1 / 9

รายงาน

รายงาน. เรื่อง. พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. จัดทำโดย. น.ส. ชลิตา จันทร์พุฒ เลขที่ 22. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1. เสนอ. อ. ชมัยพร โคตรโยธา. พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.

orli
Download Presentation

รายงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงาน เรื่อง พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จัดทำโดย น.ส. ชลิตา จันทร์พุฒ เลขที่ 22 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เสนอ อ. ชมัยพร โคตรโยธา

  2. พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์เริ่มเข้าไปมีบทบาท และทวีความสําคัญเพิ่มขึ้นตามลําดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มขยายวงกว้าง และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ นับเป็นพยานหลักฐานสําคัญในการดําเนินคดี อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสืบสวน สอบสวน เพื่อนําตัวผู้กระทําความผิดมาลงโทษ จึงสมควรกําหนดให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๖ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ เรียกว่า "หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามประกาศนี้ ข้อ ๔ ในประกาศนี้

  3. "ผู้ให้บริการ" หมายความว่า • (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น • (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น • "ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงถึงแหล่งกําเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย • "ระบบคอมพิวเตอร์ " หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ที่เชื่อมการทํางานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกําหนด ตาฝั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

  4. ตามที่จะมีการนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาประกาศใช้ โดย พรบ.ดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในหลายส่วน ได้แก่ ผู้ให้บริการ ที่หมายถึง ผู้ประกอบกิจการทางด้านโทรคมนาคม, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, ผู้ให้บริการอื่นๆ เช่น Web Hosting, InternetCaf?, หน่วยงาน บริษัท และสถานศึกษาต่าง ๆ และได้กำหนดให้หน่วยงานหรือองค์การเหล่านี้ จะต้องทำการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (traffic data) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการสืบสวนหรือสอบสวนการกระทำผิดตาม พรบ. ดังกล่าวนี้ เป็นระยะเวลา 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี โดยมีการกำหนดประเภทของ Log File ที่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ (ตามมาตรา 24) ออกเป็น 7 ประเภทดังนี้

  5. • Personal Computer log file • Network Access Server or RADIUS server log file • Email Server log file (SMTP log) • FTP Server log file • Web Server (HTTP server) log file • UseNet log file • IRC log file สำหรับข้อมูลจราจรหรือข้อมูล Log ที่ต้องจัดเก็บนั้นจะแตกต่างกันไปตาม protocol ที่ใช้ในแต่ละบริการขององค์การนั้น ๆ เช่น การใช้บริการรับหรือส่ง Email การจัดเก็บก็จะให้ความสำคัญที่การเก็บในส่วนของ Email header เป็นต้น โดยข้อมูลจราจรที่ต้องมีการจัดเก็บจะประกอบไปด้วย

  6. •แหล่งกำเนิด •ต้นทาง ปลายทาง •เส้นทาง •เวลาและวันที่ •ปริมาณ •ระยะเวลา •ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นที่ทุก ๆ องค์การที่อยู่ในฐานะของผู้ให้บริการจำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เพื่อให้ตนเองรองรับการ พรบ. ดังกล่าวนี้ ซึ่งเงื่อนไขสำคัญคือการจัดหาอุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะสมกับขนาด ขององค์การและงบประมาณที่องค์การสามารถจัดหาได้

  7. ใช้พรบ.คอมพ์ เอาผิดมือเน็ตแพร่ข้อมูลเท็จ ดีเอสไอ ยกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ลงดาบผู้เผยแพร่ข้อมูลมั่วปรับเวลาเร็ว 30 นาที พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการ สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร กับผู้เจตนาบิดเบือนและเผยแพร่ข้อมูลผ่านอีเมล์ ว่า ในวันที่ 23 ส.ค. นี้ จะมีการปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานของประเทศไทยให้เร็วขึ้น 30 นาที ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวถือว่า มีความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ทั้งยังสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก

  8. ทั้งนี้ เวลามาตรฐานของประเทศไทยเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ที่ประกาศใช้สมัยรัชกาลที่ 6 ที่กำหนดให้ประเทศไทยใช้เวลาตามมาตรฐานกรีนนีซ+7 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2463 พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวว่า การปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน มีสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบจัดทำ และรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยตามระบบสากล ซึ่งการปรับเทียบเวลามาตรฐาน สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ 1) การปรับเที่ยบที่ห้องปฏิบัติการของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คลอง 5 ปทุมธานี 2) การปรับเทียบเวลามาตรฐานผ่านระบบโทรศัพท์ 181 ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และ 3) การปรับเทียบทางอินเทอร์เน็ตที่มา : หน้า B3 ธุรกิจ-ตลาด หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2,024 วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

  9. จบการนำเสนอแล้วค่ะ

More Related