1 / 28

อุปสงค์ส่วนบุคคล ( individual demand)

อุปสงค์ส่วนบุคคล ( individual demand) ในส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ว่าอุปสงค์ต่อสินค้าบริการสร้างขึ้นมาได้อย่างไร กำหนดให้ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเปลี่ยนไป แต่สิ่งอื่นๆคงที่ เช่น เดิมที P f = 1 บาท P C = 2 บาท รายได้ = 20 บาท

Download Presentation

อุปสงค์ส่วนบุคคล ( individual demand)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุปสงค์ส่วนบุคคล (individual demand) ในส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ว่าอุปสงค์ต่อสินค้าบริการสร้างขึ้นมาได้อย่างไร กำหนดให้ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเปลี่ยนไป แต่สิ่งอื่นๆคงที่ เช่น เดิมที Pf = 1 บาท PC = 2 บาท รายได้ = 20 บาท ดุลยภาพผู้บริโภคอยู่ที่จุด B F = 12 หน่วย และ C = 4 หน่วย

  2. สรุป : Pfเพิ่มขึ้น F ลดลง จุดดุลยภาพเปลี่ยนจาก B ไป A แต่ที่ Pf ลดลง F เพิ่มขึ้น จากจุด B ไป D Price-consumption curve (PCC) เป็นเส้นที่ต่อจุดดุลยภาพต่างๆของการเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าชนิดหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของ Pf จะมีผลต่อ F และอาจมีผลต่อ C ด้วย เช่น Pf ลดลง F เพิ่มขึ้น มีเงินเหลือที่จะซื้อ C เพิ่มขึ้น

  3. เส้นอุปสงค์ (individual demand curve) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและราคาของสินค้าชนิดหนึ่ง จากรูปข้างต้น เมื่อ Pf ลดลงจาก 2 เป็น 1 และเป็น 0.5 บาท F เพิ่มจาก 4 เป็น 8 และเป็น 20 หน่วย เส้นอุปสงค์บ่งบอก 2 ประการ 1. อรรถประโยชน์ (IC) เปลี่ยนไป เมื่อเคลื่อนไปบนเส้นอุปสงค์ 2. ทุกจุดบนเส้นอุปสงค์สะท้อนถึงดุลยภาพผู้บริโภคที่มีเงื่อนไข MRS = สัดส่วนของราคา

  4. เนื่องจาก MRS = MUf / MUc และ = Pf / Pcทำให้ MUf / Pf = MUc / Pc MUf / Pf แสดงถึง คุณค่าหรือมูลค่า (value) ที่ได้รับจากการบริโภคเพิ่มขึ้น 1 หน่วยด้วยราคาระดับนั้น ดังนั้น หาก Pf ลดลงไปจาก 2 เป็น 1 และเป็น 0.5 มูลค่าที่ยินดีจะจ่ายเพื่อให้ได้สินค้าเพิ่มอีก 1 หน่วย (willingness to pay หรือ WTP) ก็จะลดลงไปด้วย WTP มีประโยชน์ในการประเมินผลได้ของสินค้าหนึ่งๆและจะใช้ในการคำนวณ consumer surplus ได้

  5. ถ้าให้รายได้เปลี่ยนไป โดยให้ราคาสินค้าทุกชนิดคงที่ เช่น เดิมที Pf = 1 บาท PC = 2 บาท และ รายได้ = 20 บาท รายได้ลดลงเป็น 10 บาท และรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 30 บาท จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพผู้บริโภค โดยการ shift ของเส้น budget line

  6. Income-consumption curve (ICC) เป็นเส้นที่ต่อจุดดุลยภาพต่างๆของการเปลี่ยนแปลงในระดับรายได้ ความชันของ ICC เป็นบวก เพราะว่าเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น จะมีการซื้อสินค้าทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น ผลที่เกิดขึ้นกับเส้นอุปสงค์คือ การ shift ของเส้นอุปสงค์ ถ้ารายได้เพิ่ม อุปสงค์จะ shift ไปทางขวา แต่ถ้ารายได้ลดลง อุปสงค์จะ shift ไปทางซ้าย (สังเกตว่า แกนตั้งยังเป็นราคาอยู่ ไม่ใช่เป็นรายได้ แต่ถ้าเป็นรายได้จะเป็นเส้น Engel Curve อย่าสับสนกัน)

  7. ความชันของเส้น ICC บอกถึงความเป็นสินค้าปกติ (normal goods) หรือสินค้าด้อย (inferior goods) ได้ ถ้า ICC เป็นบวก สินค้าทั้งสองชนิดเป็นสินค้าปกติ ถ้า ICC เป็นลบ สินค้าชนิดหนึ่งเป็นสินค้าด้อย ในบางช่วงของรายได้ สินค้าชนิดหนึ่งอาจเป็นสินค้าปกติ แต่เมื่ออยู่ในอีกช่วงของรายได้ สินค้านั้นกลายเป็นสินค้าด้อย ตัวอย่างเช่น เทป กับ CD

  8. Engel curve เป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและรายได้ แกนตั้งเป็นระดับรายได้ แกนนอนเป็นปริมาณสินค้า ถ้าความชันของ Engel curve เป็นบวก แสดงว่าเป็นสินค้าปกติ ถ้าความชันของ Engel curve เป็นลบ แสดงว่าเป็นสินค้าด้อย

  9. PCC ระบุว่าเป็นสินค้าสองชนิดเป็นสินค้าทดแทนกัน (substitutes) ถ้าความชันของ PCC เป็นลบ เพราะว่า การลดลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งทำให้สินค้าอีกชนิดมีการบริโภคลดลง PPC ที่มีความชันเป็นบวก แสดงถึงสินค้าประกอบกัน (complement) เนื่องจาก การลดลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งทำให้สินค้าอีกชนิดมีการบริโภคเพิ่มขึ้น PCC ที่มีความชันเป็นศูนย์ แสดงว่าสินค้าทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน (independent) เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งไม่มีผลต่อปริมาณของสินค้าอีกชนิด

  10. ผลทางรายได้ และผลทางการทดแทน (income and substitution effects) ราคาสินค้าลดลงก่อให้เกิดผล 2 ประการ 1. ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่มีราคาลดลงในปริมาณมากขึ้น และซื้อสินค้าอื่นที่มีราคาแพงขึ้นโดยเปรียบเทียบในปริมาณน้อยลง (ผลทางการทดแทน) 2. ผู้บริโภคมีอำนาจในการซื้อที่แท้จริงเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าชนิดหนึ่งถูกลง (ผลทางรายได้)

  11. เนื่องจากผลทั้งสองประเภทเกิดขึ้นพร้อมๆกัน จึงต้องวิเคราะห์เพื่อแยกผลทั้งสองให้ชัดเจน ผลทางการทดแทน คือ การเปลี่ยนแปลงในการบริโภค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในราคา โดยให้ระดับความพึงพอใจคงที่ (เท่าเดิมก่อนมีการเปลี่ยนแปลงของราคา) เดิมทีจะมีเส้นงบประมาณ เมื่อราคาลดลง จะมีเส้นงบประมาณใหม่ แต่จะต้องเพิ่มเส้นงบประมาณในจินตภาพ (imaginary budget line) เพื่อให้เส้น IC เดิมสัมผัส (IC เดิมกับเส้นงบประมาณเดิมจะไม่เป็นจุดดุลยภาพอีกต่อไป)

  12. ผลทางรายได้คือ การเปลี่ยนแปลงในการบริโภค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอำนาจในการซื้อ โดยให้ระดับราคาคงที่ (เท่าเดิมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของรายได้) ผลทางรายได้มีทั้งที่เป็นบวกและลบ เช่นเดียวกับที่วิเคราะห์มาข้างต้น นั่นคือ มีทั้งที่เป็นสินค้าปกติและสินค้าด้อย ผลรวม (Total effect) = ผลทางการทดแทน + ผลทางรายได้ ถ้าผลทางรายได้เป็นลบที่ไม่มากกว่าผลทางการทดแทน ผลสุดท้ายก็คือ ปริมาณการบริโภคจะแปรผกผันกับราคา

  13. ดังนั้น เส้นอุปสงค์จะลาดลงซ้ายมาขวา (ความชันเป็นลบ) แต่ Giffen good เป็นกรณีพิเศษที่ผลทางรายได้ที่เป็นลบสูงกว่าผลทางการทดแทน เส้นอุปสงค์ต่อสินค้าประเภท Giffen good จึงมีความชันเป็นบวก

  14. อุปสงค์ของตลาด (market demand) อุปสงค์ของตลาดเป็นการรวมอุปสงค์ส่วนบุคคลในทางแนวนอน เป็นการรวมปริมาณของผู้บริโภคทุกคนในตลาด ณ ระดับราคาเดียวกัน เนื่องจากอุปสงค์ส่วนบุคคลมีความชันเป็นลบ อุปสงค์ตลาดก็ต้องมีความชันเป็นลบเหมือนกัน อุปสงค์ตลาดไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป แม้ว่าอุปสงค์ส่วนบุคคลจะเป็นเส้นตรงก็ตาม

  15. ความจริง 2 ประการที่มักเกิดขึ้นกับอุปสงค์ส่วนบุคคล สอดคล้องกับอุปสงค์ตลาดคือ 1. อุปสงค์ตลาดจะ shift ไปทางขวา เมื่อมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในตลาด 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ส่วนบุคคลจำนวนมากจะมีผลต่ออุปสงค์ตลาดด้วย

  16. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (elasticity of demand) เป็นการวัดร้อยละของการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในราคาร้อยละหนึ่ง EP = ( Q / Q)/( P / P) = ( Q / P) / (P / Q) อุปสงค์ที่ไม่ยืดหยุ่น (inelastic demand) คือ อุปสงค์ที่มี EPต่ำกว่า 1 (ในค่าสัมบูรณ์) อุปสงค์ที่ยืดหยุ่น (elastic demand) คือ อุปสงค์ที่มี EPสูงกว่า 1 (ในค่าสัมบูรณ์)

  17. อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นคงที่ (isoelastic หรือ unit elastic demand) คือ อุปสงค์ที่มี EPเท่ากับ 1 (ในค่าสัมบูรณ์) ความสัมพันธ์ระหว่าง EPกับค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค EPถ้าราคาเพิ่ม ถ้าราคาลด inelastic ค่าใช้จ่ายเพิ่ม ค่าใช้จ่ายลดลง isoelastic ค่าใช้จ่ายคงเดิม ค่าใช้จ่ายคงเดิม elastic ค่าใช้จ่ายลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่ม

  18. เนื่องจาก EP ณ แต่ละราคาบนเส้นอุปสงค์แตกต่างกันจึงมีวิธีการวัด EP2 แบบ point elasticity of demand วัด EPณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ EP = ( Q / P) / (P / Q) เนื่องจาก Q / P เป็นความชัน จะได้ EP = ( 1 / slope )( P / Q) คำถามที่เกิดขึ้นคือ P และ Q จะเป็นชุดเดิมหรือชุดใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง

  19. คำตอบคือใช้ชุดไหนก็ได้คำตอบคือใช้ชุดไหนก็ได้ แต่ที่นิยมคือ ใช้ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 ชุดนี้ นั่นคือ เป็นการใช้ P และ Q เป็นช่วง (range) arc elasticity of demand วัด EP ของช่วงการเปลี่ยนแปลงในราคา

More Related