1 / 64

หลักกฎหมายว่าด้วยครอบครัว

หลักกฎหมายว่าด้วยครอบครัว. หัวข้อศึกษา. การหมั้น เงื่อนไขแห่งการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา การสิ้นสุดของการสมรส. การหมั้น. การหมั้น. การที่ชายและหญิงทำสัญญาว่าจะสมรสอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา เงื่อนไขการหมั้น 1. อายุของคู่หมั้น 2. ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง.

Download Presentation

หลักกฎหมายว่าด้วยครอบครัว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักกฎหมายว่าด้วยครอบครัวหลักกฎหมายว่าด้วยครอบครัว

  2. หัวข้อศึกษา • การหมั้น • เงื่อนไขแห่งการสมรส • ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา • การสิ้นสุดของการสมรส

  3. การหมั้น

  4. การหมั้น การที่ชายและหญิงทำสัญญาว่าจะสมรสอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา เงื่อนไขการหมั้น 1. อายุของคู่หมั้น 2. ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

  5. อายุของคู่หมั้น ป.พ.พ.มาตรา 1435 ชายและหญิงที่หมั้นกันต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ทั้งคู่ มิฉะนั้นการหมั้นตกเป็นโมฆะ (แต่ศาลอาจอนุญาตให้ชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ทำการสมรสได้) การหมั้นที่เป็นโมฆะ คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม ฝ่ายชายเรียกของหมั้นและสินสอดคืนได้ฐานลาภมิควรได้

  6. ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ป.พ.พ.มาตรา 1436 ผู้เยาว์ที่จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย มิฉะนั้นการหมั้นจะเป็นโมฆียะ

  7. แบบของสัญญาหมั้น ป.พ.พ. มาตรา 1437 สัญญาหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ของหมั้น - ต้องเป็นทรัพย์สิน - ต้องเป็นของที่ชายให้ไว้แก่หญิงในวันหมั้น

  8. การผิดสัญญาหมั้น • การที่คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง • ฝ่ายที่ผิดสัญญาหมั้น มีสิทธิเรียกค่าทดแทน จากฝ่ายผิดสัญญาหมั้นได้ แต่ไม่มีสิทธิบังคับให้อีกฝ่ายสมรสกับตนได้

  9. ผลของการผิดสัญญาหมั้นผลของการผิดสัญญาหมั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น คู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ ดังนี้ 1. สิทธิเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้น 2. สิทธิเกี่ยวกับของหมั้น

  10. 1. สิทธิเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้น มี 3 กรณี 1) ความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิง ส่วนความเสียหายทางจิตใจ ยังไม่มีการยอมรับให้สามารถเรียกได้ สำหรับการพิสูจน์นั้น โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลเห็น ซึ่งศาลจะเป็นผู้กำหนดให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาหมั้นชดใช้ให้

  11. 2) ความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา ได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส เช่น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านของคู่สมรส ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องเรือนสำหรับเรือนหอ เครื่องครัวที่นอนหมอนมุ้ง ค่าเสื้อผ้าชุดแต่งงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากจังหวัดที่ตนอยู่มาจังหวัดที่จะทำการสมรส อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายบางประเภท ศาลตัดสินว่าเรียกไม่ได้ เช่น ค่าหมากพลู ค่าเลี้ยงแขกในวันหมั้น และค่าโต๊ะเก้าอี้รับแขกในวันหมั้น รวมทั้งค่าเลี้ยงพระเลี้ยงดูแขกในวันสมรส (ฎ.71/2493, ฎ.90/2512)

  12. 3) ความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยการสมรสด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส จำกัดเฉพาะกรณีชายหญิงคู่หมั้นที่ได้มีการจัดการทรัพย์สินไปในทางเสียหาย โดยคาดว่าจะได้มีการสมรส เช่น หญิงคู่หมั้นต้องลาออกจากงานที่ทำอยู่เพื่อมาเป็นแม่บ้านของชาย แต่ต่อมา ชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิง เช่นนี้ หญิงเรียกค่าทดแทนกรณีนี้ได้ หรือชายสอบบรรจุเป็นข้าราชการได้และกำลังจะบรรจุ แต่ต้องสละสิทธิเพื่อที่จะสมรสกับหญิงและไปอยู่ต่างประเทศ ต่อมาหญิงไม่แต่งงานกับชาย ชายมีสิทธิเรียกค่าทดแทนในลักษณะนี้ได้

  13. 2. สิทธิเกี่ยวกับของหมั้น ของหมั้น เมื่อมอบแก่หญิงแล้ว ก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงคู่หมั้น - ถ้าหญิงคู่หมั้น ผิดสัญญาหมั้น (หญิงไม่ยอมสมรสกับชาย) หญิงนั้นจะต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย - ถ้าชายคู่หมั้น ผิดสัญญาหมั้น หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น ฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาหมั้น ยังมีสิทธิเรียก ค่าทดแทนได้อีก

  14. ความระงับของการหมั้นการหมั้น ระงับได้ ด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้

  15. (1) ด้วยความยินยอมของคู่หมั้นทั้งสองฝ่าย เป็นไปตามหลักทั่วไปของการเลิกสัญญาโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย อาจตกลงเลิกกันด้วยวาจาก็ได้ หากตกลงเลิกสัญญาหมั้นแล้ว ต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ชาย ตามหลักเรื่องการเลิกสัญญา และคู่หมั้นไม่สามารถเรียกค่าทดแทนได้ กรณีผู้เยาว์จะเลิกสัญญาหมั้นได้โดยลำพัง เพราะเป็นเรื่องที่ต้องทำเองเฉพาะตัว

  16. (2) ชายหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตาย หากฝ่ายใดถึงแก่ความตายก่อนจะได้ทำการสมรส ถือว่าสัญญาหมั้นระงับลงโดยปริยาย อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าทดแทนไม่ได้ และไม่ต้องคำนึงว่าความตายนั้นเกิดขึ้นจากความผิดของอีกฝ่าย สำหรับของหมั้นหรือสินสอดไม่ต้องคืน เพราะมิใช่เป็นการผิดสัญญาหมั้น

  17. (3) การหมั้นระงับเพราะมีเหตุสำคัญ เมื่อมีการหมั้นแล้ว ปรากฏว่าคู่หมั้นอีกฝ่ายประพฤติตนไม่เหมาะสมหรือเกิดความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ ทำให้ไม่สมควรที่จะสมรสด้วย อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกการหมั้นได้(แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทน) โดยนำเหตุหย่ามาพิจารณาประกอบ -เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง เช่น หญิงคู่หมั้นยอมให้ชายอื่นร่วมประเวณีระหว่างการหมั้น หญิงคู่หมั้นวิกลจริต หรือได้รับอันตรายสาหัสจนพิการ หรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ชายคู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกของหมั้นคืนได้ -เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชาย หญิงสามารถบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชาย คือเหตุทำนองเดียวกับที่เกิดแก่หญิงคู่หมั้น เช่น ชายตกเป็นคนไร้สมรรถภาพทางเพศ ตกเป็นคนวิกลจริต ตกเป็นนักโทษและถูกจำคุก ชายคู่หมั้นเป็นชู้กับภริยาคนอื่น หรือไปข่มขืนหญิงอื่น เลี้ยงโสเภณีไว้ในบ้าน ได้เสียกับหญิงรับใช้ในบ้าน

  18. สินสอด ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณีเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ต้องมีการตกลงให้สินสอดก่อนสมรส ส่วนจะส่งมอบสินสอดกันก่อนหรือหลังสมรสก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมอบสินสอดในขณะทำการหมั้น ซึ่งต่างจากของหมั้นที่จะต้องให้ในเวลาหมั้นเท่านั้น

  19. ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกคืนสินสอดจากฝ่ายหญิงได้ 2 กรณี คือ (1) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง เหตุสำคัญนี้ จะกระทบกระเทือนถึงการสมรสที่จะมีขึ้น เช่น หญิงคู่หมั้นไปร่วมประเวณีกับชายอื่นหรือหญิงคู่หมั้นเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือถูกจำคุก ชายมีสิทธิเรียกสินสอดคืนได้ (2) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ พฤติการณ์นี้หมายรวมทั้งพฤติการณ์ที่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครองของหญิงคู่หมั้นได้ก่อให้เกิดขึ้น เช่น บิดามารดาฝ่ายหญิงไม่ยอมให้หญิงคู่หมั้นทำการสมรส หรือหญิงคู่หมั้นละทิ้งชายกลับไปอยู่บ้านแล้วไม่ติดต่อกลับมาอีกเลย เหล่านี้ล้วนเป็นพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิด ทำให้ชายไม่อาจสมรสกับหญิงได้ ชายมีสิทธิเรียกค่าสินสอดคืนได้

  20. การคืนของหมั้นหรือสินสอด วิธีการคืนของหมั้นหรือสินสอด มีหลักดังนี้ (1) ถ้าของหมั้นหรือสินสอดเป็นเงินตรา มีหลักคือฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนเพียงส่วนที่มีอยู่ในขณะเรียกคืน (2) ถ้าของหมั้นหรือสินสอดเป็นทรัพย์สินที่มิใช่เงินตรา มีหลักคือฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาเรียกคืนโดยไม่ต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สูญหายหรือบุบสลายแต่อย่างใด

  21. อายุความ

  22. การใช้สิทธิเรียกร้องเรื่องค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้น (กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่สมรสด้วย) มีกำหนดเวลาต้องใช้สิทธิภายใน 6 เดือนนับแต่วันผิดสัญญาหมั้น • การใช้สิทธิเรียกของหมั้นคืน เพราะมีเหตุสำคัญเกิดแก่หญิง ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น • การใช้สิทธิเรียกค่าสินสอด มีอายุความ 10 ปี

  23. การสมรส

  24. 2. การสมรส หมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจอยู่กินกันฉันสามีภริยา การสมรสตามกฎหมายไทยถือว่าเป็นสัญญา ต้องอยู่ภายใต้หลักทั่วไปเกี่ยวกับนิติกรรม การสมรสชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว หากมีการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะมีผลตามที่กำหนดไว้ (โมฆะหรือโมฆียะ) การสมรสไม่ต้องหมั้นก่อนก็ได้ และการหมั้นก็ไม่อาจร้องขอต่อศาลบังคับให้สมรสได้เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะตัว

  25. เงื่อนไขการสมรส

  26. (1) ชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (2) ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ การฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้ จะทำให้การสมรสเป็นโมฆะ (3) ชายและหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตหรือมิได้เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เป็นเหตุผลของข้อห้ามทางการแพทย์และข้อห้ามทางศีลธรรม ซึ่งในสังคมทั่วโลกยอมรับห้ามสมรสระหว่างญาติในทางสืบสายโลหิตโดยตรง คือ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลูก หลาน เหลน พี่ น้อง การฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้ จะทำให้การสมรสเป็นโมฆะ เช่น พี่น้องแต่งงานกันเอง บิดาแต่งงานกับหลานสาว

  27. (4) ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ แม้ไม่มีเหตุผลด้านการแพทย์ห้ามไว้ แต่ก็มีความเกี่ยวข้องระหว่างบิดามารดากับบุตร กระทบกับความรู้สึกของคนเท่านั้น มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ แต่มีผลให้เป็นการยกเลิกการรับบุตรบุญธรรม (5) ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ก่อนปี พ.ศ.2478 ชายไทยอาจมีภริยาได้หลายคน แต่หลังจากนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ชายมีภริยาได้คนเดียว(ระบบผัวเดียวเมียเดียว) ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ การฝ่าฝืนการสมรสเช่นว่านี้ เป็นโมฆะ ส่วนบุคคลที่แจ้งต่อนายทะเบียนสมรสว่า ยังเป็นโสดไม่มีคู่สมรส อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

  28. (6) ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน ต้องอยู่ภายใต้ความสมัครใจ ได้รับความยินยอม และไม่ใช่เรื่องล้อเล่นหรือไม่ต้องการผูกพันกันหรือเพื่อให้ได้สิทธิบางประการ จึงต้องให้ชายและหญิงแสดงความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนและบันทึกไว้ การฝ่าฝืนความยินยอมนี้ มีผลให้การสมรสนั้น เป็นโมฆะ (7) หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้เมื่อเวลาผ่านไปไม่น้อยกว่า 310 วัน นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสเดิม เดิมหากหญิงหม้ายสามีตายแล้วมีสามีใหม่ในระหว่างงานศพ ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย มีการปรับไหมลงโทษ ต่อมาเมื่อใช้ป.พ.พ. บรรพ 5 กำหนดเงื่อนไขเรื่องหญิงหม้ายจะสมรสใหม่ก่อนสิ้นระยะเวลา 310 วันไม่ได้ เนื่องจากเกรงว่า หากหญิงหม้ายเกิดมีบุตร อาจไม่ทราบว่าเป็นบุตรของสามีเก่าหรือสามีใหม่ จึงต้องทิ้งระยะเวลาไว้ แต่มีข้อยกเว้น ได้แก่ กรณีหญิงนั้นคลอดบุตรแล้ว หรือหญิงนั้นสมรสกับสามีเดิม หรือมีใบรับรองแพทย์ว่าหญิงนั้นมิได้ตั้งครรภ์ หรือมีคำสั่งศาลให้หญิงนั้นทำการสมรสได้

  29. (8) ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมกรณีผู้เยาว์จะสมรส แม้การสมรสเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคล แต่ถ้าผู้เยาว์จะสมรส กฎหมายกำหนดเงื่อนไขเป็นพิเศษเพิ่มเติม คือ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ บิดา หรือผู้ปกครอง หรือผู้ใช้อำนาจปกครอง แล้วแต่กรณี การให้ความยินยอม กฎหมายกำหนดวิธีการเฉพาะโดยต้องลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียนสมรส โดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อให้ความยินยอม หรือถ้ามีเหตุจำเป็น ก็สามารถให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้

  30. แบบแห่งการสมรส ชายและหญิงที่สมรสตั้งแต่ 1 ต.ค. 2478 (ป.พ.พ. บรรพ 5 มีผลบังคับใช้)จะเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่ต้องคำนึงพิธีการงานอื่น ๆ เช่น หากมีการจัดงานเลี้ยงฉลอง การหลั่งน้ำสังข์ใหญ่โต แต่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส ก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย การจดทะเบียนสมรสอาจทำต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ และอาจจดทะเบียนสมรส นอกสำนักงานทะเบียนก็ได้ หากไม่จดทะเบียนสมรส ก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินอีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่เรื่องสินสมรสมาใช้บังคับ รวมทั้งหากมีบุตร จะถือว่าเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา

  31. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาก.ม. ครอบครัว กำหนดความสัมพันธ์ไว้ 2 ลักษณะ1. ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว2. ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน

  32. 3.1 ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว ได้แก่ - อยู่กันด้วยกันฉันสามีภริยา หมายถึง การอยู่ร่วมชีวิตในการครองเรือน อยู่ร่วมบ้านเดียวกันและทั้งร่วมประเวณีต่อกัน ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น หากภริยาไม่ยอมอยู่กินกับสามีและแยกไปอยู่กับญาติ สามีจะบังคับจับตัวมาไม่ได้ แต่จะมีผลที่นำไปสู่เหตุหย่า หากฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี หรือหากภริยาปฏิเสธไม่ยอมให้สามีร่วมประเวณีโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็ถือเป็นการทำปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ซึ่งก็นำไปสู่เหตุฟ้องหย่าต่อไป

  33. - ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน • หมายถึง สามีมีหน้าที่ให้การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน เพื่อให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้ด้วยความปกติสุข เช่น ดูแลบ้าน ดูแลบุตร ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีพ โดยพิจารณาจากความสามารถและฐานะ หากฝ่ายใดมีอาชีพการงานแต่อีกฝ่ายไม่มีรายได้หรือไม่มีอาชีพ ฝ่ายที่มีรายได้ต้องอุปการะเลี้ยงดูแก่อีกฝ่ายหนึ่ง หากไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ • สามีภริยา อาจตกลงแยกกันอยู่ชั่วคราว หรือโดยศาลสั่ง หากการอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมาก และคู่สมรสอีกฝ่ายอาจจะต้องเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในภาวะที่น่าจะเกิดอันตราย

  34. 3.2 ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน • เดิมระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภริยามีลักษณะรวมทรัพย์สินทั้งหมดเข้ามาในกองเดียวกันและอำนาจจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินตกแก่สามีแต่ผู้เดียว • ใน 19th ได้มีการแก้ไขและกำหนดให้ภริยามีทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวได้ และจัดการทรัพย์สินร่วมกัน • ใน ป.พ.พ. บรรพ 5 ได้มีการกำหนดเรื่องสินส่วนตัว สินสมรสขึ้น แต่อำนาจจัดการยังอยู่กับสามีฝ่ายเดียว • พ.ศ. 2519 และพ.ศ. 2533 ได้มีการแก้ไขโดยให้การจัดการสินสมรส ต้องจัดการร่วมกัน

  35. ระบบทรัพย์สินของสามีภริยาในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ 1 สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ 2 สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่สามีภริยาทำมาหาได้ร่วมกัน แต่ละฝ่ายจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน คือ เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของสามีภริยา

  36. สินส่วนตัว แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินประเภทนี้ พิจารณาจากเรื่องการสมรสเป็นสำคัญ หากได้ความว่าฝ่ายใดที่ได้มาก่อนการสมรส ก็ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น เช่น หากภริยามีโทรทัศน์ ตู้เย็น รถยนต์เป็นของตนเอง แม้ต่อมาหลังจากสมรสแล้ว ภริยานำมาใช้สอยในบ้านร่วมกับสามี ทรัพย์สินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของภริยาอยู่

  37. 2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับตามสมควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือที่ใช้จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทรัพย์สินประเภทนี้ เป็นสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวที่ไม่ปะปนกัน เช่น เสื้อผ้า แว่นตา รองเท้า แหวน สร้อย ซึ่งโดยปกติเป็นเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เหล่านี้เป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย เช่น ภริยา นำเงินสินสมรสไปซื้อแว่นตา หรือเสื้อผ้ามาใช้ กรณีเช่นนี้ แว่นตา เสื้อผ้า เป็นสินส่วนตัวของภริยา อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาฐานะประกอบด้วย หากมีฐานะยากจนแต่ไปซื้อเครื่องประดับราคาแพงมากเกินฐานะด้วยเงินสินสมรส ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส หรือถ้าใช้ประกอบการงานอาชีพก็เป็นสินส่วนตัว

  38. 3. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา เช่น หลังจากสมรสแล้ว ภริยาได้รับมรดกในฐานะทายาทเป็นเงินสิบล้านบาท เงินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของภริยา หรือหลังจากสมรสแล้ว มีคนยกทรัพย์สินให้สามีโดยเสน่หา เช่น มีคนยกทองคำแท่งหนักห้าสิบบาทให้ เช่นนี้ทองคำเป็นสินส่วนตัว หรือแม้แต่การที่คู่สมรสยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น สามีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นของตนเองให้ภริยา ที่ดินซึ่งเคยเป็นสินส่วนตัวของสามีก็กลับมาเป็นสินส่วนตัวของภริยา

  39. สำหรับกรณีการได้รับรางวัลจากคำมั่นโฆษณา จะถือเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส เช่น สามีได้รางวัลจากการส่งของชิงรางวัลหรือทายผลถูกแล้ว ได้รางวัลมาเป็นเงิน 1 แสนบาท กรณีเช่นนี้ มิใช่การได้มาโดยเสน่หา เพราะต้องเสียภาษีตอบแทน ดังนั้น เงินรางวัลดังกล่าว จึงมิใช่สินส่วนตัว แต่เป็นสินสมรส เพราะได้มาระหว่างสมรส หากหย่าขาดจากกัน ภริยาก็มีสิทธิในเงินรางวัลดังกล่าวครึ่งหนึ่ง

  40. 4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น สินส่วนตัวประเภทนี้ มีแต่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น เพราะของหมั้นตกเป็นกรรมสิทธ์แก่หญิงในวันหมั้นทันที เมื่อชายส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่หญิงแล้ว ของแทนสินส่วนตัว หากระหว่างสมรสอาจมีการจำหน่าย จ่าย โอน สินส่วนตัวไปแล้วได้เงินหรือทรัพย์สินอื่นมา ถือว่า เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้มานั้น ยังเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม การจัดการสินส่วนตัว มีหลักว่า เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้นโดยเฉพาะ มีสิทธิจัดการโดยลำพัง ไม่ต้องขอความยินยอมจากอีกฝ่าย

  41. สินสมรส กฎหมายแบ่งสินสมรสออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส ไม่ต้องคำนึงว่า อีกฝ่ายหนึ่งจะมีส่วนในการทำให้ได้มาหรือไม่ หากได้มาระหว่างสมรส เป็นสินสมรส เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด เงินค่าชดเชยการจ้าง เงินค่าทดแทนกรณีทุพลภาพ ค่าสินไหมทดแทนจากการถูกกระทำละเมิด เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการเสี่ยงโชคไม่ว่าจะเป็นเงินจากการถูกฉลากกินแบ่งหรือได้เงินจากการพนัน เหล่านี้เป็นสินสมรส

  42. 2. ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือที่ระบุว่าเป็นสินสมรส ถ้าเจ้ามรดกหรือผู้ยกให้โดยเสน่หาระบุในหนังสือยกให้หรือระบุในพินัยกรรมว่าให้เป็นสินสมรสแล้ว ก็ทำให้ทรัพย์สินนั้นก็ตกเป็นสินสมรสที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เช่น บิดายกรถยนต์ให้แก่บุตรสาวที่สมรส โดยหลักรถคันนี้เป็นสินส่วนตัวของบุตรสาว เพราะได้จากการให้โดยเสน่หา แต่ถ้าบิดาระบุเป็นหนังสือว่า ให้รถคันนี้เพื่อเป็นสินสมรส รถยนต์คันนี้ก็เป็นสินสมรส ดังนั้น ต้องพิจารณาเจตนาของผู้ให้เป็นสำคัญ

  43. 3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว หลักทั่วไป ดอกผลที่เกิดจากทรัพย์เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์นั้น แต่เรื่องสินส่วนตัว กฎหมายบัญญัติให้เป็นสินสมรส ไม่ว่าจะเป็นดอกผลธรรมดาหรือดอกผลนิตินัย เช่น สามีมีช้างพังเป็นสินส่วนตัว ต่อมาหลังจากสมรสแล้ว ช้างตกลูกออกมา ลูกช่างเป็นสินสมรสถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หรือกรณีภริยามีบ้านเช่าซึ่งเป็นสินส่วนตัว แล้วนำออกให้เช่า ได้ค่าเช่ามาเป็นเงินจำนวนหนึ่ง เงินค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยตกเป็นสินสมรส ฝ่ายสามีมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

  44. การจัดการสินสมรส

  45. เรื่องที่กฎหมายกำหนดว่าต้องจัดการร่วมกัน ได้แก่ (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้ เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ เช่น หากต้องการขายหรือจำนองบ้านที่เป็นสินสมรส คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือด้วย (2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกินหรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

  46. (4) ให้กู้ยืม (5) การให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูป ของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา (6) ประนีประนอมยอมความ (7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ (8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

  47. หนี้สินของสามีภริยา

  48. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 4.1 หนี้ที่มีมาก่อนสมรส หนี้ที่สามีหรือภริยามีมาก่อนสมรส ถือเป็นหนี้ที่ฝ่ายนั้นต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เป็นการส่วนตัว จึงเรียกว่า หนี้ส่วนตัว ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับเอาจากสินส่วนตัวของคู่สมรสที่เป็นลูกหนี้ก่อน เมื่อไม่พอจึงขอชำระเอาจากสินสมรสส่วนที่เป็นของฝ่ายนั้น เจ้าหนี้จะข้ามมาบังคับเอากับสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้

  49. 4.2 หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรส หนี้ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรส มิได้หมายความว่า จะต้องเป็นร่วมทุกกรณี เพราะหากเป็นเรื่องที่เป็นหนี้ส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ก็เป็นหนี้ส่วนตัวขึ้น เช่น หลังแต่งงานภริยากู้เงินเพื่อนำไปท่องเที่ยว เช่นนี้ ถือว่าเป็นหนี้ส่วนตัวของภริยา สามีไม่ต้องรับผิด

  50. หนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรสซึ่งมีลักษณะเป็นหนี้ร่วมกันต้องมีลักษณะดังนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรสซึ่งมีลักษณะเป็นหนี้ร่วมกันต้องมีลักษณะดังนี้ ประการที่หนึ่งหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดจนการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ

More Related