1 / 46

ทฤษฎีองค์การ Organization Theory บรรยาย โดย

ทฤษฎีองค์การ Organization Theory บรรยาย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน งามสนิท Fulbright Scholar-In-Residence, Ohio University, Ohio, U.S.A. ปีการศึกษา ๑/๒๕๕๒ บรรยายวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒.

padma
Download Presentation

ทฤษฎีองค์การ Organization Theory บรรยาย โดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีองค์การ Organization Theory บรรยาย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน งามสนิท Fulbright Scholar-In-Residence, Ohio University, Ohio, U.S.A. ปีการศึกษา ๑/๒๕๕๒ บรรยายวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒

  2. What is an organization? องค์การคืออะไร? องค์การค่อนข้างจะเป็นนามธรรม มองเห็นได้ยาก แต่เรารู้ว่าชีวิตเราอยู่ในองค์การ จนเรามองข้าม เรามองเห็นอาคารสูงๆ มีเครื่องคอมพิวเตอร์มากมาย มีคนทำงานประสานต่อเนื่องกัน เราแทบจะไม่ได้สังเกตว่า เราเกิดที่โรงพยาบาล บันทึกหลักฐานการเกิดไว้ที่หน่วยงานของรัฐ ได้รับการศึกษาอบรมจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารที่ผลิตโดยชาวนาชาวไร่หรือบริษัทผลิตอาหารขนาดใหญ่ ได้รับการรักษาเยียวยายามป่วยไข้ จากหมอของรัฐหรือเอกชน เมื่อมีเรื่องราว ตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้อง เดินทาง ขนย้ายด้วยพาหนะที่มีการจัดการที่เป็นระบบ จนกระทั่ง ตอนสุดท้ายของชีวิต สัปเหร่อ เข้ามาเกี่ยวข้อง พระแต่ละศาสนา ส่งเราเข้ากำแพงวัด เหลือไว้แต่ความทรงจำ ตามอำนาจของคุณงามความดีของแต่ละบุคคล สมาน งามสนิท

  3. เราถูกกำหนดให้อยู่ในองค์การตั้งแต่ก่อนเกิด จนถึงตาย ดังนั้น ลองมาให้คำจำกัดความซิว่า องค์การคืออะไร และสำคัญอย่างไร ???

  4. Definition คำจำกัดความ Organizations are social entities สภาวะที่เป็นจริงของสังคมที่มีเป้าหมายที่แน่นอน ออกแบบให้มีโครงสร้างที่เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆของสังคมเข้าด้วยกันได้และเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอกได้

  5. แก่นแท้ขององค์การ ไม่ใช้อาคารสูงๆ แนวนโยบาย หรือ กระบวนการทำงาน หัวใจขององค์การคือ ทรัพยากรมนุษย์ ความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์

  6. องค์การ สิ่งแวดล้อม ขนาด structure 1.Formalization Tech no logy วัฒนธรรม 2.specialization 3.standardization 4.Hierachy of authority 5.complexity 6.centralization 7.professionalism 8.Personnel ratios R.Daft,p.16 adapted by Sman Ngamsnit

  7. Importance of organizations องค์การมีความสำคัญอย่างไร อย่างน้อย องค์การมีความสำคัญ ๗ ประการ ตามแนวคิดของ Richard L. Daft

  8. ๑. รวบรวมทรัพยากรเข้าไว้ด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ขององค์การ ๒. ผลิตสินค้าและให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆให้แก่องค์การ ๔. ปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตและให้บริการ ๕.ปรับตัวเข้ากับและนำการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ๖. สร้างเสริมคุณค่าให้แก่ผู้ถือครอง ลูกค้า เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ๗. สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย คุณธรรมและความเจริญก้าวหน้าของพนักงาน

  9. What is Organization Theory? It is a way of thinking about organizations Organization theory is a way to see and analyze organizations more accurately and deeply than one otherwise could. The way to see and think about organizations is based on patterns and regularities in organizational design and behavior. รศ.ดร.สมาน งามสนิท

  10. ยุคทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่เริ่มในศตวรรษนี้ ด้วยมิติทางการบริหารแบบคลาสสิค(classic) หรือแบบมาตรฐาน ซึ่งรวมการบริหารแบบวิทยาศาสตร์(scientific management)และหลักการบริหาร(administrative principles)ที่ Frederic Taylor เป็นเจ้าตำหรับ ซึ่งมีสาระสำคัญว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับองค์การและการออกแบบงานจะต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ถูกต้องที่สุดและเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดหลังจากได้ศึกษาสถานการณ์ต่างๆรอบด้านอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว Administrative principles เน้นภาพรวมขององค์การและการเจริญเติบโตขององค์การขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของผู้บริหาร

  11. Henry Fayol เป็นผู้คิดหลักการบริหาร ได้เสนอหลักการบริหารไว้ ๑๔ แบบ เช่น unity of command ผู้ใต้บังคับบัญชารับคำสั่งจากหัวหน้าเพียงคนเดียว unity of direction รวมกิจกรรมต่างๆที่คล้ายกันในองค์การเข้าไว้ในแผนกเดียวกัน การบริหารแบบวิทยาศาสตร์และหลักการบริหาร เป็นการจัดองค์การระบบปิด (close systems) ที่ไม่คาดหวังว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกและการเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจะมีผลกระทบต่อองค์การ

  12. มีการศึกษาเกี่ยวกับองค์การอื่นๆตามมา แต่สุดท้ายการบริหารแบบวิทยาศาสตร์และหลักการบริหารสรุปว่า องค์การ เป็นระบบของหลักการและเหตุผล เป็นระบบแก้ปัญหาและระบบตัดสินใจ Rational, problem-solving, decision- making systems หลักคิดหรือแนวคิดต้นแบบเกี่ยวกับองค์การยุคหลังหลักการบริหารสมัยใหม่ The postmodern Organization Paradigm โลกเปลี่ยนไป สังคม สิ่งแวดล้อม การสื่อสารเปลี่ยนไป พนักงานคาดหวังความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น Paradigm, หลักคิดหรือแนวคิดต้นแบบ สมาน งามสนิท

  13. Paradigm is a shared mid-set that represents a fundamental way of thinking, perceiving and understanding the world. Paradigm คือ กลุ่มแนวร่วมของความคิดกลาง ที่เป็นพื้นฐานของวิถีความคิด ความรับรู้และความเข้าใจโลก Paradigm is a clear and typical example of something, an example or model for something which explains it or shows how it can be produced, Collins Cobuild Dictionary, 1991,p.1039 Paradigm คือตัวอย่างธรรมดาของบางสิ่งบางอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ตัวอย่างหรือแบบจำลองของบางสิ่งบางอย่างที่อธิบายและแสดงวิธีทำอย่างชัดเจน (เมื่อได้เห็นหรือได้ยิน เข้าใจได้ทันที – (สมาน งามสนิท)

  14. ข้อเปรียบเทียบระหว่างองค์การสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ข้อเปรียบเทียบระหว่างองค์การสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ Modern Contextual Variables Postmodern Stable Environmental Turbulent Money,buildings, Form of capital Information Machines Routine Technology Nonroutine Large Size Small to moderate

  15. Modern Contextual Variables Postmodern Growth, efficiency Goals Learning, Effectiveness Employees taken Culture Employee For granted empowerment

  16. ผลลัพธ์ขององค์การ Organizational Outcomes Modern Contextual Variables Postmodern Rigid & centralized Structure Flexible & decentralized Distinct boundaries diffuse boundaries Autocratic Leadership Servant leadership Formal, written Communication Informal, oral Beaurocratic Control Decentralized Managers Self-controlled Patriarchal Planning&decision making Everyone Guiding principles Egalitarianเชื่อความเสมอภาค

  17. หลักการบริหาร ๑๔ ข้อ ของ Henry Fayol มีดังนี้ 1.Division of work แบ่งงานกันทำ 2.Authority อำนาจในการบังคับบัญชา 3.Discipline ระเบียบวินัย 4. Unity of command เอกภาพในการบังคับบัญชา 5.Unity of direction เอกภาพในทิศทางดำเนินงาน 6. Subordination of individual interests to the general interests ผลประโยชน์ส่วนบุคคลต้องไม่ขัดกับผลประโยชน์ส่วนรวม

  18. 7. Remuneration จ่ายค่าตอบแทน รางวัล 8.Centralization การรวมอำนาจ 9. Scalar chain ระดับของการบังคับบัญชา 10. Order คำสั่ง ระเบียบในการทำงาน 11. Equity หลักความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม 12.Stability of tenure of personnel ความมั่นคงของบุคลากร 13.Initiative ความริเริ่มสร้างสรรค์ 14. Esprit de corps สามัคคีจิต

  19. Organization Theory: ทฤษฎีองค์การ ทฤษฎีองค์การ ศึกษาองค์การโดยรวม ที่รวมกันเข้าเป็นองค์การ ซึ่งรวมบุคคลวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีองค์การศึกษา กลุ่มคนที่รวมตัวเข้าเป็นแผนก กรม กอง กระทรวงและบริษัทขนาดใหญ่ๆ เป็นการศึกษาในระดับมหภาค(macro) ทฤษฎีองค์การเป็น สังคมวิทยาขององค์การ(sociology) ทฤษฎีองค์การเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง ถึงระดับกลางและเกี่ยวข้องกับการบริหารระดับล่างเพียงบางส่วน เพราะว่าการบริหารระดับล่างจะเกี่ยวข้องกับพนักงาน คนงานที่ทำหน้าที่ใช้แรงงานในการควบคุมเครื่องถ่ายเอกสาร พิมพ์งานและขายสินค้า

  20. แต่ทฤษฎีองค์การจะเกี่ยวข้องกับองค์การโดยรวมทั้งหมด ผู้บริหารระดับสูง(top management) รับผิดชอบองค์การทั้งหมด จะต้องกำหนดเป้าหมาย พัฒนากลยุทธ์การบริหาร วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอก ตัดสินใจเลือกโครงสร้างและออกแบบองค์การ ผู้บริหารระดับกลาง(middle management) บริหารแผนกต่างๆให้สอดคล้องกับโครงสร้าง เทคโนโลยีขององค์การและให้สอดคล้องกับหน่วยงานทุกหน่วยในด้านอำนาจ การเมืองในองค์การ การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานในองค์การ ดูแลระบบควบคุมที่ไม่เป็นทางการในองค์การ

  21. ทฤษฎีองค์การมีประโยชน์อย่างไรทฤษฎีองค์การมีประโยชน์อย่างไร ผู้ที่ศึกษาทฤษฎีองค์การ มี ๒ กลุ่ม คือกลุ่มที่จะเป็นผู้บริหาร เรียนเพื่อให้เป็นผู้บริหารที่ดี มีความรู้ความสามารถในการบริหารองค์การได้ดีกว่าผู้ไม่เรียนทฤษฎีองค์การ และกลุ่มที่ไม่เป็นผู้บริหาร แต่เรียนเพื่อให้รู้เท่าทันความเป็นไปความสำคัญขององค์การ เพราะว่าสังคมโลกประกอบด้วยองค์การน้อยใหญ่มากมาย

  22. มุมมองด้านต่างๆของทฤษฎีองค์การ (multiple Perspectives of Organization Theory): Richard L. Daft; Organization Theory and design,1998 นักทฤษฎีองค์การและผู้บริหารบางคนกำหนดมิติมุมมองด้านต่างๆต่อทฤษฎีองค์การไว้ ๓ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านตามสถานการณ์อย่างมีเหตุผล(Rational-Contingency Perspective) มิติด้านนี้มองว่าผู้บริหารต้องรักษาสถานภาพ(status quo) ขององค์การไว้ให้ได้ มิตินี้มองว่าผู้บริหารตั้งใจที่จะเป็นคนมีเหตุผล อาจจะไม่รู้คำตอบต่อปัญหาทั้งหมด แต่พยายามทำดีที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกคนในองค์การ พยายามออกแบบองค์การและกระบวนการทำงานอย่างมีเหตุผลที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อม

  23. Rational-Contingency Perspective เชื่อว่า องค์การเป็นเครื่องมือสำหรับทำงานให้สำเร็จเพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกคนในองค์การ 2.มุมมองด้านปฏิวัติแนวมาร์กซิสท์ ( Radical-Marxism Perspective) มิติด้านนี้มองว่า ผู้บริหารตั้งใจจะมีเหตุผล แต่กลับมุมมองด้านสถานภาพของตนให้อยู่ในระดับนายทุน (capitalist)รักษาอำนาจและผลประโยชน์ ไว้สำหรับตนเอง การตัดสินใจของผู้บริหารไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ขององค์การ แต่เพื่อรักษาผลประโยชน์ อำนาจและตำแหน่งของตน ผู้บริหารจะแบ่งงานให้พนักงานทำเพียงแต่น้อยเพื่อไม่ให้เกิดความชำนาญและเรียกร้องผลประโยชน์ก้อนใหญ่จากองค์การ เพราะว่าเงินเดือนผู้บริหารอาจมากกว่าเงินเดือนพนักงานถึง ๒๐๐ เท่า

  24. มิติด้านปฏิวัติแนวมาร์กซิสท์ ยังเชื่อว่า องค์การต้องเปลี่ยนแปลงสถานภาพ เป้าหมายขององค์การคือการให้อิสรภาพแก่พนักงาน ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบจากองค์การ และยังเชื่อว่าทฤษฎีองค์การต้องมีวาระทางการเมืองเพื่อตรวจสอบความชอบธรรมในการใช้อำนาจและทรัพยากร และการที่ผู้บริหารระดับสูงใช้อำนาจครอบงำผู้อยู่ระดับล่าง

  25. 3.มุมมองด้านต้นทุนในการแลกเปลี่ยน หรือบางท่านเรียกว่า ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Transaction-Cost Economics Perspective) มุมมองด้านนี้ได้รับการพัฒนามาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้รับความสนใจขากนักทฤษฎีองค์การและนักทฤษฎีสังคมวิทยา มุมมองด้านต้นทุนการแลกเปลี่ยนนี้ มองว่า เอกัตตบุคคลดำเนินการใดๆเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้น การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ควรตกลงกันได้หรือต่อรองกันได้ในตลาดการค้าเสรี แต่เนื่องจากสิ่งแวดล้อมขององค์การสลับซับซ้อนมากขึ้นและไม่มีความแน่นอน ค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการในระยะสั้นทำได้ลำบาก องค์การจึงต้องทำสัญญากับผู้ให้บริการ(นายจ้าง-ลูกจ้าง)ในระยะยาว ควบคุมพฤติกรรมในองค์การด้วยระบบการควบคุม ซึ่งทำไม่ได้ทั้งหมด

  26. คนส่วนใหญ่ในองค์การต้องการลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ กิจกรรมในองค์การจึงดำเนินไปได้บนพื้นฐานของความไว้วางใจกัน(trust)และความสัมพันธ์ทางสังคม มากกว่าการควบคุม พันธสัญญา และเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีองค์การเกี่ยวข้องกับองค์การทั้งหมด สาวน พฤติกรรมองค์การ(organization behavior) เกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือระดับบุคคลในองค์การ จึงเกิดมีอีกทฤษฎีหนึ่งขึ้นมาเรียกว่าทฤษฎีระหว่างกลุ่ม (MesoTheory) Meso แปลว่า อยู่ระหว่าง ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงหรือร่วมมือกันระหว่างกลุ่มหรือบุคคลในองค์การแต่ละกลุ่มแต่ละคนมีอิทธิพลต่อองค์การ และองค์การก็มีอิทธิพลต่อกลุ่มและบุคคลในองค์การเช่นกัน

  27. ผลจากการวิจัยพบว่า องค์การที่มีกลุ่มและบุคคลหลากหลายประเภท ที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เข้าใจโครงสร้าง(ทฤษฎีองค์การ) และปฏิสัมพันธ์ของคน(พฤติกรรมองค์การ)มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆให้แก่องค์การ

  28. รูปแบบการบริหารองค์การ (Modelsof Public Administration) H.George Frederickson. In New Public Administration: • รูปแบบการบริหารตามแนวรัฐประศาสนศาสตร์ แบ่งออกได้เป็น ๕ รูปแบบ ได้แก่ • รูปแบบการบริหารราชการดั้งเดิม(Classic Bureaucratic Model) • การบริหารรูปแบบนี้มีลักษณะเด่นดังต่อไปนี้ • ๑.๑ จุดเน้น (Empirical Focus) • .องค์การและการออกแบบองค์การ(The organization) • .กลุ่มการผลิต( The production group)

  29. .หน่วยงานของรัฐบาล (government Agency) .รัฐวิสาหกิจ (The bureau) .กลุ่มการผลิต (The work group) ๑.๒ ลักษณะจำเพาะ (Characteristics) .เน้นโครงสร้าง(structure) .ลำดับขั้นการบังคับบัญชา(hierarchy) .การควบคุม(Control) .อำนาจตามหน้าที่(Authority)

  30. .ความแตกต่างของการบริหารนโยบาย (policy administration dichotomy) .สายการบังคับบัญชา(chain of command) .เอกภาพของการบังคับบัญชา (unity of command) .ขอบข่ายการบังคับบัญชา(span of control) .การเลื่อนขั้นด้วยระบบคุณธรรม(merit appointment) .การรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลาง (centralization)

  31. ๑.๓ ผลลัพธ์สูงสุดที่คาดหวัง(Values to be maximized) .ประสิทธิภาพ(Efficiency) .เศรษฐกิจ(Economy) .ประสิทธิผล(Effectiveness) ๑.๔ เจ้าสำนัก(นักวิชาการ) Max Weber, Frederick W.Taylor,Woodrow Wilson, Luther H. Gulick, Lyndall Urwick.

  32. ๒. รูปแบบระบบราชการใหม่ Neoclassic Bureaucratic Model มีจุดเด่นดังนี้ ๒.๑. จุดเน้น(Empirical Focus) .เน้นกระบวนการตัดสินใจ การตัดสินใจต้องมีเหตุผล ๒.๒ ลักษณะจำเพาะ(Characteristics) .สัจจนิยม ยอมรับความจริงที่พิสูจน์ได้เท่านั้น(Logical-positivist) .การวิจัยแบบมีส่วนร่วม(operations research) .การวิเคราะห์ระบบ(Systems analysis)

  33. . ระบบการควบคุม, ขอบเขตการยอมรับอำนาจ(Cybernetics, Zone of acceptance) .วิทยาการจัดการ(Management Science) .การเพิ่มผลผลิต(Productivity) ๒.๓ ผลลัพธ์สูงสุดที่คาดหวัง(Values to be maximized) .ความมีเหตุผล(Rationality) ประสิทธิผล (Efficiency) .เศรษฐกิจ(Economy) .การเพิ่มผลผลิต (Productivity)

  34. ๒.๔ เจ้าสำนัก(นักวิชาการ) Herbert Simon, Richard Cyert, James March.

  35. ๓. รูปแบบสถาบัน (Institutional Model) มีลักษณะเด่นดังนี้ ๓.๑ จุดเน้น(Empirical Focus) .การตัดสินใจที่มีเหตุผลและต่อจากฐานเดิม (Rational and incremental) .พฤติกรรมองค์การระบบเปิด(Organizational behavior, open systems) .พฤติกรรมบุคคลและองค์การ(Individual and Organizational behavior) .หน่วยงานและวิชาชีพ(Bureau and profession) .พฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบ(เน้นอำนาจ) (Comparative organizational behavior (power).

  36. ๓.๒ ลักษณะจำเพาะ (Characteristics) สัจจนิยมประจักษ์ (Empirical, positivist) ระบบราชการเป็นวัฒนธรรมองค์การ รูปแบบพฤติกรรมองค์การเป็นการแสดงออกเพื่อความอยู่รอด การแข่งขัน เทคโนโลยี ความมีเหตุผล การเพิ่มคุณค่าและอำนาจ (Culture, survival,competition, technology, rationality, incrementalism, power) ๓.๓ ผลลัพธ์สูงสุดที่คาดหวัง (Values to be maximized) วิทยาศาสตร์ ความเป็นกลางในการวิเคราะห์พฤติกรรมองค์การ การเพิ่มคุณค่า ความหลากหลายและการวิพากษ์ (Pluralism, criticism)

  37. ๓.๔ เจ้าสำนัก (นักวิชาการ) (Theorists) James Thomson Frederick Mosher Amitai Etzioni Charles Lindbloom, etc.

  38. ๔. รูปแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Model) มีลีกษณะเด่นดังนี้ ๔.๑ จุดเน้น (Empirical Focus) .เอกบุคคลและกลุ่มงาน(Individual and work group) .สัมพันธภาพระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง(Supervisor/worker relations .การปฏิบัติงานของหัวหน้าและลูกน้อง(Supervisor/worker performance) .การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior change)

  39. ๔.๒ ลักษณะจำเพาะ (Characteristics) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม(Interpersonal and intergroup relations) การติดต่อสื่อสาร(Communications) การแทรกแซง(Sanctions) การจูงใจ (Motivations) การฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Training for change) การกระจายอำนาจ(Shared authority)

  40. การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Procedural correctness) ความเป็นเอกฉันท์ (Consensus) ๔.๓ ผลลัพธ์สูงสุดที่คาดหวัง (Values to be maximized) ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และพนักงาน(Worker satisfaction) ความเจริญก้าวหน้าของแต่ละคน(Personal growth) ศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล(Individual dignity)

  41. ๔.๔ เจ้าสำนัก(นักวิชาการ) (Theorists) Douglas McGregor, Rensis Likert Warren G.Bennis Chris Argyris

  42. ๕. แบบทางเลือกของสาธารณชน (Public choice Model) มีลักษณะเด่นดังนี้ ๕.๑ จุดเน้น (Empirical focus) *ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับประชาชนและการกระจายผลประโยชน์ (Organization/client relations and public goods distribution) *การกระจายอำนาจให้เหลื่อมโครงสร้างองค์การ(Decentralized overlapping structures) *การบริหารภาครัฐถือเป็นการตลาดด้วย(Public sector as market)

  43. *ขนาดของกลุ่มผู้รับบริการและการกระจายการบริการ(Client group size and public service distribution) *ภาวะผู้นำและการกระจายสิค้าและบริการ(Leadership and goods distribution) *พันธสัญญาการปฏิบัติงาน(Performance contracting)

  44. ๕.๓ ลักษณะจำเพาะ (Characeristics) *ต่อต้านระบบราชการ(Antibureaucratic) *ใช้หลักระบบเศรษฐกิจในการแก้ปัญหาการให้บริการสาธารณะ (Application of economic logic to problems of public service distribution) *เน้นการวิเคราะห์วิพากษ์ การตลาด (Highly analytic, market dialogues) *การสัญญาจ้าง(Contracts) * ความกะทัดรัด(Smallness) *การกระจายอำนาจและการต่อรอง (Decentralization and bargaining)

  45. ๕.๓ ผลลัพธ์สูงสุดที่คาดหวัง(values to be maximized) *ให้ทางเลือกแก่ประชาชนมากขึ้น(Citizen options or choices) *ให้ประชาชนมีความเสมอภาคในการได้รับบริการจากรัฐ ( Equal access to services) *การแข่งขัน(Competition)

  46. ๕.๔ เจ้าสำนัก(นักวิชาการ) (Theorists) Vincent Ostrom, Buchanan, Tullock, Olson, Mitchell, Frohlich, Oppenheimer, Young, Niskanan

More Related