1 / 15

Orthogonal contrast (class comparisons) เมื่อจุดประสงค์ของการทดลองต้องการเปรียบเทียบเป็นกลุ่ม

Orthogonal comparison. Orthogonal contrast (class comparisons) เมื่อจุดประสงค์ของการทดลองต้องการเปรียบเทียบเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มยาที่ใช้สมุนไพร กับ กลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะ วางแผนการเปรียบเทียบล่วงหน้าได้ Orthogonal polynomial (trend comparisons)

ojal
Download Presentation

Orthogonal contrast (class comparisons) เมื่อจุดประสงค์ของการทดลองต้องการเปรียบเทียบเป็นกลุ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Orthogonal comparison • Orthogonal contrast (class comparisons) • เมื่อจุดประสงค์ของการทดลองต้องการเปรียบเทียบเป็นกลุ่ม • เช่น กลุ่มยาที่ใช้สมุนไพร กับ กลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะ • วางแผนการเปรียบเทียบล่วงหน้าได้ • Orthogonal polynomial(trend comparisons) • เมื่อต้องการตรวจสอบแนวโน้มการตอบสนองของตัวแปรต่อการเพิ่มหรือลดทรีทเมนต์

  2. Orthogonal comparison • F – testในการวิเคราะห์ความแปรปรวนเป็นขั้นแรกของการตรวจสอบผลการทดลอง ผู้ทดลองไม่สามารถบอกได้ว่า การยอมรับหรือปฏิเสธสมมุติฐานหลักนั้นมีทรีทเมนต์คู่ใดบ้างที่มีความแตกต่างหรือไม่มีความแตกต่างกัน • ขั้นต่อไปในการวิเคราะห์ก็คือการตรวจสอบค่าเฉลี่ยทรีทเมนต์และขนาดความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทรีทเมนต์

  3. Orthogonal comparison ซึ่งการทดสอบดังกล่าวอยู่ในรูปของ planned comparison ซึ่งเป็นการตั้งคำถามไว้ล่วงหน้าก่อนการทดลองว่า จากลักษณะของทรีทเมนต์ที่ใช้ในการทดลอง หรือจากความสนใจของผู้ทำการทดลองนั้น ผู้ทดลองต้องการเปรียบเทียบความแตกต่างของทรีเมนต์ใดกับทรีทเมนต์ใดบ้าง ภายหลัง การวิเคราะห์ความแปรปรวน

  4. Orthogonal comparison การกำหนดการเปรียบเทียบนี้เรียกว่า Orthogonal contrast เป็นการเปรียบเทียบภายหลังการทดสอบสมมุติฐานหลักและผู้ทดลองอาจต้องการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทรีทเมนต์หนึ่งกับทรีทเมนต์หนึ่ง หรือผู้ทดลองอาจต้องการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทรีทเมนต์กลุ่มหนึ่งกับทรีทเมนต์กลุ่มหนึ่งก็ได้

  5. Orthogonal comparison ข้อดี • สามารถเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทรีทเมนต์กับทรีทเมนต์หรือ ระหว่างกลุ่มของทรีทเมนต์ก็ได้ ข้อเสีย • ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าก่อนการทดลอง การเปรียบเทียบแบบ Orthogonal contrast เป็นการเปรียบเทียบล่วงหน้า การกำหนดสัมประสิทธิ์จะต้องทำก่อนดำเนินการทดลอง

  6. จากการเปรียบเทียบการป้องกันโรคท้องร่วงในลูกสุกร โดยใช้ยาสมุนไพร และ yogurt วางแผนการทดลอง CRD และมี 4 ซ้ำ T1 = ไม่เติมยาป้องกันท้องร่วง T2 = เติมฟ้าทะลายโจร T3 = เติมสารสกัดจากใบพลู T4 = เติม yogurt • จุดประสงค์ • การใช้ยาป้องกันโรคท้องร่วงในอาหารสามารถป้องกันโรคได้หรือไม่? • การใช้ยาสมุนไพรป้องกันโรคท้องร่วงได้ดีกว่าการใช้ yogurt หรือไม่? • ถ้าหากต้องการใช้ยาสมุนไพรควรเลือกใช้ชนิดใด?

  7. จุดประสงค์ • การใช้สารป้องกันโรคท้องร่วงในอาหารสามารถรักษาโรคท้องร่วงได้หรือไม่? • การใช้ยาสมุนไพรป้องกันโรคท้องร่วงดีกว่าการใช้ yogurt หรือไม่? • ถ้าหากต้องการใช้ยาสมุนไพรควรเลือกใช้ชนิดใด? Contrast 1 (L1): HO: µ1 = 1/3 (µ2 + µ3 + µ4) HA: µ1 1/3 (µ2 + µ3 + µ4) Contrast 2 (L2): HO: µ4 = 1/2 (µ2 + µ3) HA: µ4 1/2 (µ2 + µ3) Contrast 3 (L3): HO: µ2 = µ3 HA: µ2 µ3

  8. Contrast 1 (L1): HO: µ1 = 1/3 (µ2 + µ3 + µ4) HA: µ1 1/3 (µ2 + µ3 + µ4) Contrast 2 (L2): HO: µ4 = 1/2 (µ2 + µ3) HA: µ4 1/2 (µ2 + µ3) Contrast 3 (L3): HO: µ2 = µ3 HA: µ2 µ3 ตารางค่าสัมประสิทธิ์ของการเปรียบเทียบ (contrast coefficient) T1 T2 T3 T4 • -3 +1 +1 +1L1 จุดประสงค์ (contrast) • 2 0 -1 -1 +2L2 • 3 0 -1 +1 0 L3

  9. ข้อกำหนดของค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบข้อกำหนดของค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ • ผลรวมของผลคูณของสัมประสิทธิ์ของสมาชิกที่เกี่ยวข้องในการเปรียบเทียบ = 0; Ci = 0 • C1C2 = 0 เช่น L1L2 = (-3)*(0) + (+1)*(-1) + (+1)*(-1) + (+1)*(+2) = 0 • จุดประสงค์/การเปรียบเทียบ/contrast ต้องเป็นอิสระต่อกัน (orthogonal) •  จำนวนการเปรียบเทียบจึงมีได้ไม่เกิน dfของทรีทเมนต์ ตัวอย่าง กรณีที่ไม่เป็นอิสระ L1: T1 vs (T2+T3+T4) -3 +1 +1 +1 L2: T2 vs. (T1 + T3) +1 -2 +1 0 L1 L2 = (-3) + (-2) + (+1) + 0 = -4

  10. ANOVA; CRD SOV df SS MS F Trt 3 SSTrt L1:T1 vs. (T2+T3+T4) 1SS(L1) S12S12/S2 L2:T4 vs. (T2+T3) 1 SS(L2)S22S22/S2 L3:T2 vs. T3 1SS(L3) S32S32/S2 Error 12 SSE S2 Total 15 SST การสรุปผลและแปลความหมายให้ดูค่าเฉลี่ยประกอบกับผลจาก ANOVA

  11. ( Ti * Ci)2 ri Ci2 การคำนวณหา Sum of square (SS) • Total SS, Treatment SS, Error SS คำนวณเหมือน CRD • SS (Li) = ผลรวมของ Treatmenti ค่าสัมประสิทธิ์ของ Trti จำนวนซ้ำของ Trti

  12. ตัวอย่าง: จากการเปรียบเทียบการป้องกันโรคท้องร่วงในลูกสุกร โดยใช้ยาสมุนไพร และ yogurt โดยใช้ลูกสุกร 32 ครอกที่สม่ำเสมอกัน วางแผนการทดลองแบบ CRD และมี 4 ซ้ำ T1 = ไม่เติมยาป้องกันท้องร่วง T2 = เติมฟ้าทะลายโจร T3 = เติมสารสกัดจากใบพลู T4 = เติม yogurt เปอร์เซ็นต์การเกิดท้องร่วงเฉลี่ยของลูกสุกร T1 T2 T3 T4 12 9 10 8 14 8 11 7 11 10 9 5 13 8 8 6

  13. ( Ti * Ci)2 riCi2 T1 T2 T3 T4 12 9 10 8 14 8 11 7 11 10 9 5 13 8 8 6 Total 50 35 38 26 Mean 12.5 8.75 9.5 6.5 ค่าสัมประสิทธิ์ • -3 +1 +1 +1L1 • 0 -1 -1 +2L2 • 0 -1 +1 0L3 ((50*-3)+ (35*+1) + (38*+1) + (26*+1))2 4 (9+1+1+1) SS (L1) = = = 54.1875

  14. ANOVA SOV df SS MS F Trt 3 73.69 24.56 16.61 L1:T1 vs. (T2+T3+T4) 154.1954.1936.63** L2:T4 vs. (T2+T3) 118.3818.3812.42** L3:T2 vs. T3 11.131.130.76 ns Error 12 17.75 1.48 Total 15 91.44 F.05, 1, 12 = 4.75 F.01, 1, 12 = 9.33

  15. สรุปผลการทดลอง: • การใช้ยาสามารถป้องกันการเกิดท้องร่วงในลูกสุกรได้โดย yogurt สามารถป้องกันท้องร่วงได้ดีกว่ายาสมุนไพร อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต้องการใช้ยาสมุนไพรสามารถใช้ได้ทั้งฟ้าทะลายโจรและสารสกัดจากใบพลู

More Related