ 6. ปรับปรุงแก้ไขและสรุปผล 3. วิธีดำเนินการวิจัย

  14. การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยออกเปน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1 ศึกษาบทความ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวของ 3. วิธีดำเนินการวิจัย

  15. การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยออกเปน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.2 ร่างกรอบแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู ร่างกรอบแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยจัดกลุ่มผู้เรียนตามรูปแบบ VARK Learning Style ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่งและประเมินผลแบบรูบริค โดยการสังเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนที่ 3.1 3. วิธีดำเนินการวิจัย

  16. การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยออกเปน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.3 กำหนดกลุมผูเชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้กําหนดผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้สอนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการทํางานมากกว่า 2 ปี การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 ท่าน 3. วิธีดำเนินการวิจัย

  17. การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยออกเปน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.4 สรางแบบสอบถามประเมินความเหมาะสม 3. วิธีดำเนินการวิจัย

  18. การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยออกเปน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.5 เก็บรวบรวมขอมูลจากผูเชี่ยวชาญ 3. วิธีดำเนินการวิจัย

  19. การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยออกเปน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.6 ปรับปรุงแก้ไขและสรุปผล ผู้วิจัยได้ทําการปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยจัดกลุ่มผู้เรียนตามรูปแบบ VARK Learning Style ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่งและประเมินผลแบบรูบริคตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 3. วิธีดำเนินการวิจัย

  20. 4.1 ผลการวิจัยกรอบแนวความคิดรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยจัดกลุ่มผู้เรียนตามรูปแบบ VARK Learning Style ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่งและประเมินผลแบบรูบริค สามารถอธิบายรายละเอียดไดดังนี้ 4. ผลการวิจัย

  21. 4. ผลการวิจัย PjBL-VUR LearningModel

  22. Student Module สำหรับผู้ที่เรียนในรายวิชาที่ได้กำหนดไว้ • Teacher Module สำหรับผู้สอนให้รายละเอียดของเนื้อหาตอบข้อสงสัยให้คําแนะนําเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชาเรียนอีกทั้งยังเป็นผู้เสริมเนื้อหาให้นักศึกษาใช้ในการศึกษาเพิ่มเติมและทำการประเมินผล • VARK Expert Module สำหรับการจัดกลุ่มผู้เรียนตามรูปแบบ VARK Learning Style 4. ผลการวิจัย

  23. PjBLby LAC Module (Project-based Learning by LAC) สำหรับสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนโดยโครงงานเป็นฐานสำหรับผู้เรียนและผู้สอน • VARK Classification Module สำหรับจัดกลุ่มผู้เรียนตามรูปแบบ VARK Learning Style แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามความสามารถในการเรียนรู้ • ULE Module (Ubiquitous Learning Environment) สำหรับจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่ง • Rubric Module สำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยรูบริค 4. ผลการวิจัย

  24. 4.2 ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนฯ ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนฯ จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 ท่าน พบว่า ความเหมาะสมของกรอบแนวคิดรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยจัดกลุ่มผู้เรียนตามรูปแบบ VARK Learning Style ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่งและประเมินผลแบบรูบริคโดยรวมทั้ง 10 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก ( x = 4.27 S.D. 0.10 ) ดังแสดงในตารางที่ 1 4. ผลการวิจัย

  25. 4. ผลการวิจัย

  26. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยจัดกลุ่มผู้เรียนตามรูปแบบ VARK Learning Style ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบทุกหนทุกแห่งและประเมินผลแบบรูบริค จากการศึกษาเอกสารบทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผลการวิจัยได้รูปแบบการเรียนรู้ที่ชื่อ PjBL-VUR LearningModelซึ่งประกอบด้วย 7 โมดูล ได้แก่ 1) Student Module 2) Teacher Module 3) VARK Expert Module 4) PjBL by LAC Module 5) VARK Classification Module 6) ULE Module และ 7) Rubric Module 5. สรุปผลการวิจัย

  27. รูปแบบการเรียนรู้ไปนําเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจํานวน 12 ท่าน และมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า เป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใช้งานจริงได้ 5. สรุปผลการวิจัย

  28. ขอบคุณครับ

  29. [1] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545กรุงเทพฯ : ครุสภาลาดพร้าว, 2545. [2] James Bellanca , Ron Brandt “21st Century Skills : Rethinking How Student Learn” 2010. [3] Richard Du Four, Rebecca Du Four, Robert Eaker and Thomas Many, “Learning by doing: A Handbook for Professional Learning Communities at Work. 2nd ”, Ed, 2010. [4] ทิศนา แขมมณี, “ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ” พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. [5] ทรงศักดิ์ สองสนิทม “การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือบนเว็บโดยใช้พื้นฐานการาเรียนรู้แบบโครงงาน”, วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2552. [6]MonchaiTiantong and SumaleeSiksen, “The Online Project-based Learning Model Based on Student’s Multiple Intelligence”, International Journal of Humanities and Social Science, Vol.3 No.7 April 2013, pp.204 – 211. [7] Fleming, N. D. & Mills, C. (1992). “VARK a guide to learning styles”, Available at http://www.varklearn.com/ Retrieved on July 3, 2008. [8] Luyi Li, YanlinZheng, Hiroaki Ogata and Yoneo Yano, “A Conceptual Framework of Computer-Supported Ubiquitous Learning Environment”, Proceedings of the IASTED International Conference , Grindelwald Switzerland, Feb 21-23, 2005, , pp.243-248. [9] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. ( 2555 ) “หน่วยที่ 1 ภาพอนาคตการศึกษาไทย : สู่การศึกษภควันตภาพ” คู่มืออบรม ปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet ) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ส านักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [10] Whang, G.J. ; Tsai , C.C. and Yang , S.J.H. ( 2008 ) “Criteria , Strategies and Research Issues of Context-Aware Ubiquitous Learning” Educational Technology & Society. 11(2) pp.81 – 91. [11] Andrade, H “Teaching with rubrics: The good, the bad, and the ugly.” College Teaching 53, pp.27-30. 2005. เอกสารอ้างอิง

More Related