1 / 9

ประเด็นคุณภาพ/ ความเสี่ยงที่สำคัญ

nitsa
Download Presentation

ประเด็นคุณภาพ/ ความเสี่ยงที่สำคัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลการพัฒนาการบันทึกข้อมูล HIV-QualTในโรงพยาบาลระโนด จ.สงขลาโดย นส.จาฤดี กองผล, นางสุพร ยุรพันธ์ พยาบาลวิชาชีพคลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลระโนด จ.สงขลาบริบทโรงพยาบาลระโนด จ.สงขลา เข้าร่วมโครงการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ตามแบบประเมินงาน HIV-QualT ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน มีความมุ่งมั่นที่จะจัดบริการที่มีคุณภาพ พัฒนาการดูแลและการบันทึกงานตามตัวชี้วัด HIV-QualT เรื่อยมา จากการวิเคราะห์งานปี 2554 พบว่าถึงแม้คลินิกยาต้านไวรัสโรงพยาบาลระโนดได้ให้บริการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ตามมาตรฐาน ภายใต้คู่มือการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ปี 2551 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขก็ตามแต่การบันทึกข้อมูล HIV-QualTยังไม่ครบถ้วน เนื่องจากแบบบันทึกยังไม่สะดวกต่อการใช้งาน ผู้บันทึกเองยังบันทึกไม่ครอบคลุม ร่วมทั้งผู้รับบริการที่มีจำนวนมากขึ้นจาก 209, 260 และ 276 ในปี 2553 ถึงปี 2555 ตามลำดับ ทีมงานยาต้านไวรัสโรงพยาบาลระโนด ได้สร้างแบบบันทึกงาน HIV-QualT ที่ครบทั้ง 11 ตัวชี้วัดใน OPD Card ในปี 2555 ขึ้นซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องขาดการบันทึกที่ครบถ้วนได้ รวมทั้งชี้แจงผู้ปฏิบัติช่วยให้ทีมผู้ให้บริการสามารถวางแผนในการให้บริการได้ดีขึ้น และง่ายต่อการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลปลายปีอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน

  2. ประเด็นคุณภาพ/ ความเสี่ยงที่สำคัญ • ขาดแบบบันทึกข้อมูลงาน HIV-QualTง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน • ทีมผู้ให้บริการไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด • ทีมผู้ให้บริการขาดการวางแผนการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualT • ขาดการบันทึกการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualT

  3. วัตถุประสงค์ • ทีมผู้ให้บริการบันทึกการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualTในแบบบันทึกร้อยละ 100 • ทีมผู้ให้บริการดูแลและบันทึกตามมาตรฐานงาน HIV-QualTครบถ้วนทั้ง 11 ตัวชี้วัดในแบบบันทึกร้อยละ 80

  4. ระยะเวลาในการดำเนินงานระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ต.ค.2554- 30 กันยายน 2555

  5. วิธีดำเนินการ 1. ประชุมทีมงานคลินิกยาต้านเพื่อชี้แจงการดำเนินงานภายใต้มาตรฐาน งาน HIV-QualT 2. พัฒนาแบบบันทึกงาน HIV-QualTและส่งผู้เชี่ยวชาญภายในคลินิกตรวจสอบและทำการแก้ไข 3. ทดลองใช้และปรับปรุงแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualT 4. ประกาศใช้แบบบันทึกงาน HIV-QualTให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและปฏิบัติตาม 5. ประเมินผลงานและการใช้งานแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualT

  6. ผลการดำเนินงาน 1. ใช้แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualTร้อยละ 100 2. ทีมผู้ให้บริการดูแลและบันทึกตามมาตรฐานงาน HIV-QualTครบถ้วนทั้ง 11 ตัวชี้วัดร้อยละ 100

  7. ผลการดำเนินงาน HIV-QualTปี 2554-2555

  8. ผลการประเมินคุณภาพงาน HIV-QualTปี 2554-2555

  9. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualTโดยการอบรมความรู้การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติปี 2553 และการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualT ประเมินสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ พัฒนาระบบการประเมินผลและการติดตามงาน ARV ประเมินผลการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานงาน HIV-QualT ปี 2556 ทุก 6 ,12 เดือนและวิเคราะห์งานเชิงคุณภาพ เขียนโครงการพัฒนางานตามปัญหาตัวชี้วัด ศึกษาความพึงพอใจผู้ปฏิบัติงาน

More Related