1 / 28

01418497 สัมมนา ภาคปลาย ปี 5 5

01418497 สัมมนา ภาคปลาย ปี 5 5. เทคนิคใน การหัวเรื่องและเขียนรายงาน . บางส่วนของสไลด์นำมาจากของ ชาคริต วัชโรภาส รศ. ดร. ชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย. หัวข้อที่ ไม่ ควรเลือก. หัวข้อที่มีลักษณะ เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ขาดการเชื่อมโยงกับศาสตร์ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยยะ

noah
Download Presentation

01418497 สัมมนา ภาคปลาย ปี 5 5

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 01418497 สัมมนาภาคปลาย ปี 55 เทคนิคในการหัวเรื่องและเขียนรายงาน บางส่วนของสไลด์นำมาจากของ ชาคริต วัชโรภาส รศ.ดร. ชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย

  2. หัวข้อที่ไม่ควรเลือก • หัวข้อที่มีลักษณะ • เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ขาดการเชื่อมโยงกับศาสตร์ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยยะ • อาทิเช่น เทคโนโลยี 4G, เจาะลึก iPhone 5, แอบดู iPad3, Core i7 รุ่นใหม่ • ควรระบุให้ชัดเจนว่าเกี่ยวกับศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรื่องใด • ให้ข้อมูลการสร้างอุปกรณ์ เขียนโปรแกรม หรือวิธีการใช้ API ที่สามารถค้นพบได้ในแหล่งข้อมูลทั่วไป • อาทิเช่น รูปแบบ HTML5, การใช้ WebGL • หัวข้อที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเรียน หรือในนิตยสารคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  3. หัวข้อที่ไม่ควรเลือก • หัวข้อที่มีลักษณะ • เป็นเชิงธุรกิจ การตลาด หรือสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนด้านคอมพิวเตอร์ • มาจากบทความภาษาไทยที่ถูกแปลมาจากบทความของต่างประเทศ • มาจากการเขียนที่ปราศจากการอ้างอิง หรือแหล่งอ้างอิงที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ รวมถึงแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ

  4. ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อ 1. หัวข้อที่มีการใช้เอกสารอ้างอิงหลักที่เป็น 1.1 papers (conference proceedings), journals, magazine articles 1.2 เอกสารที่กล่าวมาสามารถค้นหาได้จาก ACM,iEEEศูนย์วิจัย สถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น • http://librarians.acm.org/digital-library • http://ieeexplore.ieee.org/ • จะสามารถเข้าค้นเอกสารจาก 2 แหล่งนี้ได้ นิสิตต้องอยู่ภายใต้เครือข่ายของมหาวิทยาลัย (เกษตรศาสตร์) 1.3 นิสิตต้องมีเอกสารอ้างอิงหลักที่เป็นไปตามข้อ 1.1 (ต้องเป็น Journal 1 เรื่อง) - ดูข้อกำหนดในประมวลคำสอน

  5. ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อ 2. หัวข้อที่มีการใช้เอกสารอ้างอิงหลักที่เป็น 2.1 บทความหรือบล็อกที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือสื่อการสอนจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยที่หัวข้อต้องไม่เข้าข่ายหัวข้อที่ไม่ควรเลือกที่ได้กล่าวมาแล้ว 2.2 นิสิตต้องมีเอกสารอ้างอิงหลักที่เป็นไปตามข้อ 2.1 อย่างน้อย 2 ฉบับ

  6. หัวข้อจากการประชุมวิชาการหัวข้อจากการประชุมวิชาการ • การประชุมวิชาการในประเทศไทย • การประชุมวิชาการเกษตร • การประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • การประชุมวิชาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ • การประชุมวิชาการในต่างประเทศ

  7. ประเภทของรายงาน

  8. รายงานเชิงเทคนิค (Technical Report) • บทความเชิงสำรวจ • บทความวิจัยในการประชุมวิชาการ (Proceeding) • บทความในวารสาร (Journal) • ปริญญานิพนธ์ • Letter

  9. การวางโครงสร้างการเขียนรายงานการวางโครงสร้างการเขียนรายงาน

  10. บทความวิชาการ • บทคัดย่อ (ไทย/อังกฤษ) สรุปใจความสำคัญ • บทนำ เขียนที่มาและปัญหา/ประเด็นร้อน/เรื่องเด่นวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น ยังเป็นเรื่องย่อ แต่มีเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น • การเขียนบทนำสำคัญมาก งานปริมาณ 1 ใน 3 ถ้าเขียนบทนำดีคะแนนก็ได้เกินครึ่ง • ทบทวนวรรณกรรม/งานที่คล้ายคลึงกัน/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • หัวเรื่องย่อย (แต่ละหัวข้อย่อยควรเขียนอย่างน้อย ครึ่งหน้า) • เป็นการประมวลเรื่องที่ต้องการเขียน • บทสรุป • เอกสารอ้างอิง

  11. แนวทางการเขียนบทนำ • ปัญหาคืออะไร (What is the problem?) • ทำไมถึงน่าสนใจ • งานน่าสนใจ หรือ งานมีปัญหาอะไรที่ท้าทาย • เหล่าหาเหล่าที่พบได้รับการแก้ไขอย่างไรบ้าง และมีประเด็นอะไร ที่ยังมีปัญหาค้าง • และรายงานเรากำลังนำเสนออะไร • ย่อหน้าสุดท้ายควรสรุปเรื่องสำคัญอีกครั้ง และบอกรายละเอียดว่ารายงานเราจะมีเรื่องอะไรบ้าง

  12. การเลือกฟอนต์ภาษาไทยและอังกฤษควรเป็นแบบเดียวกันลักษณะสไลด์ - ที่ควรแก้ไข อย่าใส่ Animation หรือ Cartoon เคลื่อนไหวที่มี Color มากเกินความจำเป็น เพราะ Slide จะดูและอ่านยาก ทำให้การ Present และ Topic ที่นำมา Present ถูกลดความน่าสนใจลงไป • ต.ย.ด้านบนแสดงการใช้ฟอนต์ที่ไม่เหมาะสม

  13. การใช้รูปภาพประกอบ • รูปภาพในสไลด์ที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง • ให้เครดิตกับผู้สร้าง • บอกแหล่งที่มา • ห้ามนำภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาใช้ • การคัดลอกรูปจากจอภาพ • รูปภาพมีความละเอียดสูง • รายละเอียดชัดเจน • เหมือนสร้างขึ้นโดยปราศจากการคัดลอก

  14. การบรรยายรูป • ผู้บรรยายต้องอธิบายรูปในสไลด์ • ไม่นำรูปมาเพื่อแสดง โดยบรรยายข้ามรูปไป • ก่อนบรรยายรายละเอียดในรูป ควรบอกถึง • รายละเอียดคร่าวๆ • ความเกี่ยวข้องของรูปกับสิ่งที่กล่าวมาแล้ว • สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่จำเป็นต้องถูกอธิบาย • อธิบายรูปตามประเด็นที่ใช้อ้างอิง • บริเวณในรูปที่ใช้อ้างอิงต้องเห็นได้ชัดเจน

  15. ตัวอย่างภาพอ้างอิง - ที่ควรแก้ไข • UI ทั้ง 8 ส่วนใน Blender [ Credit Image: www.blender.org ]

  16. รูปที่มีรายละเอียดมากรูปที่มีรายละเอียดมาก • ใช้วิธีการอธิบายรูปโดยแบ่งเป็นส่วนๆ • ขยายแต่ละส่วนในรูปให้เห็นได้ชัดเจน • อาจใช้วิธีซ้อนทับบนรูปภาพหลัก เมื่ออธิบายในแต่ละส่วน • ให้ผู้ฟังเข้าใจในภาพรวมและส่วนย่อย

  17. การเขียนบรรณานุกรม • ตอนท้ายสไลด์ ใส่รายการเอกสารที่ใช้อ้างอิง • รูปแบบที่เขียนต้องตรงกับชนิดของเอกสาร • ใช้หลักการตามวิชา371111 การใช้ทรัพยากรห้องสมุด

  18. การเขียนอ้างอิงในสไลด์การเขียนอ้างอิงในสไลด์ • การเขียนอ้างอิงในสไลด์มีความแตกต่างกับในรายงาน • เนื่องด้วยสไลด์ถูกใช้เป็นสื่อในการบรรยาย • การเขียนอ้างอิงในสไลด์ขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้บรรยาย • ไม่ควรอ้างอิงในสไลด์ด้วยรูปแบบ [1], [2], … • ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ฟัง เพราะไม่สามารถอ้างถึงบรรณานุกรม ซึ่งต่างจากกรณีของผู้อ่านรายงาน • รูปภาพควรถูกเขียนอ้างอิงถึงแหล่งที่มา • เพื่อให้เครดิตกับผู้สร้าง • เพื่อแสดงถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา

  19. การเขียนรายงาน

  20. หลักการเขียน • ไม่เขียนรายงานจากความคิดตนเองเป็นหลัก • ต้องมีการอ้างอิงข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ • ใช้หลักการเขียนการอ้างอิงให้ถูกต้อง • แหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงต้องอยู่ในบรรณานุกรม • ทุกรายการในบรรณานุกรมต้องถูกอ้างอิงในรายงาน • ใช้ประโยคสมบูรณ์ในรายงาน • มีประธานและกริยาเป็นอย่างน้อย • ไม่ควรมีประโยค “ชนกัน” (run-on sentence) เช่น เวลา 1 ชั่วโมงมี 60 นาทีมี 60 วินาที เป็นต้น

  21. หลักการเขียน • รูปภาพหรือตารางที่อยู่ในรายงานต้องมีคำบรรยายกำกับ • มีหมายเลขรูปหรือตารางกำกับคำบรรยายเพื่อใช้ในการอ้างอิง • ต้องมีข้อความอ้างอิงถึงรูปภาพและตารางที่อยู่ในรายงาน • ดูตัวอย่างได้จากหนังสือเรียนโดยทั่วไป • ประโยคที่มีหลายภาษาควรอ่านแล้วไม่สะดุด • ระวังเรื่องฟอนต์ที่ขนาดแตกต่างกัน • การสลับไปมาระหว่างภาษาควรเกิดขึ้นน้อยที่สุด

  22. หลักการเขียน • ตัวสะกดต้องไม่มีที่ผิด โดยเฉพาะที่เกิดจากขาดการตรวจทาน • ใช้หลักการเว้นวรรคตามราชบัณฑิตยสถาน • ดูที่เว็บไซต์ http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?SystemModuleKey=279&SystemMenuID=1&SystemMenuIDS= • กรณีทั่วไป ห้ามใช้ภาษาพูดในรายงาน • อาทิเช่น งั้น มัก เยอะ อยาก เป็นต้น

  23. การเขียนรายงาน • รายงานต้องมีเลขหน้า • การจัดชิดขอบ การย่อหน้า ตำแหน่งหัวข้อ • สอดคล้องกันทั้งรายงาน • จัดลำดับหัวข้อและหัวข้อย่อยให้เหมาะสม • ใช้ numbering และ bullet ให้เหมาะสม • หัวข้อย่อยที่ใช้ numbering ไม่ควรลึกเกิน 4 ระดับ เช่น 1.1.1.2.3 มีมากระดับจนเกินไป

  24. การเขียนรายงาน • ตัวหนาใช้เน้นคำ ตัวเอียงสำหรับนามเฉพาะ • ตรวจสอบคำแปลศัพท์ภาษาอังกฤษกับราชบัณฑิตยสถานก่อนเสมอ • หากไม่พบจึงใช้คำแปลที่ใช้กันแพร่หลาย โดยใช้ให้สอดคล้องกันทั้งรายงาน • เขียนบรรณานุกรมโดยใช้หลักการที่ถูกต้อง • เขียน อ่านตรวจสอบ แล้วเขียนปรับปรุง จนกว่ารายงานมีความสมบูรณ์และถูกต้อง

  25. ตัวอย่างการเขียนประโยคตัวอย่างการเขียนประโยค

  26. ตัวอย่างการเขียน - ที่ควรแก้ไข ฟุ่มเฟือย ประธาน คลุมเครือ บนโลกยุคปัจจุบันด้วยความเจริญทางนวัตกรรมต่างๆ ทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดมากมาย ผู้บริโภคได้มีโอกาสที่จะเลือกผลิตภัณฑ์ที่สนใจได้อย่างอิสระมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ส่งผลให้การสรรหาผลิตภัณฑ์ที่ชอบและสนใจจริงๆ นั้นทำได้ยาก อันเนื่องมาจากมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากเกินไปนั่นเอง และยังส่งผลต่อการจัดวางสินค้าที่เกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่ชอบได้ง่ายขึ้น คลุมเครือ ประธาน ขาดน้ำหนัก ประธาน ขาดน้ำหนัก ประธาน ขาดความต่อเนื่อง คลุมเครือ

  27. ตัวอย่างการเขียน - ที่ควรแก้ไข ควรกำกับด้วย (Recommendation System) ระบบแนะนำเป็นแนวคิดที่ทำการวิเคราะห์หาองค์ความรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้มาซึ่งการแนะนำข้อมูล สินค้า หรือบริการในชีวิตประจำวัน ที่มีความสำคัญต่อบุคคลที่ระบบให้ความสนใจโดยเฉพาะ ระบบแนะนำเหล่านี้ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางและประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ด้วยปริมาณข้อมูลที่มีอยู่มากมาย และการเจริญเติบโตของข้อมูลเหล่านั้น ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างระบบแนะนำที่ทำงานได้อย่างแม่นยำ และทำได้สำเร็จภายในเวลาอันสั้น คลุมเครือ (ข้อมูลอะไร) คลุมเครือ (ระบบให้ความสนใจได้ยังไง) ขาดน้ำหนัก (ควรอ้างอิง) การเลือกใช้คำ ขาดน้ำหนักและคลุมเครือว่าปัญหาของอะไร คลุมเครือ (ผู้อ่านลืมไปแล้วว่าพูดถึงข้อมูลอะไร) คลุมเครือ (ทำงานอะไรให้สำเร็จ)

  28. ตัวอย่างการเขียน - ที่ควรแก้ไข ขาดน้ำหนัก (ควรอ้างอิง) Collaborative Filtering เป็นระบบแนะนำที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยการวิเคราะห์ลักษณะความชอบของบุคคลจากบุคคลอื่นที่ระบบเข้าใจว่ามีลักษณะคล้ายกัน เพื่อนำเสนอสิ่งที่คิดว่าบุคคลที่ระบบสนใจนั้นจะสนใจเหมือนกับคนอื่นๆ แนวคิดของ Collaborative Filtering ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งระบบการขายหนังสืออย่างเว็บไซต์ Amazon.com หรือระบบแนะนำภาพยนตร์ Movie Lens ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ Minnesota ทำให้ระบบนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ขยายอะไรหรือเปล่า ขาดความเป็นเหตุเป็นผล ขยายอะไร ควรเขียนใหม่ (คลุมเครือ) การเลือกใช้คำ ควรอ้างอิง ขาดน้ำหนัก ประธาน

More Related