1 / 33

Chapter 16 Knowledge Management Audit

Chapter 16 Knowledge Management Audit. วิจารณ์ พานิช / 1 พ.ย. 46 http :// www . kmi . or . th / 5_Link / Article_PVicharn / 0012_KnowledgeAudit . html. การตรวจสอบความรู้ ( Knowledge Audit ).

odin
Download Presentation

Chapter 16 Knowledge Management Audit

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 16 Knowledge Management Audit วิจารณ์ พานิช / 1 พ.ย. 46 http://www.kmi.or.th/5_Link/Article_PVicharn/0012_KnowledgeAudit.html

  2. การตรวจสอบความรู้ (Knowledge Audit) • การตรวจสอบความรู้ (Knowledge Audit) เป็นเครื่องมือช่วยให้การดําเนินการจัดการความรู้ประสบผลสําเร็จตามความมุ่งหมาย (ร้อยละ 85 ของกิจกรรมจัดการความรู้ล้มเหลว) • ความหมายคําว่า knowledge audit หมายถึง การตรวจสอบสุขภาพด้านความรู้ขององค์กรหรือหน่วยงาน จริง ๆ แล้วเป็นการใช้คําว่า audit ในความหมายที่ผิด เพราะความหมายดั้งเดิมของคําว่า audit คือ การตรวจสอบการดําเนินงาน (performance) เทียบกับมาตรฐานที่กําหนดไว้ • อีกนิยามหนึ่งของ knowledge audit หมายถึง "การทบทวนความรู้ที่องค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานต้องการ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานได้อย่างดี ประกอบด้วย

  3. (1) การวิเคราะห์ความต้องการ • (2) การวิเคราะห์สารสนเทศ • (3) การตรวจสอบขีดความสามารถและการติดต่อสื่อสาร และ • (4) การทบทวนปฏิสัมพันธ์และการเลื่อนไหลของความรู้"

  4. สิ่งที่ตรวจสอบในการทํา knowledge audit ได้แก่ • ความรู้อะไรบ้างที่องค์กรต้องการ • ในขณะนั้นองค์กรมีความรู้อะไรบ้าง • "ช่องว่าง" (gap) ของความรู้ขององค์กร • ความรู้เลื่อนไหลไปในองค์กรอย่างไร • สิ่งขัดขวางการเลื่อนไหลของความรู้ หรือทําให้ความรู้เลื่อนไหลไม่สะดวกมีหรือไม่ ขัดขวางอย่างไร (คน, กระบวนการทํางาน, เทคโนโลยี)

  5. กําหนดความรู้ที่องค์กรต้องการกําหนดความรู้ที่องค์กรต้องการ • อย่าเน้นที่ความครบถ้วน แต่เน้นที่ความรู้ที่เป็น "หัวใจ" ของการทํางาน เน้นที่งานหลักหรืองานสําคัญ และเน้นที่ปญหาหรืออุปสรรคสําคัญ ๆ ที่ทําให้งานไม่ได้ผลสูงส่ง • วิธีการหาความต้องการดังกล่าว ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการทํา focus group แต่ D J Snowden3-5 บอกว่าวิธีดังกล่าวจะไม่ได้คําตอบที่ลึกพอ และได้เสนอวิธีใช้ KDPs (Knowledge Disclosure Points) ซึ่งได้แก่ จุดที่ตัดสินใจ, ใช้วิจารณญาณ (judgement), แก้ปญหา และเรียนรู้ ตั้งคําถามว่า ณ จุด KDP แต่ละจุด ต้องใช้ความรู้อะไรบ้างใน 5 อย่าง คือ

  6. Artefacts ความรู้ที่จับต้องได้ มีการเข้ารหัส หรือเข้าไปอยู่ในวัตถุ • Skills ทักษะ • Heuristics สามัญสํานึก หรือหลักของเหตุผลง่าย ๆ • Experience ประสบการณ์ • Natural Talent พรสวรรค์

  7. จัดทํารายการความรู้ (knowledge inventory)เป็นการรวบรวมจัดรายการและหมวดหมู่ของความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร โดยต้องไม่ลืมว่า ประมาณร้อยละ 80 เป็นความรู้ชนิดจับต้องไม่ได้หรือฝงลึก (tacit) • ในส่วนของความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit หรือ codified) รายการตัวอย่าง ได้แก่ • มีความรู้อะไรอยู่บ้าง: จํานวน ชนิด และประเภทของเอกสาร, ฐานข้อมูล, ห้องสมุด, เว็บไซต์ภายในองค์กร, การเชื่อมโยงหรือบอกรับเป็นสมาชิกของแหล่งภายนอก เป็นต้น • ความรู้เหล่านั้นอยู่ที่ไหน: ตําแหน่งภายในองค์กร และภายในระบบต่าง ๆ • การจัดระบบและการเข้าถึง: จัดระบบความรู้เหล่านั้นอย่างไร คนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้สะดวกแค่ไหน

  8. คุณภาพ และตรงความต้องการ: แหล่งความรู้เหล่านั้นมีไว้เพื่ออะไร ลักษณะของความรู้นั้นตรงจุดมุ่งหมายหรือไม่ คุณภาพดีพอหรือไม่ (ทันสมัย แม่นยํา มีหลักฐานสนับสนุน ฯลฯ) • การใช้ประโยชน์: มีคนใช้อยู่เสมอหรือไม่ ใครเป็นผู้ใช้ ใช้บ่อยแค่ไหน ใช้เพื่อประโยชน์อะไร

  9. ในกรณีของความรู้ที่จับต้องไม่ได้หรือฝงลึกอยู่ในคน รายการความรู้จะเน้นที่คน โดยคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง • บุคลากรที่มี : จํานวน และประเภท • อยู่ที่ไหน : จุดทํางานในแผนก, ทีมงาน, อาคาร • คนเหล่านั้นทําอะไร : ระดับงาน และชนิดของงาน • ความรู้ของคนเหล่านั้น : คุณวุฒิทางวิชาการและวิชาชีพ, ความรู้หลัก และประสบการณ์ • คนเหล่านั้นกําลังเรียนรู้อะไร : การฝกฝนโดยการปฏิบัติงาน การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง • เมื่อนําความรู้ที่มีอยู่ มาเทียบกับความรู้ที่ต้องการ ก็จะทราบช่องว่างของความรู้ (knowledge gap) ซึ่งเป็นปญหา ที่จะต้องแก้ไขต่อไป

  10. การวิเคราะห์การเลื่อนไหลของความรู้การวิเคราะห์การเลื่อนไหลของความรู้ • เป็นการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของความรู้ภายในองค์กร จากแหล่งความรู้ไปสู่จุดที่ต้องการใช้ ตรวจสอบว่าผู้ปฏิบัติงานแสวงหาความรู้ที่ต้องการอย่างไร และดูว่าผู้ปฏิบัติงานแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันอย่างไร • ต้องตรวจสอบการเลื่อนไหลของความรู้ชนิดที่ชัดแจ้งหรือเข้ารหัสแล้ว (explicit หรือ codified knowledge) และความรู้ฝงลึก (tacit knowledge) และตรวจสอบที่คน, กระบวนการ และระบบ

  11. คน ตรวจสอบ ทัศนคติ นิสัย และทักษะในการแลกเปลี่ยนความรู้และใช้ความรู้ • กระบวนการ ตรวจสอบที่การปฏิบัติงานประจําวันว่า การแสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และใช้ความรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานหรือไม่ เพียงใด หน่วยงานใดที่มีกระบวนการที่ดี เพราะอะไร หน่วยงานใดที่ไม่มีกระบวนการดังกล่าว เพราะอะไร มีนโยบายหรือวิธีปฏิบัติใดบ้างที่ช่วยส่งเสริม (หรือขัดขวาง) กระบวนการดังกล่าว เช่น ระบบข้อมูล ระบบการจัดการเอกสาร การตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็บขององค์กร (web publishing) • ระบบ ได้แก่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเนื้อความรู้ (content management) ความยากง่ายในการใช้ ระดับความบ่อยในการใช้ในปจจุบัน ตรวจสอบเพื่อตอบคําถามว่า ระบบขององค์กรอำนวยความสะดวกต่อการเลื่อนไหลของความรู้เพียงใด

  12. การตรวจสอบการเลื่อนไหลของความรู้ จะช่วยให้เห็นช่องว่างของความรู้ชัดเจนขึ้น และในขณะเดียวกันก็จะพบความซ้ำซ้อนของความรู้ ตรวจพบตัวอย่างของการปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการความรู้ ตรวจพบสิ่งขัดขวางการเลื่อนไหลของความรู้และการใช้ความรู้ ที่สําคัญที่สุดจะช่วยบอกว่า การจัดการความรู้ขององค์กรที่จะดําเนินการควรมุ่งไปที่จุดใดประเด็นใดเป็นพิเศษ

  13. จัดทําแผนที่ความรู้แผนที่ช่วยให้ "มองเห็น" ความรู้ขององค์กร โดยทําได้ 2 แบบ • แบบภาพนิ่ง ให้รู้ว่ามีความรู้อะไร อยู่ที่ไหนภายในองค์กร • เพิ่มภาพเคลื่อนไหว ให้รู้ว่าความรู้เลื่อนไหลจากที่ไหนไปที่ไหนและอย่างไร • ควร "ติดประกาศ" แผนที่ดังกล่าวให้พนักงานทุกคนได้รับรู้ เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

  14. ข้อควรคํานึง • เปาหมายหรือวัตถุประสงค์ของการทํา knowledge audit ต้องชัด เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน ต้องใช้เวลา และทรัพยากรมาก • ถ้าการทํา knowledge audit ไม่นําไปสู่การดําเนินการอย่างจริงจัง ก็จะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า • ต้องไม่ลืมว่า ร้อยละ 80 ของความรู้ภายในองค์กรเป็นความรู้ฝงลึก (tacit) จึงต้องระวังไม่หลงดําเนินการเฉพาะความรู้ส่วนที่ชัดแจ้ง (explicit) • ความยากง่ายในการรวบรวมข้อมูลในกระบวนการทํา knowledge audit เป็นตัวบ่งชี้ขีดความสามารถในการดําเนินการจัดการความรู้ในขณะนั้น

  15. ถ้าต้องการว่าจ้างที่ปรึกษาในการทํา knowledge audit พึงระวังว่า บริษัทส่วนใหญ่หมายถึง information audit ซึ่งเป็นการตรวจสอบเฉพาะความรู้ที่ชัดแจ้ง การตรวจสอบความรู้ฝงลึก คือส่วนที่มีคุณค่าสูงกว่า และเป็นส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาภายนอก

  16. ขั้นตอนของการตรวจสอบความรู้ มี 3 ขั้นตอน คือ • วางแผนและเตรียมการ ได้แก่ การแนะนําให้พนักงานมีความรู้เรื่องการจัดการความรู้ในเชิงหลักการและวิธีการ และให้ทราบความมุ่งหมายและขั้นตอนในการดําเนินการตรวจสอบความรู้ ให้ทุกคนแจ่มชัดว่ากิจกรรมนี้จะก่อประโยชน์แก่พนักงานและองค์กรอย่างไรบ้าง • ขั้นดําเนินการตรวจสอบความรู้ • ขั้นรายงานข้อค้นพบและนําเสนอข้อเสนอแนะ • จะเห็นว่าการตรวจสอบความรู้เป็นเพียงขั้นต้นของการเตรียมจัดระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร แต่กิจกรรมนี้จะมีผลกระทบหลายประการ

  17. ผลกระทบจากการดําเนินการตรวจสอบความรู้ผลกระทบจากการดําเนินการตรวจสอบความรู้ • ทราบ "พฤติกรรมความรู้" ขององค์กร • พนักงานเกิดความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ และตระหนักในผลดีต่อตนเองและต่อองค์กรถ้ามีการปฏิบัติร่วมกันเป็น "ชุมชน" ภายใต้ "ระบบนิเวศ" ขององค์กร • ได้รายการของ "best knowledge practice" ภายในองค์กร อันได้แก่ ตัวอย่างที่ดีของการสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ ที่ดําเนินการโดยพนักงาน สําหรับนํามาสนับสนุน ยกย่อง และขยายผลไปยังส่วนอื่น ๆ ขององค์กร • ได้รายการของ "ชุมชนนักปฏิบัติจัดการความรู้" (Community of Practice, CoP) สําหรับนํามายกย่อง สนับสนุน และขยายผลต่อ

  18. รายชื่อของพนักงานที่มีศักยภาพในการเป็น "ผู้อำนวยความสะดวก" ด้านความรู้ (knowledge facilitator) และผู้ส่งเสริมกิจกรรมความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ • ได้แนวทางส่งเสริม CoP และสร้าง CoP เพิ่มขึ้น • ได้แนวทางทํางานแบบใหม่ที่เน้นความรู้ ทดแทนแนวทางแบบเดิม ซึ่งเป็นรูปแบบอุตสาหกรรม ไม่ใช่แนวทางแห่งยุคความรู้เป็นฐาน • ได้แนวทางใหม่ในการดําเนินการฝกอบรม, การพัฒนาขีดความสามารถ, การจัดการเครื่องมือเครื่องใช้ และการวัดผลการปฏิบัติงาน • ได้ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการ และ "organic" สําหรับเคลื่อนองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และใช้ความรู้เป็นฐาน

  19. ในส่วนของ IT เราต้อง Map

  20. ตัวอย่าง • ให้ลองดูจาก link • http://www.adb.org/Documents/Studies/Auditing-Lessons-Architecture/ala.asp ลองอ่านจากเล่มนี้ครับ

  21. กระบวนการตรวจสอบภายใน(ในแบบทั่ว ๆ ไป)(The Internal Audit Process) • ขั้นตอน 1. การกำหนดพื้นที่หรือหน่วยงานที่ตรวจสอบ (Auditee) 2. การวางแผนการตรวจสอบ 3. การสำรวจเบื้องต้นผ่านทางเอกสารต่าง ๆ 4. การวิเคราะห์และการประเมินการควบคุมภายใน 5. การขยายการตรวจสอบ 6. การสรุปผลและข้อเสนอแนะ 7. การรายงาน 8. การติดตามผล 9. การประเมินการตรวจสอบ

  22. ขั้นที่ 1 การเลือกพื้นที่หรือหน่วยงานที่ต้องตรวจสอบ • มี 3 วิธี คือ • 1. การเลือกอย่างเป็นระบบ (Systematic Selection) • 2. การเลือกเป็นครั้งคราว (Ad Hoc Audits) • 3. ผู้รับการตรวจเลือกร้องขอ (Auditee Requests)

  23. ขั้นที่ 2 การวางแผนการตรวจสอบ • (1) กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตในการตรวจสอบ • (2) ศึกษาสารสนเทศภูมิหลัง (background information) • (3) เลือกทีมตรวจสอบ • (4) ทำการติดต่อกับผู้รับการตรวจสอบและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง • (5) เตรียมจัดทำโปรแกรมในการตรวจสอบ (audit program) • (6) วางแผนเกี่ยวกับรายงานการตรวจสอบ • (7) อนุมัติแนวการตรวจสอบ

  24. ขั้น 3 การสำรวจเบื้องต้น • การประชุมเปิดงาน • On-Site Tour เพื่อทำการสำรวจพื้นที่จริง • ทำการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ใช้จริง • Analytical Auditing Procedures หรือทำการวิเคราะห์เอกสารการดำเนินงาน

  25. ขั้นที่ 4 คำบรรยาย, การวิเคราะห์และการประเมินผลการควบคุมภายใน • พิจารณาถึงคำบรรยายต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงการควบคุมกระบวนการ • ทำการ walk-through หรือ เดินสำรวจสถานที่ตามกระบวนการที่ระบุไว้ในเอกสาร • ทำการทดสอบการควบคุมแบบจำกัด (Limited Testing of Controls) เช่น สมมติตัวอย่างข้อบกพร่องขึ้นมา เป็นต้น • การทดสอบระบบการควบคุมสารสนเทศ • การประเมินวิธีการควบคุมภายใน • การประเมินความเสี่ยง

  26. ขั้นที่ 5 การขยายการทดสอบ ขั้นตอนของงานตรวจสอบที่เพิ่มขึ้นมีดังต่อไปนี้ • ขยาย แนวการตรวจสอบออกไปเท่าที่จำเป็นและกำหนดจำนวน staff และทรัพยากรอื่น ๆ ที่จำเป็น • จัดทำโครงร่างของหัวข้อต่างๆในเบื้องต้นเพื่อที่จะนำไปเขียนไว้ในรายงานหรือสอบทานการสรุปเบื้องต้นที่ได้มีผู้ร่างไว้ในระหว่างที่เตรียมการตรวจสอบ เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว ผู้ตรวจสอบควรทราบว่าหัวข้อใดที่ควรจะมีอยู่ในรายงานและควรจะให้เนื้อที่เท่าไรในแต่ละหัวข้อ • ทำการทดสอบเพิ่มเติม

  27. ขั้นที่ 5 การขยายการทดสอบ • กิจกรรมการทดสอบเหล่านี้ซึ่งสอดรับกับวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ มีลักษณะ 3 ลักษณะดังนี้ (1) การสอบทานการปฏิบัติงานและการออกแบบวิธีการควบคุมต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (2) การทดสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามระบบควบคุมที่ออกแบบไว้หรือไม่ (3) การประเมินการออกแบบระบบควบคุมและผลกระทบของการปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามระบบการควบคุมต่าง ๆ

  28. ขั้นที่ 6 การสรุปผลและข้อเสนอแนะ • สิ่งที่ตรวจพบ (findings) หมายถึง 1. สภาพหรือสภาวการณ์ที่ได้สังเกตเห็นจริง 2. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินสภาวะนั้น 3. ผลกระทบหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหา 4. สาเหตุของปัญหา • ข้อเสนอแนะมักอยู่ในรูปแบบ 4 อย่างดังนี้ (1) ไม่เปลี่ยนแปลงระบบควบคุม (ในเชิงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นยอมรับได้) (2) ปรับปรุงระบบการควบคุม (ในเชิงลดความเสี่ยงลง) (3) การประกันความเสี่ยง (ผลักภาระความเสี่ยงออกไปให้ผู้อื่น) (4) เปลี่ยนอัตราผลตอบแทนอันสะท้อนถึงความเสี่ยง ( rate of return to reflect risk)

  29. ขั้นที่ 7 การรายงาน • ผลิตผลของงานตรวจสอบ (audit product) • พึงระลึกไว้ว่า ชื่อเสียงในวิชาชีพของผู้ตรวจสอบภายในขึ้นอยู่กับรายงาน • ในรายงานจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับ • วัตถุประสงค์การตรวจสอบ, • ขอบเขต, • วิธีปฏิบัติทั่วไป, • สิ่งที่ตรวจพบ (findings) และ • ข้อเสนอแนะ

  30. ผู้ตรวจสอบจะต้องลงลามมือชื่อในรายงานที่เขียนขึ้น และส่งไปให้ • ผู้บริหารระดับสูง (executive management), • ผู้บริหารของผู้ได้รับการตรวจสอบ (auditee’s management) และ • คณะกรรมการตรวจสอบ, (audit committee) • ผู้ตรวจสอบจะเก็บสำเนาของรายงานไว้อย่างน้อย 1 ชุดในฝ่ายตรวจสอบภายในและ • ผู้ตรวจสอบภายนอกอาจจะได้รับสำเนาของรายงานการตรวจสอบภายในด้วย

  31. ขั้นที่ 8 การติดตามผล • งานขั้นนี้มีรูปแบบทั่ว ๆ ไป อยู่ 3 รูปแบบ (1) ผู้บริหารระดับสูงปรึกษากับผู้รับการตรวจสอบเพื่อตัดสินใจว่าเมื่อไรที่คำแนะนำของผู้ตรวจสอบควรจะได้รับการแก้ไข และจะแก้ไขอย่างไร (2) ผู้รับการตรวจสอบ ตัดสินใจที่จะทำการแก้ไขเอง (3) หลังจากงานตรวจสอบเสร็จ ผู้ตรวจสอบจะคอยอยู่ช่วงเวลาหนึ่งแล้วจะทำการเช็คสอบกลับไปยัง ผู้รับการตรวจสอบเพื่อดูว่าได้มีการแก้ไขหรือไม่

  32. ขั้นตอนที่ 9 การประเมินผลการตรวจสอบ หัวหน้าทีมตรวจสอบประเมิน • ประสิทธิผลในงานตรวจที่ผ่านมา • ประสิทธิภาพในการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบ • แนวทางในการพัฒนาการตรวจให้ดีขึ้น • ประโยชน์ที่ได้จากการตรวจสอบในครั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในครั้งต่อไป

  33. จบหัวข้อ 16 • คำถาม ………..

More Related