1 / 30

แนวคิดในการดำเนินการโครงการ

ผลการศึกษาการปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปเกษตรกร และการปฏิรูปการจัดการ ภายใต้โครงการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน 2549 16 กุมภาพันธ์ 2550. แนวคิดในการดำเนินการโครงการ. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน. แผนแม่บทเดิม. ส.ป.ก. ระยะที่ 1. จัดหาที่ดิน จ่ายแจก

olesia
Download Presentation

แนวคิดในการดำเนินการโครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลการศึกษาการปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปเกษตรกร และการปฏิรูปการจัดการ ภายใต้โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน 254916 กุมภาพันธ์ 2550

  2. แนวคิดในการดำเนินการโครงการแนวคิดในการดำเนินการโครงการ

  3. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แผนแม่บทเดิม ส.ป.ก. ระยะที่ 1 จัดหาที่ดิน จ่ายแจก และออกเอกสารสิทธิ์ ระยะที่ 2 พัฒนาคน ชุมชน เกษตรกร พัฒนาอาชีพการจัดรูปที่ดิน กระบวนการมี ส่วนร่วมของชุมชน Model แก้ไขปัญหาความยากจน

  4. พื้นที่ดำเนินการศึกษา 4,021,690 ไร่159 ตำบล 98 อำเภอ 17 จังหวัด

  5. ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 659,193 ไร่: กำแพงเพชร และสุโขทัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พื้นที่ดำเนินการ 504,885 ไร่: นครสวรรค์ และพิจิตร มหาวิทยาลัยนเรศวร พื้นที่ดำเนินการ 307,862 ไร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

  6. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่ 980,390 ไร่: สุรินทร์ อุดรธานี หนองบัวลำภู นครราชสีมา ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยนเรศวร พื้นที่ 344,367 ไร่: ชัยภูมิ

  7. ภาคกลางและตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พื้นที่ดำเนินการ 683,822 ไร่: กาญจนบุรี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา

  8. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พื้นที่ดำเนินการ 541,171 ไร่: สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

  9. ผู้เชี่ยวชาญตรวจปัญหาภาพรวมของพื้นที่ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ด้านกายภาพ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจและการเกษตร วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รายพื้นที่/รายครัวเรือน

  10. ต่อ การพัฒนาตาม Model แก้ไขปัญหาความยากจน ระดับบุคคล - เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน - เพื่อเพิ่มรายได้ ระดับชุมชน/ตำบล - เพื่อสร้างการพึ่งพากันเองในชุมชน - เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ร่างแผนการพัฒนา 1. การปฏิรูปพื้นที่ 2. การปฏิรูปเกษตรกร 3. การปฏิรูปการจัดการ ทำประชาพิจารณ์กับชุมชน ปรับปรุงแผนแม่บทรายตำบล แผนแม่บทการพัฒนาในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน

  11. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน

  12. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน

  13. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน

  14. สรุปปัญหา และข้อจำกัดในการพัฒนาตำบล

  15. สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านกายภาพในการพัฒนาตำบล • สภาพถนนส่วนใหญ่ขรุขระ เป็นหลุมบ่อ และช่องทางสัญจรแคบ โดยเฉพาะถนนลูกรัง • แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ พบปัญหา ดังนี้ • ตื้นเขิน วัชพืชปกคลุม • ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ ทำให้ในฤดูแล้งเกษตรกร ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร • บางแหล่งน้ำอยู่ในที่ดอนไม่เหมาะสมกับการกระจายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตร • ขาดการพัฒนา เช่น การปรับปรุง และขุดลอกให้สามารถใช้งานได้ • พื้นที่บางส่วน ประสบปัญหาน้ำท่วม ทำให้ผลผลิตเสียหาย

  16. สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านกายภาพในการพัฒนาตำบล • สภาพดินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง • เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ และ หญ้าเลี้ยงสัตว์ • บางพื้นที่ พบการพังทลายของหน้าดิน และดินเป็นกรด • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ • ไฟฟ้า ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีปัญหาไฟฟ้าดับและตกบ่อยเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว และประชากรบางส่วนอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากชุมชน

  17. สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านกายภาพในการพัฒนาตำบล • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ • ประปา พบปัญหาคุณภาพน้ำไม่สะอาดเป็นสนิมเหล็ก น้ำขุ่น เนื่องจากไม่มีระบบกรองที่ดี และการให้บริการยังไม่ทั่วถึง เพราะเป็นระบบประปาขนาดเล็ก ประกอบกับแหล่งน้ำต้นทุนที่ใช้ผลิตน้ำประปาไม่เพียงพอ • โทรศัพท์พื้นฐานมีให้บริการไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ส่วนโทรศัพท์สาธารณะที่ให้บริการมักจะชำรุด และไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน

  18. สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านการเกษตร ในการพัฒนาตำบล • การผลิตทางการเกษตร • ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ยเคมี ยาและสารเคมี พันธุ์พืช ค่าจ้างแรงงาน และค่าขนส่ง ฯลฯ • พันธุ์พืชมีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตตกต่ำ • ขาดเงินทุนหมุนเวียนที่สนับสนุนการผลิตและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร • ในบางพื้นที่มีการอพยพแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้ ภาคการเกษตรขาดแรงงานในการผลิต • ขาดการจัดการระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดี

  19. สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านการเกษตร ในการพัฒนาตำบล • การตลาด • ราคาผลผลิตตกต่ำ และมีราคาไม่แน่นอน เนื่องจากพ่อค้าคนกลาง กดราคา ดังนั้นรัฐบาลควรสนับสนุนการประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด • มาตรฐานชั่ง ตวง วัดผลผลิตทางการเกษตร ไม่เที่ยงตรง • ไม่มีตลาดกลางรองรับผลผลิตทางการเกษตร บางแห่งที่มีจะอยู่ไกลจากแปลงเพาะปลูก รวมถึงสภาพโครงข่ายคมนาคมในตำบลชำรุด ทำให้การขนส่งมีความยากลำบาก • เกษตรกรขาดการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

  20. สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านการเกษตร ในการพัฒนาตำบล • การรวมกลุ่มและองค์กร • ขาดการรวมกลุ่ม หรืออาจมีการรวมกลุ่มที่ไม่มีกิจกรรมต่อเนื่อง • ขาดความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มและองค์กร • ขาดการติดตามประเมินผลและให้คำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  21. แผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน

  22. แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปพื้นที่ (Land Reform) • โครงข่ายการคมนาคม • ก่อสร้างถนนลาดยาง คอนกรีต และลูกรัง และวางท่อระบายน้ำเพื่อความสะดวกในการเดินทางและขนส่งผลผลิตทางการเกษตร • ปรับปรุง และซ่อมแซมผิวถนนสาธารณะ และถนนเข้าสู่แปลง • ดิน • ประเมินคุณภาพและวิเคราะห์ปัญหาดินในตำบล • ปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ และการปลูกพืชหมุนเวียน • การอนุรักษ์และจัดการดินในพื้นที่ลาดชัน เช่น การปลูกหญ้าแฝก การทำการเกษตรแบบขั้นบันได

  23. แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปพื้นที่ (Land Reform) • แหล่งน้ำทางการเกษตร • สร้างและขยายแหล่งน้ำสาธารณะเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแหล่งน้ำใช้ในการเกษตร เช่น สระน้ำสาธารณะ ฝายกั้นน้ำ และประตูปิด-เปิดน้ำหรือรางระบายน้ำ เป็นต้น • ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม เช่น ขุดลอกสระน้ำสาธารณะให้มีความลึกประมาณ 5 เมตร ปรับปรุงฝายที่มีอยู่เดิม • ขุดเจาะบ่อบาดาล • จัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อการบริโภคและอุปโภค

  24. แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปพื้นที่ (Land Reform) • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ • สำรวจและติดตั้งระบบไฟฟ้า ขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน และเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน ไฟฟ้า • สร้าง ขยายระบบประปาเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาล โดยใช้ระบบเติมอากาศและกรองน้ำ ประปา • ขยายเขตให้บริการคู่สายโทรศัพท์และติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะเพิ่มขึ้น โทรศัพท์

  25. แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปเกษตรกร (Farmer Reform) • ส่งเสริมและฝึกอบรมความรู้ด้านการผลิตพืชและสัตว์หลักของตำบล เช่น การจัดการการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ผลผลิต และรายได้ของเกษตรกร • จัดตั้งแหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสาน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรใช้พื้นที่และทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด • การพัฒนาคุณภาพผลผลิต (พันธุ์ เก็บเกี่ยว คัดเลือก และแปรรูป) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร • สนับสนุนกองทุนเพื่อการลงทุนในท้องถิ่น ให้เกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนทางการเกษตร

  26. แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปการจัดการ (Management Reform) • ส่งเสริมการรวมกลุ่ม/องค์กรทางการเกษตรหรือกลุ่มต่างๆสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพได้ • ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการตลาด โดยใช้ระบบ Contract Farming โดยอาศัยความร่วมมือของไตรภาคี ได้แก่ อบต. ส.ป.ก. และบริษัทเอกชน • ฝึกอบรมการบริหารและจัดการกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่ม • ส่งเสริมการรวมกลุ่ม/องค์กรทางการเกษตรหรือกลุ่มต่างๆที่จัดตั้งตลาดการเกษตรในชุมชน

  27. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา

  28. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาตำบล ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนแม่บทและตรงกับความต้องการของชุมชน • เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาตำบล การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาตำบลต้องเกิดจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างบูรณาการ อาทิเช่น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน

  29. ข้อเสนอแนะจากการศึกษา (ต่อ) • การจัดทำแผนแม่บทในระดับตำบล พบว่ามีหลายหน่วยงาน ทั้งจากหน่วยงานส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขาดการดำเนินการแบบบูรณาการ • คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ควรพิจารณาแผนแม่บทตำบลในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีหลายๆแผน มาดูจุดเด่นหรือโครงการที่ควรดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  30. ข้อเสนอแนะจากการศึกษา (ต่อ) • แผนแม่บทที่จัดทำขึ้นโดยประชาชนหรือชุมชน ส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองความต้องการที่ประชาชนรู้สึกว่าตนเองมีความต้องการ (Felt Need) แต่การจัดทำแผนแม่บทของ ส.ป.ก. ได้มีคณะผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริง (Real Need) และจากการศึกษา พบว่าหากผู้นำชุมชนเข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถ เป็นปราชญ์ของชุมชน ก็สามารถที่จะค้นหาความต้องการที่แท้จริงได้เช่นกัน

More Related