1 / 30

สภาพลม ฟ้า อากาศ

สภาพลม ฟ้า อากาศ. เสนอ ความกดอากาศ. ความ กดอากาศ ( Air pressure ). หมายถึง แรงที่กระทำต่อพื้นโลกอันเนื่องจากน้ำหนักของอากาศ ณ จุดใดจุดหนึ่งเป็นลำของบรรยากาศตั้งแต่พื้นโลกขึ้นไป จนถึงเขตสูงสุดของบรรยากาศ. บริเวณความกดอากาศต่ำ ( Low Pressure Area หรือ Low).

olaf
Download Presentation

สภาพลม ฟ้า อากาศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สภาพลม ฟ้า อากาศ เสนอ ความกดอากาศ

  2. ความกดอากาศ (Air pressure) • หมายถึง แรงที่กระทำต่อพื้นโลกอันเนื่องจากน้ำหนักของอากาศ ณ จุดใดจุดหนึ่งเป็นลำของบรรยากาศตั้งแต่พื้นโลกขึ้นไป จนถึงเขตสูงสุดของบรรยากาศ

  3. บริเวณความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area หรือ Low) บริเวณความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลมล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำ จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำลงจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศต่ำนี้จะมีกระแสลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศต่ำเช่นนี้ เรียกว่า Cyclonic Circulation ตามปกติในบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีเมฆมากและมีฝนตกด้วย บริเวณความกดอากาศต่ำ แบ่งออกได้ 2 ชนิด

  4. บริเวณความกดอากาศต่ำ แบ่งออกได้ 2 ชนิด • 1. Cold Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะต่ำกว่าภายนอก และเกิดในแถบละติจูดสูงๆ ที่อากาศเย็น เมื่อเกิดขึ้นแล้วการหมุนเวียนจะต่อเนื่องกัน ความชันของความกดจะเพิ่มมากขึ้นตามความสูงซึ่งสัมพันธ์กับกระแสลม นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Cold Core จะมีลมพัดแรงขึ้นตามความสูง และมักมีแนวปะทะอากาศเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ

  5. 2. Warm Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะร้อนกว่าภายนอก การหมุนเวียนจะเหมือนกับชนิด Cold Core และมีเฉพาะในเขตร้อนเท่านั้น เนื่องจากแกนกลางร้อน ฉะนั้น อากาศที่เย็นกว่าจะพัดเข้าแทนที่จมเข้าหาศูนย์กลาง ทำให้เกิดกระแสลมพัดเวียนเป็นก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง ขณะเดียวกันอากาศตรงกลางจะลอยตัวขึ้น ความชันของความกดตามระดับความสูงจะลดลง นั่นคือ ลมที่พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางรอบบริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Warm Core ความเร็วลมจะลดลงตามความสูง พายุจะรุนแรงที่สุดที่ผิวพื้นเท่านั้น สูงขึ้นไปลมกำลังอ่อนลง

  6. บริเวณความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area หรือ Low)

  7. บริเวณความกดอากาศสูง(High Pressure Area หรือ High) หรือแอนติไซโคลน(Anticyclone) บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน คือ บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลม หรือเป็นวงรีรูปไข่ล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศสูง นั่นคือ บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงขึ้นจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนนี้จะมีกระแสลมพัดออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนเช่นนี้ เรียกว่า Anticyclonic Circulation

  8. โดยทั่วไปในบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนลมอ่อน และลมมักสงบในบริเวณใกล้ศูนย์กลาง มีเมฆเพียงเล็กน้อย แต่อาจมีเมฆมากกับมีฝนได้ตามขอบของบริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนที่อยู่ใกล้กับแนวปะทะอากาศในซีกโลกเหนือ ทางตะวันออกของบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน อากาศจะเย็นที่ผิวพื้นและเป็นลมฝ่ายเหนือพัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Cold High ส่วนทางด้านตะวันตก อากาศจะค่อนข้างร้อนและเป็นลมฝ่ายใต้พัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Warm High บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิด Cold High แผ่ลงมาเมื่อไร อากาศจะหนาวเย็น ส่วน Warm High อากาศจะร้อนเนื่องจากลมพัดมาจากทางใต้ แม้ว่าจะมีความชื้นสูงแต่ไม่มีฝนตก จะทำให้อากาศร้อนอบอ้าว บางครั้งเรียกว่า คลื่นความร้อน (Heat Wave)

  9. บริเวณความกดอากาศสูง(High Pressure Area หรือ High) หรือแอนติไซโคลน(Anticyclone)

  10. สัญลักษณ์ของความกดอากาศสัญลักษณ์ของความกดอากาศ Hบริเวณความกดอากาศสูง Lบริเวณความกดอากาศต่ำ

  11. ความกดอากาศ

  12. เครื่องมือวัดความกดอากาศเครื่องมือวัดความกดอากาศ • " บาโรมิเตอร์ " (Barometer) มีหน่วยของการตรวจวัดเป็น มิลลิบาร์ หรือ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

  13. บรรยากาศตามมาตรฐานของ ICAO (องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ) • ICAO Standard Atmosphere ได้กำหนดมาตรฐานของบรรยากาศสภาพหนึ่ง โดยกำหนดรายละเอียดดังนี้1.อากาศต้องเป็นอากาศแห้ง Compiled dry2.อุณหภูมิที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง Temp at MSL (mean sea level) ที่ 15 องศาเซลเซียส3.ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง Pressure at MSL 1013.25 hPa4.อัตราการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิระดับน้ำทะเลปานกลางจนถึงระดับความสูง 11 กิโลเมตร Temp Lapse Rate =2 องศาเซลเซียส ต่อ 1000 มิลลิบาร์

  14. ความกดอากาศที่ใช้ในทางการบินความกดอากาศที่ใช้ในทางการบิน • 1013.25 mbเรียกว่า Standard Mean see level Pressure หรือ Standard Setting คือค่าที่ใช้ในเครื่องวัดความสูง ออลติมิเตอร์ เมื่อต้องการวัดเป็น Flight Level • QFE หรือ Station Pressure, aerodrome pressure, runway Pressure (ความกดอากาศในบริเวณสนามบินทางวิ่ง) คือความกดอากาศที่ทางวิ่งโดยวัดจากบาโรมิเตอร์ที่ตั้งอยู่ในสำนักงาน แล้วหักแก้ลงสู่ทางวิ่ง • QNH หรือ MSL Pressure คือความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง

  15. StandardAltimeter Setting Procedure (แนวทางปฏิบัติในการตั้งเครื่องวัดความสูงมาตรฐาน) 1. Flight Level ความสูงระดับบิน 2. Vertical Separation (การแยกระดับของเครื่องบิน โดยใช้ Flight Level 3. Transition Altitude ความสูงจากระดับน้ำทะเลที่สนามบินนั้นๆกำหนดขึ้นมาว่าเครื่องบินที่อยู่ในระดับนี้ จะต้องตั้งเครื่องวัดความสูงตาม QNH 4. Transition Level หมายถึงใช้Flight Level ต่ำสุดที่อยู่เหนือTransition Altitude 5. Transition layer คือบรรยากาศที่อยู่ระหว่าง TA, TL ประมาณ 500-1,000 ฟุต

  16. 1013.25 hPaหรือ เรียกว่า ความกดอากาศมาตรฐานที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level Stand Pressure) หรือ บางที เรียกว่า ตั้งเครื่องวัดความสูงมาตรฐาน (Standard Altimeter Setting) ค่าความกดนี้ใช้เป็นระดับอ้างอิง เมื่อต้องการวัดความสูงเป็นระดับบิน (Flight Level) เครื่องบินที่ทำการบินในเส้นทางบินทุกเที่ยวบิน จะต้องวัดความสูงโดยอ้างอิง ค่าความกดอากาศนี้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โอกาสการชนกันของเครื่องบินจึงไม่มี

  17. QFE ค่าความกดอากาศที่ทางวิ่ง (Runway Pressure) ค่าความกดอากาศที่อ่านได้จากเครื่องมือที่ติดตั้งอยู่ในสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแล้วหักแก้ลงสู่ทางวิ่ง • QHN ค่าความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level Pressure) ค่าความกดอากาศที่อ่านได้จากเครื่องมือในสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แล้วหักแก้ลงสู่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ค่านี้เป็นค่าที่ใช้ในการเขียนแผนที่ผิวพื้นทะเล

  18. คำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสูงคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสูง } Altitude ความสูงที่วัดจากน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ถึงจุด หรือระดับใด ๆ ที่อยู่บนพื้นผิวโลก หรือ เหนือระดับพื้นผิวโลกขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะวัดจากเครื่องบินที่ทำการบินเหนือระดับพื้นดิน Altitude MSL

  19. คำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสูงคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสูง } Elevation ความสูงที่วัดจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ขึ้นไปยังจุดหนึ่งจุดใดบนพื้นผิวโลก เช่น สนามบินดอนเมืองสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 4 เมตร Elevation MSL

  20. คำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสูงคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสูง } Height ความสูงที่วัดจากพื้นดินขึ้นไปยังจุดใด ๆเหนือผิวพื้นโลก เช่น เครื่องบินอยู่สูงจากสนามบิน 1000 ฟุต Hight MSL

  21. คำถาม เรื่องความกดอากาศ • 1.ความกดอากาศคือ • แรงที่กระทำต่อพื้นโลกอันเนื่องจากน้ำหนักของอากาศ ณ จุดใดจุดหนึ่ง • เป็นลำของบรรยากาศตั้งแต่พื้นโลกขึ้นไป จนถึงเขตสูงสุดของบรรยากาศ • ถูกทุกข้อ • ผิดทุกข้อ 2. H คือสัญลักษณ์แทนอะไร ก.บริเวณความกดอากาศต่ำ ข.ความกดอากาศสูง ค.ไซโคลน" (Cyclone) ง. "ดีเปรสชั่น" (Depression)

  22. 3. Lคือสัญลักษณ์แทนอะไร ก.บริเวณความกดอากาศต่ำ ข. ความกดอากาศสูง ค.แอนติไซโคลน" (Anti Cyclone) ง. High Pressure 4.เครื่องมือชนิดใดที่ใช้วัดความกดอากาศ ก.Thermometer ข.Barometer ค.Ammeter ง.Terminator

  23. 5.Anticyclonic Circulation คือ ก.การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศสูง ข.การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณ ความกดอากาศต่ำ ค.ทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุไซโคลน ง.ไม่มีข้อถูก 6.ข้อใดไม่ได้เป็นส่วนประกอบของบารอมิเตอร์ ก.แกนหมุน ข.ห้องสุญญากาศ ค.คันโยก ง.หน้าปัดวัดระดับน้ำ

  24. 7.อากาศที่ร้อนเนื่องจากลมพัดมาจากทางใต้ แม้ว่าจะมีความชื้นสูงแต่ไม่มีฝนตก ทำให้อากาศร้อนอบอ้าว เรียกว่าอะไร ก.Heat wave ข.Hot wave ค.Hight wave ง.Holy wave 8. Cold High คือความกดอากาศสูงที่เกิดทางซีกโลกเหนือด้านใด ก.ทางตะวันตก ข.ทางตะวันออก ค.ทางตะวันตกเฉียงใต้ ง.ทางตะวันออกเฉียงเหนือ

  25. 9.บริเวณความกดอากาศต่ำ มีความกดอากาศสูงอยู่รอบๆ เรียกว่าอะไร ก.Depression ข.Cyclone ค.Anti Cyclone ง.Low pressure 10.MSL คืออะไร ก.ความดันลม ข.ความสูงที่วัดจากระดับน้ำทะเล ค.ความชื้นในอากาศ ง.ปริมาณน้ำฝน

  26. จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ

  27. ผู้จัดทำนายวรพัฒน์ ชุมนุมราษฎร์นายณัฐพล ชาติสุขนางสาวหนึ่งฤทัย อินทิวงศานางสาวอินทุอร สิงห์ โตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7

More Related