1 / 15

MUS3803 การตลาดด้านดนตรี

MUS3803 การตลาดด้านดนตรี. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ จะ สุวรรณ์. คำอธิบายรายวิชา. การสำรวจและวิจัยเพื่อสร้างแผนการตลาดด้านดนตรี แผนกลยุทธ์ แผนการต่อรอง แผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างสัดส่วนการตลาดด้านดนตรี. วัตถุประสงค์.

ownah
Download Presentation

MUS3803 การตลาดด้านดนตรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. MUS3803 การตลาดด้านดนตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

  2. คำอธิบายรายวิชา • การสำรวจและวิจัยเพื่อสร้างแผนการตลาดด้านดนตรี • แผนกลยุทธ์ • แผนการต่อรอง • แผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ • เพื่อสร้างสัดส่วนการตลาดด้านดนตรี

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการตลาดด้านดนตรี แผนกลยุทธ์ แผนการต่อรอง และแผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ • เพื่อให้นักศึกษาสามารถวางแผนงานดนตรีเพื่อการสร้างส่วนแบ่งในตลาดด้านดนตรี

  4. การประเมินผล • งานวิจัยตลาด 30 คะแนน • กิจกรรมระหว่างเรียน 30 คะแนน ประกอบด้วย • แผนกลยุทธ์งานคอนเสิร์ต 10 คะแนน • แผนการประชาสัมพันธ์คอนเสิร์ต 10 คะแนน • การประเมินผลคอนเสิร์ต 10 คะแนน • สอบปลายภาค 40 คะแนน • รวม 100 คะแนน

  5. ความหมายของการตลาด • คือการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในธุรกิจที่ทำให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ โดยได้รับความพอใจ ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ • กระบวนการธุรกิจในการทำให้เกิดการซื้อขายและนำความพอใจสูงสุดมาสู่ผู้ผลิตและผู้บริโภค • กระบวนการดำเนินการธุรกิจที่กำหนดขึ้นเพื่อวางแผนผลิตภัณฑ์และหรือการบริการกำหนดราคา ส่งเสริมการตลาดและการจัดจำหน่าย เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพอใจ

  6. ความเป็นมาของการตลาด • เริ่มจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มุ่งสนองความต้องการ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยน เพื่อความต้องการและความพอใจ การที่จะมีการตลาดจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องโอกาสที่มนุษย์จะได้สินค้าที่จะทำให้เขาพอใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ทางเลือก คือ • การช่วยตัวเอง คือ เมื่อมนุษย์เกิดความต้องการทางอาหาร ก็จะดับความต้องการของตนโดยพยายามตกปลา ล่าสัตว์ หรือเก็บผลไม้รับประทานเอง โดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับใคร ในกรณีนี้ถือว่าไม่มีตลาด และไม่มีการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง • การบังคับขู่เข็ญ เมื่อมนุษย์เกิดความหิวและไม่มีความสามารถหาอาหารได้ ก็อาจจะขโมยอาหารของคนอื่น • การอ้อนวอน เมื่อเกิดความต้องการ มนุษย์จะขอความกรุณาจากผู้อื่นให้บริจาคอาหาร • การแลกเปลี่ยน เมื่อมนุษย์เกิดความต้องการจะพยายามติดต่อผู้ที่มีอาหารและจะยื่นข้อเสนอบางสิ่งบางอย่างเป็นการแลกเปลี่ยนอาหารนั้น โดยการให้เงิน สินค้าอื่น หรือบริการใดๆ ก็ได้เป็นการแลกเปลี่ยน

  7. ที่มาของการตลาด • ดังนั้นการตลาดเกี่ยวข้องกับทางเลือกสุดท้าย คือการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้สินค้าและบริการเพื่อให้มนุษย์พอใจ และสนองความต้องการ การแลกเปลี่ยนจะต้องประกอบด้วยสภาวการณ์ดังต่อไปนี้ • ต้องมีบุคคล 2 กลุ่ม • แต่ละกลุ่มต้องมีสิ่งที่มีคุณค่าต่ออีกฝ่ายหนึ่ง • แต่ละกลุ่มจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารคมนาคม และการขนส่ง • แต่ละกลุ่มต้องมีอิสรภาพในการตอบรับหรือปฏิเสธข้อเสนอ

  8. ขนาดของตลาด • ตัวอย่าง สมมุติว่านักดนตรีผู้หนึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการเขียนบทเพลงเพลงหนึ่งอย่างไพเราะงดงาม เขาได้กำหนดระดับราคาหนึ่งเอาไว้ในใจสำหรับบทเพลงนี้ คำถามที่เขาคำนึงคือ จะมีใครเต็มใจแลกเปลี่ยนเงินจำนวนนั้นกับเพลงนี้หรือไม่ ถ้ามีอย่างน้อย 1 คน เราเรียกได้ว่ามีตลาด ส่วนขนาดของตลาดจะแตกต่างกันตามราคา นักดนตรีผู้นี้อาจจะเรียกร้องราคาสูงมาก จนกระทั่งไม่มีผู้ใดซื้อบทเพลงนั้น แต่ถ้าเขาลดราคาลงขนาดของตลาดเพิ่มขึ้น เพราะคนสามารถจะมีเงินจ่ายเพื่อบทเพลงนั้นได้ ดังนั้นขนาดของตลาดขึ้นกับจำนวนคนที่จะต้องมีทั้ง • ความสนใจในสินค้า • ความเต็มใจที่จะเสนอแลกเปลี่ยนเพื่อสินค้านั้น

  9. ประเภทตลาด • ที่ใดมีโอกาสจะมีการค้าเกิดขึ้น ที่นั่นมีตลาด คำว่า “ตลาด” ถูกใช้บ่อยในความหมายของความต้องการมนุษย์ หรือความต้องการประเภทสินค้า กลุ่มประชากรศาสตร์ และตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น • ตลาดความต้องการมนุษย์ คือ การพักผ่อน คนเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนเงินกับการฝึกหัดโยคะหรือการหัดทำอาหาร เป็นต้น • ตลาดสินค้า คือตลาดรองเท้า คนเต็มใจที่จะแลกเงินกับสิ่งของคือรองเท้า • ตลาดเชิงประชากรศาสตร์ คือ ตลาดเด็กทารก หรือตลาดเด็กวัยรุ่น ที่ชอบแลกเปลี่ยนเงินกับเครื่องเสียงและเครื่องกีฬาเป็นต้น • ตลาดเชิงภูมิศาสตร์ได้แก่ ตลาดคนไทย ตลาดคนญี่ปุ่น เป็นต้น

  10. แนวความคิดของตลาด • การตลาดหมายถึงการทำงานเกี่ยวข้องกับตลาด การพยายามที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อจุดประสงค์ที่จะให้มนุษย์ได้รับความพอใจต่อสิ่งที่ต้องการ นั่นคือคำจำกัดความของการตลาด คือการกระทำของมนุษย์ที่มุ่งให้เกิดความพอใจในการสนองความต้องการ โดยกระบวนการ การแลกเปลี่ยน

  11. บทบาทและหลักความสำคัญของการตลาดบทบาทและหลักความสำคัญของการตลาด • การตลาดเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกิจการ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การดำเนินการทางด้านการตลาดจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในแง่ของทั้งในแง่ของผลดี หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับ และผลกระทบด้านผลเสียทั้งภายในและภายนอกประเทศ สามารถจำแนกความสำคัญของการตลาดได้ดังต่อไปนี้ • ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคมและบุคคล • ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ

  12. ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคมและบุคคลความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคมและบุคคล • การตลาดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อของบุคคล • การตลาดช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาการในสังคมให้สูงขึ้น • การตลาดทำให้เกิดงานอาชีพต่าง ๆ แก่บุคคลเพิ่มมากขึ้น

  13. ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจความสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ • การตลาดช่วยให้ประชาการมีรายได้สูงขึ้น • การตลาดทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต • การตลาดช่วยสร้างความต้องการในสินค้าและบริการ • การตลาดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ

  14. แนวความคิดทางการตลาด • แนวความคิดเกี่ยวกับการผลิต (The Production Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (The Product Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับการขาย (The Selling Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับการตลาด (The Marketing Concept) • แนวความคิดเกี่ยวกับการตลาดเพื่อสังคม (The Societal Marketing Concept) • แนวความคิดมุ่งการตลาดเชิงยุทธ์ (The Strategic Marketing Concept)

  15. กลยุทธ์ทางการตลาด ประกอบด้วย • กำหนดตลาดเป้าหมาย คือการกำหนดกลุ่มลูกค้า หรือตลาด ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ • บุคคลธรรมดาในตลาดผู้บริโภค • ผู้ที่ซื้อเป็นสถาบันหรือองค์กรในอุตสาหกรรม • กำหนดส่วนผสมทางการตลาด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ • ผลิตภัณฑ์ (Product) • ราคา (Price) • การจัดจำหน่าย (Place) • การส่งเสริมการขาย (Promotion)

More Related