1 / 5

วิธีการ

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยวิธีการสอน แบบวิทยาศาสตร์ห้อง คพ.401 ปีการศึกษา 2-2550. ผลการศึกษา. วัตถุประสงค์การวิจัย. วิธีการ.

owen-clark
Download Presentation

วิธีการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยวิธีการสอน แบบวิทยาศาสตร์ห้อง คพ.401 ปีการศึกษา 2-2550 ผลการศึกษา วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการ พบว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนมากที่สุดในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองมาอยู่ในระดับน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 29.17 ในระดับดีมาก และระดับปานกลางมีจำนวนเท่ากัน ที่ร้อยละ 8.33 นั่นหมายความว่า การสอนด้วยวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป ถึงระดับดีมาก ข้อเสนอแนะ ให้ผู้วิจัยทำการประเมินผลการเรียนก่อนสอนเพื่อพัฒนางานวิจัยไปสู่การทดสอบแบบ Pretest post test Design ใช้การสังเกตและการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่าง 26 คน วิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ผู้วิจัยต้องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ห้อง คพ.401 ผู้วิจัย : ปวีณา ปงลังกา ปีการศึกษา :2-2550

  2. ศึกษาผลการปลูกฝังการใฝ่ประหยัดโดยวิธีการทำบัญชีครัวเรือน ของนักศึกษาห้องพบ.101 ภาคเรียนที่ 2-2550 ผลการศึกษา วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลจากการดำเนินการพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีการออมเงิน อยู่ในระดับที่น้อยกว่า 100 บาท จำนวนร้อยละ 61.54 รองลงมาคือ ระหว่าง101-500 บาท คิดเป็นร้อยละ 26.92 และมีเพียง ร้อยละ3.85 ที่มีผลการดำเนินการเกินกว่า 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม ไม่มีนักเรียนคนใดในห้องที่ไม่ฝากเงินออมนั่นหมายความว่า ส่วนใหญ่ได้รับการปลูกฝังเรื่องการใฝ่ประหยัดอดออม การมีจำนวนเงินฝากที่แตกต่างกันนั้นอาจเป็นเพราะว่า รายได้ครอบครัว ฐานครอบครัวทำให้การฝากเงินออมของนักเรียนมีความแตกต่างกันทั้งนี้อาจใช้มาตรการกระตุ้นการออมด้วยวิธีการอื่น ๆ มากขึ้นกับกลุ่มที่มีการออมน้อย ศึกษาผลการปลูกฝังการใฝ่ประหยัดโดยวิธีการทำบัญชีครัวเรือนของนักศึกษาห้อง พบ. 101 ภาคเรียนที่ 2/2550 ใช้แบบสำรวจจากสมุดบัญชีครัวเรือนในการจดบันทึกรายการรับ-จ่ายและรณรงค์ให้มีการออมเงินของนักศึกษาจำนวน 26 คน สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ผู้วิจัย :อ้อยใจ แดงอินทร์ ปีการศึกษา :2-2550

  3. ศึกษาผลการวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ในรายวิชากฎหมายแรงงานและการประกันสังคมโดยใช้ Mind Mapping ของนักศึกษาแผนการตลาด ปีการศึกษา 2-2550 วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการ ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาแผนกการตลาดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการขั้นตอนการทำ Mind Mapping เป็นอย่างดีโดยผู้เรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียนรู้ในระดับที่ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 86.36 รองลงมาระดับมากคิดเป็นร้อยละ 9.09นั้นแสดงว่าการใช้ Mind Mapping ช่วยให้นักศึกษาแผนการตลาดมีการวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วนตนเองในรายวิชากฏหมายแรงงานและการประกันสังคมเรียนรู้ได้ดีขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่านักศึกษาได้รับการชี้แจงให้ทราบถึงเกณฑ์การประเมิน Mind Mapping ที่ชัดเจนก่อนการดำเนินการ ใช้แบบ check sheet ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด กับกลุ่มนักศึกษา ตล.501และ พต. 501 จำนวน 22 คน สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ผู้วิจัยต้องการศึกษาเพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ Mind Mapping ในรายวิชากฎหมายแรงงานและการประกันสังคมของนักศึกษาแผนกตลาด ปีการศึกษา 2-2550 ผู้วิจัย : อรัญญา เลิศวิทยาวิวัฒน์ ปีการศึกษา :2-2550

  4. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมรมทำขนมไทยปีการศึกษา 2550 ผลการศึกษา วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย พบว่า โดยรวมผู้เข้าชมรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมชมรมทำขนมไทย โดยมีค่าเฉลี่ย(X) 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) 0.61นั่นหมายความว่าโดยรวมผู้เข้าร่วมชมรมมีความพึงพอใจในระดับมากประเด็นที่นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดคือ ความสุข และสนุกกับการเรียน มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.52 รองลงมาคือประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนเสริม มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.48 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้สอนมีทักษะการสอนและอัธยาศัยที่ดีกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักฐานการบันทึกของผู้เรียนที่กล่าวชมเชยว่า “ครูผู้สอนเป็นคนผู้ใจดี” แบบสำรวจสมาชิกชมรมจำนวน 23 คนโดยการใช้ค่าเฉลี่ย (X)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผู้วิจัยต้องการศึกษาศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารวมชมรมทำขนมไทยปีการศึกษา 2550 ผู้วิจัย :อรัญญา เลิศวิทยาวิวัฒน์ ปีการศึกษา :2550

  5. การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภควารสารของโรงเรียนแสงทองวิทยาปีการศึกษา 2550 วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัย ผู้วิจัยต้องการศึกษา ความพึงพอใจของผู้บริโภควารสารของโรงเรียนแสงทองวิทยา ปีการศึกษา 2550 แบบสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองและนักเรียน รวมทั้งสิ้น 347 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า โดยรวมผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน (SD.=0.76) ต่อความพึงพอใจของการจัดทำวารสารโรงเรียนในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนมีความพึงพอใจในระดับสูงสุดที่ค่าเฉลี่ย 4.17 รองลงมาคือการตรวจสอบตัวอักษร และความชัดเจนสวยงามของรูปภาพอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันที่ 4.14 และ 4.13 ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาของการออกวารสารมีความพึงพอใจในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย 3.39 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้ปกครอง ครูผู้สอนและนักเรียนมีความสนใจที่จะรับข้อมูลข่าวสารจากโรงเรียนบ่อยขึ้น สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างที่กล่าวว่า “ระยะเวลาของการออกวารสารควรถี่กว่านี้” เป็นที่น่ายินดี ที่ข้อค้นพบจากการวิจัยทำให้ผู้บริหารโรงเรียนได้อนุมัติเพิ่มความถี่ในการออกวารสารโรงเรียนจากรายภาคเรียนเป็นรายเดือน ในการศึกษา 2551 วิจัยโดย พรศรี เลิศวิทยาวิวัฒน์

More Related