1 / 8

บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ

บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ. รายได้ประชาชาติ.

oliana
Download Presentation

บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ

  2. รายได้ประชาชาติ แนวคิดเรื่องรายได้ประชาชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ในช่วงนั้นไม่มีการจัดระบบที่แน่นอนจนกึ่งศตวรรษที่ 19 จึงมีการค้นคว้าวิธีอย่างจริงจัง รายได้ประชาชาตินำมาใช้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1942 หลังจากรัฐบาลของหลายประเทศก็นำเอาบัญชีรายได้ประชาชาติมาใช้ ประเทศไทย เริ่มทำปี 2493 แต่ในการทำระยะแรก ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากข้อมูลสถิติเบื้องต้นของประเทศไทยยังไม่สมบูรณ์ แต่ต่อมาสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ปรับปรุงให้ระบบสมบูรณ์ในปี 2510 เป็นต้นมา

  3. กระแสหมุนเวียนของเศรษฐกิจกระแสหมุนเวียนของเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ 2 หน่วย คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจ 3 หน่วย คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ รัฐบาล ระบบเศรษฐกิจ4 หน่วย คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ รัฐบาลและ ภาคต่างประเทศ ส่วนรั่วไหล หมายถึง ส่วนที่รั่วไหลออกนอกกระแสการหมุนเวียน (S, T, M) ส่วนอัดฉีด หมายถึง รายได้ส่วนที่รับเข้ามาในกระแสการหมุนเวียน (I, G, X)

  4. การคำนวณรายได้ประชาชาติการคำนวณรายได้ประชาชาติ • จากกระแสการหมุนเวียนของการใช้จ่ายและการผลิต ทำให้ทราบว่ามูลค่าผลผลิตทั้งหมดที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นได้ มีค่าเท่ากับ รายได้รวมของภาคครัวเรือน แสดงว่าการคำนวณรายได้ประชาชาติมี 3 วิธีจากธุรกรรมทางเศรษฐกิจชุดเดียวกัน • 1. ด้านผลผลิต (Product Approach) • 2. ด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) • 3. ด้านรายได้ (Income Approach) • ด้านผลผลิต หาผลรวมมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นทุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ ในระยะเวลา 1 ปี คิดเฉพาะมูลค่าสินค้าขั้นสุดท้าย และคิดแบบมูลค่าเพิ่ม • ด้านรายจ่าย C + G + I + X – M

  5. การคำนวณรายได้ประชาชาติการคำนวณรายได้ประชาชาติ 3. ด้านรายได้รวมรายได้จากผลตอบแทนการใช้ปัจจัยการผลิต คือ ค่าจ้าง ดอกเบี้ย กำไร ค่าเสื่อม กำไรของ บริษัท ก่อนหักภาษี และภาษีทางอ้อม GDP คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด GNP คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นด้วยปัจจัยการผลิต โดยพลเมืองของประเทศนั้น GNP(gross national product) = GDP + รายได้สุทธิต่างประเทศ NDP (net domestic product)คือ ผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติในประเทศ (GDP) หักด้วยค่าเสื่อมราคา หรือ NDP = GDP – ค่าเสื่อม

  6. การคำนวณรายได้ประชาชาติการคำนวณรายได้ประชาชาติ NNP (net national product)คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) หักด้วยค่าเสื่อมราคา (NNP = GNP – ค่าเสื่อม) NI (National Income)คือ รายได้ที่เกิดขึ้นจริงจากการผลิต NI = NNP – ภาษีทางอ้อมธุรกิจ PI (personel income)คือ รายได้ส่วนบุคคลทั้งหมดก่อนการหักภาษี แตกต่างจากรายได้ประชาชาติ (NI) คือรายได้ประชาชาติทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเป็นรายได้ส่วนบุคคล เพราะแม้รายได้เกิดขึ้น แต่หน่วยผลิตไม่จ่ายให้ครัวเรือนก็ไม่ถือเป็นรายได้ส่วนบุคคล เช่น ประกันสังคม เงินกำไรที่ยังไม่ได้นำมาจัดสรร ทั้งนี้ PI ยังรวมเงินได้ที่ได้รับมา เช่น เงินโอน

  7. การคำนวณรายได้ประชาชาติการคำนวณรายได้ประชาชาติ PI = รายได้ประชาชาติ – (ประกันสังคม + กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร+ ภาษีรายได้บริษัท) + เงินโอน + ดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับจากรัฐบาล DI ( dispossabel income)คือ รายได้ที่แสดงถึงอำนาจซื้อ DI = PI –ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา PER Capita Income = รายได้ประชาชาติ / ประชากร REAL GDP =

  8. ประโยชน์ของรายได้ประชาชาติประโยชน์ของรายได้ประชาชาติ • ทำให้ทราบมูลค่าผลผลิตของประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง • ทำให้ทราบระดับการใช้จ่ายรวมและรายได้รวมทางระบบเศรษฐกิจ • เพื่อทราบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ • ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันควรจะดูเรื่อง GDH (gross domestic happyness) ประกอบกับGDP เพราะเงินรายได้ไม่ใช่ความสุขแท้จริง การหารายได้ระชาชาติไม่ได้มองเรื่องสิ่งแวดล้อม คุณค่าของชีวิตฯลฯ งบประมาณของรัฐเทียบกับ GDP: งบสวัสดิการสังคม 2%ของ GDP (สวีเดน 31% ญี่ปุ่น 14.7% เกาหลี 5.9%)เก็บภาษีได้ 17% GDP มีรายจ่าย 25.2%GDP (ข้อมูลกุมภาพันธ์ 2553)

More Related