1 / 22

การเตรียมความพร้อม ของภาคการเกษตรไทยสู่

การเตรียมความพร้อม ของภาคการเกษตรไทยสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของกรมวิชาการเกษตร โดย นายจิรากร โกศัย เสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร. ประเด็นนำเสนอ. พันธ กิจกรมวิชาการเกษตร

otis
Download Presentation

การเตรียมความพร้อม ของภาคการเกษตรไทยสู่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเตรียมความพร้อม ของภาคการเกษตรไทยสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของกรมวิชาการเกษตร โดย นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

  2. ประเด็นนำเสนอ • พันธกิจกรมวิชาการเกษตร • การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร • ด้านวิจัยและพัฒนา • ด้านกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ • กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • การพัฒนาบุคลากร 1 2

  3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 3 ปีจากนี้ไป 10 ประเทศอาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ มีประชากร 600 ล้านคนเศษ เมื่อถึงวันนั้นการผลิตสินค้าเกษตร อาหาร ผลิตภัณฑ์ ปัจจัยการผลิตที่นำเข้า – ส่งออก การลงทุน ค่าจ้างแรงงาน อัตราภาษี ของประเทศสมาชิกอาเซียน จะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด

  4. พันธกิจกรมวิชาการเกษตรพันธกิจกรมวิชาการเกษตร 1 1. สร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็ง ในการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเครื่องจักรกลการเกษตรในการสนับสนุน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ 2. สนับสนุนการบริการตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิต ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช 3. วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ 4. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและประโยชน์ด้านการเกษตรของประเทศ

  5. การเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร 2 บทบาทกรมวิชาการเกษตรตามพันธกรณีและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนและการเตรียมความพร้อม เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมอาเซียนของ กษ. คณะทำงานด้านพืชของอาเซียน และร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เป็นองค์กรมุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาพืชเพื่อผลิตพืชที่ให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช การตรวจวิเคราะห์รับรอง ร่วมมือด้านการวิจัยการผลิต การใช้ระบบการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ประสานกับประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำมาตรฐานสินค้าพืชสวน และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฎหมายในการควบคุมการผลิตพืชที่ กวก. รับผิดชอบ 6 ฉบับ

  6. การเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (บทบาทที่มีส่วนร่วม) 1. กำหนดมาตรฐานค่าจำกัดสารพิษตกค้างสูงสุด (MRLs) มีการรับรองจากอาเซียนแล้ว 826 ค่า และ pesticides 73 ชนิด เช่น chlorpyrifos ในพริก carbosulfan ในถั่วฝักยาว เป็นต้น 2. จัดทำมาตรฐานผัก ผลไม้ และพืชอาหารของกลุ่มประเทศอาเซียนให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน (ประกาศแล้ว 24 มาตรฐาน เช่น ลำไย ทุเรียน มะม่วง มังคุด เป็นต้น) 3. เป็นเจ้าภาพในการตั้งสำนักงานประสานงานระหว่างภูมิภาคสำหรับโครงการ ASEAN-GIZ Biocontrol เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าพืชคุณภาพโดยการกำจัดศัตรูพืชแบบชีววิธี เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน โดยเน้นการส่งเสริมการใช้ชีวภัณ

  7. การเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (บทบาทที่มีส่วนร่วม) 4. เข้าร่วมในเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยต่างๆ เช่น ASEAN-AVRDC Vegetable Research Network (AARNET) และโครงการวิจัยอื่นๆ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่ภาคีเช่น จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย เยอรมนี เป็นต้น

  8. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในประเด็นต่างๆ ดังนี้ • ด้านงานวิจัยและพัฒนา • 1.เน้นด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีต้นทุนต่ำเพิ่มผลผลิต และมีคุณภาพ รวมทั้งวางแผนการผลิต (zoning) โดยเน้นการผลิตพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันระหว่างอาเซียน โดยวิเคราะห์ผลกระทบรายสินค้าทั้งเชิงบวกและลบของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน

  9. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) 2. การวิจัยบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนการในการกำหนดมาตรฐานต่างๆ เช่น การวิจัยเพื่อกำหนดค่า MRLs ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากลรวมทั้งที่อาเซียนกำหนดเป็นข้อตกลง วิจัยหาวิธีวิเคราะห์หรือตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและยอมรับตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของผลผลิต ผลิตภัณฑ์พืช และปัจจัยการผลิต ปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น(Biotechnology) เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกที่สูงกว่าการนำเข้าโดยคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ

  10. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) 3.วิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรดีที่เหมาะสมและ food safety รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้าพืช 4. วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเพื่อรองรับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 5. วิจัยและพัฒนาเทคนิคการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตลอดจนด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช และ พ.ร.บ. พันธุ์พืช

  11. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) 6. การวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) เพื่อศึกษาแนวทางการวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และเพื่อสนองต่อความต้องการของภูมิภาคอาเซียน 7. การวิจัยและพัฒนาร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อเสริมศักยภาพด้านการผลิตพืชทั้งในรูปแบบ ทวิภาคี พหุภาคี และร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศโดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลผลิตและความมั่นคงทางด้านอาหารตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

  12. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ กรมวิชาการเกษตรในฐานะเป็น Competent Authority สำหรับการตรวจรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับผลิตภัณฑ์พืช และเป็นหน่วยงานดูแล พ.ร.บ. ที่จะเกี่ยวข้อง 6 ฉบับ - พ.ร.บ. กักกันพืช - พ.ร.บ. วัตถุอันตราย - พ.ร.บ. ปุ๋ย - พ.ร.บ. ควบคุมยาง - พ.ร.บ. พันธุ์พืช - พ.ร.บ. คุมครองพันธุ์พืช

  13. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ต่อ) ประเด็นเตรียมความพร้อม ปรับประสานระบบการกักกันและวิธีการตรวจสอบหรือสุ่มตัวอย่างให้มีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร ที่มีความสำคัญและมีศักยภาพทางการค้า จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุม และการกักกัน ศึกษา วิจัย วิเคราะห์กฎหมาย ที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำมาวิเคราะห์กับกฎหมายที่ กวก. รับผิดชอบ ทั้งที่เป็นประโยชน์และผลกระทบต่อประเทศไทย

  14. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกษตรกร จัดสัมมนาและประชาสัมพันธ์ แจกจ่ายเอกสารเพื่อให้ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตพืชและการเป็นตลาดเดียวกัน โดยเฉพาะเตรียมความพร้อมในระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตพืชรายสินค้าเกษตรที่สำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเสรีต่างๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของไทย

  15. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ต่อ) ภาคเอกชน / ผู้ประกอบการ ให้ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตพืชและการเป็นตลาดเดียวกัน ที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและรักษาส่วนแบ่งตลาด ให้ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศอาเซียนและความเป็นไปได้ในการลงทุนภาคการเกษตรที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยน้อยที่สุด ให้มีผู้แทนภาคเอกชนในคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ เพื่อพัฒนาศักยภาพของภาคเอกชนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดตลาดเสรีต่างๆ ของอาเซียน

  16. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ต่อ) ประชาชน สร้างความตระหนักรู้และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดทำสื่อเผยแพร่ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซด์ รายการโทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น

  17. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • ด้านการพัฒนาบุคลากร กรมวิชาการเกษตรเตรียมความพร้อมในเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2556 โดยการกำหนดหลักสูตร ดังนี้ • 1. โครงการอบรมหลักสูตรการสร้างความตระหนักรู้แก่ข้าราชการ กวก. ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • 2. โครงการอบรมทักษะพื้นฐาน/ทักษะเฉพาะด้านที่จำเป็นสำหรับข้าราชการต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย 3 หลักสูตรย่อย • การเจรจาต่อรอง • ภาษาอังกฤษหลักสูตร Intensive English Course เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน / ภาษาอื่นที่จำเป็น • การประชุมนานาชาติ การบันทึกการประชุม และการเขียนข้อตกลงระหว่างประเทศ • และหลักสูตรอื่นๆ อยู่ในระหว่างพิจารณาเพิ่มเติม

  18. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามร่างแผนงานแห่งชาติสำหรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนี้ • การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน • 1. การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยอิเล็คทรอนิคส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน • 2. การจัดตั้งระบบโดยใช้ Good Agriculture Practice (GAP) • 3. ปรับประสานระบบการกักกันและวิธีการตรวจสอบหรือ สุ่มตัวอย่าง ให้มีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และป่าไม้ ที่มีความสำคัญทางการค้า มีศักยภาพทางการค้า

  19. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (ต่อ) • 4. ปรับประสานระดับปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดในอาหารที่ยอมรับให้มีได้ของยาฆ่าแมลงในผลิตภัณฑ์ที่มีการค้าอย่างแพร่หลาย ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากล • 5.ปรับประสานกรอบกฎเกณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากล ที่สามารถทำได้ ภายในปี 2015

  20. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (ต่อ) • 6. ปรับประสานมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์พืชสวนและผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในอาเซียน ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากล ที่สามารถทำได้ ภายในปี 2015 • 7. ส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและการถ่ายโอนเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และป่าไม้

  21. การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม • 1. เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัตน์ • 2. ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร • ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

  22. ขอขอบคุณ

More Related